สระบุรี

สระบุรี

ล้มบนฟูก Home&Cafe @สระบุรี

บ้านล้มบนฟูก Home & Cafe ร้านเเบ่งเป็น 2 โซน ในส่วนของ Indoor จะเป็นโซนห้องแอร์ กว้างขวาง มีเคาน์เตอร์สำหรับสั่งขนมและเครื่องดื่มต่างๆ ใครอยากนั่งชิลแบบเย็นฉ่ำก็เลือกนั่งกันได้สบายๆ เลย แต่สำหรับไฮไลท์ของที่นี่ต้องโซนถัดไปเลยค่ะ โซน outdoor บรรยากาศร่มรื่นใต้ต้นจามจุรี ริมแม่น้ำป่าสัก พร้อมฟูกและหมอนสามเหลี่ยมสีฟ้าสดใส ที่มาของชื่อร้าน “ล้มบนฟูก” นั่นเอง แค่เห็นก็น่าล้มตัวลงไปนอนมากๆ แล้ว จะนั่งหรือจะนอนก็ทำได้ตามสบาย สมกับเป็นสถานที่รวมพลคนขี้เกียจจริงๆ เลยค่ะ ฮ่าๆๆ  ใครอยากชิลเงียบๆ แนะนำมาวันธรรมดาค่ะ ถ้ามาวันหยุดขอบอกว่าเต็มทุกที่นั่งเลยล่ะ พระเอกของเรามาแล้ว มะม่วงน้ำดอกไม้ ครัมเบิ้ลเค้ก บอกเลยว่ามันดีต่อพุงอะค่ะ ^^ หอม เปรี้ยว หวาน กลมกล่อมกำลังดี ถ้าใครมาที่นี่ต้องลองสั่งมาทานกันดูนะคะ รับรองติดใจแน่นอน.สำหรับเมนูขนมอื่นๆ ยังมีให้ได้ลองกันอีกหลายเมนู เช่น ครัวซองต์แฮมชีส / มัลฟินฟักทองแอลมอนด์ / เค้กกล้วยน้ำว้าตาก และอิงลิชสโตน แยมมะม่วงหาวมะนาวโห่  ส่วนเมนูเครื่องดื่มที่เราสั่งมานั้นก็คือ ชาวานิลลาลูกตาลเชื่อม ชากลิ่นวานิลลามีลูกตาลเป็นท้อปปิ้ง มีเนื้อให้เคี้ยวเล่นหนึบหนับ รสชาติไม่จนหวานเกินไป เมนูนี้แนะนำเลย ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ เมนูที่อยากให้เพื่อนๆ มาลิ้มลองยังมีอีกเพียบ ไม่ว่าจะเป็น น้ำมะม่วงหาวมะนาวโห่ น้ำตะไคร้ว่านหางจระเข้ น้ำมะตูมน้ำผึ้ง และน้ำผึ้งมะนาว สำหรับผู้ที่ชื่นชอบกาแฟ ก็มีให้เลือกหลายสไตล์ อย่างแก้วนี้ชื่อว่า “ป้าเพ็ญ” ไม่ใช่ชื่อของผู้ใดทั้งสิ้นแต่เป็นชื่อเมนูต่างหาก เป็นกาแฟดำ + นม ก็จะได้ความมันของนมผสมกับกาแฟสกัดเย็น นอกจากนั้นก็ยังมีเมนูกาแฟชื่อเก๋อีก เช่น “ลุงหนวด” เป็นกาแฟดำล้วน “น้องกิ๊ฟ” เป็นกาแฟ + นม + คาราเมล เจ้าถิ่นหลับปุ๋ย ^^ ดูบรรยากาศ…ชิลแค่ไหนคิดดู สบายสุด ^^

ล้มบนฟูก Home&Cafe @สระบุรี อ่านเพิ่มเติม

“ท่องเที่ยวอิ่มบุญ…สัมผัสวัฒนธรรมท้องถิ่น”

ฤดูฝนเป็นฤดูแห่งการทำนา ในระหว่างเข้าพรรษาพระภิกษุสงฆ์จะต้องจำพรรษาเป็นเวลา 3 เดือน เพื่อไม่ให้ไปเดินเหยียบย่ำข้าวกล้าของชาวนาเสียหาย และเนื่องจากสมัยก่อนไม่มีไฟฟ้าใช้ ชาวบ้านจึงหล่อเทียนขนาดใหญ่ขึ้นมาเพื่อถวายให้พระภิกษุสงฆ์ได้ใช้ในการปฏิบัติกิจวัตรต่างๆ ยามค่ำคืนตลอดช่วงเวลาของการเข้าพรรษา การนำเทียนไปถวายนั้น จะให้เดินไปถวายแบบปกติมันก็จะธรรมดาไป โลกไม่จำค่ะ ชาวบ้านจึงจัดขบวนแห่กันอย่างเอิกเกริกสนุกสนาน และปฏิบัติสืบทอดกันมาจนกลายเป็นประเพณีอย่างที่เราเห็นกันทุกวันนี้ค่ะ ถ้าพูดถึงประเพณีแห่เทียนพรรษาแล้ว จังหวัดแรกที่นึกถึงคงหนีไม่พ้น จ.อุบลราชธานี เพราะที่นี่มีชื่อเสียงเป็นอย่างมากในเรื่องการแกะสลักเทียนเป็นรูปต่างๆ อย่างวิจิตรงดงาม ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ในวรรณคดี บุคคลสำคัญในช่วงเวลานั้นๆ และอื่นๆ อีกมากมาย  งาน “ฮีตศรัทธาราชธานีแห่งแสงเทียน” จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 23 – 28 กรกฎาคม 2561 ภายในงานจะมีกิจกรรมการแสดง แสง สี เสียงสุดอลังการ โดยขบวนแห่จะมีทั้งกลางวันและกลางคืน – แห่เทียนกลางคืน ในช่วงค่ำของวันที่ 27 – 28 กรกฎาคม 2561 จะมีขบวนแห่เทียนและการแสดงประกอบแสงเสียง เรื่อง “เกิดแต่อุบล” บริเวณหน้าวัดศรีอุบลรัตนาราม โดยวันที่ 27 กรกฎาคม ตั้งแต่เวลา 19.00-20.30 น. ส่วนวันที่ 28 กรกฎาคม เริ่มประมาณ 18.00 น. – แห่เทียนกลางวัน วันที่ 28 กรกฎาคม 2561 จุดเริ่มต้นขบวนจะอยู่บริเวณหน้าวัดศรีอุบลรัตนาราม เริ่มตั้งแต่ 08.00 น. เป็นต้นไปค่ะ “มหกรรมแห่เทียนพรรษาและตักบาตรบนหลังช้าง” ถือเป็นอีกหนึ่งประเพณีที่ชาวสุรินทร์ภาคภูมิใจ เพราะเป็นวัฒนธรรมการแห่เทียนที่ยิ่งใหญ่และไม่เหมือนใคร ตักบาตรบนหลังช้างทำยังไง? ทำได้ด้วยเหรอ? ถ้าอยากรู้ ต้องลองไปสัมผัสด้วยตัวเองนะคะ^^  งานจัดขึ้นระหว่างวันที่ 26-27 กรกฎาคม 2561 กิจกรรมภายในงานมีดังนี้ วันที่ 26 กรกฎาคม 2561 เวลา 16.00 น. เป็นต้นไป ชมริ้วขบวนแห่เทียนพรรษา ขบวนฟ้อนรำศิลปวัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์ พร้อมกับขบวนแห่ช้างกว่า 80 เชือก  วันที่ 27 กรกฎาคม 2561 เวลา 07.00 น. จะมีกิจกรรมทำบุญตักบาตรบนหลังช้าง บริเวณอนุสาวรีย์พระยาสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวางค่ะ โคราช เป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่มีการจัดงานแห่เทียนเข้าพรรษาที่มีความสวยงามและอลังการไม่แพ้ที่อื่นๆ เลยค่ะ โดยมีการจัดงานทั้งหมด 3 ที่ ได้แก่ วันที่ 26 กรกฎาคม 2561 จะมีการแห่เทียนพรรษาของอำเภอโชคชัยและอำเภอพิมายค่ะ (เริ่มแห่ตั้งแต่ประมาณ 13.00 น. เป็นต้นไป) โดยจะเป็นการประกวดต้นเทียนพรรษา เมื่อได้ผู้ชนะของแต่ละอำเภอแล้วทั้งหมดก็จะไปรวมตัวกันบริเวณลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีค่ะ  งานแห่เทียนพรรษาที่อำเภอโชคชัย ใช้ชื่องานว่า “เทศกาลกินหมี่ ประเพณีแห่เทียนพรรษา อำเภอโชคชัย” ส่วนที่อำเภอพิมายใช้ชื่องานว่า “ประเพณีแห่เทียนพรรษา อำเภอพิมาย” ภายในงานของทั้ง 2 อำเภอจะมีมหรสพการแสดง และกิจกรรมต่างๆ มากมายค่ะ วันที่ 27 – 28 กรกฎาคม 2561 จะมีการจัด “งานแห่เทียนพรรษาโคราช” ณ บริเวณอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี เป็นการแห่เทียนพรรษาสุดยิ่งใหญ่ของชาวโคราชค่ะ (ขบวนแห่เริ่มวันที่ 28 กรกฎาคม 2561 เวลา 09.00 น.) โดยจะนำต้นเทียนพรรษาที่ชนะจากทั้ง 2 อำเภอมาแห่ และจัดแสดงให้ชมกันค่ะ  นอกจากนี้ภายในงานยังมีการแสดง แสง สี เสียง รวมทั้งมีผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ของดีเมืองโคราช สินค้าโอท็อปต่างๆ มาให้เพื่อนๆ ได้เลือกชอปเลือกชิมกันตลอดงานเลยค่ะ “ประเพณียายดอกไม้” ครั้งแรกที่แอดได้ยิน็ถึงกับงงเลยทีเดียว ว่านี่คือประเพณีอะไร? ประเพณียายดอกไม้เป็นประเพณีท้องถิ่นของชาวเวียงจันทน์ที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานที่จังหวัดสิงห์บุรีค่ะ คำว่า “ยาย” นั้นเพี้ยนมาจาก คำว่า “หย่าย” ในภาษาลาว แปลว่า การแจกจ่ายหรือการให้ คำว่า “ยายดอกไม้” จึงหมายถึงการให้ หรือถวายดอกไม้แด่พระสงฆ์ เพื่อนำไปบูชาพระพุทธเจ้านั่นเองค่ะ  และในปีนี้ชาวจังหวัดสิงห์บุรีก็ได้จัดงานนี้ขึ้น ภายใต้ธีม “ตักบาตรยายดอกไม้ นุ่งซิ่นไทย-ลาวเวียง” ณ วัดจินดามณี จังหวัดสิงห์บุรี ระหว่างวันที่ 27-28 กรกฎาคม 2561 เวลา 07.00 น.  ภายในงานมีกิจกรรมมากมายไม่ว่าจะเป็น การทอดผ้าป่าดอกไม้ ถวายเทียนพรรษา ชิมอาหารถิ่นสิงห์บุรี ชมการแสดงเต้นบาสโลป และอื่นๆ อีกมากมาย แอดอยากเชิญชวนเพื่อนๆ ไปสัมผัสกับบรรยากาศวัฒนธรรมท้องถิ่นของที่นี่ดูนะคะ ว่าจะมีความงดงามแตกต่างจากวัฒนธรรมที่เพื่อนๆ คุ้นเคยมากน้อยแค่ไหนค่ะ ^^ สำหรับใครที่คิดว่าการแห่เทียนพรรษาทางบกธรรมดาไป ต้องมางานนี้เลยค่ะ “ประเพณีแห่เทียนพรรษาทางน้ำ” ณ คลองลาดชะโด อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา ประเพณีแห่เทียนพรรษาทางน้ำเอกลักษณ์หนึ่งเดียวในอยุธยา  งานจัดขึ้นในวันที่ 27 กรกฎาคม 2561 โดยจะเริ่มแห่ประมาณ 11.00 น. กิจกรรมภายในงานจะมีการประกวดบ้านสวนริมคลอง การแข่งขันกีฬาพื้นบ้านลาดชะโด การจัดแสดงภาพถ่ายวิถีชีวิตชาวลาดชะโด การจำลองบรรยากาศตลาดน้ำย้อนยุค และอื่นๆ อีกมากมาย นอกจากนี้เพื่อนๆ ยังจะได้สัมผัสวิถีชีวิตบ้านริมน้ำอีกด้วยนะคะ “ประเพณีตักบาตรดอกเข้าพรรษา” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 – 28 กรกฎาคม 2561 ณ วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหารจ.สระบุรี ซึ่งเป็นประเพณีที่มีชื่อเสียงเป็นอย่างมากของ จ.สระบุรี นับเป็นประเพณีที่แปลกไม่เหมือนใคร และมีเพียงแห่งเดียวอีกด้วย  โดยในยามเช้าพระสงฆ์จะเดินรับบิณฑบาตรจากพุทธศาสนิกชน ซึ่งจะนำดอกไม้ชนิดหนึ่งมาใส่บาตร ดอกไม้ชนิดนี้จะบานในช่วงเข้าพรรษาพอดี จึงได้ชื่อว่า “ดอกเข้าพรรษา” ค่ะ เชื่อว่าเพื่อนๆ หลายคนอาจจะไม่รู้จักดอกไม้ชนิดนี้ และแอบไปเสิร์ชหารูปจากอินเตอร์เน็ตดู แต่เชื่อเถอะค่ะว่ายังไงก็ไม่สวยเท่าไปเห็นด้วยตาตัวเองหรอกนะคะ ต้องลองไปสัมผัสดูค่ะ สำหรับเพื่อนๆ ที่ไม่อยากเดินทางไปต่างจังหวัด วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามก็เป็นอีกหนึ่งวัดที่จัดกิจกรรมเข้าพรรษาค่ะ

“ท่องเที่ยวอิ่มบุญ…สัมผัสวัฒนธรรมท้องถิ่น” อ่านเพิ่มเติม

ธรรม(ดา) พาทัวร์ ตอน เข้าวัดทำบุญ หนุนนำความสำเร็จ

ธรรม(ดา) พาทัวร์ ตอน เข้าวัดทำบุญ หนุนนำความสำเร็จ ไม่ว่าจะทำสิ่งใด เรื่องเล็ก เรื่องใหญ่ ความสำเร็จ…มักจะเป็นเป้าหมายสูงสุดที่ใครๆ ก็อยากจะไปให้ถึง ธรรม(ดา) พาทัวร์ อาทิตย์นี้ แอดมินจึงอยากแนะนำสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่เมื่อเราไปไหว้พระขอพรแล้วนั้น อานิสงส์จะหนุนนำ ส่งเสริมเรื่องความสำเร็จทั้งปวง แฟนเพจท่านไหนเคยไปสถานที่ใดแล้วประสบผลดังใจหวัง มาคอมเม้นใต้ภาพ บอกต่อกับเพื่อนๆได้เลยนะ อยากไปทำบุญกับใคร กด Like กด Share กด Tag แล้วไปทำบุญกันน ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือ 108 เส้นทางออมบุญ จัดทำโดย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเดินทางครั้งต่อไป อย่าลืมให้เราเป็น “เพื่อนร่วมทาง” ไปกับคุณสอบถามข้อมูลท่องเที่ยวเพิ่มเติมได้ที่ Call Center 1672 วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร สระบุรี ตามคติของคนโบราณกล่าวไว้ว่า หากได้มานมัสการรอยพระพุทธบาท ครบ 7 ครั้ง จะได้ไปจุติในสรวงสวรรค์ แม้แต่ในชาติภพนี้ อานิสงส์ผลบุญจะส่งให้ชีวิตมีความสำเร็จสมหวังในทุกประการ งานเทศกาลนมัสการพระพุทธบาท ปกติจัดปีละ 2 ครั้ง คือขึ้น 8 ค่ำ เดือน 3 จนถึงแรม 1 ค่ำ และขึ้น 8 ค่ำ เดือน 4 จนถึงแรม 1 ค่ำ วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร มีความเชื่อที่ว่า หากได้มาสักการะพระประธานในพระอุโบสถ และพระรูปของสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทที่วัดชนะสงคราม จะทำให้มีชัยชนะเหนือศัตรูและผ่านพ้นอุปสรรคทั้งปวงไปได้ รวมทั้งชีวิตนั้นจะประสบกับความสำเร็จสมตามความมุ่งมาดปรารถนา ไหว้พระประธานในพระอุโบสถ ด้วยธูป 3 ดอก เทียน 3 เล่ม และดอกบัว สำหรับสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ไหว้ด้วยธูป 5 ดอก เทียน 1 เล่ม พร้อมด้วยดอกบัว 1 ดอก วัดพระแก้ว เชียงราย ชาวเชียงรายนิยมมาไหว้พระทำบุญที่วัดพระแก้วนี้ และนมัสการรอยทางอันศักดิ์สิทธิ์แห่งองค์พระแก้วมรกต รวมทั้งยังมาสักการะพระหยกเชียงรายและพระเจ้าล้านทอง เพื่อขอพรให้เกิดความเป็นสิริมงคล ประสบความสำเร็จ มีความรุ่งเรืองยิ่งขึ้นไป ในช่วงวันมาฆบูชา จะมีงานประเพณีแห่โคมไฟไหดอก โดยมีขบวนแห่โคมไฟไหดอกเคลื่อนไปถวายตามวัดต่างๆ ภายในเขตเทศบาลเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา รวมทั้งวัดพระแก้วเชียงรายแห่งนี้ด้วย  วัดสังกัสรัตนคีรี อุทัยธานี ชาวอุทัยธานีเชื่อกันว่า หากได้มากราบไหว้ขอพรพระพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์ที่วิหารนมัสการพระพุทธบาท และสักการะพระราชานุสาวรีย์ปฐมบรมราชชนกบนยอดเขาสะแกกรังนี้แล้ว อานิสงส์ที่ได้คือ ความเป็นสิริมงคล ความสำเร็จสมหวังในความปรารถนา ประสบแต่ความสุขความรุ่งเรืองในชีวิต เทศกาล งานประเพณี งานตักบาตรเทโววัดสังกัสรัตนคีรี ในวันออกพรรษาของทุกปี จะมีพระสงฆ์กว่า 300 รูป ออกบิณฑบาตโดยเดินลงบันไดกว่า 400 ขั้น จากยอดเขาสะแกกรัง นับเป็นงานตักบาตรเทโวที่สวยงาม และยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศไทย วัดบูรพาภิราม ร้อยเอ็ด ชาวร้อยเอ็ดถือว่าพระเจ้าใหญ่นั้นเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง ที่คอยปกป้อง คุ้มครองชาวร้อยเอ็ด ให้มีชีวิตความเป็นอยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข  ด้วยความสูงขององค์พระทำให้เกิดความเชื่อว่า หากได้มากราบไหว้ จะได้อานิสงส์สูงเทียมเมฆเทียมฟ้า ทำการสิ่งใดก็สำเร็จผลด้วยประการทั้งปวง

ธรรม(ดา) พาทัวร์ ตอน เข้าวัดทำบุญ หนุนนำความสำเร็จ อ่านเพิ่มเติม

Scroll to Top