เพื่อนร่วมทาง

🌿 สมุนไพรเสริมภูมิคุ้มกัน 🌿

จากสถานการณ์ในช่วงนี้ ทำให้หลายคนหันมาดูแลสุขภาพตัวเองมากขึ้น โดยเฉพาะการเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย เพราะภูมิคุ้มกันที่ดี เปรียบเสมือนด่านแรกของการมีสุขภาพดีนั่นเอง วิธีหนึ่งที่นิยมกันในขณะนี้ก็คือการใช้สมุนไพรไทย ทั้งกินเป็นอาหารเสริม และนำมาประกอบอาหาร หากมีการติดเชื้อก็สามารถช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดอาการรุนแรงได้ 💪 👇 วันนี้แอดมีข้อมูลเล็ก ๆ น้อย ๆ เกี่ยวกับสมุนไพรไทยเสริมภูมิคุ้มกันมาฝากเพื่อน ๆ ค่ะ 🌿สมุนไพรเสริมภูมิคุ้มกัน ✨ขมิ้นชัน มีฤทธิ์ต้านการอักเสบของปอด ✨ชะเอมเทศ มีสารไฟโตเอสโตรเจนและฟลาโวนอยด์ มีคุณสมบัติช่วยต้านอนุมูลอิสระ และเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ✨มะขามป้อม มีวิตามินซีสูง ช่วยต้านอนุมูลอิสระ มีฤทธิ์เพิ่มภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย ✨ขิง เมื่อนำมาต้มน้ำเดือดนาน 30 นาที มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ทำให้เม็ดเลือดขาวชนิดแมคโครฟาสจับกินไวรัสไข้หวัดใหญ่ได้ดีขึ้น ✨ขลู่ มีฤทธิ์ช่วยต้านอนุมูลอิสระ สรรพคุณของสมุนไพรที่กล่าวไปนั้น มีฤทธิ์เสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย และช่วยต้านอนุมูลอิสระ แต่อย่างไรก็ตาม ในสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 เพื่อน ๆ ควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงด้วยการกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ กินผักผลไม้ 5 สี พักผ่อนให้เพียงพอ วันละ 6-8 ชั่วโมง และออกกำลังกายเป็นประจำนะคะ 🙂 🙏 ขอบคุณข้อมูลจาก สถาบันการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร

🌿 สมุนไพรเสริมภูมิคุ้มกัน 🌿 อ่านเพิ่มเติม

ถาม-ตอบ คลายข้อสงสัย ภูเก็ตแซนบอกซ์ : Clarify Your Doubts of Phuket Sandbox EP 6

English Translation —————————————————————————— สำหรับเพื่อน ๆ ที่มีข้อข้องใจนอกเหนือจากที่แอดนำเสนอในบทความนี้ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากบทความด้านล่างได้เลย ถาม-ตอบ ข้อสงสัยเกี่ยวกับการเดินทางเข้าภูเก็ต ถาม-ตอบ คลายข้อสงสัย Phuket Sandbox ถาม-ตอบ คลายข้อสงสัย ภูเก็ตแซนบอกซ์ : Clarify Your Doubts of Phuket Sandbox ถาม-ตอบ คลายข้อสงสัย ภูเก็ตแซนบอกซ์ : Clarify Your Doubts of Phuket Sandbox EP 2 ถาม-ตอบ คลายข้อสงสัย ภูเก็ตแซนบอกซ์ : Clarify Your Doubts of Phuket Sandbox EP 3 ถาม-ตอบ คลายข้อสงสัย ภูเก็ตแซนบอกซ์ : Clarify Your Doubts of Phuket Sandbox EP 4 ถาม-ตอบ คลายข้อสงสัย ภูเก็ตแซนบอกซ์ : Clarify Your Doubts of Phuket Sandbox EP 5 ถาม-ตอบ คลายข้อสงสัย ภูเก็ตแซนบอกซ์ : Clarify Your Doubts of Phuket Sandbox EP 7 ถาม-ตอบ คลายข้อสงสัย ภูเก็ตแซนบอกซ์ : Clarify Your Doubts of Phuket Sandbox EP 8 ถาม-ตอบ คลายข้อสงสัย ภูเก็ตแซนบอกซ์ : Clarify Your Doubts of Phuket Sandbox EP 9 ถาม-ตอบ คลายข้อสงสัย Phuket Sandbox 7+7 Extension ถาม-ตอบ คลายข้อสงสัย Phuket Sandbox 7+7 Extension EP 2 ถาม-ตอบ คลายข้อสงสัย Phuket Sandbox 7+7 Extension EP 3

ถาม-ตอบ คลายข้อสงสัย ภูเก็ตแซนบอกซ์ : Clarify Your Doubts of Phuket Sandbox EP 6 อ่านเพิ่มเติม

🌱 เส้นทางเที่ยวธรรมชาติจังหวัดอุทัยธานี 🌱

อุทัยธานีเป็นจังหวัดหนึ่งที่ขึ้นชื่อเรื่องวัดวาอารามและอาหารการกิน แต่ขณะเดียวกันก็มีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่โดดเด่นน่าไปเที่ยวด้วยเช่นกัน วันนี้แอดเอาใจสายธรรมชาติ ด้วยการพาขับรถออกนอกตัวเมืองอุทัยธานี ไปเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติต้อนรับหน้าฝน ทริปนี้เหมาะกับการขับรถเที่ยว เพราะจังหวัดอุทัยธานีอยู่ไม่ไกลจากกรุงเพทฯ ขับรถประมาณ 4 ชั่วโมงก็ถึงแล้ว และการขับรถเที่ยวยังทำให้เราเข้าถึงสถานที่ท่องเที่ยวได้ง่ายขึ้น และอาจจะได้พบมุมมองใหม่ ๆ ในการท่องเที่ยวอีกด้วย แม้ช่วงนี้เราจะต้องชะลอการเดินทางท่องเที่ยวไว้ก่อน ตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด 19 รวมทั้งแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่งยังไม่เปิดให้บริการ แต่เพื่อน ๆ เก็บข้อมูลเส้นทางเหล่านี้ไว้ก่อน แล้วค่อยไปเที่ยวทีหลังได้ค่ะ 🙂 ทริปเที่ยวอุทัยธานี 3 วัน 2 คืนครั้งนี้ เราจะไปเที่ยว 2 อำเภอที่อยู่นอกตัวเมืองกัน นั่นคืออำเภอบ้านไร่ และอำเภอลานสัก อำเภอบ้านไร่อยู่ห่างจากอำเภอเมืองประมาณ 80 กิโลเมตร ถ้าเดินทางจากกรุงเทพก็ประมาณ 250 กิโลเมตร วันที่ 1 วัดถ้ำเขาวง ตลาดซาวไฮ่ ต้นไม้ยักษ์ วัดผาทั่ง วันที่ 2 ฝายกั้นน้ำปางสวรรค์ น้ำตกปางสวรรค์ จุดชมวิวบ้านชายเขา หุบป่าตาด วันที่ 3 อ่างเก็บน้ำทับเสลา เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง 🔸วันที่ 1🔸 วัดถ้ำเขาวง จุดหมายแรกของเราคือ วัดถ้ำเขาวง ตั้งอยู่ท่ามกลางธรรมชาติที่สวยงาม มีฉากหลังเป็นภูเขาหินสูงตระหง่าน ด้านหน้าเป็นสระน้ำขนาดใหญ่ และมีสวนดอกไม้ที่ตกแต่งสวยงาม สร้างความร่มรื่นให้กับวัดได้เป็นอย่างดี วัดถ้ำเขาวง มีลักษณะเป็นเรือนไทยประยุกต์ 4 ชั้น สร้างด้วยไม้สักและไม้มะค่าที่ได้รับบริจาคจากชาวบ้าน รวมทั้งไม้เก่าจากเรือนไทยที่นำมาจากจังหวัดต่าง ๆ อีกด้วยค่ะ ภายในวัดประดิษฐานพระประธานปางมารวิชัย รอยพระพุทธบาทจำลอง และมีหออริยบูชา ไว้สำหรับปฏิบัติธรรม  ตำบลบ้านไร่ อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี https://goo.gl/maps/r57dTrGspaPWeUHA6 ตลาดซาวไฮ่ ตลาดยอดฮิตที่แอดอยากให้แวะ ตลาดนี้เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มคนที่ทำเกษตรอินทรีย์ ชาวสวน ชาวไร่ และศิลปิน เพื่อเปิดพื้นที่ให้ชาวบ้านจากชุมชนต่าง ๆ นำสินค้ามาขาย บรรยากาศภายในตลาดร่มรื่น มีพ่อค้าแม่ค้ามาออกร้านจำหน่ายสินค้าทางการเกษตร สินค้าพื้นบ้าน อาหาร รวมไปถึงงานศิลปะและงานคราฟต์เก๋ ๆ นอกจากนี้ยังมีนักดนตรีมาเล่นดนตรีให้ฟังสด ๆ อีกด้วย เรียกว่าเป็นตลาดสำหรับคนรักธรรมชาติและความชิลล์เลยล่ะ  92 ตำบลบ้านไร่ อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี เปิดทุกวันเสาร์-วันอาทิตย์ เวลา 08.00-16.00 น. 08 4337 3505 https://goo.gl/maps/53pB4XupE7dQ4Rp88 ต้นไม้ยักษ์ บ้านสะนำ ต้นไม้ยักษ์ หรือต้นเซียงยักษ์ต้นนี้ ถือเป็น รุกขมรดกของแผ่นดิน มีอายุประมาณ 300-400 ปี ลำต้นกว้างขนาด 40 คนโอบ ยืนต้นเด่นอยู่ท่ามกลางป่าหมากหลายร้อยต้น ต้นเซียงในพื้นที่บ้านสะนำ ส่วนใหญ่ถูกตัดนำไปใช้จนเกือบหมด ลุงเจียงผู้ที่ไปพบต้นเซียงยักษ์ต้นนี้จึงได้ร่วมมือกับชาวบ้านทำการอนุรักษ์เอาไว้  ตำบลบ้านไร่ อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี https://goo.gl/maps/jbXsafKd9zbzWQf69 วัดผาทั่ง เป็นวัดที่ชาวบ้านนิยมมากราบสักการะและชมความงดงามของหลวงพ่อโต พระพุทธรูปปางประธานพรองค์ใหญ่ที่ประดิษฐานอยู่ในวัด ถือเป็นพระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดอุทัยธานีเลยล่ะ  ตำบลห้วยแห้ง อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี https://goo.gl/maps/jbXsafKd9zbzWQf69 ร้านรุ่งโภชนา เที่ยวมาหลายที่ อาจจะเริ่มหิวกันแล้ว ในตัวอำเภอบ้านไร่ มีร้านอาหารอร่อยอยู่หลายร้าน ร้านที่แอดอยากแนะนำให้ลองไปชิมคือ ร้านรุ่งโภชนา เป็นร้านปลาจุ่มรสเด็ดของอำเภอบ้านไร่ ด้วยน้ำซุปที่หอมกลิ่นสมุนไพร เนื้อปลานิลแน่น ๆ และน้ำจิ้มสุดแซ่บ ทำให้ยากที่จะวางตะเกียบ นอกจากปลาจุ่มแล้ว ยังมีเมนูอาหารไทยอีกหลายเมนูให้เลือกทาน  ตำบลทัพหลวง อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี เปิดวันพฤหัส-วันอังคาร (หยุดวันพุธ) เวลา 08.00-21.00 น. 06 1486 3665 https://goo.gl/maps/q6u3SyTq1rizFk5a6  ขอบคุณรูปภาพจาก ร้านรุ่งโภชนา วันที่ 2 ฝายกั้นน้ำปางสวรรค์ วันนี้เราจะไปเที่ยวที่ ฝายกั้นน้ำปางสวรรค์ หนึ่งจุดเช็กอินสุดฮิตของอำเภอบ้านไร่ ฝายกั้นน้ำปางสวรรค์ เป็นฝายกั้นน้ำของชุมชนที่สร้างขึ้นเพื่อกักเก็บน้ำและชะลอการไหลของน้ำ ซึ่งหากน้ำมีปริมาณมากเกินความจุของฝาย น้ำก็จะไหลล้นข้ามสันฝายลงสู่ด้านล่าง เกิดเป็นม่านน้ำที่สวยงาม ใครเป็นสายถ่ายรูปต้องห้ามพลาดเลยล่ะ  ตำบลคอกควาย อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี https://goo.gl/maps/3VGj6bNKZXhJuGtB7  ขอบคุณรูปภาพจาก ททท.สำนักงานอุทัยธานี น้ำตกปางสวรรค์ น้ำตกอยู่ไม่ไกลจากฝายกั้นน้ำปางสวรรค์ ขับรถประมาณ 5 นาทีก็ถึง จากจุดจอดรถ ต้องเดินเท้าเข้าไปที่ตัวน้ำตก ระยะทางประมาณ 300-400 เมตร น้ำตกแห่งนี้สามารถเที่ยวได้ตลอดทั้งปี ถ้าใครอยากสัมผัสบรรยากาศเงียบสงบและชมความสวยงามของน้ำตก ก็แวะมาเที่ยวกันได้เลย  ตำบลคอกควาย อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานีhttps://goo.gl/maps/2h2r3JtaeCKVMkGm7  ขอบคุณรูปภาพจาก ททท.สำนักงานอุทัยธานี เรามุ่งหน้าไปเที่ยวต่อกันที่อำเภอลานสัก ซึ่งเป็นอีกหนึ่งอำเภอที่มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอยู่หลายแห่ง จุดชมวิวบ้านชายเขา เป็นจุดชมวิวที่โอบล้อมไปด้วยแนวภูเขาหินปูนขนาดใหญ่สุดลูกหูลูกตา ถ้าเพื่อน ๆ ไปเที่ยวในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาวจะยิ่งฟิน เพราะจะได้เห็นหมอกตรงแนวภูเขา และได้เห็นความเขียวขจีของธรรมชาติ บริเวณจุดชมวิวมีร้านอาหารและเครื่องดื่มให้บริการ ทีเด็ดอยู่ที่ส้มตำ ถ้าเกิดหิวขึ้นมาก็สามารถแวะทานได้เลยค่ะ  บ้านชายเขา ตำบลทุ่งนางาม อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี เปิดทุกวัน เวลา 06.00-18.00 น. 08 5731 0853 https://goo.gl/maps/TT4XLBiSZyoJQ7sN9 หุบป่าตาด อยู่ห่างจากจุดชมวิวบ้านชายเขาประมาณ 2 กิโลเมตร มีลักษณะเป็นป่าดงดิบ มีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติระยะทางประมาณ 700 เมตร โดยพื้นที่ส่วนใหญ่ปกคลุมไปด้วยต้นตาด ธรรมชาติที่นี่อุดมสมบูรณ์ มีพันธุ์ไม้หายากหลายชนิด กรมอุทยานแห่งชาติจึงประกาศให้เป็นพื้นที่อนุรักษ์ บรรยากาศที่นี่เหมือนหลุดเข้าไปอยู่ในยุคดึกดำบรรพ์เลยล่ะ เสียดาย ขาดแต่ไดโนเสาร์  หุบป่าตาด เป็นหุบเขาที่เกิดจากการยุบตัวของภูเขาหินปูน สันนิษฐานว่าในอดีตบริเวณนี้อาจเป็นทะเลหรือแหล่งน้ำ เนื่องจากพบฟอสซิลของหอยน้ำจืดฝังอยู่ในหิน เดิมไม่มีทางเข้า จะต้องปีนข้ามเขาแล้วค่อยๆ ปีนลงไป ต่อมา มีการเจาะถ้ำที่ตันให้ทะลุเข้าไปในหุบได้ ภายในถ้ำเป็นที่อาศัยของค้างคาวกินแมลง ถ้ำจะมีหินย้อยที่สวยงาม ภายในหุบมีต้นตาดจำนวนมาก พืชภายในหุบจะได้รับแสงแดดประมาณวันละ 2-3 ชั่วโมง ส่วนใหญ่จะมีลำต้นสูงเพื่อแย่งกับรับแสงแดด ไฮไลท์ของหุบป่าตาดคือ

🌱 เส้นทางเที่ยวธรรมชาติจังหวัดอุทัยธานี 🌱 อ่านเพิ่มเติม

มาตรการตรวจคัดกรองการเดินทางเข้าจังหวัดภูเก็ต (เผยแพร่ วันที่ 31 ส.ค. 2564)

📣 คำสั่งจังหวัดภูเก็ต ที่ 5139/2564 เรื่อง มาตรการตรวจคัดกรองการเดินทางเข้าจังหวัดภูเก็ต ตามมาตรการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 📆 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2564 ถึงวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2564 🔖 กำหนดมาตรการตรวจคัดกรองการเดินทางเข้าจังหวัดภูเก็ตตามมาตรการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ดังต่อไปนี้ ห้ามบุคคลและผู้ขับขี่ยานพาหนะทุกประเภท ยกเว้น เด็กอายุไม่เกิน 6 ปี ที่เดินทางมากับผู้ปกครองหรือผู้ดูแล เข้าจังหวัดภูเก็ต ทั้งทางบก (ด่านตรวจท่าฉัตรไชย) ทางน้ำ (ท่าเรือ ทุกท่า) ในจังหวัดภูเก็ต และช่องทางภายในประเทศ (ท่าอากาศยานภูเก็ต) เว้นแต่ เป็นบุคคล หรือผู้ขับขี่ยานพาหนะ ดังต่อไปนี้ 1) รถฉุกเฉินทางการแพทย์ ผู้ป่วยฉุกเฉิน กู้ชีพ กู้ภัย 2) ขนส่งยา วัสดุอุปกรณ์ เวชภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ทางการแพทย์ 3) ขนส่งสินค้าเครื่องอุปโภคบริโภค สินค้าทางการเกษตร ปศุสัตว์ อาหารสัตว์ 4) ขนส่งแก๊สหุงต้ม น้ำมันเชื้อเพลิง 5) ขนส่งเงินของธนาคาร สถาบันทางการเงิน 6) ขนส่งพัสดุและสิ่งพิมพ์ 7) ขนส่งวัสดุก่อสร้าง เครื่องจักร และอะไหล่ที่ใช้ในการซ่อมบำรุง 8) ผู้ขนส่งสินค้าทางเรือ เพื่อนำเข้า – ส่งออกสินค้า ณ ท่าเรือน้ำลึกภูเก็ต , ท่าเรือคลังน้ำมัน ปตท.ภูเก็ต และพื้นที่ขนถ่ายสินค้าอื่น ๆ 9) ขนส่งเครื่องมืออุปกรณ์ วัสดุ วัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ ชิ้นส่วนประกอบซ่อมบำรุงพื้นฐานด้านโทรคมนาคม พลังงาน ยานยนต์ อากาศยาน และการอุตสาหกรรมอื่น ๆ 10) ผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน หรือทำงานในเขตพื้นที่จังหวัดภูเก็ตเป็นการประจำ (ต้องมีเอกสารหลักฐานยืนยัน) 11) ผู้ที่ได้รับคำสั่งหรือมีหนังสือมอบหมายจากต้นสังกัดให้ปฏิบัติหน้าที่ในด้านการป้องกันและควบคุมโรคในจังหวัดภูเก็ต 12) ผู้เดินทางมาตามโครงการเปิดพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว ภูเก็ตแซนด์บ๊อกซ์ และผู้ขับขี่ยานพาหนะ (ต้องมีเอกสารยืนยัน) 13) ผู้ที่ได้รับคำสั่งจากส่วนราชการให้ไปหรือมาปฏิบัติภารกิจจำเป็นเร่งด่วนในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต 14) ผู้มีความจำเป็นในการเดินทางออกทางช่องทางระหว่างประเทศ ท่าอากาศยานภูเก็ต (ต้องมีตั๋วโดยสาร ของวันที่เดินทางเท่านั้น) 15) ผู้ที่มีนัดหมายตามกระบวนการพิจารณาในชั้นศาล พนักงานอัยการ หรือพนักงานสอบสวน ซึ่งต้องมีเอกสารหลักฐานที่ชัดเจนว่าหากเลื่อนเวลานัดหมายดังกล่าวจะทำให้กระบวนการพิจารณาเสียหายอย่างร้ายแรง หรือมีนัดหมายการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเฉพาะกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วน ที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้ มิฉะนั้นจะเกิดความเสียหายแก่คู่กรณีหรือส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจเป็นอย่างยิ่ง 16) ผู้ที่เดินทางเข้ามาจังหวัดภูเก็ตเพื่อการท่องเที่ยว โดยต้องมีหลักฐานการจองโรงแรมหรือสถานที่พัก และชำระค่าที่พักล่วงหน้า และหากพักอาศัยเกิน 7 วัน ต้องเข้ารับการตรวจหาเชื้อโควิด – 19 ในวันที่ 5 ของการพักอาศัยในจังหวัดภูเก็ต โดยผู้เดินทางเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง (ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน 2564 เป็นต้นไป) 17) กรณี อื่นใดซึ่งมีปัญหาในทางปฏิบัติที่ต้องวินิจฉัยสั่งการ ให้ผู้บัญชาการเหตุการณ์ประจำด่านตรวจ เป็นผู้มีอำนาจพิจารณาเป็นรายกรณี โดยผู้ได้รับการยกเว้นตามกรณีดังกล่าวข้างต้น ต้องได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด – 19 ชนิดซิโนแวค (Sinovac) , ซิโนฟาร์ม (Sinopharm) , สปุตนิก วี (Sputnik V) ครบ 2 เข็ม หรือซิโนแวค (Sinovac) เข็ม 1 แอสตราเซนิกา (AstraZeneca) เข็ม 2 หรือได้รับวัคซีนชนิดแอสตราเซนิกา (AstraZeneca) , ไฟเซอร์ (Pfizer) , โมเดอร์นา (Moderna) , จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน (Johnson and Johnson) จำนวน 1 เข็ม มาแล้วเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 14 วัน หรือเป็นผู้ที่หายจากอาการป่วยด้วยโรคโควิด – 19 มาแล้วไม่เกิน 90 วัน และต้องได้รับการตรวจหาเชื้อโควิด – 19 ด้วยวิธีการ RT – PCR หรือวิธีการ Antigen Test โดยมีระยะเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมง ก่อนการเดินทางถึง ผู้เดินทางมาตามโครงการนำร่องด้านการท่องเที่ยว (7+7 Extension) หรือบุคคลที่เดินทางไปท่องเที่ยวนอกเขตจังหวัดภูเก็ตทางทะเลไปจังหวัดนำร่องอื่น แบบไป – กลับภายในวันเดียว พร้อมคนขับเรือ มัคคุเทศก์ และพนักงานประจำเรือ ให้สามารถเดินทางเข้าจังหวัดภูเก็ตได้โดยมีผลการฉีดวัคซีนครบตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยให้ตรวจหาเชื้อโควิด – 19 ด้วยวิธี ATK (Antigen Test Kit) ทุกสัปดาห์ เด็กอายุตั้งแต่ 6 ปี จนถึงผู้มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ที่ไม่อยู่ในเกณฑ์การได้รับวัคซีน ต้องได้รับการตรวจหาเชื้อโควิด – 19 ด้วยวิธีการ RT – PCR หรือวิธีการ Antigen Test โดยมีระยะเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมง ก่อนการเดินทางถึง กรณี นักเรียนนักศึกษาอายุไม่ถึง 18 ปี ที่ไม่สามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด –

มาตรการตรวจคัดกรองการเดินทางเข้าจังหวัดภูเก็ต (เผยแพร่ วันที่ 31 ส.ค. 2564) อ่านเพิ่มเติม

✨ขนมอังกู๊ ขนมเต่าโบราณเมืองภูเก็ต ✨

มารู้จักขนมโบราณที่ขึ้นชื่อของเมืองภูเก็ตกันค่ะ “ขนมอังกู๊” หรือ “ขนมเต่า” หลาย ๆ คนอาจจะไม่เคยเห็นมาก่อน วันนี้แอดมีเกร็ดความรู้เรื่องขนมอังกู๊มาให้อ่านกันเพลิน ๆ ค่ะ 🙂 ขนมอังกู๊เป็นขนมมงคลที่ชาวภูเก็ตเชื้อสายจีนฮกเกี้ยนและกวางตุ้ง นำมาใช้ในพิธีไหว้บรรพบุรุษ ไหว้เทวดา ไหว้วันสารท เป็นต้น เพราะเชื่อว่าสีแดงเป็นสีแห่งมงคล ลักษณะขนมเป็นรูปเต่า หมายถึงอายุมั่นขวัญยืน 🥳 🍞 ขนมอังกู๊ทำจากแป้งข้าวเหนียวนวดกับน้ำ น้ำมันพืช และน้ำตาล เติมสีผสมอาหารเพื่อให้เกิดสีแดงอ่อน ๆ นวดจนแป้งไม่ติดมือ แล้วจึงนำไส้ถั่วทองที่สุกกวนกับน้ำตาลจนแห้ง มาห่อกับแป้งที่เตรียมไว้ นำไปใส่พิมพ์อัดเป็นรูปเต่าแล้วนำไปนึ่งจนสุก ออกมาเป็นเต่าแดงน่าทานมาก ๆ ปัจจุบัน เราสามารถรับประทานขนมอังกู๊ได้แค่ในช่วงเทศกาลไหว้เจ้า ตรุษจีน สารทจีน ใครแวะไปภูเก็ตในช่วงเทศกาล ต้องลองไปชิมกันนะคะ : )

✨ขนมอังกู๊ ขนมเต่าโบราณเมืองภูเก็ต ✨ อ่านเพิ่มเติม

✨ อดีต…อุดร ✨

📍 อุดรธานี 📍 เมืองที่ซ่อนประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมหลากหลายเอาไว้ในพื้นที่มากมาย เหมือนกับแต่ละสถานที่ในจังหวัดต่อไปนี้ ที่น่าจะช่วยฉายภาพให้เห็นสภาพความเป็นอยู่และตัวตนของคนอุดรฯ ที่กล่าวได้ว่า มีประวัติศาสตร์เป็นเอกลักษณ์ และน่าเดินทางไปเยี่ยมชมมากที่สุดจังหวัดหนึ่งในประเทศไทย TAT Contact Center เพื่อนร่วมทาง ร่วมกับ The Cloud นำเสนอคอลัมน์ Take Me Out เที่ยวบ้านเพื่อน รอบนี้พาทัวร์อุดรธานีผ่านกลิ่นอายความเก่าแก่กับ 10 สถานที่ที่เราขอพาเช็กอินให้ชม เที่ยว ช้อปกันแบบจุใจ ในรูปแบบพิพิธภัณฑ์ที่เคยล้ำสมัยที่สุดในโลก ศาลเจ้าสองวัฒนธรรม ไปจนถึงร้านส้มตำเจ้าเด็ด 📌 ใครพร้อมเที่ยวแล้ว เตรียมปักหมุดได้เลย ✳ ตรวจสอบมาตรการการเดินทางเข้าพื้นที่ได้ที่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี : https://www.facebook.com/udpho ข้อมูลจากพิพิธภัณฑ์เมืองอุดรธานีบอกว่า แท้จริง “อุดรธานีไม่เคยมีอยู่” ที่ตั้งของจังหวัดในปัจจุบันนี้ เป็นถิ่นฐานที่เดิมตั้งบนพื้นที่ชายขอบรกร้าง ในฐานะกองบัญชาการ ‘มณฑลลาวพวน’ หรือ ‘มณฑลฝ่ายเหนือ’ ในช่วงราว พ.ศ. 2436 ภายใต้เหตุพิพาทสำคัญกับฝรั่งเศสในยุคอาณานิคมอย่างเหตุการณ์ ร.ศ.112 มณฑลฝ่ายเหนือนี้ภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น ‘มณฑลอุดร’ และเริ่มเป็นศูนย์กลางการเดินทางและการค้า จนกระทั่งหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475 มณฑลอุดรจึงถูกยกเลิก แล้วยกฐานะเป็น ‘จังหวัดอุดรธานี’ เรื่อยมาจนหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ถนนมิตรภาพนำความเจริญมาสู่จังหวัดพร้อมสหรัฐอเมริกาและทหาร G.I. ด้วยการเป็นพื้นที่ตั้งฐานทัพโจมตีทางอากาศในสงครามเวียดนาม G.I. ได้เปลี่ยนสภาพสังคมและเศรษฐกิจของจังหวัดไปอย่างมาก จากการทำเกษตรและกิจการขนาดเล็ก ๆ สู่การเกิดขึ้นของโรงแรม โรงภาพยนตร์ สถานบันเทิง อาบอบนวด และตึกแถวสองข้างทางในตัวเมืองก็อัดแน่นไปด้วยร้านค้าหลากหลาย ทั้งร้านสูท เครื่องประดับ ห้องถ่ายภาพ ร้านเสริมสวย และร้านค้าอื่น ๆ มากมาย การเติบโตของเมืองจากเหตุความขัดแย้งภายนอกแต่ละครั้ง ประกอบกับการมีผู้อพยพย้ายถิ่นฐานเข้ามาเป็นจำนวนมาก ทำให้อุดรธานีประกอบด้วยผู้คนหลากหลายเชื้อชาติ ที่ต่างพกพาประวัติศาสตร์และความเชื่อของตัวเอง ประกอบสร้างเป็นเรื่องราวของจังหวัดจนถึงทุกวันนี้ ถ้าพร้อมแล้วเราจะพาไปย้อนดูอุดรในอดีต ตั้งแต่พิพิธภัณฑ์ ศาลเจ้าจีน ค่ายทหารสงครามเย็น จนถึงร้านอาหาร 1 แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง หลักฐานแรกตั้งถิ่นฐานในอุดรธานีที่เป็นมรดกโลก “ถ้าคนอุดรฯ ไปอยู่ในดงคนอื่น หรือถ้ามีคนนอกถามว่าพูดถึงจังหวัดอุดรฯ ต้องพูดถึงอะไร คนอุดรฯ จะยังคงนึกถึงบ้านเชียงอยู่” กนกวลี สุริยะธรรม ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง ให้ความคิดเห็นถึงแหล่งอารยธรรมโบราณอายุกว่า 5,000 ปี ในฐานะส่วนหนึ่งของตัวตนคนอุดรฯ สถานที่นี้ถูกขุดค้นเจอเมื่อ พ.ศ. 2517 ในอำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ก่อนจะได้รับเลือกเป็นมรดกโลกลำดับที่ 359 ใน พ.ศ. 2535 บ้านเชียงได้ถูกพัฒนาเป็นพิพิธภัณฑ์ให้คนทั่วไปเข้าชมได้ โดยแบ่งเป็น 2 ส่วนหลัก ๆ คือส่วนอาคารพิพิธภัณฑ์ เนื้อหาครอบคลุมเรื่องพัฒนาการทางยุคสมัย วิถีชีวิต การขุดค้น และจัดแสดงโบราณวัตถุ ทั้งเครื่องปั้นดินเผา สำริด เหล็ก รวมถึงโครงกระดูกที่ขุดพบ กับอีกจุดจัดแสดงแหล่งการขุดค้น ณ วัดโพธิ์ศรีที่ตั้งอยู่ห่างไป 900 เมตร ปัจจุบันนอกจากงานให้บริการพิพิธภัณฑ์ ที่นี่ได้ให้บริการในด้านการวิจัยและงานวิชาการ อย่างการเป็นคลังเก็บโบราณวัตถุ งานสำรวจทำบัญชีโบราณวัตถุในพื้นที่ ให้บริการออกใบอนุญาตส่งโบราณวัตถุ ร่วมจัดงานมรดกโลกซึ่งเป็นงานประจำปีที่จะจัดร่วมกับหน่วยงานรัฐและชุมชน รวมถึงสนับสนุนข้อมูลเชิงวิชาการให้การท่องเที่ยวของชุมชน โดยรอบมีโฮมสเตย์ ร้านค้า กลุ่มทอผ้า กลุ่มปั้นหม้อ ซึ่งเป็นกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่ดำเนินสอดคล้องกับเรื่องราวในพื้นที่มาโดยตลอด  หมู่ที่ 13 ถนนสุทธิพงษ์ ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี 41320 https://goo.gl/maps/xpBzAH9RCyne3vMb9  วัน-เวลาทำการ : พิพิธภัณฑ์ วันพุธ-วันอาทิตย์ เวลา 09.00 – 16.00 น. (ปิดวันจันทร์และวันอังคาร) หลุมขุดค้น วัดโพธิ์ศรีใน ทุกวัน เวลา 09.00 – 16.00 น.  0 4223 5040  Facebook : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง : Banchiang National Museum 2 กลุ่มทอผ้าโบราณบ้านโนนกอก ชุมชนตำหูกที่ย้อมสีผ้าด้วยดอกบัว จากความทรงจำวัยเด็กที่ได้เห็นการทอผ้าใต้ถุนบ้านเป็นภาพชินตา อภิชาติ พลบัวไข ผู้ใหญ่บ้านโนนกอก หลังจากเรียนจบปริญญาโท คณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยพิษณุโลก ต้องการกลับบ้านเกิดมาพัฒนาชุมชนด้วยสิ่งที่เขารักและผูกพันมาตั้งแต่วัยเยาว์ เมื่อภาพที่จำได้เหล่านั้นกลับหายไปเมื่อเขาเริ่มเติบโตขึ้น “บ้านโนนกอกเลิกทอผ้ามายี่สิบกว่าปีแล้ว ผมต้องเริ่มจากหาช่างทอลูกหลานที่ยังหลงเหลือ เรามารวมกลุ่มกันทอผ้าแบบโบราณ จากคนเดียวเป็นสอง สาม สี่ ห้า จนปัจจุบันยี่สิบห้าคน รวมถึงเรามีเครือข่ายขยายไปสองร้อยกว่าคนในหมู่บ้านต่าง ๆ” ผู้ใหญ่บ้านยังเล่าว่า การทอผ้าหรือภาษาอีสานเรียก ‘ตำหูก’ เป็นวิถีชีวิตที่มีอยู่ทั่วทุกพื้นที่ในภาคอีสาน โดยเฉพาะจังหวัดอุดรธานีที่มีผ้าทอลายขิดเป็นภูมิปัญญาและมีลวดลายสวยงามเป็นเอกลักษณ์ นอกจากตั้งใจรื้อฟื้นการใช้กี่ทอผ้าแบบโบราณโดยไม่ใช้เครื่องจักร เขายังต้องการสร้างเอกลักษณ์ในด้านสีสันและเรื่องราวของท้องถิ่นให้ฝ้ายและไหมด้วย เอกลักษณ์ของที่นี่คือการนำส่วนต่าง ๆ ของดอกบัวมาเป็นวัตถุดิบย้อม โดยค้นพบว่า ดอกบัวตากแห้งจะได้สีน้ำตาลทอง สายบัวจะได้สีเทาเงิน กลีบได้สีชมพู จนภายหลังก็ได้พัฒนาเช่นพบว่า เมื่อใช้น้ำปูนกับมะขามเปียกผสมจะได้สีเขียวขี้ม้า หรือที่นิยมมากคือการหมักกับโคลน ที่จะทำให้ย้อมดอกบัวได้สีดำ นำมาซึ่งความแตกต่างของเอกลักษณ์สีธรรมชาติที่ทำให้ที่นี่เป็นที่รู้จักไปไกล  ชุมชนบ้านโนนกอก 63 หมู่ที่ 18 ตำบลหนองนาคำ อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี 41000 https://goo.gl/maps/achU8sf5SgrSRWVq5  วัน-เวลาทำการ : ทุกวัน 08.00 – 17.00 น.  06 1942 8808  Facebook : กลุ่มทอผ้าโบราณบ้านโนนกอก จ.อุดร 3 ส้มตำเบญจางค์ ร้านส้มตำเก่าแก่แห่งบ้านโนน อร่อยมาตั้งแต่รุ่นยาย ถ้าถามคนอุดรฯ ว่าร้านส้มตำร้านไหนอร่อยที่สุด ว่ากันตามตรงแต่ละคนก็อาจตอบร้านโปรดของตัวเองที่มีอยู่ทั่วทุกมุมเมือง แต่ถ้าถามว่าร้านไหนเปิดมายาวนานที่สุด

✨ อดีต…อุดร ✨ อ่านเพิ่มเติม

รู้หรือไม่! ทำไมถึงมีการห้ามให้อาหารปลาในทะเล 🐟

“การดำน้ำ” 🤿 เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ได้รับความนิยมอย่างมากเมื่อเราได้ไปทะเล ไม่ว่าจะเป็นการดำน้ำตื้นหรือดำน้ำลึก เราจะสามารถมองเห็นความงดงามทางธรรมชาติ ปะการังต่าง ๆ ปลา และสัตว์ทะเลอีกมากมาย.ในระหว่างดำน้ำอาจมีกิจกรรม “การให้อาหารกับปลาในทะเล” ซึ่งเพื่อน ๆ ส่วนใหญ่อาจจะทราบกันอยู่แล้วว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ ซึ่งวันนี้แอดจะมาบอกเหตุผลว่า ทำไมเราถึงไม่ควรให้อาหารปลาในทะเล 🚫.อาหารส่วนใหญ่ที่มีการนำไปให้ปลาในทะเลกินเป็นจำพวกแป้ง ซึ่งเป็นอาหารโปรดของปลาสลิดหินบั้งเขียวเหลือง ถึงแม้ว่าหน้าตามันออกจะน่ารัก แต่ด้วยนิสัยตามธรรมชาติ ปลาชนิดนี้มีนิสัยดุร้ายและชอบยึดอาณาเขตในพื้นที่ที่มีอาหารโปรดของมันอยู่เยอะ.โดยปกติตามแนวปะการังจะมีปลาและสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่และทำหน้าที่รักษาสมดุลของระบบนิเวศน์ คือ ปลาที่อาศัยอยู่ตามแนวปะการังหาอาหารจากการกินสาหร่ายและสิ่งมีชีวิตที่ปกคลุมปะการัง ซึ่งถือว่าเป็นการทำความสะอาดปะการังด้วยนั่นเอง.หากเจ้าปลาสลิดหินบั้งเขียวเหลืองมากินอาหารที่มนุษย์ให้ตามแนวปะการัง จะเกิดอะไรขึ้น?📍 ปลาชนิดนี้ก็จะเริ่มมีจำนวนเยอะมากขึ้น เริ่มยึดอาณาเขต และขับไล่ปลาตัวอื่นออกจากพื้นที่📍 สิ่งมีชีวิตที่ปกคลุมแนวปะการัง รวมถึงแบคทีเรียที่เกิดจากการขับถ่ายของปลาสลิดหินบั้งเขียวเหลืองเพิ่มมากขึ้น และทำให้ปะการังสกปรก📍 แนวปะการังที่มีระบบนิเวศน์ค่อนข้างซับซ้อนและอ่อนไหวเริ่มเสื่อมโทรม ล้มตายและไม่สามารถเกิดขึ้นใหม่ได้เนื่องจากสภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวย📍 ปลาบางชนิดกินแต่ขนมปังที่มนุษย์ให้ ไม่สามารถหาอาหารเอง แถมยังทำให้ขาดสารอาหารและป่วยตายได้ง่าย.เพียงแค่ไม่กี่ข้อที่แอดกล่าวมา ก็ทำให้เห็นแล้วว่าเมื่อระบบนิเวศน์เสียสมดุล ความงดงามทางทะเลก็จะค่อย ๆ หายไป แน่นอนว่าเพื่อน ๆ ก็อยากให้ธรรมชาติเหล่านี้คงอยู่ เพื่อให้คนอื่น ๆ หรือแม้แต่ตัวเราเองได้กลับมาดูอีกครั้ง การอนุรักษ์ไว้จึงไม่ใช่แค่เรื่องของใครบางคน แต่เป็นสิ่งที่เราเองมีส่วนช่วยได้ มาช่วยกันนะคะ 😉.อ้างอิงข้อมูลจาก : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

รู้หรือไม่! ทำไมถึงมีการห้ามให้อาหารปลาในทะเล 🐟 อ่านเพิ่มเติม

ภูเขาไฟกระโดง จังหวัดบุรีรัมย์ 🌱

จังหวัดบุรีรัมย์แห่งดินแดนอีสาน เป็นจังหวัดที่น่าสนใจและโดดเด่นในหลาย ๆ ด้าน ทั้งประวัติศาสตร์ ธรรมชาติ กีฬา เรียกว่ามีครบเลยค่ะ หนึ่งในจุดหมายที่แอดว่าน่าสนใจมาก และอยากแนะนำให้รู้จักก็คือ “ภูเขาไฟกระโดง” ในบุรีรัมย์มีภูเขาไฟที่ดับแล้วหลายแห่ง “ภูเขาไฟกระโดง” เป็นภูเขาไฟที่อายุน้อยที่สุด คือมีอายุประมาณ 6 แสนถึง 9 แสนปี เดิมชาวบ้านเรียกภูเขาลูกนี้ว่า “พนมกระดอง” คำว่า “พนม” เป็นภาษาเขมร แปลว่า ภูเขา ส่วน “กระดอง” ก็คือ กระดองเต่า เพราะมีลักษณะคล้ายกระดอง ต่อมาได้เพี้ยนเป็นคำว่า กระโดง ในปัจจุบันนั่นเอง ที่ภูเขาไฟกระโดงยังมีร่องรอยปากปล่องภูเขาไฟเก่าให้เห็นอย่างชัดเจน โดยมีสภาพเป็นเหมือนแอ่งน้ำ ปัจจุบันมีการปรับปรุงภูมิทัศน์ให้สวยงาม สร้างสะพานและทางเดินให้ชมธรรมชาติได้สะดวก นักท่องเที่ยวจะเพลิดเพลินมากทีเดียว เพราะจุดนี้ยังเป็นป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ มีทั้งพันธุ์ไม้หายากและสัตว์ป่า ใครได้แวะมาเที่ยวจังหวัดบุรีรัมย์ ต้องลองไปกันดูนะคะ ไฮไลท์จุดหนึ่งบนภูเขาไฟกระโดงก็คือ “สะพานแขวนลาวา” เป็นจุดที่นักท่องเที่ยวชื่นชอบมาก เพราะสามารถมองลงไปเห็นปากปล่องภูเขาไฟได้อย่างใกล้ชิด และเป็นจุดถ่ายรูปยอดฮิตที่ใครมาก็ต้องเก็บภาพไปสักรูปหนึ่ง ส่วนบนยอดเขากระโดงเป็นที่ประดิษฐานพระสุภัทรบพิตร พระพุทธรูปใหญ่คู่เมืองบุรีรัมย์ หากมองลงไปด้านล่างจะเห็นสนามไอโมบายสเตเดียมชัดเจนทีเดียว ในทุกวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ของทุกปี จะมีงานประเพณีขึ้นเขากระโดงอีกด้วย  การเดินทางขึ้นเขากระโดง เราสามารถขึ้นได้ 2 แบบ คือเดินขึ้นบันไดจำนวน 297 ขั้น หรือขับรถยนต์ขึ้นไป แต่ต้องระมัดระวังการขับขี่หน่อยนะคะ เนื่องจากเป็นถนนเดินรถทางเดียว วนอุทยานภูเขาไฟกระโดง ตำบลเสม็ด อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่ 06.00-18.00 น. ไม่เสียค่าเข้าชม 0 4463 7349 https://goo.gl/maps/WeKzup9CEDeq51eG6

ภูเขาไฟกระโดง จังหวัดบุรีรัมย์ 🌱 อ่านเพิ่มเติม

ถาม-ตอบ คลายข้อสงสัย Phuket Sandbox 7+7 Extension EP 2

สวัสดีเพื่อน ๆ ทุกคน พบกันอีกครั้งกับ Q&A ในช่วง #PhuketSandBox แอดนำคำถามเกี่ยวกับ Phuket 7+7 Extension มาคลายข้อสงสัยให้เพื่อน ๆ ทราบกันเพิ่มเติม สามารถดูมาตรการการเข้าและออกได้ที่ https://www.facebook.com/145316445540444/posts/5964045437000820/?d=n English Translation You can be found via : https://www.facebook.com/145316445540444/posts/5973201932751837/?d=n —————————————————————————— สำหรับเพื่อน ๆ ที่มีข้อข้องใจนอกเหนือจากที่แอดนำเสนอในบทความนี้ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากบทความด้านล่างได้เลย ถาม-ตอบ ข้อสงสัยเกี่ยวกับการเดินทางเข้าภูเก็ต ถาม-ตอบ คลายข้อสงสัย Phuket Sandbox ถาม-ตอบ คลายข้อสงสัย ภูเก็ตแซนบอกซ์ : Clarify Your Doubts of Phuket Sandbox ถาม-ตอบ คลายข้อสงสัย ภูเก็ตแซนบอกซ์ : Clarify Your Doubts of Phuket Sandbox EP 2 ถาม-ตอบ คลายข้อสงสัย ภูเก็ตแซนบอกซ์ : Clarify Your Doubts of Phuket Sandbox EP 3 ถาม-ตอบ คลายข้อสงสัย ภูเก็ตแซนบอกซ์ : Clarify Your Doubts of Phuket Sandbox EP 4 ถาม-ตอบ คลายข้อสงสัย ภูเก็ตแซนบอกซ์ : Clarify Your Doubts of Phuket Sandbox EP 5 ถาม-ตอบ คลายข้อสงสัย ภูเก็ตแซนบอกซ์ : Clarify Your Doubts of Phuket Sandbox EP 6 ถาม-ตอบ คลายข้อสงสัย ภูเก็ตแซนบอกซ์ : Clarify Your Doubts of Phuket Sandbox EP 7 ถาม-ตอบ คลายข้อสงสัย ภูเก็ตแซนบอกซ์ : Clarify Your Doubts of Phuket Sandbox EP 8 ถาม-ตอบ คลายข้อสงสัย ภูเก็ตแซนบอกซ์ : Clarify Your Doubts of Phuket Sandbox EP 9 ถาม-ตอบ คลายข้อสงสัย Phuket Sandbox 7+7 Extension ถาม-ตอบ คลายข้อสงสัย Phuket Sandbox 7+7 Extension EP 3

ถาม-ตอบ คลายข้อสงสัย Phuket Sandbox 7+7 Extension EP 2 อ่านเพิ่มเติม

Scroll to Top