เกร็ดความรู้ท่องเที่ยว

✨ 17 สิงหาคม “วันอนุรักษ์พะยูนแห่งชาติ” ✨

จากเรื่องราวของพะยูนน้อยมาเรียมที่ทุกคนรู้จักกันดี ซึ่งได้เสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2562 เป็นต้นกำเนิดให้ผู้คนตื่นตัวที่จะทำความรู้จักกับสิ่งมีชีวิตชนิดนี้ 🌊🌊 พะยูน มีชื่อเรียกอีกหลากหลายชื่อ ทั้ง หมูน้ำ หมูดุด ดูหยง เงือก วัวทะเล และดูกอง เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยอยู่ในทะเลบริเวณชายฝั่ง กินหญ้าทะเลเป็นอาหาร มีอายุยืนถึง 70 ปี มีขนาดตัวยาวที่สุดประมาณ 3.3 เมตร และหนักได้ถึง 400 กิโลกรัม ✨ จากข้อมูลเมื่อปี พ.ศ. 2522 ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ในประเทศไทย พบการกระจายตัวของพะยูนอยู่ในทั้งฝั่งอ่าวไทย และอันดามัน โดยพบมากที่สุดที่บริเวณเกาะลิบง และพื้นที่โดยรอบ ของจังหวัดตรัง ดังเช่นในภาพ 🌊 เกาะลิบง ถือเป็นสวรรค์ของคนรักพะยูน เพราะถือเป็นแหล่งที่พบกิจกรรมของพะยูนได้แทบทุกวัน รวมถึงมีหญ้าทะเลที่เป็นอาหารของพะยูนจำนวนมาก จนมีการสร้างสะพานหลีกภัยและหอชมพะยูนความสูง 5 ชั้นที่สามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์ได้รอบทิศทาง ✨

✨ 17 สิงหาคม “วันอนุรักษ์พะยูนแห่งชาติ” ✨ อ่านเพิ่มเติม

✨ ผ้าลายอย่าง (Siam Pattern) ✨

ปัจจุบันละครไทยย้อนยุคหลายเรื่องเป็นที่นิยม ปฏิเสธไม่ได้ว่า หนึ่งในองค์ประกอบเล็ก ๆ ที่ทำให้ผู้ชมรับชมได้อย่างเพลิดเพลินคือเครื่องแต่งกายของตัวละคร วันนี้เลยถือโอกาสมาแนะนำ “ผ้าลายอย่าง” ผ้าในราชสำนักในสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้น ลองตามมาอ่านกัน ความเป็นมาน่าสนใจไม่น้อยทีเดียว ผ้าลายอย่าง ถือเป็นผ้าที่มีเรื่องราวและที่มาน่าสนใจไม่น้อย ในอดีตอยุธยาถือเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนสินค้าของหลายประเทศ หนึ่งในประเทศที่มีชื่อเสียงในการผลิตผ้าคุณภาพดีและมีวิธีการผลิตผ้าที่ล้ำหน้าในยุคนั้นคืออินเดีย จึงเป็นที่ต้องการของชนชั้นสูงในสมัยนั้น แต่ลวดลายผ้าจะเป็นแบบที่นิยมในอินเดีย ไม่ค่อยเป็นที่ถูกใจของคนสยามมากนัก ทางราชสำนักสยามจึงส่งลายผ้าที่ต้องการไปที่อินเดีย ให้ผลิตตามแบบอย่างที่ส่งไป จนเป็นที่มาของคำพูดที่ว่า “จ้างให้อินเดียเขียนผ้าตามแบบอย่าง” ที่ต่อมากลายเป็นชื่อของ “ผ้าลายอย่าง” และมีการพบแม่พิมพ์ของผ้าลายอย่างที่เมืองกุจาราช ประเทศอินเดีย แหล่งผลิตผ้าที่มีชื่อเสียงในอดีต ซึ่งเป็นแม่พิมพ์ที่เป็นลายไทย ที่เรียกกันว่า “Siam Pattern” ผ้าลายอย่างเป็นผ้าที่ใช้ในราชสำนักในสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้นสำหรับกษัตริย์ เชื้อพระวงศ์ชั้นสูงและข้าราชสำนัก สามัญชนไม่สามารถหาซื้อมานุ่งได้ตามใจ ยกเว้นจะได้รับพระราชทานจากพระมหากษัตริย์เท่านั้น

✨ ผ้าลายอย่าง (Siam Pattern) ✨ อ่านเพิ่มเติม

เซฟเก็บไว้! ข้อแนะนำจากใจให้ทริปเที่ยวไม่มีสะดุด

แอดเชื่อว่าหลาย ๆ คนคงเตรียมแพลนสำหรับไปท่องเที่ยวพักผ่อนกันไว้เรียบร้อยแล้ว มีแพลนแล้วก็ต้องรีเช็กก่อนออกจากบ้านกันด้วยนะคะ ทั้งมาตรการการท่องเที่ยวต่าง ๆ รวมถึงประกาศผ่อนคลายที่ ศบค. เคยประกาศไว้ว่าสามารถถอดหน้ากากอนามัยในที่โล่งแจ้งได้เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา แต่ช่วงท่องเที่ยวแบบนี้คนเยอะแน่นอน แอดยังต้องขอความร่วมมือสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อย ๆ กันหน่อยนะคะ เพื่อสุขภาพของตัวเรานะคะ

เซฟเก็บไว้! ข้อแนะนำจากใจให้ทริปเที่ยวไม่มีสะดุด อ่านเพิ่มเติม

✨ น้ำชุบหยำ น้ำพริกพื้นเมืองกับเรื่องเล่าพื้นบ้าน ✨

“น้ำชุบหยำ” ยังมีชื่อเรียกอีกหลายชื่อ ไม่ว่าจะเป็น “น้ำพริกขยำ” หรือ “น้ำพริกโจร” ซึ่งแต่ละคนก็อาจจะเคยได้ยินหรือเรียกไม่เหมือนกัน แต่ที่เห็นอยู่นี้ คือน้ำพริกพื้นเมืองที่นิยมรับประทานกันในภาคใต้ วัตถุดิบมีลักษณะคล้ายกับน้ำพริกกะปิของภาคกลาง แต่มีส่วนผสมเพิ่มเติม ได้แก่ กุ้ง กับน้ำกุ้งต้มเพื่อเพิ่มรสหวาน และจะทำน้ำพริกโดยวิธีการขยำ ๆ จนเข้ากัน น้ำชุบหยำ เป็นอาหารที่มีเรื่องเล่ากันว่า “ครั้งหนึ่ง โจรกำลังปล้นบ้านหลังหนึ่ง ซึ่งในขณะที่กำลังปล้นก็เริ่มรู้สึกหิว จึงหาอะไรกิน และเห็นว่ามีเครื่องทำน้ำพริกอยู่ แต่ถ้าเกิดตำน้ำพริกโดยใช้ครก ก็กลัวว่าเจ้าของบ้านจะตื่น จึงใช้มือขยำ ๆ วัตถุดิบต่าง ๆ แทน” ซึ่งกลายเป็นที่มาของน้ำชุบหยำนั่นเอง ในปัจจุบัน มีสูตรและวิธีทำมากมายตามสื่อออนไลน์ ซึ่งถ้าหากใครที่อยากลองทำดู ก็สามารถทำได้ไม่ยาก หรือถ้าใครที่มีโอกาสเดินทาไปเที่ยวจังหวัดภูเก็ต หรือพังงา แนะนำให้เพื่อน ๆ ลองหารับประทานดูสักครั้งแล้วจะติดใจ

✨ น้ำชุบหยำ น้ำพริกพื้นเมืองกับเรื่องเล่าพื้นบ้าน ✨ อ่านเพิ่มเติม

แกงฮังเล อาหารพื้นเมืองภาคเหนือ 🥘

ถ้าให้พูดถึงอาหารของทางภาคเหนือ “แกงฮังเล” คงจะเป็นหนึ่งในเมนูที่ถูกนึกถึงขึ้นมาเป็นอันดับแรก ๆ เนื่องด้วยรสชาติและกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ ในช่วงที่พม่า(ในขณะนั้น)ได้เข้ามาปกครองอาณาจักรล้านนาจึงทำให้ได้รับอิทธิพลต่าง ๆ มาด้วยรวมถึง “แกงฮังเล” นี้ด้วย แกงฮังเล มี 2 ประเภท คือแกงฮังเลม่าน ส่วนผสมหลัก ผงฮังเล ผงขมิ้น น้ำมะขามเปียก ขิงหั่นฝอย ใส่เนื้อสัตว์เป็นหมูสามชั้นหรือหมูเนื้อสะโพก อีกประเภทคือ แกงฮังเลเชียงแสน ส่วนผสมหลักจะคล้าย ๆ กันแต่จะมีการใส่ผักอื่น ๆ เพิ่มเข้ามา อย่างเช่นมะเขือพวง มะเขือยาว ถั่วฝักยาว สีน้ำแกงจะแตกต่างกันเนื่องจากแกงฮังเลเชียงแสนใส่ผักเยอะน้ำแกงจึงออกสีเขียว แกงฮังเลส่วนใหญ่จะสามารถหาทานได้ใน จ.เชียงราย และ จ.เชียงใหม่ เพื่อน ๆ ที่ยังไม่เคยลองทานต้องลองแล้วนะ อร่อยแน่นอน แอดรับประกันเลย 😋

แกงฮังเล อาหารพื้นเมืองภาคเหนือ 🥘 อ่านเพิ่มเติม

✨ ส่วนผสมหลักผัดไทย อยู่จังหวัดไหนบ้าง ✨

ผัดไทย หนึ่งในอาหารขึ้นชื่อของบ้านเรา ที่ดังไกลไปทั่วโลกและแอดเชื่อว่าต้องเป็นเมนูโปรดของใครหลาย ๆ คนเหมือนแอดแน่ วันนี้แอดจะมาแนะนำแหล่งที่มาของส่วนผสมหลักของผัดไทยให้เพื่อน ๆ ได้รู้กันว่า แต่ละอย่างมีแหล่งผลิตดัง ๆ ที่ไหน เผื่อเพื่อน ๆ แวะไปเที่ยวจังหวัดนั้น แล้วอยากลองซื้อวัตถุดิบติดไม้ติดมือกลับมาลองทำกินเอง ว่ากันว่า วัตถุดิบดีมีชัยไปกว่าครึ่ง อยากทำกินเองอร่อย ๆ ลองตามแอดมาอ่านกัน  จังหวัดจันทบุรี แหล่งผลิต “เส้นจันท์”  ก๋วยเตี๋ยวเส้นเล็กคุณภาพดีชนิดนี้ มีแหล่งกำเนิดที่จังหวัดจันทบุรี แม้ภายหลังจะมีโรงงานผลิตอยู่หลายจังหวัดแต่ก็ยังคงเรียกเส้นจันท์มาจนถึงปัจจุบัน โดยเส้นจันท์มีเอกลักษณ์ที่ความเหนียวนุ่ม ก่อนนำมาทำอาหารเพื่อน ๆ อย่าลืมนำเส้นมาแช่น้ำก่อนสัก 2 นาที แล้วคลุมผ้าไว้สักพัก เพื่อให้น้ำที่เกาะอยู่ตามผิวซึมกระจายจนทั่วเส้น จากนั้นเพื่อน ๆ สามารถนำเส้นจันท์มาลวกน้ำร้อนแล้วประกอบอาหารได้เลย รับรองได้เส้นเหนียวนุ่มอร่อยแน่นอน  ที่เที่ยวในภาพ “ชุมชนริมน้ำจันทบูร” เมืองเล็กน่ารักริมน้ำ กิน ชอป ชิล ได้เพลิน ๆ  ถนนสุขาภิบาล ตำบลวัดใหม่ อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี 22000https://goo.gl/maps/GHrCX4JKdC7JeEAR9  จังหวัดราชบุรี แหล่งขึ้นชื่อ ”เต้าหู้และไชโป๊”  เต้าหู้วัดไทร โรงงานเต้าหู้เล็ก ๆ ข้างวัดไทรอารีรักษ์ อำเภอโพธาราม เจ้าเก่าแก่ที่มีอายุกว่า 70 ปี ที่หลัก ๆ จะใช้ถั่วเหลืองเมล็ดใหญ่จากจังหวัดเชียงรายและเชียงใหม่ มาเป็นวัตถุดิบหลักสำหรับทำเต้าหู้ของที่นี่ โรงงานเต้าหู้วัดไทรจะทำเต้าหู้ 3 แบบคือ เต้าหู้เหลือง เต้าหู้ขาวและเต้าหู้กระดาน ซึ่งเต้าหู้เหลืองสามารถนำไปใช้ได้ทั้งทำเป็นส่วนผสมในผัดไทยและอาหารได้หลายชนิด แถมโรงงานเต้าหู้ดำหลายเจ้าของจังหวัดราชบุรีก็นำเต้าหู้ของที่นี่ไปแปรรูปเพื่อขายต่ออีกด้วย  ที่เที่ยวในภาพ “เขา จปร.” มีจุดชมวิว 360 องศา ขึ้นไปสักการะพระปรมาภิไธย จปร. ได้  ตำบลเขาแร้ง อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี 70000 เปิดทุกวัน เวลา 08:00-17:00 น. (ปิดวันพุธ)https://goo.gl/maps/8vk4mELrQJzkbF3J8  ไชโป๊  ไชโป๊ทำมาจากผักกาดหัว, หัวไชเท้า ที่นำมาดอง เป็นอีกหนึ่งส่วนผสมของผัดไทย ที่อยู่ในจังหวัดราชบุรี ซึ่งมีโรงงานไชโป๊อยู่หลายโรง มีเจ้าดังคือหัวไชโป๊ตราชฎา ที่มีทั้งแบบดองหวานและดองเค็ม ขายมานานกว่า 60 ปีแล้ว ไชโป๊ เป็นวิธีถนอมอาหารอีกวิธีหนึ่งของเกษตรกร สามารถเก็บไว้บริโภคได้นาน มีเนื้อแน่น กรอบ อร่อย ทำอาหารได้หลายชนิดทั้งผสมในผัดไทย นำไปผัดไข่หรือแม้แต่กินกับข้าวต้มก็อร่อยเช่นกัน  ที่เที่ยวในภาพ “ตลาดน้ำดำเนินสะดวก” ตลาดน้ำที่เก่าแก่นับร้อยกว่าปีของไทยและมีชื่อเสียงไปไกลถึงต่างประเทศ  51 ตำบลดำเนินสะดวก อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี 70130 เปิดทุกวัน เวลา 07:00-17:00 น. 08 5222 7470https://goo.gl/maps/rJeDo7fDA5k3DN8r6  จังหวัดเพชรบูรณ์ เมืองมะขาม  ปัจจุบัน มีการนำมะขามไปแปรรูปหลายแบบทั้งมะขามคลุก มะขามแช่อิ่ม มะขามอบแห้ง และหนึ่งในผลิตภัณฑ์แปรรูปสุดฮิตก็คือมะขามเปียก โดยนำมะขามเปรี้ยวสุกมาแกะเปลือกและเมล็ดออก จากนั้นนำมาปั้นเป็นก้อนก่อนนำไปตากแดดผึ่งลมให้แห้งสนิท สามารถเก็บได้นานหลายเดือน หากต้องการใช้ก็นำไปแช่น้ำหรือนำไปต้มก็นำมาปรุง อาหารได้แล้ว ซึ่งนอกจากจะนำไปทำผัดไทยแล้ว ยังนำน้ำมะขามเปียกไปปรุงในแกงและน้ำพริกได้อีกหลายเมนู แถมยังนำมาใช้ขัดผิวเพื่อความงามได้ด้วยนะ  ที่เที่ยวในภาพ “วัดพระธาตุผาซ่อนแก้ว” วัดสวยโอบล้อมด้วยภูเขา แลนด์มาร์คสายบุญของจังหวัดเพชรบูรณ์  95 ตำบลแคมป์สน อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ 67280 เปิดทุกวัน เวลา 07:00-17:00 น. 06 3359 1554https://goo.gl/maps/tLrE9tPr5ULky6by8  จังหวัดสมุทรสงคราม แหล่งน้ำตาลมะพร้าวแท้  อีกหนึ่งวัตถุดิบสำคัญของผัดไทยก็คือน้ำตาล ส่วนมากจะมีการใช้น้ำตาลจากมะพร้าวมาทำผัดไทย ซึ่งน้ำตาลมะพร้าว ได้จากจั่นมะพร้าว(ช่อดอกของต้นที่ให้น้ำตาลสด) นำมากรองเศษไม้และสิ่งสกปรกออก จากนั้นก็เคี่ยวจนกลายเป็นน้ำตาลมะพร้าวสีขาวเหลืองหากเทใส่ปี๊บ จะเรียกว่า น้ำตาลปี๊บ แต่ถ้าเทใส่ถ้วยตะไลหรือพิมพ์กลมเล็ก ๆ จะเรียก น้ำตาลปึก ให้รสหวานมันหอม น้ำตาลที่ได้จากมะพร้าว ปัจจุบันผลิตกันมากที่จังหวัดสมุทรสงคราม  ที่เที่ยวในภาพ “ตลาดน้ำอัมพวา” ตลาดริมคลอง ที่รวมวิถีชีวิตของคนริมน้ำตั้งแต่อดีต  ตำบลอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม 75110 เปิดวันศุกร์-อาทิตย์ เวลา 10:00-21:30 น.https://g.page/amphawa?share

✨ ส่วนผสมหลักผัดไทย อยู่จังหวัดไหนบ้าง ✨ อ่านเพิ่มเติม

✨ ตุ๊กตาอับเฉา ✨

หากเพื่อน ๆ มีโอกาสไปวัดเก่าแก่ใน กรุงเทพฯ อย่างวัดเทพธิดาราม วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม วัดอรุณราชวราราม ฯลฯ คงเคยเห็นรูปปั้นหินศิลปะจีนกันมาบ้าง แต่รู้ไหมว่า รูปปั้นเหล่านี้ที่เรียกว่า “ตุ๊กตาอับเฉา” มีที่มาที่ไปยังไง วันนี้แอดจะมาแชร์เกร็ดความรู้นี้ให้เพื่อน ๆ ได้รู้กัน “ตุ๊กตาอับเฉา” หรือ “อับเฉาเรือ” ในสมัยรัชกาลที่ 3 ประเทศไทย (สยาม) มีการค้าขายกับประเทศจีน ผ่านเรือสำเภา ซึ่งตอนขนส่งสินค้าไทยไปจีน เรือจะบรรทุกสินค้าไปเต็มเรือ แต่ในตอนกลับ เรือไม่สามารถเดินทางกลับด้วยลำเรือเปล่า ๆ ได้ เนื่องจากเรือสมัยโบราณใช้ไม้ที่มีน้ำหนักเบา เมื่อเจอคลื่นลมแรงอาจล่มได้ จำเป็นต้องมีของถ่วงน้ำหนัก ไม่ให้เรือเบาเกินไป จึงเป็นที่มาของการใช้หิน แกะสลักเป็นของใช้ รูปปั้น หรือตุ๊กตาตามที่มีคนต้องการ ใส่ไว้ในห้องใต้ท้องเรือ ซึ่งเมื่อถึงไทย ก็จะมีการนำอับเฉาเหล่านี้มาตั้งตกแต่งวัดวาอาราม พระราชวัง หรือบ้านผู้มียศศักดิ์ ประเภทของอับเฉานั้นมีหลากหลายมาก ยกตัวอย่างได้ดังนี้ 1. ตุ๊กตาหินที่มีรูปร่างสูงใหญ่ แต่งกายสวยงามเต็มยศอย่างขุนนางจีน มีทั้งฝ่ายบู๊ มือถืออาวุธ หน้าตาดุดันใส่เสื้อเกราะ ไปจนถึงฝ่ายบุ๋น หน้าตาอมยิ้ม สวมหมวกทรงสูงแบบนักปราชญ์ มือถือหนังสือเป็นนักปกครอง นักวางแผนแห่งราชสำนัก ซึ่งอับเฉาชนิดนี้เรียกว่า ลั่นถัน 2. รูปคนต่าง ๆ เช่น นักบวช ผู้หญิง ผู้ชาย เด็ก เซียน เทพ ฝรั่ง ซึ่งมีเครื่องแต่งกายแตกต่างกันตามช่างแกะหินจะจินตนาการ 3. รูปสัตว์ มีทั้งสัตว์ในจินตนาการเช่น มังกร หงส์ กิเลน และสัตว์ทั่ว ๆ ไปอย่าง เต่า ม้า ลิง เสือ สิงโต 4. สิ่งของเครื่องใช้ เช่น แท่นบูชา เสามังกร กระถางหิน เจดีย์จีน 5. สิ่งประกอบโครงอาคาร เช่น ขอบกั้นระเบียง บันได พื้นปูใบเสมา  เอาล่ะ ตอนนี้เพื่อน ๆ ก็รู้ความเป็นมาคร่าว ๆ ของตุ๊กตาอับเฉาแล้ว หากใครอยากเห็นของจริงสามารถตามไปดูได้หลายวัดเลย เช่น วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์)  2 ถนนสนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200  เปิดทุกวัน ตั้งแต่ 08.00-18.30 น.  0 83057 7100 https://goo.gl/maps/T4X37K8R4yCqPgk27 วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร  146 ถ.บำรุงเมือง แขวงวัดราชบพิตร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200  เปิดทุกวัน ตั้งแต่ 08.00-20.30 น.  0 2622 2819, 06 3654 6829 https://goo.gl/maps/KxFR89jWkDvniPnr7 วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร (วัดแจ้ง)  158 ถนนวังเดิม แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร 10600  เปิดทุกวัน ตั้งแต่ 08.00-18.00 น.  0 2891 2185 https://goo.gl/maps/vUWQN7PKVdY4DdYv6 วัดเทพธิดารามวรวิหาร  70 ถ.มหาไชย แขวงสำราญราษฎร์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200  เปิดทุกวัน ตั้งแต่ 08.00-17.00 น.  0 2225 7425, 0 2621 1178 https://goo.gl/maps/2nus2ngSZjYgJP7u5 วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร  258 ซอยเอกชัย 4 ถนนเอกชัย แขวงบางขุนเทียน เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร 10150  เปิดทุกวัน ตั้งแต่ 06.00-18.00 น.  0 2893 7274 https://goo.gl/maps/kAtcZdRdztXC73tj9 ถือเป็นการไปดูตุ๊กตาหินสวย ๆ และแวะทำบุญไปในตัวพร้อมกันเลย 

✨ ตุ๊กตาอับเฉา ✨ อ่านเพิ่มเติม

บาบ๋า ย่าหยา เอกลักษณ์ปักษ์ใต้✨💫

เวลาท่องเที่ยวไปทางภาคใต้ เพื่อน ๆ คงเคยได้ยินชื่อเรียก บาบ๋า หรือ ย่าหยา มาบ้าง และอาจเคยสงสัยว่าทำไมจึงเรียกกันเช่นนั้น…วันนี้แอดมีเกร็ดความรู้เรื่องนี้มาให้อ่านกันเพลิน ๆ ค่ะ 🎈 ก่อนอื่น เรามาทำความรู้จักที่มาที่ไปกันก่อน ทางภาคใต้ของประเทศไทย มีชาวเปอรานากัน (Peranakan) ซึ่งเป็นคำมลายู แปลว่า ถือกำเนิดที่นี่ เป็นคำที่ใช้เรียกกลุ่มคนที่มีเชื้อสายผสมระหว่างจีน-มลายู โดยชายจะเรียก บาบ๋า หญิงจะเรียก ย่าหยา ส่วนใหญ่คนกลุ่มนี้จะอยู่ในจังหวัดภูเก็ต ระนอง พังงา และมีกระจายอยู่บ้างที่จังหวัดสงขลา ปัตตานี นราธิวาส ถึงแม้ว่าเวลาล่วงเลยมาทำให้เชื้อสายมลายูของชาวเปอรานากันจางลง จนคนรุ่นหลังแทบจะเป็นจีนเต็มตัวไปแล้วแต่ก็ไม่ได้ทำให้วัฒนธรรมผสมผสานของชาวเปอรานากันจืดจางลงไปเลย เพราะยังมีวัฒนธรรมอันโดดเด่นอย่างการแต่งกายให้เราได้เห็นกันอยู่ เพราะชุดบาบ๋าและชุดยาหยาก็มีทั้งแบบผู้ชายและผู้หญิงใส่ ลักษณะชุดย่าหยา หรือ ยะหยา จะใช้ผ้าลูกไม้ หรือ ผ้ารูเบีย ตัดให้เข้ารูป มีทรวดทรงองค์เอว เป็นเสื้อแขนยาว ติดกระดุมสีทอง ความยาวระดับสะโพกบน สามารถประดับได้ด้วยเข็มกลัด ใส่เข้าคู่กับผ้าปาเต๊ะลักษณะชุดบาบ๋า จะเป็นเสื้อคอตั้ง แขนจีบ กระดุมสีทอง มีกระเป๋าสองใบตรงด้านหน้าของเสื้อ ใช้ผ้าคอตตอน ผ้าป่าน หรือผ้าอะไรก็ได้ที่ชอบ ตกแต่งด้วยเข็มกลัด ใส่เข้าคู่กับผ้าปาเต๊ะ 👉ปัจจุบัน ชาวพื้นเมืองยังคงสวมใส่ชุดบาบ๋าย่าหยาในเทศกาลต่าง ๆ โดยเฉพาะในโอกาสสำคัญอย่างพิธีแต่งงาน โดยจะสวมใส่พร้อมด้วยเครื่องประดับต่าง ๆ ครบครัน หากใครมีโอกาสไปเที่ยวจังหวัดภูเก็ต ตามถนนคนเดินก็จะมีร้านขายชุดบาบ๋าย่าหยาให้เราได้เลือกซื้อเลือกชมกันหลายร้าน

บาบ๋า ย่าหยา เอกลักษณ์ปักษ์ใต้✨💫 อ่านเพิ่มเติม

✨ แนะนำกัญชง ✨

แอดเชื่อว่า เพื่อน ๆ หลายคนคงเคยได้ยินชื่อสมุนไพรที่เรียกว่า “กัญชง” มาบ้างแล้ว แต่หลายคนอาจยังสับสนว่า นี่เป็นอีกชื่อของ “กัญชา” หรือเปล่า วันนี้แอดจะพาเพื่อน ๆ มาทำความรู้จักกัญชงให้มากขึ้น ว่าพืชสมุนไพรชนิดนี้มีหน้าตายังไง และมีประโยชน์อะไรบ้าง ก่อนอื่นขอเริ่มที่ความต่างของกัญชงและกัญชาก่อน แม้ว่าพืชทั้ง 2 ชนิดนี้จะเป็นพืชล้มลุกที่่อยู่ในตระกูล Cannabis เหมือนกันแต่ก็เป็นคนละสายพันธุ์ เราสามารถแยกพืชสองพี่น้องนี้ได้โดยดูจากลักษณะภายนอก นั่นคือ กัญชา (Marijuana) จะมีต้นเตี้ยและใบอ้วน แผ่นใบเป็นสีเขียวถึงเขียวจัด ใบมีประมาณ 5-7 แฉก ส่วนกัญชง (Hemp) จะมีต้นสูงและใบเรียว แผ่นใบเป็นสีเขียวอมเหลือง ใบมีแฉกประมาณ 7-9 แฉก 👉 นอกจากนี้ กัญชาและกัญชงยังมีคุณสมบัติด้านสารเคมีที่แตกต่างกัน นั่นคือ กัญชงจะมีสาร THC ไม่เกิน 1% และ CBD เกิน 2% ส่วนกัญชามี THC เกิน 1% และสาร CBD ไม่เกิน 2% สาร THC (Tetrahydrocannabinol): มีฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ส่งผลต่ออารมณ์ ความจำ ความรู้สึก ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย เคลิบเคลิ้ม อยากอาหาร ลดอาการคลื่นไส้ สาร CBD (Cannabidiol): ไม่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท มีฤทธิ์ระงับอาการปวด ลดการอักเสบ ลดอาการชักเกร็ง และลดความกังวล 🍀 ในส่วนประโยชน์ของกัญชงนั้นก็มีมากมาย สามารถใช้ได้แทบทุกส่วนทีเดียว 🍀 เปลือกส่วนลำต้น สามารถแปรรูปเป็นเส้นด้ายและเชือก นำไปทอผ้าทำเครื่องนุ่งห่ม รวมถึงทำเป็นด้ายสายสิญจน์ เพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ตามความเชื่อ เนื้อส่วนลำต้น เมื่อลอกเปลือกออกแล้วสามารถนำมาผลิตเป็นกระดาษได้ แกนของต้น มีคุณสมบัติในการดูดซับกลิ่น ดูดซับน้ำหรือน้ำมันได้ดี ในต่างประเทศนิยมนำไปผลิตเป็นพลังงานชีวมวลในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ถ่านไม้ แอลกอฮอล์ เอทานอล รวมถึงนำไปผลิตเป็นเฟอร์นิเจอร์และของประดับตกแต่งอาคาร เมล็ด สามารถใช้เป็นอาหารของคนและนกได้ ภายในอุดมไปด้วยน้ำมันจากโอเมก้า 3 โอเมก้า 6 และโอเมก้า 9 นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มวิตามินดีที่ช่วยป้องกันโรคหัวใจและช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งได้ น้ำมันจากเมล็ด สามารถนำไปแปรรูปได้หลายอย่าง เช่น สบู่ เครื่องสำอาง ครีมกันแดด โลชั่นบำรุงผิว ลิปสติก ฯลฯ โปรตีนในเมล็ด สามารถนำไปแปรรูปเป็นอาหารได้ เช่น เนย ชีส เต้าหู้ โปรตีนเกษตร ไอศกรีม อาหารเสริม ฯลฯ ใบกัญชง สามารถนำไปใช้ประกอบอาหารได้ โดยนิยมทำเป็นผงผสมในอาหารอย่างเส้นพาสต้า คุกกี้ หรือขนมปัง รวมทั้งสามารถนำมาสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหยเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางได้ เพราะมีสรรพคุณช่วยดูแลผิวพรรณ ทำให้ผิวชุ่มชื้น หรือจะนำใบมาทำเป็นชาก็ได้เช่นกัน

✨ แนะนำกัญชง ✨ อ่านเพิ่มเติม

เส้นใยผ้าจากพืช🌿✨

ปัจจุบันเสื้อผ้าจากเส้นใยธรรมชาติกลายเป็นที่พูดถึงและนิยมกันมาก นอกจากคุณสมบัติที่ดีของเส้นใยธรรมชาติในการสวมใส่แล้ว การใช้สินค้าจากธรรมชาติยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย เพื่อน ๆ ทราบไหมว่า พืชชนิดใดบ้างที่นิยมนำมาทอเป็นเสื้อผ้า วันนี้แอดมีข้อมูลมาให้อ่านกันเพลิน ๆ ด้วยนะ กัญชง เป็นพืชที่มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์คล้ายกัญชา แต่ก็ให้ประโยชน์ด้านสิ่งทอไม่น้อยกว่าเส้นใยอื่น ๆ จุดเด่นคือมีความเหนียว ยืดหยุ่น และทนทาน ดูดซับความชื้นได้ดี ทำให้นิยมนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายหลายรูปแบบ เช่น เสื้อผ้า หมวก กระเป๋า รองเท้า เป็นต้น หากใครมีโอกาสไปเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ สามารถไปแวะชมผลิตภัณฑ์ใยกัญชงที่ ห้วยทราย แม่ริม กันได้ https://goo.gl/maps/27HCG3dQhh2w6ihx8 ฝ้าย เมื่อผลฝ้ายแก่จัด ผลจะแตกมีใยเป็นปุยขาว เก็บมาแยกเอาเปลือกและเมล็ดออก แล้วนำไปปั่นเป็นเส้นใยและเส้นด้าย ทอเป็นผ้าแล้วนำมาตัดเย็บเป็นเสื้อผ้า กระเป๋า ฯลฯ ตัวอย่างเช่น ผ้าหม้อห้อมก็ทำจากผ้าฝ้าย สามารถหาซื้อได้ไม่ยาก ใครมีแพลนไปเที่ยวจังหวัดแพร่ สามารถแวะชมผ้าหม้อห้อมได้ที่บ้านทุ่งโฮ้ง แนะนำเลยว่าควรซื้อติดไม้ติดมือกลับมาเป็นของฝากด้วย https://goo.gl/maps/bpX9L5srpFNk3ExY7 นุ่น เส้นใยจะมาจากส่วนที่เป็นเมล็ดของต้นนุ่น มีลักษณะเดียวกับปุยฝ้าย เส้นใยไม่เหนียวมาก และเป็นเส้นใยสั้น จึงไม่นิยมนำมาทอผ้า แต่นิยมนำมาใช้เป็นวัสดุยัดหมอน ที่นอน เป็นต้น ลินิน เป็นเส้นใยที่ได้จากต้นแฟลกซ์ (Flax) พบว่าเป็นเส้นใยที่ใช้ทอผ้ามาตั้งแต่สมัยโบราณ (ผ้าห่อมัมมี่ในประเทศอียิปต์ก็คือผ้าลินิน) มีคุณสมบัติคล้ายผ้าฝ้าย แต่มีความเหนียวกว่า มีความโปร่งสบาย และระบายอากาศได้ดี นิยมทำมาผลิตเป็นเสื้อผ้า กระเป๋า ผ้าคลุมเตียง ผ้ากันเปื้อน ผ้าเช็ดตัว เป็นต้น ไผ่ เป็นเส้นใยที่ได้จากต้นไผ่ ปัจจุบันกำลังเป็นที่นิยมมาก เนื่องจากเป็นเส้นใยที่ดีต่อสุขภาพ เพราะมีคุณสมบัติในการต้านแบคทีเรีย ลดกลิ่นอับ มีความยืดหยุ่น ระบายอากาศได้ดี ดูดซับเหงื่อดี และมีความเบาอีกด้วย

เส้นใยผ้าจากพืช🌿✨ อ่านเพิ่มเติม

Scroll to Top