เพื่อนร่วมทาง

🌈 เที่ยว #เมืองสามอ่าว #ประจวบฯ 🌤

🌈 เที่ยว #เมืองสามอ่าว #ประจวบฯ 🌤📍ถ่ายรูปบึงบัว #ทุ่งสามร้อยยอด📍ชมความงดงามของ #ถ้ำพระยานคร เมืองสามอ่าว เที่ยวสบาย มีธรรมชาติหลากหลายให้ได้ลองมาสัมผัส มาปักหมุดกันที่อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด ในพื้นที่อำเภอสามร้อยยอด เป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเลแห่งแรกของประเทศไทย สามารถมาเดินพักผ่อนชมบึงบัวทุ่งสามร้อยยอดในเส้นทางศึกษาธรรมชาติบนสะพานชมทุ่งบัวที่ทอดยาวออกไปกลางน้ำ มีฉากหลังเป็นทิวเขาหินปูน ถ่ายรูปสวยมาก ๆ ใกล้ ๆ กันยังมีไฮไลต์ที่ห้ามพลาด ซึ่งเป็นอีกหนึ่งที่เที่ยวยอดฮิตในสามร้อยยอด ก็คือ “ถ้ำพระยานคร” ถ้ำบนเทือกเขาใหญ่เลียบทะเล มีหินงอกหินย้อยสวยงาม ภายในถ้ำมีปล่องขนาดใหญ่ด้านบน ทำให้แสงสามารถสาดส่องลงมาถึงภายในกระทบกับ “พระที่นั่งคูหาคฤหาสน์” พอดี เป็นภาพที่สวยสะดุดตา และงดงาม อลังการมากๆ ถ้าไปประจวบฯ ต้องห้ามพลาดเลยล่ะ ติดต่อ : อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด ที่อยู่ : หมู่ 2 บ้านเขาแดง ต.เขาแดง อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์เปิดให้เข้าชม : 09.00-17.00 น. โทร : 032 – 821568 พิกัด : https://goo.gl/maps/iNh2T3hrsPtjFBph6 ชมรูปภาพเพิ่มเติมผ่าน Facebook ได้ที่ : https://www.facebook.com/TATContactcenter/posts/7094387910633228

🌈 เที่ยว #เมืองสามอ่าว #ประจวบฯ 🌤 อ่านเพิ่มเติม

วิธีลดขยะอาหารในบ้าน🍝🥗🍗🥦

ตั้งแต่ช่วงสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมา คงจะมีเพื่อน ๆ หลายคน WFH ทำให้ต้องทำอาหารกินเองที่บ้าน หรือสั่งเดลิเวอรี่กันมา จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าภายในบ้านจะมีปริมาณขยะจากอาหารเพิ่มมากขึ้น (Food Waste) วันนี้แอดมาแบ่งปันไอเดียการลดขยะอาหารภายในบ้านให้เพื่อน ๆ ได้นำไปปรับใช้ นอกจากจะได้ลดขยะจากอาหารแล้ว ยังเป็นการช่วยโลกกันคนละไม้ละมือจากที่บ้านด้วย จัดเก็บวัตถุดิบให้เห็นชัดและวางแผนการซื้ออาหารให้พอเหมาะ จัดระเบียบตู้เย็น เก็บวัตถุดิบที่ใหม่กว่าไว้ด้านในสุด เพื่อจะได้ทะยอยใช้วัตถุดิบไปตามลำดับ ไม่หลงลืมอาหารที่ถูกเก็บไว้นาน จัดเก็บอาหารในภาชนะถนอมอาหาร เพื่อยืดอายุของอาหารให้นานขึ้น วางแผนการซื้อ จดรายการอาหารก่อนซื้อ เพื่อเช็คความเหมาะสมและเพียงพอ ทำความเข้าใจความแตกต่างของคำว่า Expiry Date กับ Best Before Expiry Date (EXP/EXD) คือ อาหารจะหมดอายุ ณ วันที่ระบุไว้ ไม่ควรนำมารับประทานต่อเพราะอาจเป็นอันตรายได้ Best Before (BB/BBE) คือ อาหารนั้นยังมีรสชาติ ลักษณะ รวมถึงสารอาหารครบถ้วนจนถึงวันที่ระบุไว้ข้างฉลาก ถ้าเลยวันไป รสชาติอาจอร่อยน้อยลง คุณภาพลดลง แต่ยังนำมารับประทานต่อได้โดยไม่เป็นอันตราย คัดแยกขยะเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ เศษอาหารสดสามารถนำไปหมักทำปุ๋ย หลังจากย่อยสลายแล้ว นำไปผสมกับดินเพื่อปลูกต้นไม้ได้ Regrow จากเศษผักที่สามารถนำไปปลูกใหม่ เช่น โหระพา สะระแหน่ ฯลฯ หรือผักผลไม้ที่มีเมล็ดก็สามารถเก็บเมล็ดไปปลูกใหม่ได้ นำไปใช้ประโยชน์ต่อ เช่น กากกาแฟนำไปเช็ดถูหม้อกระทะลดความมัน เปลือกมะนาวใช้หมักกับน้ำส้มสายชูนำมาใช้ถูพื้นได้ ฯลฯ

วิธีลดขยะอาหารในบ้าน🍝🥗🍗🥦 อ่านเพิ่มเติม

✨ ATT 19 ✨ อาร์ตสเปซย่านเจริญกรุง

หากเพื่อน ๆ เป็นคนที่ชื่นชอบและเพลิดเพลินไปกับงานศิลปะ ของสะสมเก่าแก่ นิทรรศการต่าง ๆ ได้อย่างไม่รู้เบื่อแล้วล่ะก็ แอดมีสถานที่หนึ่งในย่านเจริญกรุงมาแนะนำค่ะ ATT 19 เป็นอาร์ตสเปซที่ไม่ได้มีเพียงห้องแสดงผลงาน หรือจัดวางของสะสมไว้ในตู้ในแบบพิพิธภัณฑ์ แต่เป็นการแบ่งสัดส่วนและจัดแสดงงานศิลปะต่าง ๆ ได้อย่างมีชีวิตชีวา น่าชมมาก หลังเดินผ่านประตูซุ้มต้นไม้เข้ามา ก็จะพบกับอาคารเก่าแก่ 2 ชั้น อายุกว่า 120 ปีตรงหน้า เดิมที่นี่เคยเป็นโรงเรียนสอนภาษาจีน ก่อนจะถูกปรับปรุงให้กลายเป็นอาคารจัดแสดงนิทรรศการศิลปะที่สวยงาม มีการใช้สอยพื้นที่อย่างลงตัว ไม่แออัด อาคารแบ่งเป็น 2 โซนคือ โซนนิทรรศการศิลปะ และโซนคาเฟ่ แอดจะพาเพื่อน ๆ ไปชมงานศิลปะก่อนแล้วค่อยพาไปกินของอร่อยนะคะ  ก่อนจะมาเป็น ATT 19 เดิมทีเป็นธุรกิจร้านขายศิลปวัตถุและของสะสมมาก่อน จนกระทั่งย้ายมาตั้งอยู่ที่อาคารโรงเรียนเก่าแห่งนี้ และปรับเปลี่ยนรูปแบบมาเป็นแกลเลอรี่ โดยมีแนวคิดที่อยากให้คนรักงานศิลปะรุ่นใหม่สามารถเสพงานศิลป์ได้อย่างเพลิดเพลินและเข้ากับไลฟ์สไตล์ของคนยุคนี้มากขึ้น เมื่อเข้ามาด้านในอาคาร ชั้นแรกจะเป็นงานดีไซน์สวย ๆ มีทั้งเครื่องใช้ เซรามิก เสื้อผ้า ของตกแต่งบ้าน ฯลฯ ซึ่งข้าวของที่เห็นภายใน ATT 19 แห่งนี้ ถ้าเพื่อน ๆ ชมแล้วถูกใจก็สามารถซื้อกลับไปได้นะ ชั้นที่สอง เป็นพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการหมุนเวียน โดยจะจัดแสดงนิทรรศการละ 1-2 เดือน มีทั้งผลงานของศิลปินอาชีพ นิสิตนักศึกษา รวมถึงนิทรรศการของทาง ATT 19 เอง  หลังจากชื่นชมงานศิลปะกันแล้ว อย่าเพิ่งรีบกลับ เพราะร้านกาแฟในแกลเลอรี่แห่งนี้บรรยากาศดีน่านั่งมาก  ATT 19 Café มีทั้งโซน In door ตากแอร์เย็นฉ่ำ และ Out door ใกล้ชิดธรรมชาติ เลือกนั่งได้ตามชอบ บรรยากาศดีไม่แพ้กัน เมนูมีทั้งเครื่องดื่มร้อนเย็น ขนมอบ ของว่าง ไปจนถึงมื้ออิ่ม เลือกได้ตามระดับความหิวเลยค่ะ  หากมีโอกาสหรือผ่านมาแถวนี้ ที่นี่เป็นอีกแห่งหนึ่งเลยที่แอดอยากแนะนำให้เพื่อน ๆ มาชมด้วยตัวเอง  19 เจริญกรุง 30 (ตรอกกัปตันบุช) แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร  เปิดวันอังคาร-อาทิตย์ (ปิดวันจันทร์) เวลา 11.00-19.00 น.  062 887 6161 https://goo.gl/maps/M2PFWR4yy81Feq228 ATT 19  หากไม่ได้ขับรถมา สามารถเดินทางโดย 1. BTS ลงสถานีสะพานตากสิน แล้วต่อแท็กซี่หรือวินมอเตอร์ไซค์มาที่ ATT 19 ระยะทางประมาณ 1.4 กิโลเมตร 2. MRT ลงสถานีหัวลำโพง ใช้ทางออก 4 แล้วต่อแท็กซี่หรือวินมอเตอร์ไซค์มาที่ ATT 19 ระยะทางประมาณ 2.5 กิโลเมตร

✨ ATT 19 ✨ อาร์ตสเปซย่านเจริญกรุง อ่านเพิ่มเติม

การปรับมาตรการป้องกัน สำหรับการเดินทางเข้าราชอาณาจักร

มาตรการป้องกันโรคโควิด 19 สำหรับการเดินทางเข้าราชอาณาจักร เริ่มวันที่ 1 มีนาคม 2565 ………………………………………….. แผนการปรับมาตรการสำหรับการเดินทางเข้าราชอาณาจักรในระยะถัดไป ………………………………………….. แนวปฏิบัติของผู้เดินทางจากต่างประเทศ ………………………………………….. ข้อมูล ณ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2565 ขอบคุณข้อมูลจาก : ศูนย์ข้อมูล COVID-19 Source : https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/509331134018549

การปรับมาตรการป้องกัน สำหรับการเดินทางเข้าราชอาณาจักร อ่านเพิ่มเติม

🌱 อุทัยธานี…. เสน่ห์วิถีชีวิตคู่ธรรมชาติ 🌱

ย้อนไปเมื่อหลายสิบปีก่อน จังหวัดอุทัยธานีเป็นเมืองรองที่ยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก เอกลักษณ์ที่เป็นที่จดจำก็คือ ชุมชนชาวแพริมน้ำสะแกกรัง ในปัจจุบัน นอกจากชุมชนชาวแพที่ยังคงมีเสน่ห์ อุทัยธานียังมีแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ ที่เป็นที่นิยมอีกมากมาย ทั้งแนวธรรมชาติและวัดวาอาราม วันนี้แอดอยากชวนไปเที่ยวตัวเมืองอุทัยธานี ไปชมวิถีชีวิตท้องถิ่นแบบชาวแพริมน้ำ และชมธรรมชาติบนเกาะเทโพด้วยการปั่นจักรยาน มาดูว่าใน 1 วัน เราสามารถไปเที่ยวไหนกันได้บ้าง 1. ชมวิถีชีวิตชุมชนชาวแพริมน้ำ – นั่งเรือล่องแม่น้ำสะแกกรัง2. ตลาดเช้าริมน้ำสะแกกรัง – เลือกชิมอาหารท้องถิ่นยามเช้า3. วัดอุโปสถาราม – วัดเก่าแก่ริมลำน้ำสะแกกรัง หนึ่งในสัญลักษณ์ของจังหวัดอุทัยธานี4. เกาะเทโพ – เกาะสวรรค์ของนักปั่นจักรยาน  ชมวิถีชีวิตชุมชนชาวแพริมน้ำ – นั่งเรือล่องแม่น้ำสะแกกรัง แม่น้ำสะแกกรัง เป็นแม่น้ำที่หล่อเลี้ยงชีวิตชาวอุทัยธานีมาตั้งแต่อดีต และยังเป็นแหล่งกำเนิดของ “ชุมชนชาวแพแม่น้ำสะแกกรัง” ชุมชนชาวแพแห่งสุดท้ายของประเทศไทย ซึ่งอยู่อาศัยต่อเนื่องกันมานานนับร้อยปีแล้ว เห็นเป็นเรือนแพอย่างนี้ แพทุกหลังมีเลขที่บ้านและทะเบียนบ้านอย่างถูกกฎหมาย มีน้ำประปาและไฟฟ้าใช้เหมือนบ้านบนบกทั่วไป โดยปัจจุบันเรือนแพมีจำนวนประมาณ 120 หลังเท่านั้น ซึ่งจากนี้จะไม่มีการออกทะเบียนบ้านให้เพิ่มอีกแล้ว ชาวแพมีอาชีพทำประมงน้ำจืด เลี้ยงปลาในกระชัง เช่น ปลาสวาย ปลาแรด และปลาเทโพ รวมทั้งแปรรูปปลาที่จับจากแม่น้ำสะแกกรังหรือแหล่งน้ำอื่น ๆ ทำเป็นปลาแห้ง ปลาเค็ม นำไปขายในตลาดเป็นรายได้ให้กับครอบครัว การนั่งเรือล่องแม่น้ำสะแกกรัง เป็นวิธีที่เราจะได้ชมวิถีชีวิตเรียบง่ายของชาวแพริมน้ำได้ดีที่สุด สามารถสอบถามรายละเอียดบริการเรือหางยาวล่องแม่น้ำได้ที่ผู้ประกอบการที่อยู่บริเวณท่าเรือชุมชนชาวแพแม่น้ำสะแกกรัง  ตำบลอุทัยใหม่ อำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี https://goo.gl/maps/bepeBxFdrg6ELKgA7  ตลาดเช้าริมน้ำสะแกกรัง  เป็นตลาดแบกะดินที่พ่อค้า แม่ค้า นำสินค้าจำพวกพืชผัก ผลไม้ อาหารสด อาหารท้องถิ่น รวมถึงปลาชนิดต่างๆ ที่ชาวบ้านจับมาได้จากแม่น้ำสะแกกรัง มานั่งขายกับพื้นตามวิถีดั้งเดิม ใครอยากเรียนรู้วิถีชีวิตของคนท้องถิ่นให้ลึกซึ้ง ไม่ว่าจะไปเที่ยวที่ไหน ขอแนะนำว่าต้องมาตลาดเช้า เพราะจะทำให้เราได้เห็นว่าเขากินอยู่อย่างไร ตลาดเช้านี้ตั้งอยู่บริเวณหน้าอาคารตลาดสดเทศบาล ใกล้กับสะพานวัดโบสถ์ฝั่งตรงกันข้ามกับเกาะเทโพ  ตำบลอุทัยใหม่ อำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี https://goo.gl/maps/uAf6KmfPE8ApHEwCA  วัดอุโปสถาราม  เดิมชื่อวัดโบสถ์มโนรมย์ ชาวบ้านเรียกว่าวัดโบสถ์ เป็นวัดเก่าแก่ริมแม่น้ำสะแกกรัง สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ 2324 โดยพระสุนทรมุนี (จัน) อดีตเจ้าคณะจังหวัดอุทัยธานี ต่อมา ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อ พ.ศ. 2536 ภายในโบสถ์และวิหาร มีภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นที่สวยงาม มีความโดดเด่นที่มณฑปแปดเหลี่ยม ลักษณะผสมแบบตะวันตก ที่ผนังด้านนอกมีลายปูนปั้นงดงาม และเนื่องเพราะพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จฯมาทอดพระเนตรวัดอุโปสถาราม เมื่อครั้งเสด็จฯมาทรงเยี่ยมพสกนิกรชาวอุทัยธานี จึงมีการสร้างแพรับเสด็จบริเวณท่าน้ำหน้าวัด  ตำบลสะแกกรัง อำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี https://goo.gl/maps/p76qxAFojxgN4qwe6  เกาะเทโพ  เมื่อครั้งอดีต เกาะเทโพเคยเป็นแหลมที่ยื่นออกมาคั่นระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำสะแกกรังครั้นมีการขุดคลองเชื่อมในภายหลัง จึงกลายเป็นเกาะกลางแม่น้ำที่มีสะพานเชื่อมระหว่างตลาดสดเทศบาลและวัดอุโปสถารามซึ่งตั้งอยู่บนเกาะนี้ ที่นี่เป็นอู่ข้าวอู่น้ำสำคัญของจังหวัดอุทัยธานี และเป็นเส้นทางปั่นจักรยานยอดนิยมลำดับต้นๆของเมืองไทย เพราะบรรยากาศสองข้างทางที่เต็มไปด้วยทุ่งนา ป่าไฝ่ ไร่ข้าวโพด และสวนผลไม้ โดยเฉพาะสวนส้มโอ แถมบางจุดยังเป็นแหล่งรวมสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์อีกด้วย ระยะทางปั่นจักรยานมีให้เลือกตั้งแต่ระยะ 8, 15 ไปจนถึง 33 กิโลเมตร สามารถติดต่อ ขอแผนที่เส้นทางปั่นจักรยาน และสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานอุทัยธานี รีสอร์ตส่วนใหญ่บนเกาะเทโพ มีจักรยานให้นักท่องเที่ยวที่เข้าพักใช้ฟรี กรุณาสอบถามก่อนจองห้องพัก  ตำบลสะแกกรัง อำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี https://goo.gl/maps/pi3ZwpCPtzycJNj89 การเดินทาง รถยนตร์ : จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 ระยะทางประมาณ 220 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง 30 นาที  รถโดยสารประจำทาง : มีทั้งรถโดยสารธรรมดาและรถโดยสารปรับอากาศของบริษัท ขนส่ง จำกัด และของเอกชน ออกจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ หมอชิต ถนนกำแพงเพชร ทุกวัน ใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง สอบถามรายละเอียดเที่ยวรถได้ที่บริษัท ขนส่ง จำกัด โทร.1490 รถไฟ : ลงที่สถานีนครสวรรค์ แล้วต่อรถโดยสารประจำทาง ระยะทางประมาณ 50 กิโลเมตร ไปยังจังหวัดอุทัยธานี สามารถตรวจสอบเวลาเดินรถไฟได้ที่ เว็บไซต์ : www.railway.co.th โทร : การรถไฟแห่งประเทศไทย : 1690

🌱 อุทัยธานี…. เสน่ห์วิถีชีวิตคู่ธรรมชาติ 🌱 อ่านเพิ่มเติม

✨ วัดนันตาราม จ.พะเยา ✨

ในช่วงเดือนแห่งความรักนี้ แอดมีที่เที่ยวแบบ Unseen มาแนะนำ นั่นก็คือวัดนันตาราม จ.พะเยา เดิมวัดนี้มีชื่อว่า “วัดจองคา” เพราะเป็นวัดที่ใช้หญ้าคามุงทำเป็นหลังคา จนกระทั่ง พ.ศ.2467 พ่อเฒ่านันตา วงศ์อนันต์ คหบดีชาวปะโอ (ต่องสู้) ได้บูรณะวัดขึ้นใหม่ โดยจ้างช่างชาวพม่าจากลำปางมาออกแบบและก่อสร้างวิหารหลังใหม่ และได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น “วัดนันตาราม” เพื่อรำลึกถึงคุณความดีและเป็นอนุสรณ์แด่พ่อเฒ่านันตา วงศ์อนันต์ ผู้บูรณะปฏิสังขรณ์วัด ปัจจุบัน วัดนันตาราม มีวิหารขนาดใหญ่ สร้างจากไม้สักทั้งหลัง มีหลังคาซ้อนเป็นชั้นลดหลั่นกันสวยงาม นอกจากจะเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปต่าง ๆ แล้ว ด้านหลังวิหารยังมีพิพิธภัณฑ์ที่รวบรวมข้าวของเครื่องใช้ในสมัยโบราณอีกด้วย ไฮไลท์ของที่นี่ คือพระประธานที่เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะแบบมัณฑะเลย์ แกะสลักจากไม้สักทอง และลงรักปิดทอง โดยมีการแกะสลัก “คิวปิด” หรือกามเทพตัวน้อยไว้บนซุ้มเรือนแก้วด้านหลังองค์พระ ไปลองมองหากันดู คาดว่าน่าจะได้รับอิทธิพลจากตะวันตก นับเป็นการผสมผสานศิลปะตะวันตกและตะวันออกเข้ากันอย่างลงตัวทีเดียว ด้วยเหตุที่มีเทพคิวปิด (เทพแห่งความรัก) ประดับอยู่ วัดนันตาราม จึงเป็นที่นิยมของเหล่าคู่รักหนุ่มสาว ที่มักเดินทางไปขอพรไหว้พระ ด้วยความเชื่อว่าได้ทั้งบุญได้ทั้งความรักที่สมหวัง

✨ วัดนันตาราม จ.พะเยา ✨ อ่านเพิ่มเติม

🌿 ภูผาม่าน ดินแดนในม่านหมอกที่ขอนแก่น 🌿

#ภูผาม่าน ดินแดนในม่านหมอกที่ขอนแก่น โอบล้อมด้วยภูเขาหินปูน สูดกลิ่นธรรมชาติห่างจากตัวเมืองแค่ 120 กม. เท่านั้น! พาร่างกายมาชาร์ตพลัง เพิ่มความสดชื่นกันที่ “อุทยานแห่งชาติภูผาม่าน” อำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มีธรรมชาติอันงดงามให้เราได้สัมผัส ทุ่งนาสีเขียวขจีที่ถูกโอบล้อมด้วยทิวเขาหินปูนน้อยใหญ่ มองไปแล้วรู้สึกสบายตาสบายใจ บรรยากาศในยามเช้ามีสายหมอกลอยละล่องอยู่รอบๆ เป็นอีกหนึ่งบรรยากาศที่ควรค่าต่อการมาสัมผัสด้วยตัวเอง 🦇🦇 และอีกหนึ่งไฮไลท์ที่ไม่ควรพลาดเมื่อมาเยือนที่นี่ คือ การมาชมค้างคาวที่ “ถ้ำค้างคาว” ในช่วงเวลา 17.30-18.30 น. ของทุกวัน ฝูงค้างคาวจำนวนมากจะบินเป็นริ้วขบวนออกมาจากถ้ำเป็นสายพลิ้วไหวไปมาน่าตื่นตาตื่นใจ ต้องลองไปสัมผัสดูสักครั้ง ☎️ ติดต่ออุทยานแห่งชาติภูผาม่าน โทร 043-001753

🌿 ภูผาม่าน ดินแดนในม่านหมอกที่ขอนแก่น 🌿 อ่านเพิ่มเติม

ภูมิปัญญาไทยในการทำ “น้ำตาลปึก”

เมื่อร่างกายต้องการความหวาน จะมี “น้ำตาล” ชนิดไหนบ้างมาช่วยเติมความอร่อยลงในอาหารแต่ละมื้อของเรา ในบ้านเรามีกระบวนการนำน้ำหวานจากธรรมชาติมาทำเป็นวัตถุดิบเพื่อใช้ปรุงอาหารในรูปแบบต่าง ๆ หนึ่งในนั้นก็คือ “น้ำตาลปึก” เป็นการนำน้ำหวานจากธรรมชาติมาเคี่ยวให้เหนียวและข้นจนเป็นสีเหลือง-น้ำตาลอ่อน ๆ จับให้เป็นก้อน แล้วพักไว้ให้เย็น เป็นภูมิปัญญาเรื่องอาหารที่ส่งทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ปัจจุบันก็ยังมีการใช้น้ำตาลปึกในการปรุงอาหาร นอกจากนี้ ยังมีการส่งเสริมการทำน้ำตาลปึกให้มีคุณภาพเพื่อจำหน่าย และช่วยให้เกิดอาชีพในชุมชน น้ำตาลจากภูมิปัญญาในแต่ละท้องถิ่นจะผลิตจากวัตถุดิบใดบ้าง ไปดูกัน อ้อย พืชเศรษฐกิจหลักที่สร้างรายได้ให้ชุมชน สามารถนำไปผลิตเป็นน้ำตาลได้หลายรูปแบบ รวมถึงน้ำตาลปึก โดยคั้นเอาน้ำจากลำตัน นำไปเคี่ยวจนเหนียวหนึบ แล้วนำมาหยอดเป็นก้อนกลม ปัจจุบันมีเหลือเพียงไม่กี่ที่ที่ยังผลิตน้ำตาลอ้อยแบบโบราณกันอยู่ หาซื้อได้ที่ นครสวรรค์ และกาญจนบุรี เป็นต้น วิสาหกิจชุมชนเกษตรกรสรรพสิ่งบ้านนากลาง ตำบลนากลาง อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ 086 351 2633 วิสาหกิจชุมชนน้ำตาลทรายแดง บ้านวังหิน หมู่ที่ 1 ตำบลเลาขวัญ อำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี 081 008 3965 มะพร้าว พืชตระกูลเดียวกับปาล์ม สามารถเก็บน้ำตาลได้จากช่อดอกมะพร้าว โดยการตัดปลายช่อออก แล้วนำกระบอกมารองน้ำตาลที่จะไหลออกมา ทิ้งไว้ข้ามคืน ก็จะได้น้ำตาลจากมะพร้าวเต็มกระบอก เพื่อน ๆ สามารถหาชมการทำน้ำตาลปึกจากมะพร้าวได้ในบริเวณจังหวัดราชบุรี สมุทรสงคราม เป็นต้น กลุ่มน้ำตาลมะพร้าวตาหลวง หมู่ 6 ตำบลตาหลวง อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี 081 014 8345, 083 026 3005, 090 437 8831, 085 393 9499 บ้านเตาไทยเดิม หมู่ 4 ตำบลบางกระบือ อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม 087 321 1288, 089 770 7541 ตาลโตนด การเก็บน้ำหวานจากตาลโตนด มีวิธีการคล้ายกับการเก็บน้ำตาลมะพร้าว แต่จะนิยมเก็บน้ำตาลจากต้นตัวผู้ เนื่องจากทำง่ายกว่า ใช้ “ไม้คาบ” อุปกรณ์สำหรับการนวดจั่นตาล (งวงดอกตาล) นวดวันละ 1 ครั้งไป 3-4 วัน จากนั้นตัดปลายจั่นแล้วเอากระบอกรองเก็บน้ำตาล ก็จะได้น้ำตาลจากตาลโตนด สามารถกินเป็นน้ำตาลสด หรือเอาไปทำน้ำตาลปึกได้ ตาลโตนดที่ขึ้นชื่ออยู่ที่เพชรบุรี นอกจากนี้ก็ยังมีที่อื่น ๆ ได้แก่ นครสวรรค์ สุโขทัย พิษณุโลก เป็นต้น สวนตาลลุงถนอม ตำบลถ้ำรงค์ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี 087 800 7716 วิสาหกิจชุมชนบ้านปากคลองเกยไชย ตำบลเกยไชย อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ 084 657 7227, 098 549 9974 ต้นจาก อีกหนึ่งภูมิปัญญาที่เกือบสูญหาย คือการทำน้ำตาลจากต้นจาก พืชตระกูลปาล์มอีกหนึ่งชนิดที่สามารถนำไปทำน้ำตาลปึกได้ การเก็บน้ำตาล ทำโดยการตัดเอาจาก “งวงจาก” คือส่วนก้านของผลจากที่มี 30 ผลขึ้นไป ลอกกาบออก ตัดปลายงวงที่มีทะลายจากออก ทำซ้ำเป็นเวลา 3 วัน แล้ววันที่ 4 จึงสามารถเก็บเกี่ยวน้ำหวานได้ นำกระบอกที่เจาะรูด้านข้างไว้เพื่อเสียบงวงจากได้ ทิ้งไว้ 1 คืนก็จะได้น้ำตาล ส่วนมากทำกันในแถบภาคใต้ เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีการปลูกต้นจากจำนวนมาก ได้แก่ นครศรีธรรมราช ตรัง เป็นต้น วิสาหกิจแปรรูปน้ำตาลจาก “ขนาบนาก” หมู่ 5 ตำบลขนาบนาก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช 095 682 4343 วิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่จากอำเภอกันตัง หมู่ที่ 4 ตำบลบางหมาก อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง 083 088 4978

ภูมิปัญญาไทยในการทำ “น้ำตาลปึก” อ่านเพิ่มเติม

💕 ชวนคนรักเที่ยวใกล้กรุงที่…“ตลาดน้ำอัมพวา” 💕

ในช่วงเดือนแห่งความรักนี้ ถ้าเพื่อน ๆ กำลังมองหาสถานที่ออกเดทที่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ แอดมีตัวเลือกที่น่าสนใจมาแนะนำค่ะ นั่นก็คือ “ตลาดน้ำอัมพวา” จังหวัดสมุทรสงคราม ทริปนี้นอกจากจะชวนไปหาของอร่อย ๆ แล้ว ถ้าไม่รีบร้อน มีเวลาชิลๆ จะพักค้างสักคืน ก็เป็นไอเดียที่ดี เพราะจะได้มีโอกาสตื่นขึ้นมาทำกิจกรรมยามเช้า และสัมผัสวิถีชีวิตท้องถิ่นของชุมชนคลองอัมพวา การเดินทาง 🚗 จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 35 ถนนพระราม 2 ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 20 นาที ระยะทางประมาณ 90 กิโลเมตร 🚌 มีรถโดยสารประจำทางออกจากสถานีขนส่งสายใต้ใหม่ ถนนบรมราชชนนี สายกรุงเทพฯ-ดำเนินสะดวก ผ่านจังหวัดสมุทรสงคราม ถึงตลาดน้ำอัมพวา สอบถามรายละเอียดเที่ยวรถได้ที่ บริษัท ขนส่ง จำกัด โทร.1490 ตลาดน้ำอัมพวา เป็นตลาดน้ำที่เก่าแก่และมีชื่อเสียงมาอย่างยาวนาน ไม่เพียงแต่ตลาดน้ำ บนบกริมสองฝั่งคลองอัมพวาก็มีร้านค้ามากมาย ไม่ว่าจะเป็นของกิน ของใช้ เสื้อผ้า ไปจนถึงสินค้าที่ระลึกต่างๆ นอกจากพืชผลทางการเกษตรจำพวกผักผลไม้แล้ว สิ่งที่ทำให้ตลาดน้ำอัมพวามีชีวิตชีวาก็คืออาหารอร่อยๆ ที่พ่อค้าแม่ค้านำใส่เรือมาปรุงขายกันสดๆ เช่น ก๋วยเตี๋ยวเรือ อาหารทะเล ปลาหมึกสดย่างกับน้ำจิ้มซีฟู้ดรสเด็ด หอยทอด ผัดไทย กาแฟ โอเลี้ยง และขนมหวานต่างๆ เป็นต้น เมื่อพูดถึงคลองอัมพวา ภาพที่คุ้นเคยที่สุดน่าจะเป็นภาพบรรยากาศคึกคักของตลาดน้ำ แต่แอดจะบอกว่าคลองอัมพวาก็มีมุมสงบด้วยเหมือนกัน ถ้ามีโอกาสมาพักค้างสักคืน ก็จะได้สัมผัสบรรยากาศยามเช้า และวิถีชีวิตของคนท้องถิ่นที่เรียบง่าย ที่นี่มีที่พักหลากสไตล์ให้เลือก ทั้งรีสอร์ท โรงแรม ห้องพักริมน้ำ และโฮมสเตย์ เช้าตรู่ได้ตื่นมาตักบาตรริมน้ำแบบนี้ ให้ความรู้สึกอิ่มใจไปได้ทั้งวันเลย ซึ่งที่พักริมน้ำหลายแห่งก็จะเตรียมอาหารคาวหวาน ไว้ให้นักท่องเที่ยวได้ใส่บาตรยามเช้ากันด้วย 📍 ตำบลอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ⏰ เปิดทุกวันศุกร์ -เสาร์ – อาทิตย์ และ วันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 10.00 – 21.00 น. 📞 08 3433 5613 🌐 https://g.page/amphawa?share

💕 ชวนคนรักเที่ยวใกล้กรุงที่…“ตลาดน้ำอัมพวา” 💕 อ่านเพิ่มเติม

Scroll to Top