เกร็ดความรู้ท่องเที่ยว

🚴 คำแนะนำสำหรับการปั่นจักรยานเที่ยว 🚴

เวลาไปเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวหรือชุมชน เรามักจะใช้รถยนต์หรือไม่ก็สองเท้าในการเที่ยวชมจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง แต่ในช่วงปีหลัง ๆ มานี้ มีที่พักและสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่งที่มีจักรยานให้ยืมปั่นท่องเที่ยวได้ ซึ่งการปั่นเที่ยวนี้มีข้อดีมากมาย ช่วยผ่อนแรงและทำให้เราซอกแซกไปได้ทั่วถึงขึ้น วันนี้ แอดเลยมีคำแนะนำเล็ก ๆ น้อย ๆ ในการปั่นจักรยานเที่ยวมาฝาก เลือกจักรยานที่ความสูงของเบาะเหมาะกับตัวเรา 🚲 เมื่อเพื่อน ๆ ยืนตรง ความสูงของเบาะนั่งควรสูงประมาณเอว เพราะเป็นระยะปั่นที่ขาจะเหยียดตรงได้พอดี เข่าไม่ตึงหรืองอจนเกินไป ซึ่งจะทำให้เราเปลืองแรงในการใช้ข้อเท้าและเข่าโดยใช่เหตุ วอร์มอัพร่างกาย 🧍‍♂ ก่อนปั่นควรวอร์มอัพร่างกายง่าย ๆ เช่น ยืดแขนยืดขา (stretching) สะบัดข้อมือข้อเท้า สัก 5 – 10 นาที การอบอุ่นร่างกายนี้สามารถช่วยป้องกันการเป็นตะคริวได้ กินก่อนปั่น 🥪 แอดขอแนะนำให้รับประทานอาหารก่อนการปั่นสัก 2 ชั่วโมง เพื่อหลีกเลี่ยงอาการจุกเสียด หรือมีปัญหากับระบบย่อยอาหาร ควรเน้นคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนเป็นหลัก กินได้ทั้งพวกก๋วยเตี๋ยว ข้าวสวย แซนด์วิช ธัญพืชอบแห้ง และไม่ควรดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก่อนปั่น ❌ ถ้าเป็นการปั่นทางไกล ๆ หรือปั่นกันจริงจังแล้วกลัวหิวระหว่างทาง อาจพก power bar ช็อคโกแลตแท่ง 🍫 หรือเจลให้พลังงานไว้กินระหว่างทาง เนื่องจากสามารถเปลี่ยนเป็นน้ำตาลได้เร็ว ร่างกายดึงพลังงานไปใช้ได้ทันที รวมทั้งอาจเตรียมน้ำดื่มหรือเครื่องดื่มเกลือแร่ไปด้วยก็ได้ แนะนำให้ค่อย ๆ จิบ ถ้าดื่มรวดเดียวอาจทำให้จุกได้ ♻ อย่าลืมนำขยะไปทิ้งที่ถังขยะกันด้วยนะ ใส่ชุดให้เหมาะสม 👕 เลือกเสื้อผ้าที่สวมใส่สบาย ระบายอากาศได้ดี หลีกเลี่ยงเสื้อผ้าที่มีตะเข็บ เพราะอาจเสียดสีกับผิวหนังได้ ยิ่งถ้าเสื้อผ้าอุ้มเหงื่อ ยิ่งทำให้เสียดสีได้ง่ายและไม่สบายตัว พกยา 💊 สำคัญมากสำหรับเพื่อน ๆ ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหอบ อย่าลืมยาพ่นแบบพกพา ถ้าเป็นโรคหัวใจก็อย่าลืมยาอมใต้ลิ้น หรือยาประจำตัวที่ต้องรับประทานตามเวลา ส่วนยาเบสิคทั่วไปที่แอดจะแนะนำก็คือ ยาดม จะใช้เอง หรือเผื่อแผ่ช่วยเหลือคนอื่นเมื่อมีอาการวิงเวียน หน้ามืด เป็นลมได้ ใช้เลนปั่นจักรยานให้ถูกต้องเมื่อใช้ทางร่วมกับยานพาหนะอื่น 🚴 ตามกฏหมายจราจรไทยระบุไว้ว่า การปั่นจักรยานในเมืองควรปั่นชิดฝั่งซ้ายมือของถนนตลอดเวลา เพื่อให้ยานพาหนะอื่นสามารถแซงได้ง่าย แต่ขณะเดียวกันก็ไม่ควรปั่นชิดซ้ายมือของถนนจนเกินไป เพราะอาจทำให้ตกขอบถนน หรือเหยียบเศษแก้วเศษกระจกได้ง่าย ที่สำคัญ การอยู่ชิดขอบถนนจนเกินไป อาจเป็นการเปิดโอกาสให้รถยนต์และมอเตอร์ไซค์แซงโดยไม่เผื่อที่ให้จักรยานได้วิ่ง เสี่ยงต่อการถูกเฉี่ยวชนได้ง่ายกว่าเดิมไปอีก ระยะที่เหมาะสมในการปั่นคือประมาณ 1 ใน 3 ของเลนซ้ายถนน (ชิดไปทางซ้าย) และไม่ปั่นส่ายไปมา หรือเบี่ยงเข้า-ออกเลนบ่อย ๆ เพื่อให้ผู้ร่วมถนนคาดเดาได้ง่าย ป้องกันการเฉี่ยวชนนั่นเอง

🚴 คำแนะนำสำหรับการปั่นจักรยานเที่ยว 🚴 อ่านเพิ่มเติม

ข้อควรปฏิบัติในการขับขี่รถยนต์เมื่อพบสัตว์ป่าในเขตอุทยานแห่งชาติ

หลังจากไม่ได้ออกไปเที่ยวหลายเดือน เพื่อน ๆ หลายคนน่าจะโหยหาธรรมชาติ ซึ่งอุทยานแห่งชาติก็เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่ให้เราได้ไปสัมผัสธรรมชาติสวย ๆ เวลาขับรถไปเที่ยวในเขตอุทยานฯ บางครั้งเราอาจจะพบกับสัตว์ป่าที่ออกมาเดินตามถนน อย่าง ช้าง ลิง และกวาง แอดจึงมีคำแนะนำในการขับรถในเขตอุทยานฯ เพื่อความปลอดภัยของเพื่อน ๆ และสัตว์ป่ามาฝากค่ะ เมื่อขับรถในเขตอุทยานฯ ควรใช้ความเร็วไม่เกิน 60 กิโลเมตร/ชั่วโมง เพื่อความปลอดภัยของผู้ขับขี่และสัตว์ป่าที่อาจจะมาเดินบนถนน ไม่ส่งเสียงดังหรือบีบแตรไล่สัตว์ เพราะอาจจะเป็นการยั่วยุ หรือดึงดูดให้สัตว์เข้ามาหา ควรติดเครื่องยนต์ไว้ตลอด หากสัตว์เข้ามาใกล้และมีท่าทีคุกคาม จะได้เคลื่อนรถหนีได้ทัน งดใช้แฟลชในการถ่ายรูป และไม่ควรลงจากรถมาถ่ายรูปสัตว์ ถ้าต้องขับรถในเวลากลางคืน ให้เปิดไฟหน้าไว้เสมอ เพื่อสามารถเห็นพฤติกรรมและทิศทางการเดินของสัตว์ หากพบช้างป่า ให้หยุดรถห่างจากช้างอย่างน้อย 50 เมตร หากช้างเข้าใกล้ให้เคลื่อนรถหนี หรือรอให้ช้างเดินหลบไปก่อน แล้วค่อยออกรถ หากมีเหตุฉุกเฉินให้โทรแจ้งเจ้าหน้าที่อุทยานฯ ที่นักท่องเที่ยวเดินทางไปเที่ยว ฝึกสังเกตอารมณ์ของช้าง ถ้าช้างอารมณ์ดี หูจะสะบัดไปมา หางจะแกว่งและใช้ง่วงสะบัดไปมา ไม่ค่อยสนใจเรา ถ้าช้างอารมณ์ไม่ดี หูจะกาง หางชี้ ง่วงจะนิ่งแข็งแตะอยู่ที่พื้น หรือใช้ง่วงตีพื้น และจ้องมาที่เรา ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า

ข้อควรปฏิบัติในการขับขี่รถยนต์เมื่อพบสัตว์ป่าในเขตอุทยานแห่งชาติ อ่านเพิ่มเติม

✨ คำแนะนำพาสัตว์เลี้ยงเที่ยว ✨

แอดเชื่อว่าเพื่อน ๆ ที่มีสัตว์เลี้ยง ต้องมีสักครั้งที่คิดอยากจะพาน้อง ๆ ไปเที่ยวด้วย แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มยังไง วันนี้แอดมีคำแนะนำเล็ก ๆ น้อย ๆ ในการพาน้อง ๆ ออกไปเที่ยวด้วย ตามไปอ่านกันเลยยย 1.ตรวจสุขภาพก่อนเดินทาง 🐦 แนะนำให้พาน้อง ๆ ไปตรวจสุขภาพกับสัตวแพทย์ก่อน เพื่อให้มั่นใจว่าแข็งแรงและพร้อมที่จะเดินทาง เพราะถ้าพาเขาไปตอนป่วยคงไม่ดีแน่ ที่สำคัญ อย่าพาน้อง ๆ ที่กำลังตั้งท้องออกเดินทางนะ 2.เตรียมรถยนต์ 🐈 แนะนำให้ใช้เบาะหลัง โดยสวมปลอกคอและผูกสายจูงไว้กับที่จับด้านข้างประตู เพื่อให้เขาอยู่กับที่ หรือจะคาดเข็มขัดนิรภัยสำหรับสัตว์เลี้ยงก็ได้ ถ้าตัวเล็ก แนะนำให้อยู่ในกรง เนื่องจากสัตว์เลี้ยงบางตัวชอบวิ่งเล่น หรือปีนป่าย อาจรบกวนสมาธิคนขับ หรือเกิดอุบัติเหตุได้ ในการเดินทางด้วยรถ ไม่ควรเดินทางทันทีที่กินอิ่ม ควรให้น้อง ๆ กินก่อนขึ้นรถไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง ป้องกันการเมารถและอาเจียน 3.เตรียมปลอกคอ สายจูง เหรียญระบุตัวสัตว์เลี้ยง 🐕‍🦺 เมื่อพาสัตว์เลี้ยงออกนอกบ้าน ควรใช้ปลอกคอและสายจูงเสมอ รวมทั้งห้อยเหรียญระบุตัวที่ใส่ชื่อและเบอร์ติดต่อของเจ้าของ หากพลัดหลง ผู้พบเห็นจะได้ติดต่อเจ้าของได้ ปัจจุบันยังมีอีกหนึ่งทางเลือกก็คือ การฝังไมโครชิพให้สัตว์เลี้ยง ซึ่งภายในชิพจะระบุข้อมูลเพื่อสืบค้นเมื่อเกิดกรณีสัตว์เลี้ยงหาย โดยไมโครชิพจะมีรหัสเป็นตัวเลข 15 หลักตามมาตรฐานสากล รหัส 3 ตัวแรกเป็นรหัสประเทศที่สัตว์อยู่ ส่วนรหัสอีก 12 ตัวจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง เช่น ชนิด สายพันธุ์ สี อายุ เพศ ตำหนิ รวมไปถึงข้อมูลเจ้าของ ทั้งชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ และช่องทางติดต่ออื่น ๆ หากเพื่อน ๆ ต้องการฝังไมโครชิพให้น้อง ๆ สามารถทำได้โดยการแจ้งความประสงค์แก่สถานพยาบาลสัตว์หรือคลินิกสัตวแพทย์ และทำการนัดหมายเวลา พร้อมเตรียมเอกสาร อย่าง สำเนาบัตรประชาชนของเจ้าของ สำเนาทะเบียนบ้านที่สัตว์เลี้ยงอาศัยอยู่ หนังสือรับรองทะเบียนตัวสัตว์เลี้ยงที่จะฝังไมโครชิพ ซึ่งหลังจากตรวจเอกสารเรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่จะดำเนินการฝังไมโครชิพ พร้อมออกเอกสารรับรองการฉีดไมโครชิพให้ เป็นอันเสร็จเรียบร้อย 4.น้ำดื่ม อาหาร 🦮 แนะนำให้เพื่อน ๆ เตรียมน้ำและอาหารให้เพียงพอสำหรับการเดินทางในแต่ละครั้ง ถ้าเดินทางในช่วงอากาศร้อน ควรเตรียมน้ำเผื่อให้มากขึ้นอีกสักหน่อย เพราะน้อง ๆ อาจต้องการดื่มน้ำมากกว่าปกติ อย่าลืมชามอาหาร และชามใส่น้ำ (ถ้าเป็นแบบมีฝาปิดจะสะดวกในการใช้งานมาก) 5.ถุงพลาสติกสำหรับเก็บขยะ กระดาษทิชชู่ 🐩 เป็นสิ่งสำคัญมากในการพาน้อง ๆ เที่ยว ควรเก็บกวาดหลังการขับถ่ายของน้อง ๆ ให้เรียบร้อย เพื่อรักษาความสะอาด ลดกลิ่นไม่พึงประสงค์ และช่วยรักษาบรรยากาศที่ดีของสถานที่ท่องเที่ยวอีกด้วย 6. วางแผนล่วงหน้าไว้ทุกเส้นทาง 🐕 ทุกครั้งก่อนออกเดินทาง เพื่อน ๆ ต้องหาข้อมูลและตรวจสอบก่อนทุกครั้ง ว่าสถานที่เราจะไปสามารถพาสัตว์เลี้ยงไปด้วยได้ ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร โรงแรม บังกะโล หรือแม้แต่การนอนเต็นท์ ต้องมั่นใจว่าสถานที่นั้นอนุญาตจริง ๆ ที่สำคัญ อย่าลืมเตรียมเอกสารสำคัญ เช่น ใบรับรองการฉีดวัคซีน ประวัติการแพ้ยา เบอร์โทรศัพท์ของสัตวแพทย์ประจำ และสถานพยาบาลปลายทางสำหรับกรณีฉุกเฉินไว้ด้วย

✨ คำแนะนำพาสัตว์เลี้ยงเที่ยว ✨ อ่านเพิ่มเติม

✨ List อาหารแห้งสำหรับเดินป่า พกพาง่าย สะดวกต่อการเดินทาง ✨

วันนี้แอดมีคำแนะนำสำหรับเพื่อน ๆ ที่กำลังวางแผนไปเดินป่า ตั้งแคมป์ค้างคืน โดยเฉพาะคนที่ไม่เคยเดินป่า จะเตรียมตัวอย่างไรหากจะต้องเตรียมอาหารการกินไปด้วย ทั้งยังต้องให้สะดวกกับการเดินทางด้วย 📍 บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป : เป็นเมนูที่ไม่ยุ่งยาก หาซื้อได้ง่าย ราคาประหยัด📍 ข้าวสาร : เพื่อน ๆ ที่ขาดข้าวไม่ได้จริง ๆ ก็สามารถนำไปหุงระหว่างพักกลางป่าได้ หรือจะเลือกเป็นข้าวสวยสำเร็จรูปก็ได้📍 ขนมปัง : เหมาะจะเป็นอาหารยามเช้า สำหรับเพื่อน ๆ ที่ไม่ชอบกินอาหารที่หนักท้องจนเกินไป📍 น้ำพริกแห้ง : เป็นเมนูคู่ข้าวสวยร้อน ๆ มีน้ำพริกแห้งอย่างเดียวก็อร่อยได้📍 อาหารกระป๋อง/ซองสำเร็จรูป : ปัจจุบันมีให้เลือกหลายเมนู ไม่ว่าจะเป็นแกงเผ็ด ผัดเผ็ด พะโล้ ฯลฯ📍 อาหารปรุงสุกที่สามารถเก็บได้นาน เช่น เนื้อสัตว์ทอด/รวน ไข่เค็มต้ม ถั่ว📍 เนื้อสัตว์อบแห้ง เช่น หมูแผ่น หมูฝอย หมูทุบ ไก่หย็อง📍 ผลไม้ : อาจจะเน้นผลไม้ที่เก็บได้นาน ไม่ต้องล้าง ปลอกเปลือกง่าย เช่น กล้วย ส้ม อาหารเหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างที่แอดยกมา เพื่อน ๆ สามารถนำไปปรับใช้ตามความสะดวกของแต่ละคนได้เลย ที่สำคัญ อย่าลืมรักษาความสะอาด เก็บขยะกลับไปให้เรียบร้อย ไม่ลืมทิ้งไว้ในป่า เพื่อไม่ให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม หรือเป็นอันตรายต่อสัตว์ป่าที่อาจมากินโดยเข้าใจว่าเป็นอาหาร 😉

✨ List อาหารแห้งสำหรับเดินป่า พกพาง่าย สะดวกต่อการเดินทาง ✨ อ่านเพิ่มเติม

เทศกาลไหว้พระจันทร์🌙

เทศกาลไหว้พระจันทร์มาถึงแล้ว…วันนี้ แอดมีเกร็ดความรู้เรื่องเทศกาลไหว้พระจันทร์มาให้อ่านกันเพลิน ๆ ด้วยค่ะ 🙂 เทศกาลไหว้พระจันทร์นับเป็นอีกหนึ่งเทศกาลที่ชาวจีนหรือคนไทยเชื้อสายจีนให้ความสำคัญและปฏิบัติสืบต่อกันมานาน ถือเป็นประเพณีการแสดงความขอบคุณต่อเทพเจ้าในช่วงสิ้นสุดการเก็บเกี่ยวในฤดูใบไม้ร่วง และเป็นการเฉลิมฉลองกับครอบครัวและเพื่อน ๆ ที่จะมาร่วมจิบชาและทานขนมไหว้พระจันทร์ด้วยกัน วันไหว้พระจันทร์จะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ตามปฏิทินจีน ซึ่งเป็นช่วงที่ดวงจันทร์สว่างที่สุด โต๊ะเครื่องไหว้จะตระเตรียมไว้กลางแจ้ง และเริ่มต้นไหว้หลังพระอาทิตย์ตกดิน เมื่อดวงจันทร์เริ่มปรากฏบนท้องฟ้า ✨ 👉สิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ในเทศกาลไหว้พระจันทร์ก็คือ ขนมไหว้พระจันทร์ โดยขนมไหว้พระจันทร์ในประเทศไทย เป็นรูปแบบกวางตุ้ง ปัจจุบันมีการปรับให้ทันสมัย ทั้งรูปลักษณ์ และรสชาติ แต่โดยทั่วไปแล้ว ตัวขนมจะทำจากแป้งและมีไส้อยู่ภายใน ซึ่งแต่ละไส้มีความหมายต่างกันออกไป 🥮ไส้ไข่เค็ม หมายถึง ความสุกสว่าง เสมือนกับพระจันทร์เต็มดวง 🥮ไส้เม็ดบัว หมายถึง ความบริสุทธิ์ อายุยืน และความสงบสุข 🥮ไส้ธัญพืช หมายถึง โชคลาภ และความอุดมสมบูรณ์ 🥮ไส้ถั่วแดง หมายถึง ความกล้าหาญ และการขจัดความกลัว 🥮ไส้ลูกพลัม หมายถึง ความหวัง เหมือนดอกพลัมบานในฤดูหนาว

เทศกาลไหว้พระจันทร์🌙 อ่านเพิ่มเติม

✨ เที่ยวทิพย์ from home…เปลี่ยนบ้านให้น่าเที่ยว ✨

แอดเชื่อว่าช่วงนี้เพื่อน ๆ หลายคนยังต้อง Work Form Home กันอยู่ เพราะสถานการณ์การแพร่เชื้อโควิด 19 เบื่อกันบ้างไหม แอดนี่คิดถึงบรรยากาศการเดินทางท่องเที่ยว และการพบปะสังสรรค์กับเพื่อนฝูงมากเลย ไปไหนไม่ได้แบบนี้ ก็เที่ยวจากที่บ้านนี่แหละ!! แอดมีไอเดีย “เที่ยวทิพย์ from home” มาฝาก ลองเปลี่ยนบรรยากาศในบ้าน ให้เป็นที่เที่ยวกันดีกว่า ถือเป็นการทำกิจกรรมแก้เบื่อไปในตัว มีไอเดียอะไรบ้าง ตามไปดูกันเลย ทำ Home camping 🏕 ใครที่เป็นสายเดินป่า กางเต็นท์ ได้เวลาเอาอุปกรณ์ออกมาใช้แล้ว เคลียร์พื้นที่ในบ้าน อาจจะเป็นลานหน้าบ้าน สวนหลังบ้าน ห้องนอน หรือห้องนั่งเล่น แล้วเปลี่ยนให้เป็นลานตั้งแคมป์ กางเต็นท์ จัดวางอุปกรณ์ให้เหมือนตอนเราไปตั้งแคมป์จริง อย่าลืมแต่งตัวเป็นชาวแคมป์ให้เข้ากับบรรยากาศ ถ้ามีเครื่องโปรเจ็คเตอร์ก็ยิ่งเหมาะ เอามาฉายภาพดาวหรือท้องฟ้าสวย ๆ ขึ้นผนังห้อง จะยิ่งสร้างบรรยากาศให้ดูสมจริงมากยิ่งขึ้น จัดสวนในบ้าน 🌿 เปลี่ยนบรรยากาศภายในบ้านให้กลายเป็นสวนขนาดย่อม ด้วยการหาต้นไม้มาประดับตามมุมต่าง ๆ ของบ้าน หรือจัดโซนสำหรับวางต้นไม้โดยเฉพาะ เพิ่มบรรยากาศด้วยเก้าอี้ในสวนสำหรับนั่งชมสวน เพื่อน ๆ ที่อยู่ในคอนโดหรืออพาร์ทเมนท์ก็สามารถทำได้ แอดแนะนำว่าตรงระเบียงคอนโดเหมาะมากที่จะจัดสวน ช่วงนี้ต้นไม้เล็ก ๆ อย่างต้นกระบองเพชร หรือต้นไม้ฟอกอากาศกำลังได้รับความนิยม เพราะดูแลง่ายและหาซื้อได้ง่ายอีกด้วย ปลูกผักสวนครัว 🥬🥗 การปลูกผักสวนครัวก็เหมือนกับการจำลองบรรยากาศการท่องเที่ยวเชิงเกษตรมาไว้ที่บ้าน ถึงแม้เราจะมีพื้นที่ภายในบ้านจำกัด แต่นั่นก็ไม่ใช่ปัญหา เพราะเราสามารถปลูกผักในกระถางหรือภาชนะรีไซเคิล อย่างขวดน้ำ กล่องพลาสติก กล่องโฟมได้ นอกจากนี้ยังเป็นการช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายแล้ว ยังจะได้กินผักที่สด สะอาด ปลอดภัยอีกด้วย จัดมุมกาแฟเก๋ ๆ ☕️ ใครที่โหยหาการไปนั่งจิบกาแฟและดื่มด่ำกับบรรยากาศร้านคาเฟ่ ช่วงนี้คงต้องพักไว้ก่อน แล้วยกคาเฟ่มาไว้ที่บ้านให้หายคิดถึง เริ่มจากหาชั้นวางหรือโต๊ะเล็ก ๆ สำหรับวางอุปกรณ์ชงกาแฟ กาต้มน้ำร้อน และแก้วกาแฟ นำไปจัดวางไว้ในมุมใดมุมหนึ่งของบ้าน อาจจะเป็นบริเวณใกล้โต๊ะกินข้าว ในห้องครัว หรือห้องนั่งเล่น เพิ่มลูกเล่นด้วยการประดับต้นไม้เล็ก ๆ หรือแจกันดอกไม้สวย ๆ เพื่อทำให้มุมกาแฟของเราดูน่าสนใจมากยิ่งขึ้น

✨ เที่ยวทิพย์ from home…เปลี่ยนบ้านให้น่าเที่ยว ✨ อ่านเพิ่มเติม

✨ “เรือหัวโทง” ภูมิปัญญาแดนใต้ ✨

เรือหัวโทง เป็นเรือที่นิยมใช้ในทะเลภาคใต้ฝั่งอันดามัน ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่ ระนอง ตรัง สตูล การต่อเรือหัวโทง แรกเริ่มเกิดขึ้นที่ “จังหวัดกระบี่” โดยใช้เป็นเรือประมงพื้นบ้าน นอกจากจะใช้ออกหาปลา ก็ยังใช้สัญจรเดินทาง ที่สำคัญ เป็นเรือที่ถูกออกแบบมาอย่างมีเอกลักษณ์ และเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดกระบี่ที่สืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น เรือหัวโทง เป็นเรือขนาดเล็ก ถูกออกแบบให้มีลักษณะพิเศษ ด้านหัวที่เป็นที่มาของชื่อเรียก มีลักษณะเชิดสูงขึ้น ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง สามารถฝ่าแรงลมจากคลื่นทะเลฝั่งอันดามันที่มีคลื่นลมแรง ใช้เป็นเข็มทิศในการนำทาง และป้องกันน้ำทะลักเข้าเรือได้ ปัจจุบัน เรือหัวโทงเข้ามามีบทบาทในด้านการท่องเที่ยวด้วย โดยมีการปรับใช้มาเป็นเรือท่องเที่ยว ล่องไปยังสถานที่ต่าง ๆ รวมทั้งยังมีการทำ “เรือหัวโทงจำลอง” จำหน่ายเป็นของที่ระลึก โดยกลุ่มชาวบ้านที่มีอาชีพต่อเรือหัวโทง สามารถเพิ่มรายได้ให้ชุมชนได้อย่างมากเลยทีเดียว 😮 นอกจากนี้ เรือหัวโทงยังถูกเลือกให้เป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดกระบี่ โดยนำเรือหัวโทงมาเพิ่มสีสัน วาดลวดลายต่าง ๆ ที่สะท้อนถึงเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น ไม่ว่าจะเป็นดอกไม้ หรือสัตว์พื้นถิ่น ปัจจุบันมีเรือหัวโทงกว่า 30 ลำที่ปรับโฉมแล้วและให้บริการนักท่องเที่ยวอยู่ใน 4 ชุมชนของจังหวัดกระบี่ ได้แก่ บ้านเกาะกลาง ชุมชนบ้านแหลมสัก ชุมชนบ้านไหนหนัง และบ้านทุ่งหยีเพ็ง

✨ “เรือหัวโทง” ภูมิปัญญาแดนใต้ ✨ อ่านเพิ่มเติม

✨ ลดขยะด้วยไอเดีย 3Rs ✨

ในช่วงที่ต้องทำงานที่บ้านแบบนี้ หลายคนคงรู้สึกเหมือนแอดว่าในแต่ละวัน เรามีขยะที่ต้องจัดการค่อนข้างเยอะทีเดียว แล้วเราจะเริ่มจากตรงไหนดี แอดเชื่อว่า หลาย ๆ คนคงเคยได้ยินแนวคิด 3Rs ที่เป็นแนวทางการลดปริมาณขยะมาบ้างแล้ว ซึ่ง 3Rs นี้ก็คือ Reduce, Reuse, Recycle นั่นเอง แอดว่าเผลอ ๆ เพื่อน ๆ ก็คงทำกันไปบ้างแล้ว วันนี้ แอดจะทบทวนและเสนอไอเดียเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เราสามารถทำได้จากที่บ้านในช่วงสถานการณ์แบบนี้กันอีกครั้ง ลองมาอ่านกัน แนวคิดของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สส.) ซึ่งเป็นแนวทางในการลดการเกิดขยะตั้งแต่ต้นทาง ด้วยหลักการ 3Rs ได้แก่ ✨ Reduce คือ ลดการใช้แบบไม่จำเป็น เพื่อช่วยลดปริมาณขยะลง โดยมีไอเดียดังนี้ ✨ 1. ลดการสร้างขยะในที่ทำงาน ลดการใช้กระดาษในการจัดเก็บข้อมูล หันมาใช้ไฟล์อิเล็คโทรนิคส์ เปลี่ยนวิธีการส่งเอกสารแบบดั้งเดิม มาเป็นการส่งทางอีเมล นอกจากจะลดขยะ ยังช่วยประหยัดเงิน ประหยัดเวลา แถมลดโอกาสในการเจอผู้คนในสถานการณ์แบบนี้ด้วย หากจำเป็นต้องพิมพ์งาน ลองเปลี่ยนระยะขอบบนเอกสาร Word เช่น เปลี่ยนระยะขอบหน้ากระดาษจาก 1.25 นิ้วเป็น 0.75 นิ้ว จะช่วยลดปริมาณกระดาษที่ใช้ลงได้ ใช้กระดาษ 2 ด้าน 2. ลดการสร้างขยะในชีวิตประจำวัน พกถุงผ้า หรือใช้ตะกร้าเมื่อออกไปซื้อของ เพื่อลดการใช้ถุงพลาสติก ใช้ผ้าเช็ดหน้าแทนการใช้กระดาษทิชชู่ หากสั่งอาหารจาก App กดไม่รับช้อนส้อมพลาสติก เลือกซื้อผลิตภัณฑ์จากร้านรีฟิว (Refill Shop) เพื่อลดขยะจากบรรจุภัณฑ์ ✨ Reuse คือ การใช้ซ้ำ เป็นการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าสูงสุดและประหยัดค่าใช้จ่าย โดยมีไอเดียดังนี้ ✨ นำขวดแก้ว หรือขวดพลาสติก มาใช้ซ้ำ เลือกใช้ถ่านไฟฉายแบบชาร์จได้ ดัดแปลงของใช้แล้วให้เกิดประโยชน์ เช่น นำขวดพลาสติกไปทำกระถางต้นไม้ นำกล่องอาหารมาใส่ของจุกจิก ฯลฯ นำเสื้อผ้าเก่าไปบริจาค หรือดัดแปลงเป็นผ้าเช็ดโต๊ะ ผ้าถูพื้น หรืออื่น ๆ ✨ Recycle คือ การนำกลับมาใช้ใหม่ ✨ เช่น การนำขยะอินทรีย์มาทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ หรือส่งต่อขยะเข้าสู่กระบวนการ Recycle อย่างเช่น การนำกระดาษที่ใช้แล้วไปผ่านกระบวนการผลิตซ้ำกลับมาเป็นกระดาษใหม่อีกครั้ง หรือนำขยะพลาสติกไปเข้ากระบวนการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกอีกครั้ง จุดสำคัญของกระบวนการนี้คือ การแยกขยะแต่ละประเภทให้ถูกต้อง เพื่อให้ผู้จัดการขยะในขั้นต่อไปสามารถทำงานได้ง่ายขึ้น โดยทั่วไปจะแยกได้ 4 ประเภท คือ ถังขยะมีพิษ (สีเทา ฝาแดง) เช่น กระป๋องสี สีสเปรย์ แบตเตอรี่ ยาฆ่าแมลง ถังขยะย่อยสลาย (สีเขียว) เช่น เศษอาหาร กิ่งไม้ ใบไม้ ผัก ถังขยะรีไซเคิล (สีเหลือง) เช่น กระดาษ ขวดน้ำ แก้วน้ำ เศษเหล็ก ถังขยะมูลฝอยทั่วไป ที่ย่อยสลายไม่ได้ (สีฟ้า) เช่น โฟมเปื้อนเศษอาหาร ถุงขนม พลาสติกใส่อาหาร หากไม่มีถังขยะแยกประเภท เราก็สามารถใช้วิธีแยกถุงแทน นอกจากนี้ แอดมีข้อแนะนำเล็ก ๆ น้อย ๆ ในการทิ้งหน้ากากอนามัยมาฝาก ดังนี้ รวบรวมและแยกหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วลงในถุงพลาสติกหรือถุงซิปล็อค ปิดปากถุงให้สนิทก่อนทิ้งลงถังขยะ หากทิ้งรวมในถุงดำ แปะโน้ตระบุสักนิด ว่าภายในมีหน้ากากอนามัยใช้แล้ว เพื่อช่วยในการคัดแยกให้ถูกวิธีและป้องกันพนักงานเก็บขยะหยิบจับโดยไม่รู้ตัว

✨ ลดขยะด้วยไอเดีย 3Rs ✨ อ่านเพิ่มเติม

🌿 สมุนไพรเสริมภูมิคุ้มกัน 🌿

จากสถานการณ์ในช่วงนี้ ทำให้หลายคนหันมาดูแลสุขภาพตัวเองมากขึ้น โดยเฉพาะการเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย เพราะภูมิคุ้มกันที่ดี เปรียบเสมือนด่านแรกของการมีสุขภาพดีนั่นเอง วิธีหนึ่งที่นิยมกันในขณะนี้ก็คือการใช้สมุนไพรไทย ทั้งกินเป็นอาหารเสริม และนำมาประกอบอาหาร หากมีการติดเชื้อก็สามารถช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดอาการรุนแรงได้ 💪 👇 วันนี้แอดมีข้อมูลเล็ก ๆ น้อย ๆ เกี่ยวกับสมุนไพรไทยเสริมภูมิคุ้มกันมาฝากเพื่อน ๆ ค่ะ 🌿สมุนไพรเสริมภูมิคุ้มกัน ✨ขมิ้นชัน มีฤทธิ์ต้านการอักเสบของปอด ✨ชะเอมเทศ มีสารไฟโตเอสโตรเจนและฟลาโวนอยด์ มีคุณสมบัติช่วยต้านอนุมูลอิสระ และเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ✨มะขามป้อม มีวิตามินซีสูง ช่วยต้านอนุมูลอิสระ มีฤทธิ์เพิ่มภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย ✨ขิง เมื่อนำมาต้มน้ำเดือดนาน 30 นาที มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ทำให้เม็ดเลือดขาวชนิดแมคโครฟาสจับกินไวรัสไข้หวัดใหญ่ได้ดีขึ้น ✨ขลู่ มีฤทธิ์ช่วยต้านอนุมูลอิสระ สรรพคุณของสมุนไพรที่กล่าวไปนั้น มีฤทธิ์เสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย และช่วยต้านอนุมูลอิสระ แต่อย่างไรก็ตาม ในสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 เพื่อน ๆ ควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงด้วยการกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ กินผักผลไม้ 5 สี พักผ่อนให้เพียงพอ วันละ 6-8 ชั่วโมง และออกกำลังกายเป็นประจำนะคะ 🙂 🙏 ขอบคุณข้อมูลจาก สถาบันการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร

🌿 สมุนไพรเสริมภูมิคุ้มกัน 🌿 อ่านเพิ่มเติม

รู้หรือไม่! ทำไมถึงมีการห้ามให้อาหารปลาในทะเล 🐟

“การดำน้ำ” 🤿 เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ได้รับความนิยมอย่างมากเมื่อเราได้ไปทะเล ไม่ว่าจะเป็นการดำน้ำตื้นหรือดำน้ำลึก เราจะสามารถมองเห็นความงดงามทางธรรมชาติ ปะการังต่าง ๆ ปลา และสัตว์ทะเลอีกมากมาย.ในระหว่างดำน้ำอาจมีกิจกรรม “การให้อาหารกับปลาในทะเล” ซึ่งเพื่อน ๆ ส่วนใหญ่อาจจะทราบกันอยู่แล้วว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ ซึ่งวันนี้แอดจะมาบอกเหตุผลว่า ทำไมเราถึงไม่ควรให้อาหารปลาในทะเล 🚫.อาหารส่วนใหญ่ที่มีการนำไปให้ปลาในทะเลกินเป็นจำพวกแป้ง ซึ่งเป็นอาหารโปรดของปลาสลิดหินบั้งเขียวเหลือง ถึงแม้ว่าหน้าตามันออกจะน่ารัก แต่ด้วยนิสัยตามธรรมชาติ ปลาชนิดนี้มีนิสัยดุร้ายและชอบยึดอาณาเขตในพื้นที่ที่มีอาหารโปรดของมันอยู่เยอะ.โดยปกติตามแนวปะการังจะมีปลาและสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่และทำหน้าที่รักษาสมดุลของระบบนิเวศน์ คือ ปลาที่อาศัยอยู่ตามแนวปะการังหาอาหารจากการกินสาหร่ายและสิ่งมีชีวิตที่ปกคลุมปะการัง ซึ่งถือว่าเป็นการทำความสะอาดปะการังด้วยนั่นเอง.หากเจ้าปลาสลิดหินบั้งเขียวเหลืองมากินอาหารที่มนุษย์ให้ตามแนวปะการัง จะเกิดอะไรขึ้น?📍 ปลาชนิดนี้ก็จะเริ่มมีจำนวนเยอะมากขึ้น เริ่มยึดอาณาเขต และขับไล่ปลาตัวอื่นออกจากพื้นที่📍 สิ่งมีชีวิตที่ปกคลุมแนวปะการัง รวมถึงแบคทีเรียที่เกิดจากการขับถ่ายของปลาสลิดหินบั้งเขียวเหลืองเพิ่มมากขึ้น และทำให้ปะการังสกปรก📍 แนวปะการังที่มีระบบนิเวศน์ค่อนข้างซับซ้อนและอ่อนไหวเริ่มเสื่อมโทรม ล้มตายและไม่สามารถเกิดขึ้นใหม่ได้เนื่องจากสภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวย📍 ปลาบางชนิดกินแต่ขนมปังที่มนุษย์ให้ ไม่สามารถหาอาหารเอง แถมยังทำให้ขาดสารอาหารและป่วยตายได้ง่าย.เพียงแค่ไม่กี่ข้อที่แอดกล่าวมา ก็ทำให้เห็นแล้วว่าเมื่อระบบนิเวศน์เสียสมดุล ความงดงามทางทะเลก็จะค่อย ๆ หายไป แน่นอนว่าเพื่อน ๆ ก็อยากให้ธรรมชาติเหล่านี้คงอยู่ เพื่อให้คนอื่น ๆ หรือแม้แต่ตัวเราเองได้กลับมาดูอีกครั้ง การอนุรักษ์ไว้จึงไม่ใช่แค่เรื่องของใครบางคน แต่เป็นสิ่งที่เราเองมีส่วนช่วยได้ มาช่วยกันนะคะ 😉.อ้างอิงข้อมูลจาก : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

รู้หรือไม่! ทำไมถึงมีการห้ามให้อาหารปลาในทะเล 🐟 อ่านเพิ่มเติม

Scroll to Top