ระนอง

ระนอง

เส้นทางท่องเที่ยว ระนอง-ชุมพร 3 วัน 2 คืน

ระนอง – ชุมพร 3 วัน 2 คืน  วันที่ 1– ภูเขาหญ้า– ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาการร่อนแร่ ชุมชนหาดส้มแป้น– น้ำนองฮอทสปา วันที่ 2 – วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวตำบลม่วงกลวง คลองลัดโนด– บ้านไร่ไออรุณ– จุดชมวิวเขามัทรี– บาติกผาแดง ครูอนงค์ วันที่ 3– จุดชมวิวป่าเขาเขียว– เจียฟาร์ม– หาดทุ่งวัวแล่น วันที่ 1.สถานที่แรกที่แอดไปก็คือ ภูเขาหญ้าตั้งอยู่ใน อ.เมือง มีลักษณะเป็นภูเขาที่ไม่มีต้นไม้ใหญ่ขึ้น มีแต่ต้นหญ้าปกคลุม จึงเป็นที่มาของชื่อภูเขาหญ้า มีทางเดินเท้าขึ้นสู่สันเขาเพื่อชมวิวได้ 360 องศา ภูเขาแต่ละลูกไม่สูงมาก สามารถเดินเชื่อมถึงกันได้.ภูเขาหญ้าสามารถท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งปี ในช่วงฤดูแล้ง (เดือนพฤศจิกายน-เมษายน) ภูเขาหญ้าจะเป็นสีน้ำตาลทอง แต่เมื่อเข้าสู่ฤดูฝน (เดือนพฤษภาคม-ตุลาคม) ก็จะเปลี่ยนเป็นสีเขียว หลายคนจึงนิยมเรียกว่า “ภูเขาหญ้าสองสี”.ที่ตั้ง ม.1 ต.หงาว อ.เมือง จ.ระนองเปิดทุกวันไม่เสียค่าธรรมเนียม ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาการร่อนแร่ ชุมชนหาดส้มแป้น.หาดส้มแป้น อยู่ห่างจากตัวเมืองเพียง 10 กิโลเมตร เป็นตำบลเล็ก ๆ ท่ามกลางหุบเขา ที่ยังคงเสน่ห์เฉพาะตัวของความเป็นหมู่บ้านที่มีแหล่งแร่ดีบุกเอาไว้ ที่สำคัญหากไปเที่ยวที่นี่ เราสามารถทำกิจกรรมร่อนแร่ได้ด้วยนะ.ที่ตั้ง ต.หาดส้มแป้น อ.เมือง จ.ระนองเปิดทุกวัน 09.00-16.00 น. (นัดล่วงหน้าอย่างน้อย 3 วัน)โทร. 080 040 2425, 090 424 8513 (พี่สมโชค)Facebook : https://www.facebook.com/BaanHatsompaen/ “หาดส้มแป้น” เป็นชุมชนทำเหมืองเก่าที่สำคัญของ จ.ระนอง มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การทำเหมืองของที่นี่เป็นลักษณะของเหมืองฉีด (คือใช้กระบอกสูบน้ำ สูบดินทรายและแร่ขึ้นมาจากเหมือง) และเหมืองแล่น (ใช้น้ำฉีดไปที่หน้าดินเพื่อหาแร่) มีเพียงส่วนน้อยที่มีการทำแบบเหมืองหาบ (ใช้คนขุดและหาบแร่ไปล้าง) ชื่อ “หาดส้มแป้น” เพี้ยนมาจากคำว่า “ห้วยซัมเปียน” ในภาษาจีน ที่แปลว่าลึกเข้าไปในหุบเขา เนื่องจากการค้นหาแร่ดีบุกจะต้องเดินลึกเข้าไปเพื่อหาแร่ในหุบเขา ปัจจุบันแม้แร่ดีบุกจะลดน้อยลง แต่ก็มีการค้นพบแร่ดินขาวคุณภาพดีอันดับต้น ๆ ของเอเชีย ที่มีชื่อเสียงด้านความโปร่งใสของเนื้อดิน สามารถส่งออกขายทั้งในและต่างประเทศอีกด้วย ปิดท้ายวันแรกด้วย น้ำนองฮอทสปา.สปาน้ำแร่ร้อนธรรมชาติแห่งนี้ ตั้งอยู่ใกล้บ่อน้ำแร่ร้อนรักษะวาริน จุดเด่นของที่นี่คือ การใช้น้ำแร่ที่ต่อตรงมาจากบ่อน้ำร้อนรักษะวาริน ซึ่งถือเป็นน้ำแร่คุณภาพดีอันดับต้น ๆ ของโลกเลยทีเดียว มีคุณสมบัติพิเศษคือ ไม่มีกลิ่นกำมะถัน สามารถใช้ดื่มได้และอุดมไปด้วยแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย.ที่ตั้ง ต.เขานิเวศน์ อ.เมือง จ.ระนองเปิดทุกวัน เวลา 10.00-20.00 น.โทร. 084 625 3444, 077 828 388, 081 666 2285 ประโยชน์ของการแช่น้ำแร่– กระตุ้นการไหลเวียนโลหิตและช่วยขยายหลอดเลือด– คลายความปวดเมื่อย– บำรุงผิวพรรณ– กระตุ้นระบบเผาผลาญของร่างกาย. ที่นี่ยังมีบริการอื่น ๆ อีก เช่น– นวดคลายกล้ามเนื้อ-คลายเส้น– นวดแผนไทย– นวดหน้า– นวดเท้า– ขัดผิว วันที่ 2.วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวตำบลบ้านม่วงกลวง คลองลัดโนด.หากใครอยากสัมผัสธรรมชาติแบบใกล้ชิดและทำกิจกรรมที่หลากหลาย แอดแนะนำให้มาที่นี่ เพราะมีทั้งล่องเรือชมวิว ปลูกป่าชายเลน กินอาหารทะเลสดอร่อยบนกระชังปลา และล่องแพเปียก.ที่ตั้ง ม.3 ต.ม่วงกลวง อ.กะเปอร์ จ.ระนองเปิดทุกวัน เวลา 08.00-16.00 น.โทร. 087 885 7965 (พี่ปรีชา), 082 278 6099 (ผู้ใหญ่ทวน) กิจกรรมแรกคือการนั่ง “เรือพรีส” ชมวิว เรือนี้มีลักษณะคล้ายเรือหางยาวลำเล็ก ๆ นั่งได้ไม่เกิน 3 คน รวมคนขับ.วันที่แอดไปมีฝนตกลงมา สมกับที่เป็น “เมืองฝนแปดแดดสี่” จริง ๆ เพราะฉะนั้นใครมาเที่ยวระนองต้องเตรียมตัวให้พร้อมนะ เช็คสภาพอากาศล่วงหน้าด้วย แต่จริง ๆ นั่งเรือกลางสายฝนก็สนุกไปอีกแบบเลยล่ะ อีกจุดของที่นี่ ที่แอดชอบมากก็คือ กระชังปลา หรือเรียกว่าศูนย์เรียนรู้ลอยน้ำ ซึ่งเป็นจุดรับประทานอาหารกลางวันของเรา มาถึงระนองทั้งที ถ้าไม่กินอาหารทะเลก็อาจถูกแซวว่ามาไม่ถึง ขอบอกเลยว่าอาหารที่นี่อลังการมาก กุ้ง หอย ปู ปลา ละลานตาไปหมด แถมรับประกันความสดและความอร่อย เมนูที่ไม่อยากให้เพื่อน ๆ พลาดเลยก็คือ “แกงกุ้งใส่ใบส้มป่อย” ซุปใสรสชาติคล่องคอ อมเปรี้ยวนิด ๆ เนื้อกุ้งก็หวานเด้ง รสชาติเข้ากันมาก ๆ ขอเตือนไว้ก่อนเลยว่า อย่ากินเพลินจนลืมชมวิวนะ เพราะถึงแม้ว่าตอนล่องเรือฝนจะตก แต่พอฝนหยุดแล้ว สิ่งที่ปรากฏแก่สายตาเป็นอะไรที่สุดยอดมากกก หมอกจาง ๆ บนภูเขา น้ำใส ๆ สะท้อนภาพท้องฟ้าที่เริ่มเปิด ลมเย็นพัดเอื่อย ๆ และอาหารอร่อย ๆ วางเต็มโต๊ะ เอาอะไรมาแลกก็ไม่ยอม กิจกรรมถัดไปตามโปรแกรมก็คือ การล่องแพเปียกชมสันหลังปึ้งกือ(สันหลังกิ้งกือ) ซึ่งชื่อนี้เป็นชื่อนี้ตั้งขึ้นเพื่อให้คล้องกับทะเลแหวกสันหลังมังกรที่ จ.สตูล และไฮไลท์สำคัญก็คือ การปลูกป่าชายเลน ที่นอกจากจะสนุกแล้ว ยังเป็นการช่วยเพิ่มทรัพยากรธรรมชาติอีกด้วย.แต่น่าเสียดายที่ฝนตกอีกรอบ ไม่สามารถล่องแพเปียกและปลูกป่าชายเลนได้ แต่ไม่ต้องห่วงนะ แอดหาภาพมาให้เพื่อน ๆ ดูแล้ว.แพ็กเกจ 1 วัน สำหรับ 2 – 60 คน เดินทางเอง ราคา 1,350 ต่อคนบริการรับ-ส่ง เมืองระนอง 1,900 ต่อคน.โปรแกรมกิจกรรม ณ คลองลัดโนดจุดนัดพบ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ท่าเรือคลองลัดโนด– […]

เส้นทางท่องเที่ยว ระนอง-ชุมพร 3 วัน 2 คืน อ่านเพิ่มเติม

เกาะช้าง : ระนอง เสน่ห์ธรรมชาติที่แสนจะเรียบง่าย

เกาะช้าง จ.ระนอง เป็นสวรรค์ของนักเดินทางที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในหมู่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ เป็นเกาะที่ยังคงมีธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติและดูนก ชาวบ้านประกอบอาชีพทำสวนมะม่วงหิมพานต์และสวนยางพารา ที่นี่สิ่งอำนวยความสะดวกยังเข้าถึงไม่มากนัก ชาวบ้านยังต้องปั่นไฟใช้เป็นเวลา ถนนหนทางก็มีไม่ทั่วทั้งเกาะ นับว่าเป็นสถานที่ที่เหมาะสำหรับการมาพักกายพักใจ หลีกหนีความวุ่นวายในเมือง และตักตวงความสุขกับธรรมชาติที่เงียบสงบแบบส่วนตัวได้อย่างเต็มที่ นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่มาเป็นชาวต่างชาติ ซึ่งส่วนมากจะมาพักผ่อนแบบ Long Stay อยู่กันยาวไปเลย เพราะหลงเสน่ห์ความเป็นธรรมชาติที่เงียบสงบของเกาะช้างนั่นเอง ช่วงเวลาที่เหมาะที่สุดในการมาเที่ยวเกาะช้างคือ ระหว่างเดือนตุลาคม-พฤษภาคม (หรือมิถุนายน แล้วแต่สภาพอากาศ) เพราะหลังจากนั้นจะเข้าหน้ามรสุม เรือจะงดวิ่งและที่พักส่วนใหญ่จะปิด ดังนั้นก่อนเดินทาง แอดแนะนำให้โทรสอบถามเรื่องที่พักและสภาพอากาศก่อนนะครับ การเดินทาง แอดนั่งรถทัวร์จากสถานีขนส่งสายใต้ใหม่ตอนค่ำ รถทัวร์ออกเวลา 20.20 น. ถึงสถานีขนส่งเมืองระนองตอนเช้าตรู่ 05.30 น. ถึงแล้วก็ทำธุระส่วนตัวให้เรียบร้อย ขอบอกว่าภายในสถานีขนส่งเมืองระนองมีห้องอาบน้ำด้วย สะดวกมากๆ สำหรับนักเดินทางอย่างแอด จากนั้นก็นั่งรถสองแถวสีฟ้า(ตลาด-สะพานปลา) มาลงที่ท่าเทียบเรือเทศบาลตำบลปากน้ำ (ท่าเรือไปเกาะพยามและเกาะช้าง) ราคาคนละ 50 บาท การนั่งเรือไปเกาะช้าง ระนอง 1.เรือระนอง-เกาะช้าง : เรือจะจอดส่งผู้โดยสารที่ฝั่งอ่าวใหญ่เรื่อยไปจนถึงอ่าวตาแดง ราคาคนละ 200 บาท ใช้เวลา 2 ชั่วโมง ขาไปมีวันละ 2 รอบ คือ 09.30 น. และ 13.00 น. ส่วนขากลับก็วันละ 2 รอบเช่นกัน คือ 08.00 น. และ 13.00 น. 2.เรือระนอง-เกาะพยาม : เรือจะจอดลอยลำอยู่กลางทะเล ระหว่างอ่าวเล็กและเกาะพยาม (จากนั้นต้องติดต่อที่พักให้ส่งเรือมารับ) ราคาคนละ 200 บาท ใช้เวลา 2 ชั่วโมง ขาไปให้บริการวันละ 2 รอบ คือ 10.00 น. และ 14.00 น. ส่วนขากลับแนะนำให้แจ้งที่พักให้จองเรือให้ เพราะจะได้ทราบเวลาที่แน่นอนที่เรือจะมาครับ วันแรกแอดพักที่อ่าวใหญ่ก่อน อ่าวนี้มีลักษณะเป็นหาดกว้างทอดยาวประมาณ 3 กิโลเมตร ที่นี่มีที่พักแบบบังกะโลมากมายให้เลือก ส่วนใหญ่จะเป็นบ้านไม้ ราคาไม่แพงนัก อยู่ที่ประมาณ 200 – 700 บาท แต่ไม่มีแอร์และพัดลมนะ เนื่องจากบนเกาะช้างยังต้องอาศัยการปั่นไฟใช้กันระหว่าง 17.00 – 22.00 น. สำหรับที่อ่าวใหญ่นี้ แอดขอแนะนำ Sunset Bungalow เลย ที่พักสะอาด เจ้าของน่ารักเป็นกันเอง อาหารก็อร่อยครับ เสน่ห์ของเกาะช้างอยู่ตรงหาดทรายที่เป็นสองสี โดยช่วงน้ำขึ้นจะมีสีเหลืองนวล ส่วนเวลาน้ำลงจะกลายเป็นหาดทรายสีเทาดำ เนื้อละเอียด ถ้ามองจากระยะไกล น้ำทะเลบริเวณอ่าวใหญ่อาจดูไม่สวยนัก แต่พอเดินเข้าไปใกล้ๆ แล้ว น้ำใสมากกกก สามารถเล่นน้ำได้ หรือจะพายเรือแคนูก็สนุกดีครับ เอาล่ะ ได้เวลาออกสำรวจอ่าวใหญ่กันแล้ว แอดเดินตั้งแต่ต้นหาดไปสุดปลายหาดในขณะที่แดดเปรี้ยงๆ แต่ความงามที่ธรรมชาติสรรค์สร้างโดยไม่ปรุงแต่ง ก็ทำให้แอดเพลิดเพลินจนคลายร้อนไปได้เยอะเลยล่ะ แต่ละหาดของอ่าวใหญ่มีเสน่ห์แตกต่างกันออกไป บางหาดเป็นทรายสีดำ บางหาดก็มีโขดหินที่เต็มไปด้วยหอย และบางหาดก็มีมุมสวยๆ ชิคๆ ให้เราได้ถ่ายรูปเก๋ๆ ไม่เหมือนใคร วันที่สอง แอดตื่นมาพร้อมกับเสียงนกและเสียงจักจั่นที่ร้องต้อนรับวันใหม่ แล้วก็มานั่งรับประทานอาหารเช้า ชมวิวชิลๆ จากนั้นก็ได้เวลาเช็คเอาท์เพื่อไปยังจุดหมายต่อไป แอดรบกวนให้เจ้าของบังกะโลโทรเรียกเรือให้ เพื่อเดินทางต่อไปยังบ้านโจรสลัด กรีน บานาน่า หรือ Green Banana – Pirate House ซึ่งตั้งอยู่ที่อ่าวเล็กนั่นเอง การเดินทางจากอ่าวใหญ่ไปยังอ่าวเล็กสามารถไปได้ทั้งทางเรือ หรือจะนั่งวินมอเตอร์ไซค์ไปก็ได้ แต่ถ้าไปกันหลายคน แอดแนะนำว่านั่งเรือจะสะดวกกว่า ราคาเหมาอยู่ที่ 500 บาท โดยเรือจะมาส่งที่หน้าหาดเลย บ้านโจรสลัด กรีนบานาน่า เป็นบังกะโลเล็กๆ ที่ตกแต่งด้วยท่อนไม้และขยะที่ลอยมากับทะเล ดูเก๋ไก๋สไตล์โจรสลัด ยังกับภาพยนตร์เรื่อง Pirates of the Caribbean เลย ในส่วนของบ้านพัก จะเรียกว่าเป็นบังกะโล บ้านไม้ หรือกระท่อมก็แล้วแต่ มีอยู่ประมาณ 10 หลัง ราคาอยู่ที่ 250 – 350 บาท มีทั้งแบบห้องน้ำในตัวและห้องน้ำรวม บ้านพักที่นี่ไม่มีแอร์หรือพัดลมเช่นเดียวกับที่อ่าวใหญ่ เพราะต้องปั่นไฟใช้ระหว่าง 17.00 – 22.00 น. นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวที่นี่ส่วนใหญ่เน้นมาพักผ่อนแบบสบายๆ นั่งอ่านหนังสือหน้าที่พัก นอนเล่นชิลๆ รอพระอาทิตย์ตกดิน ให้เวลาผ่านไปอย่างช้าๆ ซึมซับความสุขให้ได้มากที่สุด อ่าวเล็กมีหาดทรายสีเหลืองนวลผสมสีดำจากแร่ดีบุกเหมือนกับอ่าวใหญ่ แต่ความยาวของหาดสั้นกว่า บ้านพักบนอ่าวเล็กมีไม่กี่แห่ง จึงทำให้นักท่องเที่ยวไม่พลุกพล่าน ได้ฟีลเหมือนเกาะนี้เป็นของเราคนเดียว ตอบโจทย์คนที่รักความเป็นส่วนตัวสูงได้ดีมากๆ อ่าวเล็กนั้นสงบราวกับสระว่ายน้ำธรรมชาติส่วนตัว และน้ำทะเลยังใสมาก ยิ่งยามแสงแดดกระทบผิวน้ำ ก็ยิ่งทำให้น้ำใสราวกับกระจก จนสามารถมองเห็นผืนทรายใต้น้ำได้อย่างชัดเจน บางหาดของอ่าวเล็กจะเป็นโขดหินดูสวยแปลกตา เหมาะสำหรับมานั่งปล่อยอารมณ์ ชมวิวทะเลเงียบๆ ที่อ่าวเล็ก นอกจากกิจกรรมเดินศึกษาธรรมชาติและดูนกแล้ว ก็ยังสามารถมาตกหมึก ตกปลา และแคะหอยตามโขดหินมาทำอาหารได้ด้วยครับ อ่าวเล็กมีมุมสวยๆ เลิศๆ ให้ถ่ายรูปมากมาย เหมือนมีสตูดิโอธรรมชาติส่วนตัว โพสท่าจัดเต็มได้ ไม่ต้องแคร์สายตาใคร เพราะนักท่องเที่ยวไม่พลุกพล่าน แอดก็เลยต้องขอโพสท่าเบา…เบา มาฝากเพื่อนร่วมทางครับ พระอาทิตย์ตกที่เกาะช้างสวยไม่แพ้ที่ไหนเลย วันที่สาม เป็นวันสุดท้ายของทริปแล้ว วันนี้แอดตื่นมาเดินเล่นชิลๆ ชมวิวหาดทรายหน้าที่พัก ตอนเช้าน้ำทะเลจะขึ้น ทำให้หาดทรายเป็นสีเหลืองนวลสะอาดตา น้ำก็ใสจนแอดอดใจไม่ไหว ต้องลงเล่นน้ำอีกซักรอบ ชิล..ชิล ตักตวงความสุขให้สุดก่อนลาจากเกาะช้างแห่งนี้ ขากลับแอดติดต่อเจ้าของที่พักให้โทรเรียกสปีดโบ้ทมารับช่วงบ่าย เพราะแอดต้องไปขึ้นรถทัวร์ที่สถานีขนส่งระนองในตอนเย็น เพื่อเดินทางกลับกรุงเทพ ทริปนี้สำหรับแอดคือสุดมาก ได้ Energy และอากาศบริสุทธิ์เต็มเปี่ยมกลับบ้าน ได้สัมผัสการใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย ผ่อนคลายไปกับความเงียบสงบ ได้ฟีลเหมือนมาติดเกาะจริงๆ สำหรับใครที่อยากหลีกหนีความวุ่นวาย ที่นี่ตอบโจทย์ได้ดีมากๆ ทั้งสงบและมีธรรมชาติที่งดงาม หาดทรายก็สวยแปลกตาไม่เหมือนที่ไหน สุดท้ายนี้แอดอยากจะบอกว่า ใครโดนเทก็เซมาเกาะช้าง

เกาะช้าง : ระนอง เสน่ห์ธรรมชาติที่แสนจะเรียบง่าย อ่านเพิ่มเติม

10 จุดชมความงาม ยามอาทิตย์อัสดง

1. วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร กรุงเทพฯ วัดอรุณราชวราราม เป็นวัดเก่าแก่ที่มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 2 และรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จุดเด่นของวัดแห่งนี้คือ “พระปรางค์” ซึ่งมีลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่สวยงามโดดเด่นที่สุดวัดหนึ่งของไทย หากมองจากฝั่งพระนครไปยังวัดอรุณฯ ในช่วงพลบค่ำ ก็จะเห็นภาพดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าที่ด้านหลังของพระปรางค์พอดิบพอดี องค์ประกอบต่างๆ ล้วนทำให้เกิดเป็นภาพที่สวยงามลงตัวอย่างน่าอัศจรรย์ วัดอรุณราชวรารามวรมหาวิหารที่ตั้ง : ถ.วังเดิม แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานครเปิดทุกวัน เวลา 8.30-17.30 น. 2. วัดไชยวัฒนาราม จ.พระนครศรีอยุธยา ในช่วงปีที่ผ่านมา วัดไชยวัฒนารามเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวสุดฮิต เนื่องจากเป็นฉากหนึ่งในละครเรื่องบุพเพสันนิวาสทีโด่งดังไปทั่ว ทำให้มีผู้คนเดินทางมาตามรอยละครกันมากมาย วัดไชยวัฒนาราม เป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง โดยจำลองรูปแบบการก่อสร้างมาจากปราสาทนครวัด มีพระปรางค์องค์ใหญ่เป็นประธานของวัด และมีปรางค์บริวารอยู่ที่มุมทั้ง 4 รอบพระปรางค์ล้อมรอบด้วยระเบียงคด ซึ่งมีเมรุทิศ เมรุราย อยู่ที่มุมและด้านของระเบียงคด นับเป็นโบราณสถานที่สวยงามตระการตาอีกแห่งหนึ่ง ในยามเย็นช่วงพระอาทิตย์ตกดิน แสงที่สาดส่องมายังโบราณสถาน ทำให้เกิดมุมมองที่แปลกตา สวยงามไม่แพ้กลางวันเลย วัดไชยวัฒนารามที่ตั้ง : อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยาเปิดทุกวัน เวลา 06.00-18.00 น. 3. ปราสาทหินพนมรุ้ง จ.บุรีรัมย์ หลายๆ คนอาจจะตั้งตารอชมปรากฏการณ์ที่ดวงอาทิตย์ขึ้นตรง 15 ช่องประตู ซึ่งใน 1 ปีจะเกิดขึ้นเพียง 4 ครั้งเท่านั้น แต่วันนี้แอดอยากจะบอกว่า ไม่ต้องรอให้ถึงช่วงเวลานั้น เราก็มีรูปสวยๆ ไปอวดเพื่อนๆ ได้เหมือนกัน ยามดวงอาทิตย์คล้อยลงต่ำ เตรียมจะลาลับขอบฟ้า เงาของปราสาทจะบดบังดวงอาทิตย์ ทำให้ปราสาทดูลึกลับและเต็มไปด้วยมนต์ขลังมากยิ่งขึ้น ปราสาทหินพนมรุ้งที่ตั้ง : ต.ตาเป๊ก อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์เปิดทุกวัน เวลา 06.00-18.00 น. 4. สะพานแขวนสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี จ.ตาก สะพานแห่งนี้ถือเป็นจุดชมวิวแม่น้ำปิงที่สวยงามที่สุดแห่งหนึ่งของ จ.ตาก เลยก็ว่าได้ โดยเฉพาะช่วงที่ดวงอาทิตย์ขึ้นและตก เราจะเห็นดวงอาทิตย์อยู่ตรงกับแนวสะพานพอดี เป็นภาพที่สวยงามมากๆ นอกจากนี้ ในช่วงเทศกาลลอยกระทงของทุกปี บริเวณสะพานแห่งนี้ยังใช้เป็นสถานที่จัดงานประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีปพันดวง ซึ่งเป็นประเพณีท้องถิ่นของจังหวัดที่มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใครอีกด้วย สะพานแขวนสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปีที่ตั้ง : อ.เมือง จ.ตาก 5. อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย จ.สุโขทัย อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย มรดกโลกที่สำคัญของไทย ร่องรอยความเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรสุโขทัยเมื่อกว่า 700 ปีก่อน ภายในอุทยานฯ เต็มไปด้วยโบราณสถานมากมายที่แม้จะปรักหักพังแต่ก็เต็มไปด้วยคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์และทางจิตใจ ในช่วงเวลาโพล้เพล้ บริเวณสระน้ำหน้าวัดมหาธาตุนี่แหละคือสถานที่ยอดนิยมสำหรับนักถ่ายภาพ ภาพความยิ่งใหญ่ของโบราณสถานยามอาทิตย์อัสดงที่สะท้อนลงบนผิวน้ำนั้น งดงามเกินบรรยายจริงๆ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยที่ตั้ง : ต.เมืองเก่า อ.เมือง จ.สุโขทัยเปิดทุกวัน เวลา 06.00-18.00 น. 6. กว๊านพะเยา จ.พะเยา กว๊านพะเยาเป็นบึงน้ำที่เกิดจากการรวมตัวของลำห้วยต่างๆ ถึง 18 สาย เป็นบึงที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ และใหญ่เป็นอันดับ 4 ของประเทศไทย นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลากว่า 50 ชนิดด้วย คำว่า “กว๊าน” หมายถึง หนองน้ำ หรือบึงน้ำขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นคำที่ใช้เฉพาะที่จังหวัดพะเยาแห่งเดียวเท่านั้น ทัศนียภาพรอบกว๊านร่มรื่น มองเห็นแนวทิวเขาสลับซับซ้อนสวยงาม บริเวณริมกว๊านมีร้านอาหารและสวนสาธารณะ ซึ่งสามารถมาเดินเล่น หรือชมพระอาทิตย์ตกดินได้ มีบริการนั่งเรือพายชมทัศนียภาพกว๊านพะเยาด้วย ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท กว๊านพะเยาที่ตั้ง : ต.เวียง อ.เมือง จ.พะเยา 7. ประภาคาร จ.ระนอง ประภาคารแห่งนี้ ตั้งอยู่บริเวณท่าเทียบเรือด่านศุลกากรระนอง เป็นอาคารแปดเหลี่ยม สูง 50 เมตร ถือว่าเป็นประภาคารที่สูงที่สุดในประเทศไทย ประภาคารมีทั้งหมด 9 ชั้น โดยชั้นที่ 9 เป็นจุดชมวิวที่สามารถชมสวยงามของปากน้ำระนอง ก่อนไหลออกสู่ทะเลอันดามัน โดยอีกฟากฝั่งของแม่น้ำก็คือประเทศเมียนมานั่นเอง ใกล้มากๆ ในช่วงเย็น สถานที่แห่งนี้ยังเป็นสถานที่ที่เราสามารถมาเดินเล่น พักผ่อนหย่อนใจ รับลมเย็นๆ และถ่ายรูปเล่นได้อีกด้วย บอกเลยว่าภาพประภาคารที่มีภูเขาและดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าเป็นฉากหลังนั้น สวยงามไม่แพ้ที่ไหนๆ เลย ประภาคาร จ.ระนองที่ตั้ง : บ้านเขานางหงส์ ต.ปากน้ำ อ.เมือง จ.ระนองเปิดทุกวัน เวลา 8.00-20.00 น. 8. สะพานเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา จ.พัทลุง รู้หรือไม่..สะพานเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา จ.พัทลุง เป็นสะพานที่ยาวที่สุดของประเทศไทยในขณะนี้ สะพานแห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อเชื่อมเส้นทางระหว่าง อ.ควนขนุน จ.พัทลุง และ อ.ระโนด จ.สงขลา เข้าด้วยกัน โดยทอดยาวผ่านทะเลน้อยอันกว้างใหญ่ ทัศนียภาพโดยรอบสะพานเป็นเวิ้งน้ำกว้างไกล สามารถมองเห็นทะเลบัวแดงในช่วงเช้า ส่วนช่วงสายก็จะพบกับนกน้ำที่ออกหากิน และถ้าโชคดีก็อาจได้พบควายน้ำด้วย ไฮไลท์อีกอย่างของที่นี่คือ ในช่วงเย็นเส้นทางนี้ยังได้ชื่อว่าเป็นจุดถ่ายภาพพระอาทิตย์ตกที่สวยที่สุดแห่งหนึ่งอีกด้วย สะพานเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาที่ตั้ง : ต.พนางตุง อ.ควนขนุน จ.พัทลุง 9. เกาะเต่า จ.สุราษฎร์ธานี เกาะเต่า จุดดำน้ำที่มีชื่อเสียงระดับโลก เนื่องจากมีแนวปะการังทั้งน้ำตื้นและน้ำลึกที่มีความสวยงามและสมบูรณ์ อีกทั้งยังเป็นที่อยู่อาศัยของปลาหลากหลายชนิด เกาะเต่ามีหาดทรายขาวละเอียดและสะอาดสวยงาม นอกจากนี้ยังเป็นเกาะที่เงียบสงบ ผู้คนไม่พลุกพล่าน เกาะเต่าจึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวที่ต้องการการพักผ่อนอย่างแท้จริง ถึงแม้เกาะเต่าจะตั้งอยู่ในเขต จ.สุราษฎร์ธานี แต่เนื่องจากอยู่ใกล้ฝั่งของ จ.ชุมพรมากกว่า นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวเกาะเต่าจึงนิยมขึ้นเรือจากชุมพรเป็นส่วนใหญ่ เกาะเต่าที่ตั้ง : อ.เกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานี 10.

10 จุดชมความงาม ยามอาทิตย์อัสดง อ่านเพิ่มเติม

เกาะพยาม ยามไหนก็…รัก

เกาะพยาม ยามไหนก็…รัก  ในทะเลอันดามัน มีเกาะอยู่แห่งหนึ่งที่ในอดีตเรียกว่า “เกาะพิยาม” มาจากคำว่า “พอยาม” (“ยาม” เป็นการนับเวลาในสมัยโบราณ โดย 1 ยามเท่ากับ 3 ชั่วโมง) “พอยาม” จึงหมายถึง การเดินทางมายังเกาะต้องใช้เวลา 3 ชั่วโมงจึงจะถึง ภายหลังเพี้ยนมาเป็น “เกาะพยาม” แต่บ้างก็ว่าที่มาของชื่อ “เกาะพยาม” มาจากคำว่า “พยายาม” เพราะในสมัยก่อนการเดินทางไปยังเกาะพยามมีความยากลำบาก ต้องใช้ความพยายามอย่างมาก ชาวบ้านจึงเรียกเกาะนี้ว่า “เกาะพยายาม” ก่อนจะเพี้ยนมาเป็น “เกาะพยาม” นั่นเอง เกาะพยาม เป็นเกาะที่มีชื่อเสียงมากของจังหวัดระนอง มีอ่าวหลักๆ อยู่ 4 อ่าวด้วยกัน คือ อ่าวแม่หม้าย อ่าวใหญ่ อ่าวเขาควาย และอ่าวกวางปีบ ซึ่งแต่ละอ่าวตั้งอยู่ไม่ไกลกันมากนัก ใช้เวลาประมาณ 10 นาทีก็ถึง การเดินทางบนเกาะพยาม ต้องใช้รถจักรยาน รถจักรยานยนต์ หรือรถอีแต็กเท่านั้น ซึ่งบนเกาะก็มีให้บริการพร้อม การเดินทางมายังเกาะพยาม ต้องนั่งเรือจากท่าเรือเทศบาลตำบลปากน้ำ ซึ่งอยู่ห่างจากอำเภอเมืองระนองประมาณ 15 นาที เรือมี 2 แบบ ได้แก่– เรือธรรมดา ราคาคนละ 200 บาท ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1.30-2 ชั่วโมง– เรือสปีดโบ๊ท ราคาคนละ 350 บาท ใช้เวลาเดินทางประมาณ 30-40 นาที เมื่อถึงท่าเทียบเรือเกาะพยาม เราก็จะพบกับ “อ่าวแม่หม้าย” ซึ่งเป็นที่ตั้งของท่าเรือหลักและศูนย์กลางความเจริญของเกาะ ใกล้ๆ กัน มีวัดเกาะพยาม ซึ่งโดดเด่นด้วยพระอุโบสถกลางทะเล ที่มีพระพุทธรูปปางลีลาประดิษฐานอยู่บนหลังคา เป็นจุดสังเกตที่เห็นได้แต่ไกลยามนั่งเรือมาสู่เกาะ จุดเด่นของอ่าวนี้คือ หน้าหาดที่หันไปทางทิศตะวันออก จึงสามารถชมทิวทัศน์ยามพระอาทิตย์ขึ้นได้อย่างสวยงาม บริเวณอ่าวแม่หม้ายจะคึกคักกว่าอ่าวอื่นๆ เนื่องจากเป็นที่ตั้งของท่าเทียบเรือ มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นร้านค้า ร้านอาหาร ที่พัก บริการเรือเช่ารอบเกาะ และรถจักรยานยนต์ให้เช่า อ่าวถัดมาคือ “อ่าวใหญ่” อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะ จะว่าไปอ่าวนี้ก็ใหญ่สมชื่อเลยนะคะ มีลักษณะเป็นเวิ้งทอดยาวกว่า 4 กิโลเมตร หาดทรายมีสีดำปนขาว เนื่อละเอียดแน่นนวลเท้า รู้สึกดีมากๆ เลย  อ่าวใหญ่แบ่งออกเป็นอ่าวใหญ่เหนือและใต้ โดยมีลำคลองเล็กๆ เป็นจุดแบ่ง ซึ่งทางตอนใต้ของอ่าวจะมีลักษณะเป็นโขดหิน  เมื่อน้ำลดเราจะเห็นหาดทรายอันกว้างใหญ่กลายเป็นริ้วสีขาวดำ ดูสวยงามแปลกตา มาต่อกันที่ “อ่าวเขาควาย” ทางทิศตะวันตกของเกาะ ลักษณะของอ่าวเป็นรูปโค้งเข้าหากันคล้ายกับเขาควาย อ่าวเขาควายแบ่งออกเป็น 2 ฝั่ง คือ อ่าวเขาควายฝั่งเหนือและฝั่งใต้ โดยไฮไลท์จะอยู่ที่อ่าวเขาควายฝั่งใต้ ซึ่งมีโขดหินที่มีลักษณะเป็นโพรงคล้ายกับซุ้มประตู เรียกกันว่า “เขาทะลุ” หรือ “หินทะลุ” เป็นจุดที่คนนิยมมาถ่ายภาพกันมาก เรียกว่าเป็นแลนด์มาร์กของอ่าวนี้เลยก็ว่าได้ มาถึงอ่าวสุดท้ายกันแล้ว นั่นก็คือ “อ่าวกวางปีบ” ซึ่งเป็นอ่าวที่อยู่ตอนเหนือสุดของเกาะพยาม การเดินทางไปอ่าวนี้ต้องใช้ความพยายามกันสักนิด เนื่องจากนอกจากจะอยู่ไกลแล้ว เส้นทางยังเป็นลูกรังและชันเล็กน้อย แต่เพื่อแลกกับบรรยากาศที่สวยงามและเงียบสงบที่จะได้เจอแล้ว แอดบอกเลยว่าคุ้มค่าสุดๆ  ที่ตั้ง : ตำบลเกาะพยาม อำเภอเมือง จังหวัดระนองโทร. 077 825 308-9 (องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะพยาม) เผยแพร่ใน Facebook : TAT Contact Center เพื่อนร่วมทาง วันที่ 4 มีนาคม 2562

เกาะพยาม ยามไหนก็…รัก อ่านเพิ่มเติม

หลงเสน่ห์… เกาะพยาม

“เกาะพยาม” ตั้งอยู่ในทะเลอันดามัน เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจากเกาะช้าง ในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระนอง จังหวัดระนอง ว่าแต่ชื่อ “เกาะพยาม” นั้นมีที่มาที่ไปยังไงนะ?ว่ากันว่าในอดีตเกาะนี้เรียกว่า “เกาะพิยาม” มาจากคำว่า “พอยาม” (“ยาม” เป็นการนับเวลาในสมัยโบราณ โดย 1 ยามเท่ากับ 3 ชั่วโมง) “พอยาม” จึงหมายถึง การเดินทางมายังเกาะนี้ต้องใช้เวลา 3 ชั่วโมงจึงจะถึง ภายหลังเพี้ยนมาเป็น “เกาะพยาม” แต่บ้างก็ว่าที่มาของชื่อ “เกาะพยาม” มาจากคำว่า “พยายาม” เพราะในสมัยก่อนการเดินทางไปยังเกาะพยามมีความยากลำบาก ต้องใช้ความพยายามอย่างมาก ชาวบ้านจึงเรียกเกาะนี้ว่า “เกาะพยายาม” ก่อนจะเพี้ยนมาเป็น “เกาะพยาม” นั่นเอง การเดินทางมายังเกาะพยาม สามารถขึ้นเรือได้ที่ท่าเรือเทศบาลตำบลปากน้ำ ซึ่งอยู่ห่างจากอำเภอเมืองระนองมาประมาณ 15 นาที เรือมี 2 แบบ ได้แก่– เรือธรรมดา ราคาคนละ 200 บาท ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1.30-2 ชั่วโมง– เรือสปีดโบ๊ท ราคาคนละ 350 บาท ใช้เวลาเดินทางประมาณ 30-40 นาที สำหรับการเดินทางบนเกาะพยาม ต้องใช้รถจักรยานหรือรถจักรยานยนต์ ซึ่งบนเกาะก็มีบริการให้เช่าพร้อม เกาะพยาม เป็นเกาะที่มีชื่อเสียงมากของจังหวัดระนอง และมีนักท่องเที่ยวนิยมมาเที่ยวกันมาก ที่นี่มีอ่าวหลักๆ อยู่ 4 อ่าวด้วยกัน คือ อ่าวแม่หม้าย อ่าวใหญ่ อ่าวเขาควาย และอ่าวกวางปีบ ซึ่งแต่ละอ่าวตั้งอยู่ไม่ไกลกันมากนัก ห่างกันประมาณ 10 นาทีเท่านั้น สำหรับอ่าวแรกคือ “อ่าวแม่หม้าย” อ่าวนี้เรียกได้ว่าเป็นประตูด่านแรก เนื่องจากเป็นที่ตั้งของท่าเรือหลัก มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นร้านค้า ร้านอาหาร ที่พัก เรือเช่าเที่ยวรอบเกาะ รถจักรยานยนต์ให้เช่า เป็นต้น จุดเด่นของอ่าวนี้คือ หน้าหาดหันไปทางทิศตะวันออก จึงสามารถชมทิวทัศน์ยามพระอาทิตย์ขึ้นได้ ที่เกาะพยามสามารถพายเรือคายัคได้ด้วยนะ ถือว่าเป็นกิจกรรมยอดฮิตเลยล่ะ ถัดมาคือ “อ่าวใหญ่” ซึ่งเป็นอ่าวที่ใหญ่ที่สุดในเกาะพยาม โดยมีความยาวกว่า 4 กิโลเมตร แบ่งออกเป็น อ่าวใหญ่เหนือและอ่าวใหญ่ใต้ โดยมีลำคลองเล็กๆ คั่น ยามน้ำลด เมื่อคลื่นซัดสาด เราจะมองเห็นหาดทรายที่เป็น 2 สี กลายเป็นริ้วสีขาวดำ ดูสวยแปลกตามาก ต่อมาคือ “อ่าวเขาควาย” อยู่ทางทิศตะวันตกของเกาะมีลักษณะเป็นอ่าวที่โค้งเข้าหากันคล้ายกับเขาควาย ยาวประมาณ 2 กิโลเมตร อ่าวเขาควายแบ่งออกเป็น อ่าวเขาควายเหนือ และอ่าวเขาควายใต้ โดยไฮไลท์จะอยู่ที่ฝั่งใต้ เพราะมีมุมสุดฮิตอย่าง “หินทะลุ” ซึ่งเป็นจุดที่คนนิยมมาถ่ายภาพกันมาก เรียกว่าเป็นแลนด์มาร์กของอ่าวนี้เลยก็ว่าได้ และสุดท้ายคือ “อ่าวกวางปีบ” เป็นอ่าวที่ไกลที่สุด บอกเลยว่าต้องใช้ความพยายามกันสักนิด กว่าที่เราจะได้เห็นชายหาดสวยๆ แบบนี้ หลังจากแวะไปเที่ยวมาครบ 4 อ่าวแล้ว ก็ได้เวลามารอชมพระอาทิตย์ตกยามเย็นที่อ่าวใหญ่ สวยมากๆ เลย

หลงเสน่ห์… เกาะพยาม อ่านเพิ่มเติม

Mata Cafe – Store & Artspace @Ranong

Mata Cafe – Store & Artspaceที่ตั้ง : 145/3 หมู่ 4 ตำบลบางนอน อำเภอเมือง จังหวัดระนองเปิดวันพุธ-จันทร์ เวลา 10.00 – 19.00 น. (ปิดวันอังคาร)โทร.062 073 9991พิกัด : https://goo.gl/maps/kDQxrNyTJm32 — atMata Cafe – Store & Artspace. บรรยากาศร้านเป็นสไตล์มินิมอล เรียบๆ แต่เก๋ โทนสีขาวของตัวบ้านและสีเอิร์ธโทนของเฟอร์นิเจอร์ไม้เข้ากันได้อย่างลงตัว  ร้านเเบ่งออกเป็น 2 โซน คือบริเวณที่นั่งด้านนอกร้านและภายในร้านที่เป็นห้องแอร์ ก่อนไปหามุมถ่ายภาพ เราไปสั่งขนมและเครื่องดื่มกันก่อนดีกว่า ^^ — at Mata Cafe – Store & Artspace. มาแล้ววว…มาดูกันค่ะว่ามีเมนูอะไรบ้าง วาฟเฟิลหอมๆ ทานคู่กับผลไม้และไอศกรีม ฟินสุดๆ เลย กาแฟโรบัสต้า แค่กลิ่นก็รู้แล้วว่าใช้กาแฟคุณภาพจริงๆ ส่วนเรื่องรสชาตินั้น…ต้องไปลองชิมกันเองนะ ฮ่าๆ  โฮจิฉะชาเย็น สำหรับแก้วนี้แอดบอกเลยว่าด้านบนหอมโฮจิฉะมากกก ส่วนด้านล่างเป็นชาเย็น คนให้เข้ากันก็กลมกล่อมกำลังดีเลยล่ะ — at Mata Cafe – Store & Artspace. เมนูนี้คนรักชาเขียวห้ามพลาด Matcha Affogato ชาเขียวเข้มข้นทานคู่กับไอศกรีมชาเขียว ฟินแน่นอน ^^ — atMata Cafe – Store & Artspace. บราวนี่อาลาโม้ด บราวนี่อบร้อนๆ ทานคู่กับไอศกรีม ชิ้นนี้แอดแนะนำเลยค่ะ ดีต่อใจอ่า ^^ — at Mata Cafe – Store & Artspace. อย่างที่แอดได้บอกไปก่อนหน้านี้ว่า ร้านนี้เค้ารักโลกและใส่ใจสิ่งแวดล้อมนะจ๊ะ ทางร้านจึงลดการใช้พลาสติก ด้วยการใช้หลอดที่ทำจากสแตนเลส แก้วกระเบื้อง และถุงกระดาษที่นำกลับมาใช้ซ้ำ เพื่อไม่ให้เกิดขยะจากพลาสติกอีกด้วย— at Mata Cafe – Store & Artspace. นอกจากนี้ทางร้านยังจำหน่ายสินค้าที่เกี่ยวกับการลดการสร้างขยะ เพื่อกระตุ้นให้ทุกคนหันมาใช้ผลิตภัณฑ์ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม เช่น หลอดสแตนเลส หลอดแก้ว กระติกน้ำ แก้ว ถุงผ้าที่พกพาสะดวกดีไซน์เก๋ เสื้อผ้าที่ทำจากผ้าฝ้าย ผลิตภัณฑ์ออร์แกนิคที่ทำวัสดุจากธรรมชาติ เช่น เทียน ลิปบาล์ม สบู่ เป็นต้น — at Mata Cafe – Store & Artspace. ร้านกาแฟเล็กๆ ที่รายล้อมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ของจังหวัดระนอง และเปี่ยมไปด้วยความรักและใส่ใจสิ่งแวดล้อมของเจ้าของร้าน แอดเชื่อว่าใครมาก็จะต้องหลงรักอย่างแน่นอน — at Mata Cafe – Store & Artspace.

Mata Cafe – Store & Artspace @Ranong อ่านเพิ่มเติม

Wetland ดินแดนมหัศจรรย์

Wetland ดินแดนมหัศจรรย์ : 14 พื้นที่ชุ่มน้ำที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นแรมซาร์ไซต์ (Ramsar Site) 1 พื้นที่ชุ่มน้ำพรุควนขี้เสียน.พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศแห่งแรกของประเทศไทย มีลักษณะเป็นพื้นที่พรุไม้เสม็ดขาว มีกก หญ้ากระจูด กระจูดหนู ขึ้นอยู่หนาแน่น ตั้งอยู่ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของทะเลสาบสงขลา .ที่ตั้ง: เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง 2 พื้นที่ชุ่มน้ำเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ.เป็นบึงน้ำจืดที่มีลักษณะแคบยาว เกิดจากลำห้วยหลายสายไหลมารวมกัน โดยน้ำในบึงจะไหลลงสู่แม่น้ำสงคราม ก่อนไหลออกแม่น้ำโขง ในพื้นที่มีเกาะกลางบึง ได้แก่ ดอนแก้ว ดอนสวรรค์ ดอนโพธิ์ ดอนน่อง และนอกจากนี้บนเกาะยังมีป่าดิบแล้งที่ค่อนข้างสมบูรณ์อีกด้วย.ที่ตั้ง: อยู่ในพื้นที่ตำบลบ้านต้อง ตำบลโสกก่าม อำเภอเซกา และตำบลบึงโขงหลง ตำบลโพธิ์หมากแข้ง อำเภอบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ  3 พื้นที่ชุ่มน้ำเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองบงคาย จังหวัดเชียงราย.เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของทะเลสาบเชียงแสน มีการสำรวจพบพันธุ์ไม้ในพื้นที่กว่า 185 ชนิด เช่น ผักบุ้ง บอน หญ้าไซ บัวหลวง กก เป็นต้น เป็นพืชต่างถิ่น 15 ชนิด เช่น กระถินยักษ์ หญ้าชน บัวบก และมะระขี้นก เป็นต้น.ที่ตั้ง: ตำบลโยนก และตำบลป่าสัก อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย 4 พื้นที่ชุ่มน้ำอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม-เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง-ปากน้ำตรัง จังหวัดตรัง .บริเวณนี้มีระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพสูงมาก โดยสังคมพืชในพื้นที่ประกอบด้วย ป่าดิบชื้น ป่าชายหาด ป่าชายเลน และจัดเป็นแหล่งที่มีความอุดมสมบรูณ์ของหญ้าทะเลมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งหากินของพะยูน ซึ่งถือเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ของประเทศไทยอีกด้วย.ที่ตั้ง: ตำบลนาเกลือ ตำบลลิบง ตำบลหาดสำราญ อำเภอสิเกา อำเภอปะเหลียน และอำเภอกันตัง จังหวัดตรัง 5 พื้นที่ชุ่มน้ำกุดทิง จังหวัดบึงกาฬ .กุดทิงเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของปลาน้ำจืดขนาดเล็กที่สำคัญหลายชนิด และยังพบปลาที่อยู่ในสถานะที่เสี่ยงต่อการถูกคุกคาม เช่น ปลายี่สก หรือปลาเอิน ฯลฯ นอกจากนี้กุดทิงยังเป็นที่อยู่อาศัยของกุ้งน้ำจืด 3 ชนิด คือ กุ้งฝอยเล็ก กุ้งฝอยใหญ่ และกุ้งฝอยแดงด้วย .ที่ตั้ง : อำเภอเมือง จังหวัดบึงกาฬ 6 หมู่เกาะระ–เกาะพระทอง จังหวัดพังงา.จุดเด่นของที่นี่คือแนวปะการังน้ำลึก ที่มีความหลากหลายของชนิดปะการังมากกว่าที่อื่น มีการสำรวจพบแนวปะการังที่เกาะสุรินทร์เหนือ เกาะสุรินทร์ใต้ เกาะรี เกาะไข่ เกาะกลาง เกาะเมี่ยง เกาะตารี และเกาะอื่นๆ โดยที่เกาะสุรินทร์มีแนวปะการังที่สมบูรณ์อยู่ที่อ่าวช่องขาด และอ่าวแม่บาย ปะการังที่พบมาก ได้แก่ ปะการังเขากวาง ปะการังโขด ปะการังดอกเห็ด ปะการังดอกกะหล่ำ ปะการังดาวใหญ่ และปะการังไฟ เป็นต้น.ที่ตั้ง : อำเภอคุระบุรี และอำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา 7 พื้นที่ชุ่มน้ำอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา จังหวัดพังงา .เป็นอ่าวตื้นที่ล้อมรอบด้วยป่าชายเลนขนาดใหญ่เนื้อที่กว่า 132,381 ไร่ โดยบริเวณอ่าวพังงาประกอบไปด้วยเกาะน้อยใหญ่ประมาณ 42 เกาะ เช่น เกาะเขาเต่า เกาะพระอาดเฒ่า เกาะมะพร้าว เกาะปันหยี เกาะเขาพิงกัน เป็นต้น ถ้าเพื่อนๆ ไปที่จุดชมวิวเสม็ดนางชี ก็จะสามารถมองเห็นพื้นที่บางส่วนของแนวป่าชายเลนและหมู่เกาะต่างๆ ได้อย่างชัดเจน.ที่ตั้ง : อำเภอเมือง และอำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา 8 พื้นที่ชุ่มน้ำปากแม่น้ำกระบี่ จังหวัดกระบี่ .มีพื่นที่ครอบคลุมตั้งแต่สุสานหอย 75 ล้านปี เขตผังเมืองกระบี่ ป่าชายเลนหาดเลน เขาขนาบน้ำ หาดทรายลำคลองน้อมใหญ่หน้าเมืองกระบี่ ไปจนถึงป่าชายเลนและหญ้าทะเลผืนใหญ่ในบริเวณเกาะศรีบอยา  ที่นี่เป็นแหล่งชุมนุมของนกอพยพที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย พบนกอย่างน้อย 101 ชนิด เป็นนกประจำถิ่นอย่างน้อย 53 ชนิด เช่น นกยางเขียว นกนางนวลแกลบหงอนใหญ่ เหยี่ยวขาว เป็นต้น .ที่ตั้ง: อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ 9 พื้นที่ชุ่มน้ำอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง จังหวัดสุราษฎร์ธานี.หมู่เกาะอ่างทองประกอบด้วยเกาะต่างๆ ประมาณ 42 เกาะ ทั้งหมดเป็นเกาะขนาดเล็กและขนาดกลางตั้งอยู่เป็นกลุ่มเกาะกลางทะเล ส่วนใหญ่เป็นเขาหินปูนมีแนวหน้าผาสูงชันตั้งดิ่งจากพื้นที่น้ำทะเล นอกจากความอุดมสมบูรณ์ของโลกใต้ทะเลแล้ว ป่าไม้บนแนวเขาก็ค่อยข้างอุดมสมบูรณ์ มีสัตว์ป่าประจำถิ่นและนกอพยพกว่า 100 ชนิดเช่นกัน .ที่ตั้ง : ตำบลอ่างทอง อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี 10 พื้นที่ชุ่มน้ำดอนหอยหลอด จังหวัดสมุทรสงคราม .ดอนหอยหลอดเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำชายฝั่งทะเล มีลักษณะเป็นดินที่เกิดจากการทับถมของตะกอนปากแม่น้ำและตะกอนน้ำทะเลบริเวณปากแม่น้ำกลอง ทำให้แผ่นดินขยายออกไปในทะเลประมาณ 8 กิโลเมตร.จุดเด่นของที่นี่คือหาดเลน เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของหอยหลอด เอกลักษณ์สำคัญของพื้นที่ และยังมีหอยอีกหลายชนิดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจในประเทศไทยและในภูมิภาค.ที่ตั้ง: อยู่ในพื้นที่ตำบลบางจะเกร็ง ตำบลแหลมใหญ่ ตำบลบางแก้ว และตำบลคลองโคน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม 11 พื้นที่ชุ่มน้ำเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ( พรุโต๊ะแดง ) จังหวัดนราธิวาส .พรุโต๊ะแดงเป็นป่าพรุผืนใหญ่ที่สุดของประเทศไทยที่ยังคงเหลืออยู่ มีคุณค่าต่อการศึกษาวิจัยและการท่องเที่ยว ท้องถิ่นและชุมชนได้ประโยชน์โดยตรงจากการเก็บของป่า เช่น หวาย หลุมพี น้ำผึ้ง เพื่อเป็นรายได้ของชุมชน ที่นี่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงทั้งพืชและสัตว์ มีการสำรวจพบสัตว์ใกล้สูญพันธุ์หลายชนิด เช่น นกตะกรุม นกฟินฟุท นกเปล้าใหญ่ เต่าหับ เต่าดำ ตะโขง และจระเข้น้ำเค็ม เป็นต้น.ที่ตั้ง: อำเภอตากใบ อำเภอสุไหงโก-ลก และอำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส 12 พื้นที่ชุ่มน้ำอุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ .เพื่อนๆ หลายคนน่าจะเคยไปเที่ยวที่สามร้อยยอดกันมาบ้างแล้ว แต่รู้หรือไม่ว่าที่นี่ประกอบด้วยระบบนิเวศที่หลากหลายทั้งระบบนิเวศบก ป่าเขาหิน และระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำได้แก่ บึงน้ำจืด ป่าชายเลน หาดโคลน และหาดทรายชายทะเล  โดยป่าชายเลนจะอยู่บริเวณปากคลอง ซึ่งมีพันธุ์ไม้ขึ้นอยู่เป็นแนวแคบๆ ตามชายคลองบริเวณทางออกทะเล เช่น แสมทะเล โกงกางใบใหญ่ โกงกางใบเล็ก ลำพู เหงือกปลาหมอดอกขาว หญ้าน้ำเค็ม ฯลฯ ส่วนบริเวณที่ลุ่มน้ำกร่อยจะมีสังคมพืชทนเค็ม

Wetland ดินแดนมหัศจรรย์ อ่านเพิ่มเติม

พื้นที่ชุ่มน้ำ พื้นที่ชีวิต : Wetlands ดินแดนมหัศจรรย์

พื้นที่ชุ่มน้ำ…พื้นที่ชีวิต : Wetlands ดินแดนมหัศจรรย์ 1. พื้นที่ชุ่มน้ำพรุควนขี้เสียน ที่ตั้ง: เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง 2. พื้นที่ชุ่มน้ำเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ ที่ตั้ง: อยู่ในพื้นที่ตำบลบ้านต้อง ตำบลโสกก่าม อำเภอเซกาตำบลบึงโขงหลง ตำบลโพธิ์หมากแข้ง อำเภอบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ 3.พื้นที่ชุ่มน้ำดอนหอยหลอด จังหวัดสมุทรสงคราม  ที่ตั้ง: อยู่ในพื้นที่ตำบลบางจะเกร็ง ตำบลแหลมใหญ่ ตำบลบางแก้ว และตำบลคลองโคนอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม 4. พื้นที่ชุ่มน้ำปากแม่น้ำกระบี่ จังหวัดกระบี่  ที่ตั้ง: อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ 5. พื้นที่ชุ่มน้ำเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองบงคาย จังหวัดเชียงราย ที่ตั้ง: ตำบลโยนก และตำบลป่าสัก อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย 6. พื้นที่ชุ่มน้ำเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ( พรุโต๊ะแดง ) จังหวัดนราธิวาส  ที่ตั้ง: อำเภอตากใบ สุไหงโก-ลกและสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส 7. พื้นที่ชุ่มน้ำอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม – เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง – ปากน้ำตรัง จังหวัดตรัง  ที่ตั้ง: ตำบลนาเกลือ ตำบลลิบง ตำบลหาดสำราญ อำเภอสิเกาอำเภอปะเหลียน อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง  8. พื้นที่ชุ่มน้ำอุทยานแห่งชาติแหลมสน-ปากคลองกะเปอร์-ปากแม่น้ำกระบุรี จังหวัดระนอง ที่ตั้ง: อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง และอำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา 9. พื้นที่ชุ่มน้ำอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ตั้ง : ตำบลอ่างทอง อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี 10. พื้นที่ชุ่มน้ำอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา จังหวัดพังงา  ที่ตั้ง : อำเภอเมือง อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา 11.พื้นที่ชุ่มน้ำอุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  ที่ตั้ง : อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 12.พื้นที่ชุ่มน้ำกุดทิง จังหวัดบึงกาฬ  ที่ตั้ง : อำเภอเมือง จังหวัดบึงกาฬ 13. พื้นที่ชุ่มน้ำเกาะกระ จังหวัดนครศรีธรรมราช  ที่ตั้ง : อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช 14. หมู่เกาะระ–เกาะพระทอง จังหวัดพังงา ที่ตั้ง : อำเภอคุระบุรีและอำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา

พื้นที่ชุ่มน้ำ พื้นที่ชีวิต : Wetlands ดินแดนมหัศจรรย์ อ่านเพิ่มเติม

เลียบเลาะ . . . เกาะระนอง

เริ่มต้นกันด้วยจังหวัดแรกของภาคใต้ที่ติดทะเลอันดามันอย่าง “ระนอง” จังหวัดเล็กๆ ที่มีชื่อเสียง ด้วยลักษณะของพื้นที่ที่มีรูปร่างเรียวยาวและแคบ มีคอคอดกระ หรือกิ่วกระซึ่งเป็นส่วนที่แคบที่สุดของแหลมมลายู โดยส่วนที่แคบที่สุดของจังหวัดอยู่ที่อำเภอกระบุรี ที่ระนองมีหมู่เกาะทอดตัวเรียงรายมากมายให้เราได้สัมผัส และสำรวจความงดงามกัน หาดแรกที่อยากจะพาไปคือ “หาดชาญดำริ” หากอยากจะเที่ยวเกาะระนองให้ครบ การเห็นภาพรวมของเกาะทั้งหมดถือเป็นสิ่งจำเป็น หาดแห่งนี้ถือเป็นจุดชมวิวที่เห็นเกาะต่างๆ ในท้องทะเลอันดามันได้ในมุมกว้าง เราสามารถมองเห็นทั่วบริเวณชุมชนบ้านปากน้ำ และเลยไกลไปถึงเกาะสองหรือวิคตอเรียพอยท์ในประเทศเมียนมาร์ หากมีโอกาสอยู่ได้จนถึงพลบค่ำ ไม่อยากให้พลาดการถ่ายภาพพระอาทิตย์ตกดินในยามเย็น เพราะที่นี่คือจุดชมวิวที่สวยงามที่สุดอีกแห่งหนึ่งของเมืองระนองเลยทีเดียว โดยจุดชมวิวนั้นตั้งอยู่บนเนินเขาก่อนถึงตัวชายหาดเพียง 200 เมตร เท่านั้น มุมมองจากหน้าหาดชาญดำริ พาข้ามเรือกันไปที่ “เกาะช้าง” สมชื่อด้วยรูปร่างที่มีลักษณะคล้ายช้างหมอบ และเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดของระนอง ด้วยลักษณะพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ ทำให้เกาะช้างเป็นแหล่งผลิต”กาหยู” หรือมะม่วงหิมพานต์ที่ขึ้นชื่อ บนเกาะมีกิจกรรมที่หลากหลายทั้งการเดินวิ่งไปจุดชมวิว ปั่นจักรยานเสือภูเขาเที่ยวชมความร่มรื่นของสวนยาง ดูปูที่ป่าชายเลน และสวนกาหยู รวมทั้งกิจกรรมดูนก ตกปลา ก็สามารถเลือกได้ ส่วนใครที่ไม่ใช่นักกิจกรรม ก็สามารถปลีกตัวไปชมความงดงามและเงียบสงบบนชายหาดฝั่งตะวันตกของเกาะที่หันหน้าให้กับทะเลอันดามันได้ โดยมีหาดแนะนำอยู่ที่อ่าวตาแดงหรือที่เรียกกันว่า “Sunset Beach” ถือเป็นจุดชมอาทิตย์อัสดงที่งดงามที่สุดอีกมุมหนึ่งของระนอง “เกาะพยาม” อยู่ไม่ไกลจากเกาะช้าง เป็นเกาะที่มีชื่อเสียงมากของจังหวัด ด้วยลักษณะโดยรอบเป็นอ่าวสลับกับโขดหิน บริเวณตอนกลางของอ่าวเป็นชายหาดทรายที่ขาวสะอาด ฝั่งตะวันออกซึ่งเป็นด้านหน้าเกาะมีอ่าวไผ่อยู่เหนือสุด ถัดมาเป็นอ่าวหินขาว และอ่าวแม่หม้าย ผ่านแหลมหินลงมาทางใต้ จะเห็นอ่าวมุก ใกล้ๆกันห่างฝั่งไม่มากคือเกาะขามหรือที่ชาวบ้านเรียกว่าเกาะปลาวาฬตามรูปร่างของเกาะ เวลาน้ำขึ้นเกาะทั้งสองจะแยกจากกัน จนกว่าจะถึงเวลาน้ำลด สันทรายที่ผุดขึ้นจะเป็นตัวเชื่อมทั้งสองเกาะเข้าหากัน สีฟ้าใส หาดทรายนิ่มนวล “เกาะค้างคาว” อยู่ใกล้ท่าเรือหาดบางเบนมากที่สุด เดินทางโดยเรือหัวโทงประมาณ 30 นาที ชื่อเกาะได้มาจากเมื่ออดีตที่มีค้างคาวอยู่เยอะ แต่ปัจจุบันลดลงไปมาก ด้วยภาพน้ำทะเลที่สีสวยใสแจ๋ว ไล่โทนอ่อนจากเขียวฟ้าไปจนถึงน้ำเงินเข้ม จนทำให้นักท่องเที่ยวหลายคนยกให้เป็นเกาะทีสวยที่สุดของทะเลระนอง อีกทั้งลักษณะของหาดที่มีความหลากหลายโดยด้านหนึ่งเป็นหาดหินชื่อ “หาดหินงาม” ที่มีหินกลมมนทอดตัวเรียงรายดูแปลกตา ในขณะที่อีกด้านชื่อ “หาดทราย” เป็นหาดที่ขึ้นชื่อเรื่องเม็ดทรายที่เล็ก ละเอียด ให้ความรู้สึกนุ่มสบายยามได้ทิ้งตัวลงนอน ปิดท้ายกันที่ “หมู่เกาะกำ” อยู่ในพื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติแหลมสน ที่เรียกหมู่เกาะเพราะมีกลุ่มเกาะเล็กๆ น้อยๆ มารวมกันทั้งเกาะกำใหญ่ เกาะกำกลาง(เกาะญี่ปุ่น) เกาะกำตก(อ่าวเขาควาย) เกาะค้างคาว เกาะกำนุ้ย และเกาะล้าน โดยมีเกาะกำใหญ่เป็นศูนย์กลาง  เกาะกำกลาง(เกาะญี่ปุ่น) เป็นเกาะขนาดเล็กที่สุดในหมู่เกาะกำ อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะกำตก มีลักษณะเป็นภูเขาเล็กๆ และมีแนวชายหาดอยู่ด้านหน้าของเกาะ รอบเกาะพอมีแนวปะการังให้นักท่องเที่ยวได้ดำน้ำชมกันได้บ้างแต่ไม่มากเท่าไรนัก มุมมองจากที่สูง เกาะกำกลาง (เกาะญี่ปุ่น) เกาะกำตก(อ่าวเขาควาย) เป็นเกาะขนาดเล็กมีลักษณะแคบและยาว ชายหาดโค้งเป็นรูปวงกลมตามแนวเหนือใต้ ในช่วงน้ำขึ้นสูงบางช่วงของหาดจะถูกน้ำทะเลท่วมจนเกือบมาบรรจบกัน เรียกว่าเป็น ทะเลแหวกระนอง ก็ว่าได้ ด้วยความที่มีบรรยากาศร่มรื่น ลมพัดเย็น เกาะกำตก(อ่าวเขาควาย) จึงเหมาะแก่การแวะพักท่องเที่ยวรับลม ทางอุทยานฯ จึงอนุญาตให้นักท่องเที่ยวแวะจอดเรือเพื่อพักรับประทานอาหารที่ตนเตรียมมา และเล่นน้ำกันที่เกาะนี้ได้ แต่ไม่อนุญาตให้พักค้างคืน

เลียบเลาะ . . . เกาะระนอง อ่านเพิ่มเติม

แลหลัง วังงาม พระราชวังรัตนรังสรรค์

จากพลับพลาที่ประทับรับเสด็จ . . . เลื่อนระดับชั้นกลายมาเป็น “พระราชวังรัตนรังสรรค์” ได้อย่างไร . . . ร่วมย้อนอดีต แลหลัง ฟังเรื่องเล่าถึงที่มาจากปู่ย่าแต่ก่อนเก่า เพื่อซาบซึ้ง เข้าใจ และภูมิใจในรากเหง้าของประวัติศาสตร์ชาติไทยไปกับเรา “เพื่อนร่วมทาง” เรื่องเล่าของพระราชวังรัตนรังสรรค์นี้ ต้องย้อนสืบไปถึงคราวเสด็จประพาสเมืองระนอง ซึ่งถือเป็นหัวเมืองปักษ์ใต้ฝั่งตะวันตกครั้งแรกของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ในสมัย ร.ศ. 109 อันนับเป็นมหามงคลแก่ชาวเมืองระนองอย่างหาที่สุดมิได้ เพราะถือว่าเป็นครั้งแรกที่พระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรีเสด็จมาเยือนเมืองระนองด้วยพระองค์เอง โดยในครานั้น พระยารัตนเศรษฐี (คอซิมก๊อง) เจ้าเมืองระนองได้สร้างพลับพลาที่ประทับรับเสด็จไว้บนเนินควนอัน ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางเมือง ด้วยไม้แก่นและเครื่องก่ออย่างแข็งแรงสวยงาม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทอดพระเนตรแล้วถึงกับตรัสชมเชยว่า “ทำงดงามมั่นคง สมควรจะเป็นวัง ยิ่งกว่าจะเป็นพลับพลา” ด้วยความละเอียดรอบคอบของงานสร้าง และความสวยงามตามที่ได้ทรงบรรยาย จึงพระราชทานนามว่า “พระราชวังรัตนรังสรรค์” หมายถึง พระยารัตนเศรษฐีเป็นผู้สร้าง เพื่อเป็นเกียรติยศแก่เมืองระนองและสกุลของพระยารัตนเศรษฐี และพระราชทานนามเนินเขาที่ตั้งว่า “นิเวศน์คีรี” ก่อนจะทรงเลื่อนการประทับแรมต่อไปอีก รวมทั้งสิ้นถึง 3 คืน คือในวันที่ 23-25 เมษายน 2433 เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จประพาสเมืองระนองเป็นระยะเวลานานๆ ครั้ง เกรงว่าทิ้งวังไว้เปล่าๆ ก็จะชำรุดทรุดโทรมเสีย จึงพระราชทานพระบรมราชานุญาตว่า ให้ใช้พระราชวังนั้นเป็นศาลารัฐบาลและทำพิธีสำหรับบ้านเมือง หากมีการเสด็จประพาสเมื่อใดจึงให้จัดเป็นที่ประทับ ซึ่งนอกจากพระองค์แล้ว ยังมีพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงได้ใช้พระราชวังแห่งนี้เป็นที่ประทับแรมเมื่อครั้งเสด็จประพาสเยี่ยมหัวเมืองปักษ์ใต้ฝั่งตะวันตกเช่นกัน เมื่อองค์พระที่นั่งได้ชำรุดทรุดโทรมลง ในสมัยพระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี เจ้าเมืองระนองในขณะนั้น ได้ทำการปรับปรุงและดัดแปลงพระที่นั่งรัตนรังสรรค์ใหม่ โดยสร้างเป็นรูปเรือนตึกก่ออิฐถือปูน 2 ชั้น ทาสีขาว ก่อสร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ.2444 แล้วใช้อาคารหลังนี้เป็นศาลากลางเมืองระนองเรื่อยมา กระทั่งปี พ.ศ.2507 ผู้ว่าราชการจังหวัดระนองในขณะนั้น ได้รื้อถอนองค์พระที่นั่งเพื่อสร้างเป็นศาลากลางจังหวัดหลังปัจจุบัน พระที่นั่งรัตนรังสรรค์จึงสูญหายไปจากจังหวัดระนองตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา จนกระทั่งปี พ.ศ.2545 จังหวัดระนองได้มีโครงการก่อสร้างพระที่นั่งรัตนรังสรรค์จำลองขึ้น บนเนินเขานิเวศน์คีรี ใกล้เคียงกับบริเวณเดิม ตัวอาคารสร้างด้วยไม้ตะเคียนทองโครงสร้างคอนกรีตสูงสามชั้น ชั้นล่างโล่ง ชั้นที่สองเป็นรูปเหลี่ยมแปดด้าน ปัจจุบันประดิษฐานโต๊ะทรงพระอักษรพร้อมพระเก้าอี้ทำด้วยหนังแท้ซึ่งมีลักษณะเช่นเดียวกับที่พระที่นั่งวิมานเมฆพระราชวังดุสิต กรุงเทพมหานคร และพระเก้าอี้ทรงพักผ่อนแกะสลักลวดลายเป็นรูปดอกกุหลาบ ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เคยทรงใช้เป็นที่ประทับและบรรทม ส่วนหลังคาชั้นที่สามทรงปั้นหยา มีดั้งประดับไม้ลวดลายฉลุอย่างสวยงาม นอกจากนี้ก็ยังมีหอแปดเหลี่ยมสูง 17 เมตร ที่มีความคล้ายคลึงกับหอวิฑูรทัศนา ที่พระราชวังบางปะอิน พระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นแบบผสมผสาน คือหลังคาทรงปั้นหยาแบบไทยประดับเชิงชายไม้ฉลุซ้อนกันอย่างพม่าดูงดงามแปลกตา แต่เข้ากันได้อย่างลงตัว หลังจากเดินชมทิวทัศน์โดยรอบ พร้อมฟังเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลรักษาพระราชวังเล่าเรื่องราวที่สืบทอดกันมาโดยละเอียดแล้ว “เพื่อนร่วมทาง” ขอแนะนำให้ท่านหาโอกาสเดินขึ้นบันไดเวียนภายในไปยังชั้นสามซึ่งถือเป็นชั้นบนสุด และยังเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกดินบริเวณทะเลอันดามันได้อย่างสวยงามอีกแห่งหนึ่งของเมืองระนองอีกด้วย เมื่อมองออกมานอกหน้าต่างเพื่อรับชมทัศนียภาพตัวเมืองระนองในมุมกว้าง ภาพมุมมองที่ท่านได้เห็นจากสายตาในวันนี้ อาจทับซ้อนกับภาพมุมเมืองในอดีตที่ได้ฟังเรื่องราวเก่าก่อน ทาบทาด้วยแสงอาทิตย์อัสดง จนก่อให้เกิดภาพจำที่งดงามและเต็มไปด้วยเรื่องราวที่ต่างออกไปก็เป็นได้

แลหลัง วังงาม พระราชวังรัตนรังสรรค์ อ่านเพิ่มเติม

Scroll to Top