พะเยา

พะเยา

แนะนำกิจกรรม วันมาฆบูชา

พาไปเที่ยวสัมผัสวิถีชีวิตชุมชน ส่งท้ายอากาศหนาว ที่ #บ้านป่าเหมี้ยง ใครอยากมาพักผ่อนใช้ชีวิตเรียบง่าย สโลวไลฟ์ ต้องมาที่นี่เลย เพราะที่นี่มีอากาศที่อีกไม่กี่สัปดาห์ก็จะถึงวันมาฆบูชา วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์เป็นครั้งแรก และมีพระสงฆ์จำนวน 1,250 รูป มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย เพื่อสักการะองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ปีนี้ตรงกับวันที่ 6 มีนาคม 2566 แต่ละวัดจะมีกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา ได้แก่ ทำบุญ ตักบาตร ฟังเทศน์ ส่วนช่วงเย็นก็จะมีการเวียนเทียนด้วยเช่นกัน และที่สำคัญ วัดในแต่ละพื้นที่แต่ละภูมิภาคก็จะมีกิจกรรมอื่น ๆ ตามวัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่นในช่วงวันมาฆบูชาอีกด้วย วันนี้ ขอแนะนำสถานที่ทำกิจกรรมในวันมาฆบูชา ให้แก่ผู้ที่สนใจได้เข้าร่วมและวางแผนล่วงหน้ากันได้ จะมีที่ไหนบ้าง ไปชมกัน  งานมาฆบูชา แห่ผ้าขึ้นธาตุ ประจำปี 2566 ณ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช  2-6 มีนาคม 2566 ประเพณีประจำปีของจังหวัดนครศรีธรรมราช เรียกได้ว่ามีการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ ต้อนรับประชาชนทั้งคนในพื้นที่และนักท่องเที่ยวแสวงบุญที่เดินทางมายังวัดนี้ และมีกิจกรรมให้ทำตลอดทั้ง 5 วัน เพื่อน ๆ สามารถดูกำหนดการและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่https://www.facebook.com/TAT.NST/posts/pfbid0hcSYQT26NKZ3nrGQK3no3i4KNfKRHBxQ7MaiKkk2YUh5sWTKJJzZRrE87vkijR8Ql  เวียนเทียนทางน้ำ แห่งเดียวในโลก ณ วัดติโลกอาราม กว๊านพะเยาตำบลเวียง อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา  4-6 มีนาคม 2566 เป็นอีกแห่งที่มีกิจกรรมในวันมาฆบูชาที่มีชื่อเสียงอย่างมาก คือ กิจกรรมนั่งเรือเวียนเทียนทางน้ำรอบวัดติโลกอารามซึ่งตั้งอยู่กลางกว๊านพะเยา โดยปกติแล้ว ทุกๆ ปีจะมีการเวียนเทียน 3 ครั้ง ในวันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา และวันอาสาฬหบูชา หากเพื่อน ๆ สนใจ สามารถไปร่วมกิจกรรม พร้อมชมแสงเย็นก่อนพระอาทิตย์ตกดินกันได้ด้วย พิธีเวียนเทียน จัดขึ้นในวันที่ 6 มีนาคม เวลา 17.00 น. ขึ้นเรือได้ที่ ท่าเรือวัดติโลกอาราม ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา เพื่อน ๆ สามารถดูกำหนดการและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/tatchiangrai/posts/pfbid02ub8DXAMETK8yUEY8nkLVxSRQQ7oMtfggrvno5MjttrT6XS86yBzLHmowxJEiaC22l  งานสรงน้ำพระธาตุ ห่มผ้าพระนอน ประจำปี 2566 วัดพระนอนแม่ปูคา หรือ วัดพระป้านตำบลแม่ปูคา อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่  6 มีนาคม 2566 ประเพณีสำคัญแห่งหนึ่งของเชียงใหม่ แม้ในปีนี้จะไม่ได้มีการจัดงานอย่างคึกคัก แต่เพื่อเป็นการสืบสานประเพณีอันดีงามที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ทางวัดจึงมีการจัดกิจกรรมสรงน้ำพระธาตุ ห่มผ้าพระนอน และเจริญพุทธมนต์ ตั้งแต่เวลา 09.00 น. เป็นต้นไปและเวลา 19.00 น. จะมีการเวียนเทียนรอบอุโบสถ   วันมาฆบูชา สืบสานตำนานสองเจดีย์ธาตุ องค์พระธาตุเจ้าหริภุญชัยและเจดีย์ปทุมวดี ประจำปี 2566 วัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหารถนนรอบเมืองใน ตำบลในเมือง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน  6 มีนาคม 2566 ร่วมงานประเพณีเดือนหกเป็ง ถวายผ้าห่มองค์พระบรมธาตุหริภุญชัยและเจดีย์ปทุมวดี ปูชนียสถานสำคัญที่อยู่คู่เมืองลำพูนมาอย่างยาวนาน กิจกรรมไฮไลต์ 18.00 น. แห่ผ้าห่มองค์พระบรมธาตุหริภุญชัยและเจดีย์ปทุมวดี 19.00 น. ชมการแสดงแสง สี เสียง เล่าขานตำนานสองเจดีย์ธาตุ  งานนมัสการพระบรมธาตุนาดูน ประจำปี 2566 พระบรมธาตุนาดูน พุทธมณฑลอีสานตำบลพระธาตุ อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม  4-12 มีนาคม 2566 นมัสการปูชนียสถานสำคัญแห่งอีสาน สถานที่ที่ค้นพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์โบราณคดีที่แสดงให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองของนครจำปาศรี เมืองโบราณในอดีต อีกทั้งยังค้นพบสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สันนิษฐานว่ามีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-15 (สมัยทวารวดี) กิจกรรมไฮไลต์ ชมพิธีเปิดสุดตระการตา การแสดงแสง สี เสียง ขบวนแห่ประเพณีสิบสองเดือน และมหรสพ เพื่อน ๆ สามารถดูกำหนดการและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/phathatnadun?locale=th_TH

แนะนำกิจกรรม วันมาฆบูชา อ่านเพิ่มเติม

จุดชมวิวผาช้างน้อย จ.พะเยา

หากเพื่อน ๆ คนไหนกำลังหาที่เที่ยวที่จังหวัด #พะเยา อยู่ วันนี้แอดมีอีกหนึ่งสถานที่ที่พลาดไม่ได้ถ้าได้ไปจังหวัดพะเยามาฝากกันค่ะ นั่นก็คือ #จุดชมวิวผาช้างน้อย นั่นเอง จุดชมวิว #ผาช้างน้อย มีลักษณะเป็นพื้นที่ราบคล้ายลานกว้าง จะเห็นภูเขาหินลูกหนึ่งโผล่ขึ้นมาโดยรอบ ๆ มีภูเขาโอบล้อมอยู่ จากจุดชมวิวจะมองเห็นพระอาทิตย์ขึ้นและทะเลหมอกที่ลอยปกคลุมไปทั่วบริเวณ แม้ในตอนที่ไม่มีหมอกผาช้างน้อยก็ดูสวยงามไปอีกแบบ บริเวณจุดชมวิวผาช้างน้อยมีที่พักเปิดให้บริการหลายแห่ง หรือหากขับรถผ่านอยากแวะจิบกาแฟชมวิวไปด้วยก็มีร้านกาแฟให้บริการด้วยเช่นกัน

จุดชมวิวผาช้างน้อย จ.พะเยา อ่านเพิ่มเติม

✨เที่ยวเมืองเหนือก่อนสิ้นปี ที่เชียงราย-พะเยา✨

ช่วงนี้หลายคนเริ่มมองหาที่เที่ยวทางภาคเหนือกันแล้ว ภาคเหนือมีทั้งเมืองหลักเมืองรอง น่าเที่ยวไปหมด สำหรับคนที่เที่ยวเมืองหลักปรุโปร่งแล้ว ลองเปลี่ยนบรรยากาศมาเที่ยวเมืองรองกับแอดได้นะ แอดมีเส้นทางเชียงราย-พะเยา 2 วัน 1 คืนมาเสนอ เที่ยวสนุก ผู้คนน่ารัก แหล่งท่องเที่ยวหลากหลายน่าสนใจ ทั้งศิลปะ ธรรมชาติป่าเขา และวัดวาอาราม ทริปนี้แอดขอแนะนำให้บินมาลงที่สนามบินนานาชาติแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย แล้วเช่ารถขับไปเที่ยวกัน วันที่ 1 ขัวศิลปะ Art Gallery จุดหมายแรกของเราอยู่ไม่ไกลจากสนามบิน ขับรถไปเพียง 6.5 กิโลเมตรเท่านั้น แอดจะพาเพื่อน ๆ เดินข้ามสะพานแห่งศิลปะ แต่อย่าจินตนาการถึงสะพานข้ามน้ำอะไรทำนองนั้นนะ เพราะจริง ๆ ที่นี่เป็น Art Gallery โดย “ขัว” แปลว่า “สะพาน” ในภาษาเหนือนั่นเอง ขัวศิลปะ เกิดจากการร่วมมือร่วมใจของเหล่าศิลปินจังหวัดเชียงราย ที่ต้องการเชื่อมโยงศิลปะกับสังคม สร้างบรรยากาศศิลปะที่เรียบง่ายและกลมกลืนกับชุมชนให้เหมือนเป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน ภายในขัวศิลปะ แบ่งเป็นโซนแสดงภาพศิลปะ โซนขายของที่ระลึก โซนสอนศิลปะและโซนร้านอาหาร-ร้านกาแฟ โซนศิลปะ เป็นการจัดแสดงผลงานศิลปะหมุนเวียน โดยจะนำผลงานของศิลปินเชียงรายทั้งรุ่นใหญ่และรุ่นใหม่ รวมถึงศิลปินไทยและนานาชาติเวียนกันมาจัดแสดง หากเพื่อน ๆ ชอบผลงานที่จัดแสดง ก็สามารถติดต่อขอซื้อเพื่อเป็นการสนับสนุนศิลปินได้เลย ตรงชั้น 1 ใกล้ ๆ ประตูทางเข้า จะมีโซนร้านอาหารชื่อ “มาลองเต๊อะ” แปลว่ามาลองกันเถอะ เป็นอาหารเหนือฟิวชั่น รสชาติอร่อย เพื่อน ๆ สามารถชมวิวริมน้ำระหว่างรับประทานอาหารได้ด้วย ทางร้านจะนำข้าวออร์แกนิคและผักปลอดสารพิษจากชาวบ้านในพื้นที่มาปรุงอาหารในร้าน หากอยากลองกินอาหารเหนือที่ทำจากวัตถุดิบคุณภาพดี แอดแนะนำที่นี่เลย บ้านดอยดินแดง ถ้าเพื่อน ๆ สนใจงานปั้นเซรามิก ไม่ควรพลาดบ้านดอยดินแดง จากขัวศิลปะ ขับรถไปทางอำเภอนางแล ประมาณ 6 กิโลเมตร จนถึงบ้านป่าอ้อ สังเกตปากซอยที่เขียนว่า ทางเข้าหมู่บ้านกะเหรี่ยง ขับตรงไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตรก็ถึงที่หมาย บ้านดอยดินแดง หรือที่คนเหนือเรียก ‘คุ้มดอยดินแดง’ เป็นทั้งบ้าน สตูดิโอและโรงงาน ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2534 โดย อ.สมลักษณ์ ปันติบุญ ศิลปินชาวเชียงราย ที่ไปเรียนวิชางานปั้นจากศิลปินเซรามิกที่เกาะคิวชู ประเทศญี่ปุ่นมากว่า 5 ปี ภายในบริเวณบ้านดอยดินแดง เราจะได้เห็นกระบวนการผลิตเครื่องปั้นดินเผา ทั้งการปั้น การแต่งทรง การตาก การลงสี ฯลฯ รวมถึงได้เห็นเครื่องปั้นสวย ๆ ที่จัดวางอยู่ทั้งในและนอกอาคาร จากการเดินดู แอดรู้สึกได้เลยว่างานแต่ละชิ้นมีความงามในแบบของตัวเอง เป็นความงดงามในความสามัญ กลมกลืนกับบรรยากาศรอบข้าง สวยด้วยตัวของชิ้นงานเอง ไม่ได้ประกาศตัวให้ใครมาชมความงามของตน นอกจากงานปั้นสวย ๆ แล้ว บรรยากาศที่นี่ก็ร่มรื่นมาก มีร้านกาแฟเล็กให้นั่งพัก สามารถจิบกาแฟไปพร้อม ๆ กับชื่นชมงานเซรามิกที่ทางร้านนำมาใส่เครื่องดื่มเสิร์ฟพวกเราได้เลย ติดกับร้านกาแฟเป็นอาคารขายของ มีงานสวย ๆ มากมายให้เลือกซื้อ ไฮไลท์คือห้อง Discount แต่ต้องบอกไว้ก่อนว่า งานที่นี่เป็นงานแฮนด์เมดที่ทำขึ้นอย่างประณีต ราคาจึงจะสูงกว่างานที่ทำจากระบบโรงงาน แต่การันตีคุณภาพได้เลย เพราะโรงแรมใหญ่หลายแห่งก็สั่งของจากที่นี่ไปใช้อยู่ประจำ วัดนันตาราม จุดหมายต่อไป เราต้องเดินทางข้ามจังหวัดไปที่วัดนันตาราม จังหวัดพะเยา ซึ่งใช้เวลาเดินทางเกือบ ๆ 2 ชั่วโมงจากตัวเมืองเชียงราย วัดนันตาราม เป็นวัดที่มีวิหารขนาดใหญ่ สร้างจากไม้สักทองทั้งหลัง มีหลังคาซ้อนชั้นลดหลั่นกันสวยงาม ตกแต่งประดับประดาด้วยกระจกสี เป็นการออกแบบและก่อสร้างโดยนายช่างชาวพม่าจากลำปาง ซึ่งพ่อเฒ่านันตา วงศ์อนันต์ คหบดีชาวปะโอ (ต่องสู้) ผู้บูรณะวัดในขณะนั้นเป็นผู้ว่าจ้างมา ภายในวิหารมีพระพุทธรูปเก่าแก่ที่งดงามหลายองค์ แถมมีพิพิธภัณฑ์ที่รวบรวมข้าวของเครื่องใช้ในสมัยโบราณอีกด้วย พระประธานที่ประดิษฐานอยู่ในวิหาร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยศิลปะแบบมัณฑะเลย์ แกะสลักจากไม้สักทองและลงรักปิดทอง มีความงดงามมาก นอกจากนี้ ในวิหารยังมีจุดน่าสนใจมาก ๆ อีกจุดก็คือ มีการประดับ “คิวปิด” หรือกามเทพตัวน้อยด้วย แต่จะอยู่ตรงไหน ลองหากันดู เนื่องจากวัดนี้สร้างขึ้นในสมัยที่พม่าตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ การแกะสลักรูปคิวปิดนั้น คาดว่าเกิดจากการรับอิทธิพลจากตะวันตกมาผสมกับตะวันออกนั่นเอง วันที่ 2 กว๊านพะเยา ที่นี่เป็นทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ มีเนื้อที่ 12,831 ไร่ เกิดจากการที่กรมประมงทำประตูกั้นน้ำเพื่อเก็บน้ำไว้ให้ประชาชนได้ใช้ในหน้าแล้งและช่วยป้องกันน้ำท่วมในหน้าฝน บริเวณรอบกว๊านพะเยามีที่พักหลากหลาย ราคาไม่แพงสำหรับนักท่องที่ยว เป็นแหล่งรวมร้านอาหารอร่อย มีคาเฟ่น่านั่ง และยังเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจของคนในท้องที่อีกด้วย กิจกรรมหนึ่งที่แอดอยากแนะนำคือ นั่งเรือไปไหว้หลวงพ่อศิลาที่วัดติโลกอารามกลางกว๊านพะเยา วัดติโลกอารามนี้เป็นวัดโบราณที่จมอยู่ใต้น้ำ มีเพียงส่วนยอดพระธาตุที่โผล่พ้นน้ำ จากการสำรวจใน พ.ศ. 2550 ได้ค้นพบจารึกหินทรายที่บอกประวัติการสร้างวัด ทำให้ทราบชื่อวัด และทราบว่าวัดนี้เป็นวัดหลวงสมัยพระเจ้าติโลกราช แห่งแผ่นดินล้านนา หากเพื่อน ๆ มาในช่วงวันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา และวันอาสาฬหบูชา จะพบกับการล่องเรือเวียนเทียน ณ วัดติโลกอารามด้วยนะ นั่งเรือแจวไปถึงวัดติโลกอาราม ใช้เวลาประมาณ 20 นาที *อย่าลืมสวมเสื้อชูชีพทุกครั้งที่ลงเรือนะเพื่อน ๆ วัดศรีโคมคำ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “วัดพระเจ้าตนหลวง” ตั้งอยู่ริมกว๊านพะเยา เป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าตนหลวง พระพุทธรูปศิลปะเชียงแสนองค์ใหญ่ที่สุดในล้านนา สร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2034-2067 นอกจากนี้ภายในอุโบสถยังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธชินราชจำลอง และงานจิตรกรรมฝาผนังฝีมือ อ.อังคาร กัลยาณพงศ์ ศิลปินแห่งชาติอีกด้วย อนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมือง ตรงข้ามกับวัดศรีโคมคำ คือ “อนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมือง” กษัตริย์ผู้ปกครองเมืองภูกามยาว หรือเมืองพะเยาในปัจจุบัน โดยในรัชสมัยของพ่อขุนงำเมือง (พ.ศ. 1801-1841) นับเป็นยุคสมัยที่บ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองอย่างมาก สามารถมาไหว้ขอพร ขอกำลังใจได้

✨เที่ยวเมืองเหนือก่อนสิ้นปี ที่เชียงราย-พะเยา✨ อ่านเพิ่มเติม

✨ วัดนันตาราม จ.พะเยา ✨

ในช่วงเดือนแห่งความรักนี้ แอดมีที่เที่ยวแบบ Unseen มาแนะนำ นั่นก็คือวัดนันตาราม จ.พะเยา เดิมวัดนี้มีชื่อว่า “วัดจองคา” เพราะเป็นวัดที่ใช้หญ้าคามุงทำเป็นหลังคา จนกระทั่ง พ.ศ.2467 พ่อเฒ่านันตา วงศ์อนันต์ คหบดีชาวปะโอ (ต่องสู้) ได้บูรณะวัดขึ้นใหม่ โดยจ้างช่างชาวพม่าจากลำปางมาออกแบบและก่อสร้างวิหารหลังใหม่ และได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น “วัดนันตาราม” เพื่อรำลึกถึงคุณความดีและเป็นอนุสรณ์แด่พ่อเฒ่านันตา วงศ์อนันต์ ผู้บูรณะปฏิสังขรณ์วัด ปัจจุบัน วัดนันตาราม มีวิหารขนาดใหญ่ สร้างจากไม้สักทั้งหลัง มีหลังคาซ้อนเป็นชั้นลดหลั่นกันสวยงาม นอกจากจะเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปต่าง ๆ แล้ว ด้านหลังวิหารยังมีพิพิธภัณฑ์ที่รวบรวมข้าวของเครื่องใช้ในสมัยโบราณอีกด้วย ไฮไลท์ของที่นี่ คือพระประธานที่เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะแบบมัณฑะเลย์ แกะสลักจากไม้สักทอง และลงรักปิดทอง โดยมีการแกะสลัก “คิวปิด” หรือกามเทพตัวน้อยไว้บนซุ้มเรือนแก้วด้านหลังองค์พระ ไปลองมองหากันดู คาดว่าน่าจะได้รับอิทธิพลจากตะวันตก นับเป็นการผสมผสานศิลปะตะวันตกและตะวันออกเข้ากันอย่างลงตัวทีเดียว ด้วยเหตุที่มีเทพคิวปิด (เทพแห่งความรัก) ประดับอยู่ วัดนันตาราม จึงเป็นที่นิยมของเหล่าคู่รักหนุ่มสาว ที่มักเดินทางไปขอพรไหว้พระ ด้วยความเชื่อว่าได้ทั้งบุญได้ทั้งความรักที่สมหวัง

✨ วัดนันตาราม จ.พะเยา ✨ อ่านเพิ่มเติม

⛅ Unseen 12 จุดชมหมอกเมืองไทย ⛅

อลังการความงามของธรรมชาติทั้งปี หมอกสวย วิวอลัง การเดินทางสุดมันส์ บรรยากาศเหล่านี้จะกลับมาอีกครั้ง เริ่ม !! ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปี 2565 ด้วยพิกัดเที่ยว “ตามล่าหาทะเลหมอก” ช่วงนี้อากาศกำลังเย็นสบาย เราขอแนะนำที่เที่ยว ชวนไปสัมผัสอากาศหนาวกันบ้าง พาไปชมทะเลหมอกขาว ท่ามกลางธรรมชาติ ดูแสงแรกยามเช้า รับอากาศบริสุทธิ์ ซึ่งแต่ละสถานที่นั้น สวยไม่แพ้กันเลย เอาใจสายรักหมอกมาก ๆ เพราะธรรมชาติเมืองไทย มีให้เราไปเจอได้แบบไม่สิ้นสุด แถมยังเที่ยวได้ทั้งปีอีกด้วย คุณลองหลับตา และจินตนาการถึงสายหมอก สายลมเย็นเหนือขุนเขาที่พัดผ่านผิวกาย สองเท้าย่ำไปบนผืนดิน สูดรับออกซิเจนบริสุทธิ์เข้าปอด และมองดูความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าที่เติบโตเพิ่มขึ้น แล้วความสุขของการท่องเที่ยวและพักผ่อน บรรยากาศดี ๆ เหล่านั้นจะกลับมา และช่วงเวลาแบบนี้ เราถือโอกาสบอกต่อสิ่งดี ๆ ให้คุณ สำหรับใครที่กำลังมองหาภาพปฏิทินสวย ๆ พร้อมแนะนำที่เที่ยว หรือดาวน์โหลดปฏิทิน ทำ E-Card ด้วยตัวเอง เพื่อส่งต่อความสุขให้กับคนที่เรารักและห่วงใย สามารถคลิกที่นี่ได้เลย https://tatcalendar.com/ สำหรับการทำ E-Card ด้วยตัวเองก็ง่ายมาก เราขอชวนคุณมาร่วมทำไปด้วยกัน เพียง.. คลิกเลือก E-card แบบรูปภาพหรือวิดีโอ ใช้คำอวยพรเดิมที่มีให้ หรือพิมพ์ข้อความใหม่ ความยาวไม่เกิน 30 ตัวอักษร ลงในช่องกรอกข้อความ คลิก เปลี่ยนข้อความ คลิกขวาเพื่อบันทึกรูปภาพพร้อมข้อความ สำหรับ PC หรือแตะที่รูปค้างไว้แล้วเลือก บันทึกรูปภาพ สำหรับโทรศัพท์มือถือและแท็บเล็ต นำภาพหรือวิดีโอที่บันทึกไว้ ส่งผ่านช่องทางต่างๆ ได้แก่ Social Media, E-mail เป็นต้น นอกจากมีเว็บไซต์แล้ว ยังมีแอพพลิเคชัน TAT CALENDAR ด้วยนะ สามารถดาวน์โหลดมาใช้งานกันแบบง่าย ๆ ได้แล้ววันนี้ ทั้งระบบ Android และ iOS ดาวน์โหลดผ่านระบบ Android คลิก : https://bit.ly/3oU23br ดาวน์โหลดผ่านระบบ iOS คลิก : https://apple.co/3GHsjfq ม่อนหมอกตะวันจังหวัดตาก “ม่อนหมอกตะวัน” ตั้งอยู่ที่บ้านป่าหวาย ธรรมชาติแห่งขุนเขายามเช้า ท่ามกลางสายหมอกพริ้วไหว และดอกเสี้ยนฝรั่งสีบานเย็นสลับขาวที่ผลิดอกสะพรั่งบานเต็มทั่วทิวเขา เป็นความงดงามที่เพิ่งถูกค้นพบและกลายเป็นจุดชมวิวแห่งใหม่ของจังหวัดตาก ที่นี่ มีบริการลานกางเต็นท์ บ้านพัก ให้ตื่นมาพร้อมชมพระอาทิตย์ขึ้น กับทะเลหมอก รวมทั้งดอกไม้ที่สวยงามตระการตา กับบรรยากาศที่รับรองว่าไม่เหมือนใคร ทางขึ้นของที่นี่ค่อนข้างชัน เป็นถนนแบบคอนกรีตผสมลูกรัง ขับรถระวัง ๆ กันด้วยนะ พิกัด : บ้านป่าหวาย อ.พบพระ จ. ตากGPS : https://goo.gl/maps/vqKcH9SVkRxJNrDD6 ดอยผาตั้งจังหวัดเชียงราย จุดชมวิวบนดอยผาตั้ง เป็นอีกหนึ่งสถานที่ห้ามพลาดในช่วงหน้าหนาว เพราะนอกจากอากาศที่หนาวสะท้านไปถึงกระดูกแล้ว ยังได้ไปชมพระอาทิตย์ขึ้นกลางทะเลหมอกขาวโพลนอีกด้วย บรรยากาศดีมาก ซึ่งจุดชมวิวที่เป็นไฮไลท์บนดอยแห่งนี้ มีอยู่หลายจุด ไม่ว่าจะเป็น ‘ป่าหินยูนนาน’ แนวโขดหินริมหน้าผา ไปนั่งเท่ ๆ ถ่ายภาพคู่กับวิวทะเลหมอกได้ หรือจุดชมวิว ‘ช่องเขาขาด’ เป็น landscape ที่โดดเด่น มีช่องเขาที่มองเห็นทะเลหมอกกับวิวภูเขาฝั่ง สปป.ลาวเป็น background ‘เนิน102’ อยู่ถัดจากช่องเขาขาดไปเล็กน้อย เดินขึ้นง่ายไม่เหนื่อย เป็นจุดที่มองเห็นวิวโดยรอบได้ 360 องศา ด้านหนึ่งจะเห็นยอดเขาแหลมฝั่งลาวที่สวยงามมาก นอกจากนี้ยังมีจุดชมวิวอื่น ๆ ใกล้เคียงอีกด้วย แต่ว่าต้องเดินไกลหน่อย รวมไปถึงมีที่พักไว้บริการด้วยนะ พิกัด : ดอยผาตั้ง อ. เวียงแก่น จ. เชียงรายGPS : ‭https://goo.gl/maps/nHvzsZDLD7z ดอยตาปังจังหวัดชุมพร “ดอยตาปัง” อยู่ในพื้นที่ของเขาทะลุ เป็นจุดชมวิวทะเลหมอก สุดฟินแห่งภาคใต้ เพราะมีหมอกตลอดทั้งปี ซึ่งที่นี่เป็นดอยที่ชาวบ้านในชุมชนช่วยกันผลักดันจนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวชื่อดังของชุมพร ที่นี่จะมองเห็นทะเลหมอกทอดผ่านแนวทิวเขาสวยงามไม่แพ้ทางเหนือ เหมาะกับการชมพระอาทิตย์ขึ้น มีลานกางเต็นท์ให้บริการ การเดินทางจะต้องใช้รถที่ขับเคลื่อนสี่ล้อเท่านั้น เนื่องจากข้างบนเป็นพื้นที่แคบ แนะนำให้ใช้การบริการรถจากชาวบ้านซึ่งเป็นผู้ชำนาญเรื่องถนนหนทางพาขึ้นไปดีกว่านะ พิกัด : ดอยตาปัง อ.สวี จ.ชุมพรGPS : https://goo.gl/maps/21FgYFpJorMSBPhq9 และช่วงเวลาแบบนี้ เราถือโอกาสบอกต่อสิ่งดี ๆ ให้คุณด้วย สำหรับใครที่กำลังมองหาภาพปฏิทินสวย ๆ พร้อมคำแนะนำงานประเพณี กิจกรรมดีดี หรือดาวน์โหลดปฏิทิน ทำ E-Card ด้วยตัวเอง เพื่อส่งต่อความสุขให้กับคนที่เรารักและห่วงใย สามารถคลิกที่นี่ https://tatcalendar.com/ หรือสแกน QR Code ในภาพได้เลย นอกจากเว็บไซต์แล้ว ยังมีแอพพลิเคชัน TAT CALENDAR ด้วยนะ สามารถดาวน์โหลดมาใช้งานกันแบบง่าย ๆ ได้แล้ววันนี้ ทั้งระบบ Android และ iOS ดาวน์โหลดผ่านระบบ Android คลิก : https://bit.ly/3oU23brดาวน์โหลดผ่านระบบ iOS คลิก : https://apple.co/3GHsjfq  และนี่ก็คือตัวอย่าง E-Card ที่เราทำ ซึ่งสามารถใช้คำอวยพรเดิมที่มีให้ หรือเปลี่ยนข้อความเป็นคำอวยพรในสไตล์ของตัวเองได้เลย สำหรับการทำ E-Card ด้วยตัวเองก็ง่ายมาก เราขอชวนคุณมาร่วมทำไปด้วยกัน เพียง..1. คลิกเลือก E-card แบบรูปภาพหรือวิดีโอ2. ใช้คำอวยพรเดิมที่มีให้ หรือพิมพ์ข้อความใหม่ ความยาวไม่เกิน 30 ตัวอักษร ลงในช่องกรอกข้อความ3. คลิก เปลี่ยนข้อความ4. คลิกขวาเพื่อบันทึกรูปภาพพร้อมข้อความ สำหรับ PC หรือแตะที่รูปค้างไว้แล้วเลือก บันทึกรูปภาพ สำหรับโทรศัพท์มือถือและแท็บเล็ต5. นำภาพหรือวิดีโอที่บันทึกไว้ ส่งผ่านช่องทางต่าง ๆ

⛅ Unseen 12 จุดชมหมอกเมืองไทย ⛅ อ่านเพิ่มเติม

OTOP Online Market: 5 ร้านเซรามิกตกแต่งบ้านสุดเก๋

ช่วงนี้เพื่อน ๆ หลายคนได้ใช้เวลาอยู่บ้านมากขึ้น และอาจจะอยากหาของเก๋ ๆ มาตกแต่งบ้านเพิ่ม วันนี้แอดมีร้านเซรามิกที่จำหน่ายของใช้ ของตกแต่งบ้านมาแนะนำเพื่อน ๆ ค่ะ ถึงเราจะอยู่บ้านแต่ก็สามารถช่วยอุดหนุนสินค้า OTOP ได้ เพราะทุกร้านมีบริการส่งตรงถึงบ้านเลย สะดวกสุด ๆ ร้าน Machali Ceramic จังหวัดเชียงใหม่ เอาใจคนชอบปลูกต้นไม้ด้วยกระถางต้นไม้สุดน่ารักจากร้านมาชาลิ มีความพิเศษตรงที่กระถางแต่ละใบมีแค่ลายเดียวเท่านั้น จะซื้อไปปลูกต้นไม้หรือเก็บเป็น collection ของสะสมก็ย่อมได้.ไปอุดหนุนกันได้ที่ Facebook: Machali Ceramicโทร. 090 316 4926.ขอบคุณภาพจากร้าน Machali Ceramic ร้านธนบดีเซรามิก จังหวัดลำปาง ธนบดีเซรามิกมีชื่อเสียงจากการเป็นผู้บุกเบิกการทำชามตราไก่เจ้าแรกในจังหวัดลำปาง มาวันนี้ที่ร้านไม่ได้ขายแค่ชามตราไก่อย่างเดียว ยังมีสินค้าเก๋ไก๋น่ารักให้ได้เลือกซื้ออีกหลายอย่าง เช่น จานรองแก้วเซรามิกดูดซับน้ำ กระถางต้นไม้จิ๋ว เม็ดดินเผาสำหรับปลูกต้นไม้ ดินดูดน้ำหอมปรับอากาศ และกระดิ่งลม เป็นต้น.ไปอุดหนุนกันได้ที่ Facebook: ธนบดีเดคอร์เซรามิคเว็บไซต์: https://dhanabadee.comโทร. 054 354 011, 088 138 0244.ขอบคุณภาพจาก ร้านธนบดีเซรามิก บ้านช่างปั้น ดอนหมูดิน จังหวัดสกลนคร เซรามิกของดอนหมูดินเน้นความดิบของธรรมชาติ จินตนาการและความรู้สึกของผู้ปั้น ทำให้ผลงานแต่ละชิ้นมีเอกลักษณ์ในตัว ที่นี่มีงานเซรามิกให้เลือกหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น จาน ชาม แก้วน้ำ ชุดน้ำชา แจกันดอกไม้ และตุ๊กตาจิ๋วสำหรับวางประดับตามที่ต่าง ๆ ที่สำคัญไม่ใช้สารตะกั่ว หรือปรอทในการผลิต ใครชอบผลงานแนวนี้ต้องรีบไปจับจองแล้วละ.ไปอุดหนุนกันได้ที่ Facebook: ดอนหมูดินโทร. 089 128 7390.ขอบคุณรูปภาพจาก บ้านช่างปั้น ดอนหมูดิน ร้านเถ้าฮงไถ่ เถ้าฮงไถ่ โรงงานเซรามิกที่ขึ้นชื่อในเรื่องการทำโอ่งมังกร แต่นอกจากโอ่งมังกรแล้ว ที่นี่ก็ยังมีงานเซรามิกแบบอื่น ๆ ด้วย เช่น แก้วน้ำ ตุ๊กตาประดับบ้านและสวน หรือโต๊ะเก้าอี้ดีไซน์เก๋ ๆ ถ้าใครชอบงานเซรามิกสีสันสดใสที่นี่ตอบโจทย์เลยค่ะ.ไปอุดหนุนกันได้ที่ Facebook: Tao Hong Tai Ceramics Factoryโทร. 086 344 9292 ร้านเฮือนปฏิมา จังหวัดพะเยา ที่ร้านมีผลงานที่เป็นข้าวของเครื่องใช้ และของตกแต่งบ้านอยู่หลายแบบ เช่น ถ้วย จาน ชาม แจกัน ที่จุดน้ำมันหอมระเหย โดนผลงานของทางร้านจะเน้นสี earth tone และเลียนแบบให้มีความกลมกลืนกับธรรมชาติ.ไปอุดหนุนกันได้ที่ Facebook: เฮือนปฏิมา อาร์ท แกลอรี่โทร. 081 960 9859.ขอบคุณรูปภาพจาก ร้านเฮือนปฏิมา

OTOP Online Market: 5 ร้านเซรามิกตกแต่งบ้านสุดเก๋ อ่านเพิ่มเติม

รู้เขา รู้เรา รู้พะเยา ตอนที่ 2

สายบุญ – สักการะวัดงามสายพม่า ที่วัดนันตาราม.ใครมาพะเยา แนะนำให้ขับรถมาไม่ไกลจากอำเภอเมือง ก็จะเจอกับอำเภอใหญ่ที่ชื่อว่าอำเภอเชียงคำ ซึ่งมีวัดอันโด่งดังที่มีสถาปัตยกรรมคล้ายวัดชาวไทใหญ่แห่งนี้เป็นแลนด์มาร์กสำคัญ.จุดเด่นที่เห็นได้จากไกลๆ คือเป็นวัดที่ใช้ศิลปะแบบไทใหญ่ สร้างจากไม้สักทั้งหลัง แต่ถ้าเข้าไปมองใกล้ๆ ข้างในก็จะเจอกับศิลปะจากกระจกสีบนเพดานที่วิจิตรงดงามไม่แพ้กัน ส่วนพระประธานด้านในก็เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยที่แกะสลักจากไม้สักทองทั้งต้น ความงดงามที่ต่างจากที่อื่นนี่แหละที่ทำให้นักเที่ยวสายบุญส่วนใหญ่ที่มาพะเยาต้องแวะมาสักการะ สายธรรมชาติ – แช่น้ำอุ่น ปูเสื่อปิกนิก ที่น้ำตกภูซาง .แม้จะเป็นน้ำตกที่ไม่ได้เด่นเรื่องความอลังการงานสร้าง แต่น้ำตกภูซางพิเศษตรงที่เป็นน้ำตกน้ำอุ่นเพียงแห่งเดียวในไทย เกิดจากสายน้ำอุ่นที่ไหลจากผาหินปูน อุณหภูมิราวๆ 35-36 องศาเซลเซียสกำลังดี เหมาะแก่การแช่น้ำผ่อนคลาย ซึ่งชาวบ้านที่นี่ก็มาพักผ่อนเล่นน้ำกันเป็นประจำ และด้วยบรรยากาศรอบๆ ที่ร่มรื่นสวยงาม ก็ทำให้เราได้เห็นวัฒนธรรมปูเสื่อปิกนิกกินข้าวกันรอบๆ ซึ่งเป็นภาพที่น่ารัก.สำหรับนักเที่ยวที่อยากผจญภัยอีกหน่อย รอให้พ้นช่วงโควิดไปก่อน อุทยานก็จะเปิดให้เข้าไปเดินในเส้นทางศึกษาธรรมชาติที่มีพันธุ์ไม้หายาก มีบ่อน้ำซับอุ่นที่เป็นต้นน้ำอุ่นของน้ำตกนี้ ระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร ใช้เวลาแค่หนึ่งชั่วโมงก็น่าจะอิ่มใจแล้วล่ะ!  สายชิลล์ – ขับรถลัดเลาะไปนั่งจิบกาแฟชมวิวที่ภูลังกา.กาแฟหลักร้อย วิวหลักล้านจริงๆ เพราะ Magic Mountain คือร้านกาแฟยอดฮิตที่ใครๆ ก็บึ่งไปแต่เช้ามืด เพื่อไปกินกาแฟยามเช้าแล้วถ่ายรูปท่ามกลางบรรยากาศทะเลหมอกหน้าหนาวเป็นที่สุด ซึ่งเราทำสิ่งนี้ได้โดยไม่ต้องขับรถขึ้นเขาแล้วเดินต่อขึ้นไปบนวนอุทยานอีกต่อไป แต่เพียงแค่ยอมขับเลี้ยวลัดตัดผ่านเส้นทางต้นไม้สวยๆ ห่างมาจาก อำเภอเมืองพะเยาราวๆ 2 ชั่วโมง ร้านนี้จะอยู่ติดริมถนนใกล้ภูลังการีสอร์ทเลยล่ะ.ช่วงเวลาที่ดีที่สุดที่จะเห็นทะเลหมอกคือยามเช้าก่อนเก้าโมง ที่จะมีแสงสีทองสาดส่องสายหมอก ท่ามกลางภูเขาหินปูนน้อยใหญ่ของอุทยานแห่งชาติ แต่ถ้าพลาดไปไม่ทันแบบเรา เอาแค่วิวก็ถือว่าสุดยอดมากๆ แล้ว สายชิลล์ไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง  สายแฟ – ช้อปปิ้งผ้าทอไทลื้อ ที่บ้านฮวก.คนรักแฟชั่น ถ้าได้เจอกับผ้าทอไทลื้อและงานหัตถกรรมของชาวบ้านฮวก อาจจะต้องช้อปปิ้งกลับไปแบบเต็มไม้เต็มมือไม่รู้ตัว เพียงขับรถมาไม่ไกลจากอำเภอเชียงคำ มาตรงหมู่บ้านที่ติดกับดินแดนของประเทศลาว ก็จะเจอร้านค้าของชาวบ้านฮวกที่ขายสินค้าที่ทำขึ้นด้วยมือและมีความประณีต มีทั้งผ้าซิ่นทอไทลื้อซึ่งเป็นจุดเด่นประจำจังหวัดให้เลือกจนตาลาย เสื้อผ้าจากผ้าทอที่ตัดประยุกต์มาให้ดูร่วมสมัย และยังมีผลิตภัณฑ์อื่นๆ จากผ้าไทลื้อและงานฝีมือชุมชนมาขายในราคาไม่แพงด้วยนะ สายคาเฟ่ฮอปปิ้ง – กินกาแฟในคาเฟ่เก๋ Blacksmith.ปิดท้ายแบบตอบใจนักเที่ยวสายคาเฟ่ฮอปปิ้ง ด้วยร้านกาแฟสุดเก๋แห่งอำเภอเชียงคำ ซึ่งเป็นบ้านสีเทาที่โดดเด่นอยู่ในซอย เข้าไปข้างในก็เจอกับการตกแต่งสไตล์ Industrial Loft พร้อมเมนูกาแฟน่าทานหลากหลาย และมุมถ่ายรูปสุดชิกที่ดูเผินๆ เหมือนไม่ต่างจากคาเฟ่เก๋ในกรุงเทพฯ แต่วิวนอกหน้าต่างและบรรยากาศโดยรอบยังคงความน่ารักสไตล์เมืองเล็กๆ อยู่ ใครไปเชียงคำก็อย่าลืมแวะไปอุดหนุนและถ่ายรูปชิคๆ กลับมา บอกให้โลกรู้ว่าแม้แต่ในอำเภอเล็กๆ ในเมืองรอง ก็ยังมีคาเฟ่ดีๆ ซ่อนอยู่นะ!

รู้เขา รู้เรา รู้พะเยา ตอนที่ 2 อ่านเพิ่มเติม

รู้เขา รู้เรา รู้พะเยา ตอนที่ 1

สาย Unseen – นั่งเรือพายไปไหว้พระโบราณ กลางกว๊านพะเยา.บางคนอาจไม่เคยรู้ว่ากว๊านพะเยามีวัดเก่าแก่ตั้งอยู่กลางน้ำ ซึ่งเป็นอันซีนติดอันดับต้นๆ ของประเทศ! ชื่อของวัดกลางน้ำแห่งนี้ก็คือวัดติโลกอาราม วัดแห่งนี้ถูกค้นพบซากและหลักฐานจากการสำรวจน้ำในปี พ.ศ. 2550 ทางจังหวัดจึงอัญเชิญพระพุทธรูปหินทราย หลวงพ่อศิลากว๊านพะเยา ซึ่งเป็นพระพุทธโบราณปางมารวิชัยที่ถูกค้นพบตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 มาประดิษฐานไว้คู่กัน.ความสนุกของการไปไหว้พระที่วัดติโลกอาราม คือต้องข้ามเรือแจวกับคุณลุง ราคาคนละ 30 บาท ชมวิวกว๊านแบบใกล้ชิดไปพลาง ฟังประวัติเมืองจากลุงไปพลาง ไปถึงตรงกลางก็จะได้สักการะ ได้ปล่อยปลา และพอหันกลับมาจากเกาะเล็กๆ แห่งนี้จะเจอกับวิวเมืองพะเยาจากอีกด้านหนึ่งที่ได้อารมณ์น่ารักไปอีกแบบ.กระซิบก่อนว่าถ้าอยากไปตอนโฮไลต์ ให้ไปช่วงวันสำคัญทางพุทธศาสนา เพราะจะมีการเวียนเทียนทางน้ำ (พายเรือเวียนเทียน) ที่เดียวในโลกด้วยนะ สายความเชื่อ – ไปสักการะพญานาค ที่กว๊านพะเยา.กว๊านพะเยาอาจจะเป็นแลนด์มาร์กชื่อดังในสายตาของนักท่องเที่ยว แต่สำหรับคนพะเยาเองนั้นผูกพันกับกว๊านแห่งนี้ เพราะเป็นทั้งแหล่งน้ำสำคัญ เป็นพื้นที่หย่อนใจ และยังมีความเชื่อเรื่องพญานาคอันศักดิ์สิทธิ์ โดยเชื่อกันว่าที่กว๊านแห่งนี้เดิมเป็นที่อยู่ของพญานาคจอมกร่างตนหนึ่งชื่อว่า พญาธุมะสิกขี ซึ่งภายหลังยอมกำราบลงเมื่อได้เห็นอิทธิฤทธิ์ของพระพุทธเจ้า จึงกลายมาเป็นผู้มอบทองคำให้สร้างพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง ซึ่งก็คือ ‘พระเจ้าตนหลวง’ ในวัดศรีโคมคำ ที่อยู่ไม่ไกลจากกว๊านพะเยานั่นเอง ด้วยตำนานความเชื่อนี้ทำให้มีการสร้างรูปปั้นพญานาคขนาดใหญ่เป็นจุดเด่นกลางกว๊านพะเยาอย่างที่เราเห็น และก็มีการทำพิธีสืบชะตากว๊านพะเยา (พิธีแบบล้านนา) ทุกปีเพราะเชื่อว่าพญานาคเป็นผู้ปกปักรักษากว๊าน.สำหรับนักท่องเที่ยวสายความเชื่อ การได้ไปสักการะและถ่ายภาพพญานาคกลางกว๊านพะเยานั้นเป็นอะไรที่คุ้มค่า หรือจะลองขอโชคกับปู่พญานาคตามชาวบ้านที่นี่ดู โดยเฉพาะในช่วงใกล้หวยออก ชาวบ้านก็จะพากันไปขอโชคกับปู่พญานาคที่ตั้งอยู่ตรงท่าเรือโบราณไม่ไกลจากรูปปั้น โชคดีอาจเป็นของคุณก็ได้นะ สายลองของ – ลองกินกุ้งเต้น ริมกว๊านพะเยา.ถ้ามากว๊านพะเยาแล้วไม่ได้กิน ‘กุ้งเต้น’ ก็เท่ากับมาไม่ถึง!.กุ้งเต้น คือเมนูที่ต้องมีของเหล่าแม่ค้าพ่อค้าไปจนถึงร้านอาหารริมกว๊าน จุดเริ่มต้นน่าจะมาจากเดิมที่ผู้คนรอบกว๊านทำการประมงเพื่อเลี้ยงปากท้องและค้าขาย จับปลาจับกุ้ง รวมไปถึงกุ้งฝอยตัวจิ๋วๆ ซึ่งกลายมาเป็นเมนูประจำกว๊าน แม้ปัจจุบันจะไม่มีการจับกุ้งฝอยจากกว๊านแล้ว เปลี่ยนไปรับจากแหล่งน้ำจืดไหลนิ่งในละแวกแทน แต่ก็ยังเป็นเมนูฮิตที่ไปถึงยังไงก็ต้องเจอ และต้องลองให้ได้สักครั้งในชีวิต.ความพีคของเมนูนี้ คือการเอากุ้งเป็นๆ มาปรุงด้วยพริกป่น มะนาว ข้าวคั่ว น้ำปลา คลุกเคล้ากับผักสมุนไพร แล้วปิดฝาเสิร์ฟเลยทันที นั่นแปลว่ากุ้งที่มาในชามนั้นยังกระโดดอยู่ เวลาจะกินเข้าไปก็ต้องรีบตักใส่ปากให้ทันก่อนกุ้งน้อยจะกระโดดหนี ใครเป็นนักเที่ยวสายลองของ ถ้าไปทั้งทีก็ต้องไปลองให้รู้! สายศิลป์ – ไปชมศิลปะวิถีพุทธบนเขา ที่วัดอนาลโย.เวลาเข้าวัดเมืองเหนือ เรามักนึกภาพวัดแบบล้านนา แต่ที่วัดอนาลโยแห่งนี้กลับแตกต่างไป เพราะเป็นวัดที่มีพระพุทธรูปยุคสุโขทัยที่งดงาม รวมถึงพระพุทธรูปอีกหลากหลายปาง และยังเป็นสำนักสงฆ์ที่ร่มรื่น บวกกับการที่ตัววัดตั้งอยู่บนดอยบุษราคัม ระหว่างทางเดินขึ้นไปมีจุดให้แวะชมและสักการะท่ามกลางบรรยากาศที่โอบล้อมด้วยต้นไม้และแสงแดดส่องเป็นระยะ ยิ่งทำให้เกิดความสงบใจอย่างประหลาด.ด้านบนสุดเป็นหอพระแก้วมรกตจำลองและยังมีจุดชมวิวของเมืองพะเยาที่สวยงาม เรียกว่างานนี้นักเที่ยวสายศิลป์ถ้าเดินขึ้นไปถึงยอดก็จะได้ชมความงามถึงสองต่อ ขอบอกว่าฟินแน่นอน  สายเขียว – เก็บผักกิน+นอนโฮมสเตย์ชุมชน ที่บ้านต้นเต๊า .มองเผินๆ บ้านต้นเต๊าอาจจะเหมือนคาเฟ่น่ารักทั่วไป แต่ที่จริงแล้วที่นี่เป็นทั้งร้านอาหารและโฮมสเตย์ที่มีแนวคิดดีๆ แฝงอยู่ จุดเริ่มต้นจากการที่เจ้าของบ้านเป็นสถาปนิกชาวพะเยาที่สนใจชุมชนบ้านบัว ซึ่งปลูกข้าวอินทรีย์และมีวิถีพอเพียงเป็นทุนเดิม พอได้เข้าไปอยู่อาศัยและทำโฮมสเตย์จึงอยากร่วมเป็นส่วนหนึ่งของบ้านบัว วัตถุดิบในคาเฟ่จึงเป็นการนำผลิตผลในหมู่บ้านมาปรุงอาหาร แถมยังสนับสนุนให้เข้าไปสัมผัสวิถีการทำเกษตรพอเพียงของชุมชนอีกด้วย ทุกวันนี้บ้านต้นเต๊าจึงเปรียบเสมือนห้องรับแขกของชุมชนบ้านบัวไปโดยปริยาย.ใครที่เป็นนักเที่ยวสายออร์แกนิกและวิถีชุมชน ต้องไม่พลาดการมาพักที่โฮมสเตย์แห่งนี้ แม้จะมีห้องพักมีอยู่ 2 ห้อง แต่ที่นี่ก็ยินดีแนะนำโฮมสเตย์อื่นๆ ในชุมชนจริงๆ ให้เราได้เข้าพัก หรือจะแวะมาสนับสนุนอาหารอร่อยจากวัตถุดิบชุมชนก็เชื่อว่าจะได้ความสุขกลับไปไม่แพ้กัน 

รู้เขา รู้เรา รู้พะเยา ตอนที่ 1 อ่านเพิ่มเติม

ชิม ‘เชียงคํา’ ทีละคําสองคํา ตอนที่ 2

ที่ตลาดสดเทศบาล 1 คือตลาดสดหลักของ อ.เชียงคํา ที่ไม่ได้คึกคักแค่ในตัวตลาดสดที่อยู่ในร่มเท่านั้น แต่บนถนนข้างๆ ตลาดก็ยังกลายเป็นถนนคนเดินที่มีพ่อค้าแม่ขายมาปูเสื่อ กางร่ม เข็นรถเข็นมาขายอาหารเช้าแบบสุดแสนจะน่ากินราวกับว่าไม่มีใครยอมแพ้ใครเลยทีเดียว เราเริ่มจากการเข้าไปกินอาหารเช้าในร้านดังประจําตลาดที่ปูโต๊ะให้คนนั่งกินรอบคูหาก่อนจะเดินช้อปของกิ๋นถูกใจกลับมากินต่อในมื้อกลางวัน โดยวางแผนไว้ว่าจะเอาอาหารไปปูเสื่อกินกันที่นํ้าตกดังประจําถิ่น ว่าแล้วก็ไปลุยหาอาหารกัน! เมนูที่ 1 – ก๋วยเตี๋ยวนํ้าเงี้ยว.ร้านคําเอ้ย คือร้านขนมจีนนํ้าเงี้ยวเจ้าเก่าแก่ที่ตั้งอยู่ในตลาด ความคลาสสิกคือมีคุณป้ายืนเด่นทําอาหารอยู่ตรงกลางเหมือนเป็นบาร์ แล้วรอบๆ คูหาก็เป็นทีนั่งกิน ซึ่งจุคนได้ราวๆ รอบละ 4-5 คนเท่านั้นจนต้องรอคิว ซึ่ง ไม่ใช่แค่บรรยากาศของร้านที่คึกคักชวนอร่อยนะ แต่คุณแม่สามีกระซิบบอกว่า ความเด็ดของร้านป้าคือเมนูก๋วยเตี๋ยวนํ้าเงี้ยว ที่เปลี่ยนจากเส้นขนมจีนมาใส่เส้นใหญ่แทน แต่เส้นใหญ่ของที่นี่หน้าตาเหมือนเส้นเล็กนะ.พอได้ที่นั่ง เราก็สั่งเมนูเด็ดที่แม่ว่ามากิน ซึ่งคอนเฟิร์มว่ามันเด็ดจริง ไม่เพียงนํ้าซุปนํ้าเงี้ยวที่อร่อยกลมกล่อม ถั่วงอกหัวโตที่ให้เติมได้เองไม่อั้น พริกคั่วหอมๆ ที่ใส่แล้วเพิ่มความอร่อยจัดจ้าน แต่ทีเด็ดจริงๆ คือเส้นใหญ่ที่เหนียวนุ่ม กลิ่นดี ซอยมาบางๆ ให้พอซึมซับเข้ากับนํ้าซุป เป็นเมนูยามเช้าที่บอกเลยว่าฟิน ถ้ามาที่นี่ต้องแวะมากิน  เมนูที่ 2 – ข้าวเกรียบปากหม้อเวอร์ชั่นพะเยา.ฟังชื่อเหมือนจะธรรมดา หากินง่ายในกรุงเทพฯ ใช่ไหม แต่ข้าวเกรียบปากหม้อของที่นี่มันไม่ใช่อย่างนั้นเลย สําหรับเราเมนูนี้คือส่วนผสมของอาหารคาวและขนมหวานแบบที่เข้ากันได้ดีสุดๆ โดยในตลาดจะมีให้เลือกสองแบบคือแบบคาวกับหวาน เราเลือกแบบคาวกลับมาลองกิน สิ่งที่แปลกคือข้าวเกรียบปากหม้อที่นี่เปนไส้หน่อไม้ผัดหมูสับ ห่อด้วยแป้งบางเฉียบ โรยด้วยตั้งไฉ่ที่มีรสเค็มนิดๆ แต่ดันราดด้วยนํ้ากะทิ! พอชิมเข้าไปแล้วกลับกลายเป็นความเค็มหน่อยๆ มันนิดๆ ราดลงไปบนเท็กซ์เจอร์นุ่มนิ่ม และไส้แสนอร่อยกรุบๆ ที่สุดจะลงตัว สรุปว่าชอบจริงจังจนอยากให้มีแบบนี้ขายที่กรุงเทพฯ บ้าง  เมนูที่ 3 – แกงกระด้าง.เคยได้ยินเมนูแกงกระด้างมาบ้างเวลาไปเที่ยวเชียงใหม่ แต่ก็ไม่มีโอกาสได้ชิมเพราะฟังชื่อแล้วดูไม่น่าอร่อย พอมาเที่ยวพะเยาเราได้เจอขายอยู่ในตลาดแทบทุกวัน บวกกับคิดว่าวันนี้อยากได้อาหารเที่ยงที่พกพาง่ายไปกินที่นํ้าตก ก็เลยสบโอกาสได้ลองดูสักตั้ง.ความรู้ใหม่ที่เราได้เรียนรู้คือ แกงกระด้างแบบออริจินอลมันจะต้องจับตัวกันเป็นก้อนได้ด้วยไขมันจากขาหมู (ไม่ได้ใส่ผงวุ้นอย่างที่เคยคิด) แถมเป็นอาหารประจําฤดูหนาวเพราะต้องใช้ลมหนาวเป็นอาวุธในการปรุงให้มันเย็นตัวจนจับกันเป็นก้อนอย่างที่เห็น ซึ่งลองกินแล้วพบว่ากินง่ายเพราะรสชาติเหมือนแกงใส่พริกแห้ง แต่แค่เย็นกว่าและจิ้มด้วยมือเอามากินกับข้าวเหนียวได้ง่าย เป็นแกงที่กินแล้วสดชื่นเฉยเลย เมนูที่ 4 – จิ๊นงัวนึ่ง นํ้าพริกข่า.จิ๊นคือคําเรียกเมนูอาหารเหนือที่เป็นเนื้อสัตว์ แต่เป็นที่รู้กันดีว่าถ้าพูดถึงจิ๊นนึ่ง มันก็คือเนื้อควายหรือวัวนึ่ง ซึ่งวิธีการทําจิ๊นนึ่งเป็นอะไรที่ค่อนข้างยุ่งยากและใช้เวลานาน ต้องนําไปหมักเครื่องเทศก่อนแล้วค่อยนํามานึ่งกับใบมะกรูดจนกว่าเนื้อจะเปื่อยนุ่มจนได้ที่ จิ๊นนึ่งเจ้านี้ที่เราไปเจอในตลาดถึงได้ราคาสูงกว่าเมนูอื่นๆ เป็นพิเศษ คือขีดละราวๆ 60 บาท.ความอร่อยของจิ๊นนึ่งคือรสชาติของเนื้อวัวที่หมักกับเครื่องเทศจนหอม กลิ่นชัด และต้องกินคู่กับนํ้าพริกข่าที่คั่วจนแห้งได้ที่ มันคือการผสมกันอย่างลงตัวของกลิ่นเนื้อวัวที่ย่างจนหอมและเปื่อยนุ่มกับสมุนไพรกลิ่นชัดอย่างข่า ที่หาคําอธิบายไม่ถูกแต่ควรไปลองเอง เมนูที่ 5 – หน่อยัดไส้ เมนูนี้คล้ายๆ กับคั่วหน่อไม้เวอร์ชั่นกลับมาเกิดใหม่ ในรูปลักษณ์ที่พกพาง่ายกว่า เปลี่ยนจากการผัดเป็นการยัดหมูสับหมักลงไปในหน่อไม้ แล้วปิดหน่อให้เรียบร้อยก่อนจะเอาไปชุบไข่แล้วทอดจนสุกเหลือง ตอนซื้อแม่ค้าเขาก็จะห่อใส่ใบตองมาให้เป็นแท่งยาวๆ ถ้าเอาไปกินที่บ้านจะหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ก็ได้ แต่ถ้าพกไปกินข้างนอกแล้วไม่สะดวกหั่นก็ใช้ช้อนตักกินกันพอไหว รสชาติก็เป็นมิตรคล้ายๆ กับคั่วหน่อเลย เมนูที่ 6 – ข้าวเหลือง.ถ้าให้รีวิวเมนูนี้แบบสั้นง่าย ก็บอกได้เลยว่ามันคือข้าวหมกไก่ที่เปลี่ยนจากข้าวสวยมาใช้ข้าวเหนียวแทนนั่นเอง เมนูนี้เป็นอาหารพื้นเมืองของชาวไทใหญ่ และเดาว่าพะเยาน่าจะได้รับต่อมาจากเชียงรายอีกที แบบดั้งเดิมชาวไทใหญ่เขาจะใช้ดอกไม้สีเหลืองที่ชื่อดอกกู้ดในการให้สีเหลือง แต่ปัจจุบันเข้าใจว่าน่าจะปรับมาใช้ขมิ้น เหมือนกับข้าวหมกไก่.ในมุมของรสชาติที่ลองกิน เรารู้สึกว่ามันอร่อยและไม่เหมือนข้าวหมกตรงที่รสชาติของข้าวเหนียวที่ปรุงมาแบบติดเค็มนิดๆ กินกับเนื้อไก่ที่โปะมาให้แล้วเข้ากันดี จนแทบไม่ต้องปรุงหรือจิ้มอะไรเพิ่มเลยล่ะ เมนูที่ 7 – ข้าวแรมฟืน.เมนูสุดท้ายที่ต้องเก็บไว้เป็นไฮไลต์ คือข้าวแรมฟืน ซึ่งเป็นอาหารไทลื้อที่หาทานยากและเราทําการบ้านมานานแล้วว่าถ้ามาพะเยาจะต้องมาชิมให้ได้ เพราะที่ อ.เชียงคํา มีร้านดังอยู่เจ้าหนึ่งนั่นก็คือข้าวแรมฟืนปาจิ่ง ซึ่งขายมานานกว่า 60 ปี แต่พอถึงวันที่ได้มาเที่ยว เรากลับพบว่าร้านป้าจิ่งหยุดในช่วงที่เราไปพอดี เลยต้องปลอบใจตัวเองด้วยการลองกินข้าวแรมฟืนเวอร์ชั่นร้านในตลาดเทศบาล 1 แทน.ความไม่เหมือนใครของข้าวแรมฟืน คือส่วนผสมหลักที่เป็นแป้งก้อนๆ ทําจากแป้งที่เอาไปโม่และเคี่ยว หมักทิ้งไว้ข้ามคืนจนกลายเป็นก้อน แล้วเอามาหั่นเป็นสี่เหลี่ยมลูกเต๋าราดด้วยนํ้าที่คล้ายๆ นํ้ายําถึง 5 อย่าง ทั้งนํ้าเต้าหู้ยี้เคี่ยวนํ้าอ้อย นํ้าผักกาดดอง ตามด้วยนํ้าขิง ถั่วป่น และพริกแห้งตําที่คั่วจนหอม ชิมแล้วเหมือนได้กินก๋วยเตี๋ยวที่มีรสเปรี้ยวหวานเค็ม สดชื่นจนเข้าใจแล้วว่าทําไมถึงเป็นเมนูที่ชาวบ้านแถวนี้โปรดปรานกันมาอย่างยาวนาน ถึงแม้มาคราวนี้จะไม่ได้กินร้านดัง ก็ตั้งใจไว้ว่าถ้าได้กลับมาเที่ยวอีก ก็จะขอมาชิมฝีมือป้าจิ่งที่ร้านให้จงได้!  ปิดท้ายการรีวิว อ.เชียงคํา หลังจากที่ลงแต่รูปอาหารแบบไม่มีที่เที่ยวเลยสักนิด เลยขออวดภาพของฉันตอนพกพาอาหารพื้นถิ่นไปนั่งกินที่นํ้าตกภูซาง นํ้าตกยอดฮิตของผู้คนที่นี่ ฉันคิดว่าอาหารพื้นถิ่นนี่แหละคือเสน่ห์ของการท่องเที่ยวเมืองรองอย่างพะเยา โดยเฉพาะในอําเภอเล็กๆ ที่อาจจะไม่ได้มีแลนด์มาร์กดังๆ อย่างใครเขา เพราะฉันเชื่อว่าวัฒนธรรมอาหารที่แตกต่าง คือสะพานเชื่อมโยงตัวเราเข้ากับชุมชนที่เราไม่เคยรู้จักประสบการณ์การกินอาหารพื้นถิ่นของที่นี่ ทําให้ได้เห็นความน่ารักของชุมชน ความอุดมสมบูรณ์ของวัตถุดิบ ไปจนถึงวัฒนธรรมย่อยของกลุ่มชาติพันธุ์ที่ยังหลงเหลือ และทั้งหมดนี้คือรสชาติแปลกใหม่ที่การเดินทางมักมอบให้เราเสมอ

ชิม ‘เชียงคํา’ ทีละคําสองคํา ตอนที่ 2 อ่านเพิ่มเติม

ชิม ‘เชียงคํา’ ทีละคําสองคํา ตอนที่ 1

ทําความรู้จักพะเยา ผ่าน 12 เมนูของกิ๋นบ้านเฮาชื่อแปลก ถ้าขอสามคําทีแทนความประทับใจในการไปเที่ยวจังหวัดพะเยา สําหรับฉันคงจะไม่ได้มีคําว่ากว๊านพะเยาอยู่ในนั้น เพราะสามคํานั้นมันต้องเป็น แอ๊บอ่องออ หน่อยัดไส้ แกงกระด้าง! ใช่แล้วค่ะ นั่นคือบางส่วนของอาหารท้องถิ่นชื่อแปลกที่ฉันได้ชิมจากการไปเที่ยวพะเยาครั้งแรกในชีวิต โดยหมุดหมายที่เลือกไปพักคือ อ.เชียงคํา อําเภอที่ถือว่าดังเปนอันดับสองของ จ.พะเยา เหตุผลส่วนตัวก็คือแฟนของฉันมีบ้านเกิดอยู่ที่อําเภอนี้ มาเที่ยวทั้งทีเลยถือโอกาสทําความรู้จักพะเยาแบบอินไซต์ ผ่านอาหารถิ่นที่คนเชียงคําเขากินกันจริงๆ ว่าแล้วก็ตั้งเป้าหมายแน่วแน่ว่าจะตามแม่สามีไปเดินตลาดทุกวัน ตลาดเช้าบ้าง ตลาดเย็นบ้าง ถ้าเจออาหารหน้าตาไม่คุ้นหรือชื่อแปลกๆ จะซื้อมาลองกินให้หมด! เดินหาอาหารไทลื้อชื่อไม่คุ้น ที่กาดบ้านธาตุสบแวน ความพิเศษของเชียงคํา คือเป็นอําเภอที่ชาวไทลื้อหรือชาวสิบสองปันนาอพยพมาตั้งหลักแหล่งมาตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ 1 โดยชาวชุมชนไทลื้อในเชียงคําได้อาศัยอยู่แถวบ้านหย่วนแห่งนี้และมีวัดพระธาตุสบแวนเป็นศูนย์รวมจิตใจ ดังนั้น ตลาดสดยามเย็นที่ตั้งอยู่ใกล้วัดพระธาตุสบแวนก็เลยเป็นแหล่งที่ยังมีอาหารไทลื้อแบบปรุงสําเร็จขายปะปนอยู่กับของกิ๋นจาวเหนือสไตล์คนเชียงคํา และที่สําคัญ แต่ละเมนูราคาเป็นมิตรมากๆ อยู่ที่ราวๆ ซาวบาท (หรือ 20 บาทถ้วน) เท่านั้นเอง หลังจากสนุกกับการอ่านและถามชื่อเมนูแปลกๆ เราก็คัดเลือกที่ชอบใจและชอบชื่อจากตลาดไทลื้อมาได้ 5 เมนูถ้วน เลยจัดแจงให้แม่ค้าจัดใส่ใบตองห่อกลับมาใส่จานกินที่บ้าน .เอาล่ะ ลองไปชิมกันว่ามันคืออะไร รสชาติเป็นยังไง แล้วชาวกรุงลูกคนจีนอย่างเราจะสู้ไหวหรือเปล่า เมนูที่ 1 – แอ๊บอ่องออ เมนูนี้เลือกมาชิมเพราะชื่อมันดูน่ารักบ้องแบ๊ว แต่ชีวิตจริงไม่แบ๊วอย่างชื่อ นิยามคําว่า ‘แอ๊บ’ ของคนเหนือ หมายถึงการเอาอาหารมาปรุงแล้วห่อใบตอง ก่อนจะนําไปปิ้งจนสุก พูดง่ายๆ ก็คืออาหารสไตล์ห่อหมก ตอนเดินตลาดที่นี่เราเจออาหารที่นําหน้าว่าแอ๊บเต็มไปหมดไม่ว่าจะเป็น แอ๊บปลานิล แอ๊บปลาดุก แอ๊บข้าวโพด แต่ที่พีกที่สุดคือแอ๊บอ่องออ เพราะมันคือแอ๊บที่ทำจากสมองหมู! จะชิมละนะ…อํ้า! คนที่คิดจะกินแอ๊บอ่องออ ด่านแรกที่ต้องผ่านไปให้ได้คือกลิ่นที่ค่อนข้างเฉพาะตัว เดาว่าน่าจะเป็นกลิ่นของสมองหมู แม้ว่าจะไม่ได้แรงขนาดที่โชยออกมาเตะจมูก แต่พอกินเข้าไปก็จะได้กลิ่นค่อนข้างชัดเจน แต่ถ้าคุณเป็นคนที่กินของขมอย่างพวกดีปลา ดีวัวได้อยู่แล้วก็น่าจะสบายมาก ซึ่งถ้าผ่านความยากไปได้แล้วก็จะได้เพลิดเพลินกับความอร่อยของมันที่ชาวบ้านที่นี่เขาชอบกัน นั่นก็คือรสชาติมันๆ ผสมความนัวจากเครื่องเทศ กินจิ้มกับข้าวเหนียวร้อนๆ ชาวบ้านเขาบอกว่าลําขนาด! สําหรับเรา ยอมรับว่าไม่ถนัดแนวนี้มาก แต่มาถึงที่นี่แล้วก็ต้องลองให้รู้จักและเข้าใจ ให้คะแนนความแปลกและหาทานยากไปเลยห้าดาว เมนูที่ 2 – นํ้าพริกนํ้าหน่อ นํ้าพริกนํ้าหน่อ คือเมนูนํ้าพริกพื้นบ้านเมืองเหนือที่หาทานได้ยากแล้ว จะยังหลงเหลืออยู่ในสังคมที่ยังมีความเป็นชนบท จึงถือว่าโชคดีมากที่เราได้เจอและได้ชิม ส่วนผสมหลักทําจากหน่อไม้ไผ่รวกดิบอ่อน (ซึ่งมีแค่ตอนหน้าฝนที่เราไปพอดี) เอาไปต้มแล้วขูดก่อนจะเอามาดองจนเกิดรสเปรี้ยว แล้วเคี่ยวกับพริกกระเทียมให้งวดจนกลายเป็นนํ้าพริกสีขาวๆ ที่มีเท็กซ์เจอร์ค่อนไปทางแห้งๆ สไตล์ขลุกขลิก ลองชิมแล้วรสชาติหนักไปทางเปรี้ยว เท็กซ์เจอร์หน่อไม้ดองมีความกรอบนิดๆ ซึ่งมีข้อดีคือพอเอาไปเคี่ยวแล้วก็แทบไม่เหลือกลิ่นดอง กลายเป็นความหอมหน่อยๆ แทน กินกับผักต้มหรือปลาเผาเราว่าเลิศ! เมนูที่ 3 – นํ้าพริกนํ้าผัก อีกหนึ่งนํ้าพริกทีเด็ดหากินยากที่ต่อยอดมาจาก ‘นํ้าผัก’ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาการถนอมอาหารของชาวไทลื้อ โดยนํ้าผักนั้นเป็นการเอาผักสวนครัวหลายๆ อย่าง (ส่วนใหญ่เป็นผักกาดจ้อน ผักกาดเขียวปลี) มาสับหรือตําให้ละเอียดเป็นชิ้นเล็กๆ ก่อนจะเอามาดองด้วยนํ้า เกลือ และข้าวเหนียวเล็กน้อยจนได้ความเปรี้ยวที่ชอบ เอามากรองแล้วเคี่ยวไฟจนงวดแห้งจนคล้ายกากสีเขียวคลํ้า เก็บไว้ได้หลายเดือน เอามาโขลกกับพริกแห้ง เกลือ กระเทียม และมะแขว่น กลายเป็นนํ้าพริกนํ้าผักเอาไว้กินกับข้าวเหนียว ซึ่งพอชิมแล้วก็ยอมรับว่าเปรี้ยวกว่านํ้าพริกนํ้าหน่อซะอีก ถ้าไม่ใช่สายถนัดเปรี้ยวก็ไม่ควรกินเพียวๆ เลยล่ะ เมนูที่ 4 – น้ำพริกเห็ดด่าน.เห็ดด่าน หรือที่บางคนเรียกว่าเห็ดหล่ม เป็นเห็ดท้องถิ่น ทางภาคเหนือที่เก็บได้เฉพาะในฤดูฝน (โชคดีอีกแล้วเรา) เอามาจี่กับไฟแล้วหอมฉุย ปรุงอาหารได้หลายอย่าง แต่ที่นิยมกันมาก็คือเอามาทํานํ้าพริก โขลกกับพริกย่าง กะปิ หอมแดง กระเทียม หอมสุดๆ.ชิมแล้วขอให้คะแนนความอร่อยและกินง่ายไปเต็มร้อย เพราะรสชาติของนํ้าพริกเห็ดด่านที่ค่อนไปคล้ายๆ กับนํ้าพริกหนุ่ม อาหารเหนือที่เราคุ้นเคย (ส่วนผสมน่าจะคล้ายกัน) แต่เบิ้ลความอร่อยด้วยรสอูมามิของเห็ดที่เอาไปปิ้งหรือจี่กับไฟ ถือเป็นอาหารประจําฤดูฝนที่ลําขนาด! เมนูที่ 5 – คั่วหน่อ ตอนแรกก็เกือบจะเดินผ่านร้านนี้ไปมือเปล่า แต่พอได้ยินเสียงคุณป้ากําลังผัดๆ คั่วๆ และกลิ่นหอมอะไรไม่รู้ที่โชยมาจากเตา ก็ทําให้เราถอยกลับไปซื้อจนได้ ป้าบอกว่ากําลังคั่วหน่อไม้อยู่ ใกล้เสร็จแล้ว งั้นหนูขอห่อกลับเลยค่ะ เห็นหน้าตาคล้ายๆ ผัดหน่อไม้ตามร้านข้าวราดแกงในกรุงเทพฯ แต่คุณแม่สามีบอกว่า ไม่เหมือนจ้ะ เมนูนี้ก็อาหารพื้นเมืองเหมือนกันเจ้า พอได้ชิมแล้วก็เข้าใจว่ามันไม่เป็นเหมือนที่คิดจริงๆ แถมชอบกว่าด้วย เพราะมันเป็นการหน่อไม้ส้ม (ดอง) มาผัดเคี่ยวกับเครื่องแกงและหมูสับหรือหมูสามชั้น ไม่ได้เน้นรสเผ็ดจัดจ้านเหมือนตามร้านข้าวแกง แต่เน้นความหอม นัว กลมกล่อม และกินง่าย ถ้าเมนูอื่นๆ มันแปลกหรือกินยากไป แนะนําให้จานนี้เป็นคอมฟอร์ตฟู้ดประจํามื้อได้เลย  ผ่านมาแล้ว 5 เมนูชื่อแปลกของพะเยา เพื่อนๆ คนไหนคุ้นชื่อหรือเคยกินบ้างไหมคะ แอดขอชวนมาบอกต่อความอร่อยของเมนูเหล่านี้กัน สำหรับตอนต่อไป จะมีเมนูชื่อแปลกอะไรบ้าง ติดตามกันได้ในวันเสาร์หน้านะคะ

ชิม ‘เชียงคํา’ ทีละคําสองคํา ตอนที่ 1 อ่านเพิ่มเติม

Scroll to Top