อุบลราชธานี

อุบลราชธานี

“ท่องเที่ยวอิ่มบุญ…สัมผัสวัฒนธรรมท้องถิ่น”

ฤดูฝนเป็นฤดูแห่งการทำนา ในระหว่างเข้าพรรษาพระภิกษุสงฆ์จะต้องจำพรรษาเป็นเวลา 3 เดือน เพื่อไม่ให้ไปเดินเหยียบย่ำข้าวกล้าของชาวนาเสียหาย และเนื่องจากสมัยก่อนไม่มีไฟฟ้าใช้ ชาวบ้านจึงหล่อเทียนขนาดใหญ่ขึ้นมาเพื่อถวายให้พระภิกษุสงฆ์ได้ใช้ในการปฏิบัติกิจวัตรต่างๆ ยามค่ำคืนตลอดช่วงเวลาของการเข้าพรรษา การนำเทียนไปถวายนั้น จะให้เดินไปถวายแบบปกติมันก็จะธรรมดาไป โลกไม่จำค่ะ ชาวบ้านจึงจัดขบวนแห่กันอย่างเอิกเกริกสนุกสนาน และปฏิบัติสืบทอดกันมาจนกลายเป็นประเพณีอย่างที่เราเห็นกันทุกวันนี้ค่ะ ถ้าพูดถึงประเพณีแห่เทียนพรรษาแล้ว จังหวัดแรกที่นึกถึงคงหนีไม่พ้น จ.อุบลราชธานี เพราะที่นี่มีชื่อเสียงเป็นอย่างมากในเรื่องการแกะสลักเทียนเป็นรูปต่างๆ อย่างวิจิตรงดงาม ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ในวรรณคดี บุคคลสำคัญในช่วงเวลานั้นๆ และอื่นๆ อีกมากมาย  งาน “ฮีตศรัทธาราชธานีแห่งแสงเทียน” จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 23 – 28 กรกฎาคม 2561 ภายในงานจะมีกิจกรรมการแสดง แสง สี เสียงสุดอลังการ โดยขบวนแห่จะมีทั้งกลางวันและกลางคืน – แห่เทียนกลางคืน ในช่วงค่ำของวันที่ 27 – 28 กรกฎาคม 2561 จะมีขบวนแห่เทียนและการแสดงประกอบแสงเสียง เรื่อง “เกิดแต่อุบล” บริเวณหน้าวัดศรีอุบลรัตนาราม โดยวันที่ 27 กรกฎาคม ตั้งแต่เวลา 19.00-20.30 น. ส่วนวันที่ 28 กรกฎาคม เริ่มประมาณ 18.00 น. – แห่เทียนกลางวัน วันที่ 28 กรกฎาคม 2561 จุดเริ่มต้นขบวนจะอยู่บริเวณหน้าวัดศรีอุบลรัตนาราม เริ่มตั้งแต่ 08.00 น. เป็นต้นไปค่ะ “มหกรรมแห่เทียนพรรษาและตักบาตรบนหลังช้าง” ถือเป็นอีกหนึ่งประเพณีที่ชาวสุรินทร์ภาคภูมิใจ เพราะเป็นวัฒนธรรมการแห่เทียนที่ยิ่งใหญ่และไม่เหมือนใคร ตักบาตรบนหลังช้างทำยังไง? ทำได้ด้วยเหรอ? ถ้าอยากรู้ ต้องลองไปสัมผัสด้วยตัวเองนะคะ^^  งานจัดขึ้นระหว่างวันที่ 26-27 กรกฎาคม 2561 กิจกรรมภายในงานมีดังนี้ วันที่ 26 กรกฎาคม 2561 เวลา 16.00 น. เป็นต้นไป ชมริ้วขบวนแห่เทียนพรรษา ขบวนฟ้อนรำศิลปวัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์ พร้อมกับขบวนแห่ช้างกว่า 80 เชือก  วันที่ 27 กรกฎาคม 2561 เวลา 07.00 น. จะมีกิจกรรมทำบุญตักบาตรบนหลังช้าง บริเวณอนุสาวรีย์พระยาสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวางค่ะ โคราช เป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่มีการจัดงานแห่เทียนเข้าพรรษาที่มีความสวยงามและอลังการไม่แพ้ที่อื่นๆ เลยค่ะ โดยมีการจัดงานทั้งหมด 3 ที่ ได้แก่ วันที่ 26 กรกฎาคม 2561 จะมีการแห่เทียนพรรษาของอำเภอโชคชัยและอำเภอพิมายค่ะ (เริ่มแห่ตั้งแต่ประมาณ 13.00 น. เป็นต้นไป) โดยจะเป็นการประกวดต้นเทียนพรรษา เมื่อได้ผู้ชนะของแต่ละอำเภอแล้วทั้งหมดก็จะไปรวมตัวกันบริเวณลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีค่ะ  งานแห่เทียนพรรษาที่อำเภอโชคชัย ใช้ชื่องานว่า “เทศกาลกินหมี่ ประเพณีแห่เทียนพรรษา อำเภอโชคชัย” ส่วนที่อำเภอพิมายใช้ชื่องานว่า “ประเพณีแห่เทียนพรรษา อำเภอพิมาย” ภายในงานของทั้ง 2 อำเภอจะมีมหรสพการแสดง และกิจกรรมต่างๆ มากมายค่ะ วันที่ 27 – 28 กรกฎาคม 2561 จะมีการจัด “งานแห่เทียนพรรษาโคราช” ณ บริเวณอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี เป็นการแห่เทียนพรรษาสุดยิ่งใหญ่ของชาวโคราชค่ะ (ขบวนแห่เริ่มวันที่ 28 กรกฎาคม 2561 เวลา 09.00 น.) โดยจะนำต้นเทียนพรรษาที่ชนะจากทั้ง 2 อำเภอมาแห่ และจัดแสดงให้ชมกันค่ะ  นอกจากนี้ภายในงานยังมีการแสดง แสง สี เสียง รวมทั้งมีผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ของดีเมืองโคราช สินค้าโอท็อปต่างๆ มาให้เพื่อนๆ ได้เลือกชอปเลือกชิมกันตลอดงานเลยค่ะ “ประเพณียายดอกไม้” ครั้งแรกที่แอดได้ยิน็ถึงกับงงเลยทีเดียว ว่านี่คือประเพณีอะไร? ประเพณียายดอกไม้เป็นประเพณีท้องถิ่นของชาวเวียงจันทน์ที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานที่จังหวัดสิงห์บุรีค่ะ คำว่า “ยาย” นั้นเพี้ยนมาจาก คำว่า “หย่าย” ในภาษาลาว แปลว่า การแจกจ่ายหรือการให้ คำว่า “ยายดอกไม้” จึงหมายถึงการให้ หรือถวายดอกไม้แด่พระสงฆ์ เพื่อนำไปบูชาพระพุทธเจ้านั่นเองค่ะ  และในปีนี้ชาวจังหวัดสิงห์บุรีก็ได้จัดงานนี้ขึ้น ภายใต้ธีม “ตักบาตรยายดอกไม้ นุ่งซิ่นไทย-ลาวเวียง” ณ วัดจินดามณี จังหวัดสิงห์บุรี ระหว่างวันที่ 27-28 กรกฎาคม 2561 เวลา 07.00 น.  ภายในงานมีกิจกรรมมากมายไม่ว่าจะเป็น การทอดผ้าป่าดอกไม้ ถวายเทียนพรรษา ชิมอาหารถิ่นสิงห์บุรี ชมการแสดงเต้นบาสโลป และอื่นๆ อีกมากมาย แอดอยากเชิญชวนเพื่อนๆ ไปสัมผัสกับบรรยากาศวัฒนธรรมท้องถิ่นของที่นี่ดูนะคะ ว่าจะมีความงดงามแตกต่างจากวัฒนธรรมที่เพื่อนๆ คุ้นเคยมากน้อยแค่ไหนค่ะ ^^ สำหรับใครที่คิดว่าการแห่เทียนพรรษาทางบกธรรมดาไป ต้องมางานนี้เลยค่ะ “ประเพณีแห่เทียนพรรษาทางน้ำ” ณ คลองลาดชะโด อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา ประเพณีแห่เทียนพรรษาทางน้ำเอกลักษณ์หนึ่งเดียวในอยุธยา  งานจัดขึ้นในวันที่ 27 กรกฎาคม 2561 โดยจะเริ่มแห่ประมาณ 11.00 น. กิจกรรมภายในงานจะมีการประกวดบ้านสวนริมคลอง การแข่งขันกีฬาพื้นบ้านลาดชะโด การจัดแสดงภาพถ่ายวิถีชีวิตชาวลาดชะโด การจำลองบรรยากาศตลาดน้ำย้อนยุค และอื่นๆ อีกมากมาย นอกจากนี้เพื่อนๆ ยังจะได้สัมผัสวิถีชีวิตบ้านริมน้ำอีกด้วยนะคะ “ประเพณีตักบาตรดอกเข้าพรรษา” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 – 28 กรกฎาคม 2561 ณ วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหารจ.สระบุรี ซึ่งเป็นประเพณีที่มีชื่อเสียงเป็นอย่างมากของ จ.สระบุรี นับเป็นประเพณีที่แปลกไม่เหมือนใคร และมีเพียงแห่งเดียวอีกด้วย  โดยในยามเช้าพระสงฆ์จะเดินรับบิณฑบาตรจากพุทธศาสนิกชน ซึ่งจะนำดอกไม้ชนิดหนึ่งมาใส่บาตร ดอกไม้ชนิดนี้จะบานในช่วงเข้าพรรษาพอดี จึงได้ชื่อว่า “ดอกเข้าพรรษา” ค่ะ เชื่อว่าเพื่อนๆ หลายคนอาจจะไม่รู้จักดอกไม้ชนิดนี้ และแอบไปเสิร์ชหารูปจากอินเตอร์เน็ตดู แต่เชื่อเถอะค่ะว่ายังไงก็ไม่สวยเท่าไปเห็นด้วยตาตัวเองหรอกนะคะ ต้องลองไปสัมผัสดูค่ะ สำหรับเพื่อนๆ ที่ไม่อยากเดินทางไปต่างจังหวัด วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามก็เป็นอีกหนึ่งวัดที่จัดกิจกรรมเข้าพรรษาค่ะ […]

“ท่องเที่ยวอิ่มบุญ…สัมผัสวัฒนธรรมท้องถิ่น” อ่านเพิ่มเติม

เรียนรู้การทำเทียน ที่ศูนย์การเรียนเทียนพรรษาศรีประดู่

ประเพณีแห่เทียนพรรษา เป็นประเพณีที่มีมาแต่ครั้งโบราณกาล ซึ่งจังหวัดอุบลราชธานีเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีการจัดงานประเพณีแห่เทียนพรรษาอย่างยิ่งใหญ่และสวยงามเป็นประจำทุกปี ด้วยเหตุนี้ทำให้ศูนย์การเรียนเทียนพรรษาศรีประดู่ จ.อุบลราชธานี ได้รับการก่อตั้งขึ้น โดยเปิดให้นักท่องเที่ยว และบุคคลทั่วไปเข้ามาศึกษาและเรียนรู้การทำเทียนได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ศูนย์การเรียนเทียนพรรษาศรีประดู่ เป็นศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาไทย ตั้งอยู่ที่ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี  ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2547 โดยอาจารย์สมคิด สอนอาจ ซึ่งเป็นช่างทำเทียนพรรษาของวัดศรีประดู่ ผู้สั่งสมประสบการณ์และความเชี่ยวชาญมานานกว่า 50 ปี  โดยเริ่มแรกอาจารย์สมคิดได้ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์การทำต้นเทียนพรรษาทั้งประเภทแกะสลักและติดพิมพ์ให้แก่ลูกๆ ของท่าน ต่อมาได้เปิดสอนการทำเทียนพรรษาให้แก่เด็กนักเรียน เยาวชน คนในชุมชน นักท่องเที่ยว และผู้สนใจทั่วไป ให้มาเรียนรู้ได้โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย นอกจากจะเรียนฟรีแล้ว ยังมีผู้เชียวชาญเรื่องการทำเทียนมาคอยให้คำแนะนำการทำแต่ละขั้นตอนอย่างใกล้ชิดด้วย คุณพ่อคุณแม่สามารถพาเด็กๆ มาเรียนรู้และทดลองลงมือทำด้วยตัวเองได้ ทั้งสนุก ได้ความรู้ และได้ร่วมสืบสานประเพณีอันดีงามของบรรพบุรุษ และยังเป็นการปลูกฝังจิตสำนึกในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้กับคนรุ่นใหม่อีกด้วย เป็นกิจกรรมที่สามารถทำได้ทุกเพศทุกวัย เด็กทำได้ ผู้ใหญ่ทำดี นอกจากจะได้เรียนรู้วิธีการทำเทียนพรรษาแล้ว หากมาที่ศูนย์ฯ ในช่วงนี้ เรายังจะได้เห็นภาพการร่วมมือร่วมใจของชาวบ้านในชุมชน ที่ช่วยกันทำต้นเทียนพรรษาเพื่อเข้าร่วมขบวนในงานแห่เทียนเข้าพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานี ประจำปี 2561 ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 23-28 กรกฎาคมนี้ได้อีกด้วย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมศูนย์การเรียนเทียนพรรษาศรีประดู่เปิดทุกวัน ตั้งแต่ 09.00-17.00 น.โทร. 081 069 5191หากมาเป็นหมู่คณะ กรุณาโทรแจ้งศูนย์ฯ ล่วงหน้า การเดินทางจากทุ่งศรีเมือง ขับตามถนนพโลรังฤทธิ์ไปจนสุดทาง แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถนนบูรพานอก จากนั้นขับตรงไปเรื่อยๆ เมื่อเห็นซุ้มประตูวัดศรีประดู่ทางขวามือ ให้เลี้ยวซ้ายเข้าถนนสรรพสิทธิ์ ขับไปประมาณ 100 เมตร จะถึงศูนย์การเรียนเทียนพรรษาศรีประดู่พิกัด : https://goo.gl/maps/UGD7cZkUtnH2

เรียนรู้การทำเทียน ที่ศูนย์การเรียนเทียนพรรษาศรีประดู่ อ่านเพิ่มเติม

Feel fresh with DAM – 7 เขื่อนต้องไปเยือน

Feel fresh with DAM – 7 เขื่อนต้องไปเยือน เขื่อนภูมิพล จ.ตาก เขื่อนภูมิพล เดิมชื่อเขื่อนยันฮี ตั้งอยู่ที่ อ.สามเงา เป็นเขื่อนอเนกประสงค์แห่งแรกที่สร้างด้วยคอนกรีตรูปโค้งขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและเอเชียอาคเนย์ สร้างกั้นลำน้ำปิงที่บริเวณเขาแก้วเพื่อผลิตไฟฟ้าและใช้ในการชลประทาน นอกจากนั้นยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำจืด และเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจอีกด้วย การเดินทางใช้ทางหลวงหมายเลข 1 ถึงบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 463-464 ให้เลี้ยวซ้ายแล้วตรงไป 17 กิโลเมตร สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเขื่อนภูมิพล โทร. 055 549 509 ต่อ 4002, 4003พิกัด : https://goo.gl/maps/vwED7Z9a8Tv เขื่อนวชิราลงกรณ จ.กาญจนบุรี  เขื่อนวชิราลงกรณ เดิมชื่อเขื่อนเขาแหลม ตั้งอยู่ที่ ต.ท่าขนุน เป็นเขื่อนหินทิ้งดาดหน้าด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก สร้างกั้นลำน้ำแควน้อย เป็นเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำอเนกประสงค์ สามารถนั่งเรือหรือล่องแพชมทิวทัศน์ที่สวยงามบริเวณเหนือเขื่อนได้ การเดินทางจากตัวเมืองกาญจนบุรี ใช้ทางหลวงหมายเลข 323 (กาญจนบุรี-ทองผาภูมิ) ถึง อ.ทองผาภูมิ และจาก อ.ทองผาภุูมิไปยังเขื่อนอีก 20 กิโลเมตร รวมระยะทางประมาณ 130 กิโลเมตร  สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมอำเภอทองผาภูมิ (บริการบ้านพักและเรือเช่า)โทร. 034 599 077 ต่อ 2502, 2506การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยโทร. 02 436 6046-8พิกัด : https://goo.gl/maps/UDGWBvYrGrw เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี เขื่อนป่าสักฯ ตั้งอยู่ที่บ้านแก่งเสือเต้น ต.หนองบัว อ.พัฒนานิคม เป็นเขื่อนดินที่ยาวที่สุดในประเทศไทย มีจุดชมวิวบริเวณสันเขื่อนและพิพิธภัณฑ์ลุ่มน้ำป่าสักให้ได้ชมกันด้วย  สำหรับผู้ที่อยากชมทัศนียภาพรอบเขื่อน ที่นี่ก็มีบริการรถรางด้วย โดยจะแล่นไปตามสันเขื่อน ใช้เวลาไป-กลับประมาณรอบละ 50 นาที เปิดให้บริการทุกวัน เวลา 08.00 – 17.00 น.ค่าบริการ ผู้ใหญ่ 30 บาท เด็ก 10 บาท  การเดินทางโดยรถยนต์– จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 ผ่าน จ.สระบุรี จากนั้นเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 21 (สระบุรี-หล่มสัก) เข้าสู่ จ.ลพบุรี ระยะทางประมาณ 21 กม. แล้วเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 3017 ไปทาง อ.พัฒนานิคม อีกประมาณ 16 กิโลเมตร – จากตัวเมืองลพบุรี ใช้ทางหลวงหมายเลข 3017 (ลพบุรี-โคกตูม-พัฒนานิคม) ระยะทาง 48 กิโลเมตร  โดยรถโดยสารประจำทางมีรถสองแถว สายลพบุรี-วังม่วง ผ่านหน้าเขื่อนป่าสักสิทธิ์รถออกจากสถานีขนส่งผู้โดยสารลพบุรี ตั้งแต่เวลา 06.00 – 17.30 น. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมศูนย์บริการนักท่องเที่ยว โทร. 036 494 243, 036 494 291-2พิกัด : https://goo.gl/maps/Dshp9j15v6x เขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานี เขื่อนสิรินธร หรือที่เรียกกันว่าเขื่อนโดมน้อย เป็นเขื่อนหินทิ้งแกนดินเหนียว สร้างกั้นลำน้ำโดมน้อยซึ่งเป็นสาขาของแม่น้ำมูล เพื่อใช้ประโยชน์ในการผลิตกระแสไฟฟ้าและการชลประทาน  บริเวณเขื่อนประกอบด้วย สวนพฤกษศาสตร์ สวนน้ำพุ ศาลาพักผ่อนริมทะเลสาบ เย็นสบายแน่นอน แอดคอนเฟิร์ม ^^  หากอยากพักค้างคืนทางเขื่อนก็มีบริการบ้านพักสำหรับนักท่องเที่ยว และยังมีบริการล่องเรือชมอ่างเก็บน้ำด้วย โดยสามารถติดต่อล่วงหน้าได้ การเดินทางใช้ทางหลวงหมายเลข 24 ออกจากตัวเมืองอุบลราชธานี (ด้านสะพานเสรีประชาธิปไตย) มุ่งไปทาง อ.วารินชำราบ จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 217 จนถึง อ.สิรินธร เลี้ยวขวาที่กิโลเมตร 71 ประมาณ 500 เมตร เขื่อนจะอยู่ห่างจากตัวเมือง 70 กิโลเมตร  สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเขื่อนสิรินธร โทร. 045 366 081-3 ต่อ 2708 บริการบ้านพักสำหรับนักท่องเที่ยวโทร. 089 280 3197, 045 366 085 พิกัด : https://goo.gl/maps/RZSo8xCsVbR2 เขื่อนลำปาว จ.กาฬสินธุ์  ตั้งอยู่ที่ ต.ลำปาว มีพื้นที่ครอบคลุม อ.เมือง อ.หนองบัว อ.หนองกุงศรี และ อ.ยางตลาด เป็นเขื่อนดินขนาดใหญ่ สร้างขึ้นเพื่อช่วยบรรเทาอุทกภัยและใช้ประโยชน์ทางการเกษตร นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาอีกด้วย นอกจากชมเที่ยวชมเขื่อนแล้ว บริเวณเขื่อนลำปาวยังมี หาดดอกเกด ซึ่งเป็นหาดเนินดิน เป็นที่พักผ่อนชมวิว รับลมเย็นริมสันเขื่อน และอีกหนึ่งสถานที่ห้ามพลาดสุดฮิต คือ สะพานเทพสุดา สะพานข้ามเขื่อนลำปาวที่ต้องมาชมพร้อมเก็บภาพความสวยงามของสะพานแบบ 360 องศาเลยล่ะ  การเดินทางจาก อ.เมืองกาฬสินธุ์ ใช้ทางหลวงหมายเลข 12 มุ่งหน้าไปทาง จ.มหาสารคาม จนถึงกิโลเมตรที่ 33-34 ให้เลี้ยวขวาเข้าสู่ทางหลวงหมาย 2416 ไปอีกประมาณ 26 กิโลเมตร สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหัวหน้างานจัดสรรน้ำ เขื่อนลำปาว โทร. 081 827 7717 บ้านพักรับรองเขื่อนลำปาว จัดประชุม สัมมนา โทร. 081 051 3426พิกัด : https://goo.gl/maps/yzTq9qeFXBJ2 เขื่อนรัชชประภา จ.สุราษฎร์ธานี เขื่อนรัชชประภา เดิมชื่อเขื่อนเชี่ยวหลาน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 พระราชทานนามให้ใหม่ว่า “เขื่อนรัชชประภา” มีความหมายว่า “แสงสว่างแห่งรัชกาล” ตั้งอยู่บริเวณเดียวกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หมู่ที่ 3 ต.เขาพัง อ.บ้านตาขุน พื้นที่เกือบทั้งหมดของเขื่อนอยู่ในความดูแลของอุทยานแห่งชาติเขาสก  เขื่อนรัชชประภาเป็นเขื่อนหินทิ้งแกนดินเหนียวอเนกประสงค์ ถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวให้ความสนใจมาก เพราะโดดเด่นในเรื่องของทัศนียภาพที่มีภูเขาหินปูนรูปร่างแปลกตาสวยงามโผล่พ้นน้ำขึ้นมามากมาย บริเวณโดยรอบเขื่อนและอ่างเก็บน้ำเต็มไปด้วยต้นไม้ร่มรื่น  การเดินทางใช้ทางหลวงหมายเลข 401 แยกเข้าสู่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติเขาสก 2

Feel fresh with DAM – 7 เขื่อนต้องไปเยือน อ่านเพิ่มเติม

“สามพันโบก” ความสวยงาม..ยามหน้าแล้ง

“สามพันโบก” ความสวยงาม..ยามหน้าแล้ง ด้วยกระแสน้ำที่กัดเซาะแก่งหินผ่านกาลเวลาที่ยาวนาน กลายเป็นประติมากรรมแก่งหินใหญ่น้อยที่มีรูปร่างลักษณะต่างๆสวยงาม แปลกตา เช่น โบกหินรูปหัวใจ โบกหินรูปดาว โบกหินรูปการ์ตูนมิกกี้เม้าส์ หินหัวสุนัข และอื่นๆมากมาย สามพันโบก ยังเป็นที่เพาะพันธุ์สัตว์น้ำจืดในลำน้ำโขงตามธรรมชาติแหล่งใหญ่ที่สุด รักษาระบบนิเวศและการขยายพันธุ์ของสัตว์น้ำในลำน้ำโขงให้อยู่ได้อย่างสมดุล ชาวบ้านบริเวณนี้ทั้งฝั่งไทยและลาว นอกจากทำการเกษตรแล้วยังจับปลาเป็นอาชีพเสริมอีกด้วย การเดินทางไปยังสามพันโบก ต้องนั่งเรือจากบริเวณหาดสลึง ที่บ้านสองคอน ตำบลสองคอน อำเภอโพธิ์ไทร ล่องตามลำน้ำโขงระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร ระหว่างทางจะผ่าน “ปากบ้อง” จุดแคบที่สุดของแม่น้ำโขง ซึ่งมีความกว้างเพียง 56 เมตร และ “หินหัวพะเนียง” เป็นแก่งหินกลางแม่น้ำที่ทำให้แม่น้ำโขงแยกออกเป็นสองสายหรือที่เรียกว่า “สองคอน” ในภาษาท้องถิ่น จึงเป็นที่มาของชื่อ “บ้านสองคอน”อีกด้วย ในบริเวณใกล้เคียงกัน ยังมีแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆอีก เช่น ถ้ำนางเข็นฝ้าย ถ้ำนางต่ำหูก หาดหงส์ หาดหินสี หลักศิลาเลข แก่งสองคอน ภูเขาหิน และหาดแห่ ปัจจุบันพื้นที่บริเวณนั้นมีที่พัก ร้านอาหาร เปิดให้บริการนักท่องเที่ยวมากมาย พร้อมรองรับนักท่องเที่ยวได้อย่างสะดวกสบาย

“สามพันโบก” ความสวยงาม..ยามหน้าแล้ง อ่านเพิ่มเติม

เคยเห็นกันหรือยัง..โบสถ์เรืองแสง!

ไปส่อง..โบสถ์เรืองแสง ที่วัดสิรินธรวรารามภูพร้าวจ.อุบลราชธานี…

เคยเห็นกันหรือยัง..โบสถ์เรืองแสง! อ่านเพิ่มเติม

5 สะพาน เชื่อมวันวานสู่ปัจจุบัน

5 สะพาน เชื่อมวันวานสู่ปัจจุบัน…

5 สะพาน เชื่อมวันวานสู่ปัจจุบัน อ่านเพิ่มเติม

ผาแต้ม ที่เดียว…เที่ยวได้ทั้งวัน

สิ่งที่ต้องไปชมเมื่อมาถึงผาแต้มก็คือ ภาพเขียนสีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ที่เรียงรายอยู่บริเวณด้านล่างของหน้าผา มีอายุไม่ต่ำกว่า 3,000 – 4,000 ปี…

ผาแต้ม ที่เดียว…เที่ยวได้ทั้งวัน อ่านเพิ่มเติม

น้ำตกห้วยหลวง..น้ำตกที่ใหญ่ที่สุดของอีสานใต้

พอฝนมา..น้ำก็มา..แอดจะพาไปชมน้ำตกที่ใหญ่ที่สุดของอีสานใต้ นั่นคือ “น้ำตกห้วยหลวง” ซึ่งอยู่ภายในเขตอุทยานแห่งชาติภูจองนายอย อ.นาจะหลวย จ.อุบลราชธานี หนึ่งในอุทยานฯที่มีสภาพทางภูมิศาสตร์สวยงามของประเทศไทย การเดินทางก็สะดวกสบาย เพราะมีถนนลาดยางเข้าถึงอุทยานฯและตัวน้ำตก นอกจากนี้สภาพอากาศโดยรอบพื้นที่ก็เย็นสดชื่นสุดๆโดยเฉพาะหน้าฝนแบบนี้

น้ำตกห้วยหลวง..น้ำตกที่ใหญ่ที่สุดของอีสานใต้ อ่านเพิ่มเติม

Scroll to Top