Spread the love

บทความ

  • บทความทั้งหมด
  • Ang Thong
  • Bangkok
  • Bueng Kan
  • Buriram
  • Chachoengsao
  • Chaiyaphum
  • Chiang Rai
  • Chonburi
  • Chumphon
  • Kamphaeng Phet
  • Kanchanaburi
  • Khon Kaen
  • Krabi
  • Lamphun
  • Loei
  • Lopburi
  • Mukdahan
  • Nakhon Pathom
  • Nakhon Phanom
  • Nakhon Ratchasima
  • Nakhon Sawan
  • Nakhon Si Thammarat
  • Nan
  • Nong Bua Lamphu
  • Nong Khai
  • Phang Nga
  • Phetchabun
  • Phetchaburi
  • Phitsanulok
  • Phra Nakhon Si Ayutthaya
  • Phrae
  • Phuket
  • Prachuap Khiri Khan
  • Ranong
  • Ratchaburi
  • Rayong
  • Samut Songkhram
  • Sing Buri
  • Sukhothai
  • Suphan Buri
  • Surat Thani
  • Tak
  • Thailand Reopening
  • Trang
  • Udon Thani
  • Uthai Thani
  • Uttaradit
  • กระบี่
  • กรุงเทพมหานคร
  • กาญจนบุรี
  • กาฬสินธุ์
  • กำแพงเพชร
  • ขอนแก่น
  • จันทบุรี
  • ฉะเชิงเทรา
  • ชลบุรี
  • ชัยนาท
  • ชัยภูมิ
  • ชุมพร
  • ตรัง
  • ตราด
  • ตาก
  • ที่เที่ยวภาคกลาง
  • ที่เที่ยวภาคตะวันตก
  • ที่เที่ยวภาคตะวันออก
  • ที่เที่ยวภาคอิสาน
  • ที่เที่ยวภาคเหนือ
  • ที่เที่ยวภาคใต้
  • นครนายก
  • นครปฐม
  • นครพนม
  • นครราชสีมา
  • นครศรีธรรมราช
  • นครสวรรค์
  • นนทบุรี
  • นราธิวาส
  • น่าน
  • นาราธิวาส
  • บึงกาฬ
  • บุรีรัมย์
  • ปทุมธานี
  • ประจวบคีรีขันธ์
  • ปราจีนบุรี
  • ปัตตานี
  • พระนครศรีอยุธยา
  • พะเยา
  • พังงา
  • พัทลุง
  • พิจิตร
  • พิษณุโลก
  • ภูเก็ต
  • มหาสารคาม
  • มุกดาหาร
  • ยะลา
  • ยโสธร
  • ร้อยเอ็ด
  • ระนอง
  • ระยอง
  • ราชบุรี
  • ลพบุรี
  • ลำปาง
  • ลำพูน
  • ศรีสะเกษ
  • สกลนคร
  • สงขลา
  • สตูล
  • สมุทรปราการ
  • สมุทรสงคราม
  • สมุทรสาคร
  • สระบุรี
  • สระแก้ว
  • สิงห์บุรี
  • สุพรรณบุรี
  • สุราษฎร์ธานี
  • สุรินทร์
  • สุโขทัย
  • หนองคาย
  • หนองบัวลําภู
  • อ่างทอง
  • อุดรธานี
  • อุตรดิตถ์
  • อุทัยธานี
  • อุบลราชธานี
  • อํานาจเจริญ
  • เชียงราย
  • เชียงใหม่
  • เพชรบุรี
  • เพชรบูรณ์
  • เลย
  • แก้ไขปัญหาการท่องเที่ยว
  • แนะนำการท่องเที่ยว
  • แพร่
  • แม่ฮ่องสอน
  • ไม่จัดหมวดหมู่
บทความทั้งหมด
  • บทความทั้งหมด
  • Ang Thong
  • Bangkok
  • Bueng Kan
  • Buriram
  • Chachoengsao
  • Chaiyaphum
  • Chiang Rai
  • Chonburi
  • Chumphon
  • Kamphaeng Phet
  • Kanchanaburi
  • Khon Kaen
  • Krabi
  • Lamphun
  • Loei
  • Lopburi
  • Mukdahan
  • Nakhon Pathom
  • Nakhon Phanom
  • Nakhon Ratchasima
  • Nakhon Sawan
  • Nakhon Si Thammarat
  • Nan
  • Nong Bua Lamphu
  • Nong Khai
  • Phang Nga
  • Phetchabun
  • Phetchaburi
  • Phitsanulok
  • Phra Nakhon Si Ayutthaya
  • Phrae
  • Phuket
  • Prachuap Khiri Khan
  • Ranong
  • Ratchaburi
  • Rayong
  • Samut Songkhram
  • Sing Buri
  • Sukhothai
  • Suphan Buri
  • Surat Thani
  • Tak
  • Thailand Reopening
  • Trang
  • Udon Thani
  • Uthai Thani
  • Uttaradit
  • กระบี่
  • กรุงเทพมหานคร
  • กาญจนบุรี
  • กาฬสินธุ์
  • กำแพงเพชร
  • ขอนแก่น
  • จันทบุรี
  • ฉะเชิงเทรา
  • ชลบุรี
  • ชัยนาท
  • ชัยภูมิ
  • ชุมพร
  • ตรัง
  • ตราด
  • ตาก
  • ที่เที่ยวภาคกลาง
  • ที่เที่ยวภาคตะวันตก
  • ที่เที่ยวภาคตะวันออก
  • ที่เที่ยวภาคอิสาน
  • ที่เที่ยวภาคเหนือ
  • ที่เที่ยวภาคใต้
  • นครนายก
  • นครปฐม
  • นครพนม
  • นครราชสีมา
  • นครศรีธรรมราช
  • นครสวรรค์
  • นนทบุรี
  • นราธิวาส
  • น่าน
  • นาราธิวาส
  • บึงกาฬ
  • บุรีรัมย์
  • ปทุมธานี
  • ประจวบคีรีขันธ์
  • ปราจีนบุรี
  • ปัตตานี
  • พระนครศรีอยุธยา
  • พะเยา
  • พังงา
  • พัทลุง
  • พิจิตร
  • พิษณุโลก
  • ภูเก็ต
  • มหาสารคาม
  • มุกดาหาร
  • ยะลา
  • ยโสธร
  • ร้อยเอ็ด
  • ระนอง
  • ระยอง
  • ราชบุรี
  • ลพบุรี
  • ลำปาง
  • ลำพูน
  • ศรีสะเกษ
  • สกลนคร
  • สงขลา
  • สตูล
  • สมุทรปราการ
  • สมุทรสงคราม
  • สมุทรสาคร
  • สระบุรี
  • สระแก้ว
  • สิงห์บุรี
  • สุพรรณบุรี
  • สุราษฎร์ธานี
  • สุรินทร์
  • สุโขทัย
  • หนองคาย
  • หนองบัวลําภู
  • อ่างทอง
  • อุดรธานี
  • อุตรดิตถ์
  • อุทัยธานี
  • อุบลราชธานี
  • อํานาจเจริญ
  • เชียงราย
  • เชียงใหม่
  • เพชรบุรี
  • เพชรบูรณ์
  • เลย
  • แก้ไขปัญหาการท่องเที่ยว
  • แนะนำการท่องเที่ยว
  • แพร่
  • แม่ฮ่องสอน
  • ไม่จัดหมวดหมู่

ชุมชนบ้านบาตร

บ้านบาตรเป็นชุมชนตีบาตรที่มีชื่อเสียงมากในอดีต ใครต้องการซื้อหาบาตรถวายพระสงฆ์ หรือใช้ในงานบวชก็ต้องมาที่บ้านบาตร จนเมื่อการผลิตบาตรแบบปั๊มแพร่หลาย และมีราคาถูกกว่าบาตรแบบตีด้วยมือ จึงทำให้บาตรแบบตีด้วยมือขายได้น้อยลง ช่างตีบาตรในชุมชนจึงทะยอยเลิกตีบาตรกันไป เหลือเพียงไม่กี่ครอบครัว ก่อนจะกลับมาฟื้นฟูกันใหม่ ปัจจุบันมีช่างอยู่ประมาณ 30 คนแล้ว ชุมชนบ้านบาตรไม่เพียงสืบสานการตีบาตรด้วยมือ แต่ยังพัฒนาพื้นที่เป็นแหล่งเรียนรู้อีกด้วย ทั้งในเรื่องความเป็นมา และขั้นตอนการผลิต นับว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวแนวอนุรักษ์ชุมชนที่น่าสนใจ แต่น่าเสียดายที่มีน้อยคนมากที่รู้จัก บาตรของชุมชนบ้านบาตร เป็นบาตรที่ตรงตามหลักพระธรรมวินัย คือ เป็นบาตรบุหรือบาตรที่ทำด้วยมือ และประกอบด้วยเหล็ก 8 ชิ้น ซึ่งเหตุที่ต้องเป็น 8 ก็เพราะบาตรเป็นหนึ่งในอัฐบริขาร 8 ของพระภิกษุ แต่เดิมนั้น พระวินัยบัญญัติว่าวัสดุที่นำมาทำบาตรมี 2 ชนิดเท่านั้น คือ ดินเผา และเหล็กรมดำ แต่ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไป จึงมีการอนุโลมให้ใช้สแตนเลสได้ เพราะดูแลทำความสะอาดง่าย แอดได้มีโอกาสเข้าไปพูดคุยกับช่างทำบาตร คุณลุงคุณป้าใจดีพร้อมให้ความรู้เรื่องบาตรแบบจัดเต็มเลยค่ะ หากใครมีโอกาส เข้าไปเที่ยวชมกันเยอะ ๆ นะคะ ขั้นตอนการทำบาตรมีทั้งหมด 8 ขั้นตอน คือ 1 การทำขอบบาตร 2 การประกอบกง หรือทำโครงของบาตร 3 การเชื่อมบาตร 4 การตีตะเข็บบาตร 5 การลายบาตร 6 การตีเม็ดให้เรียบ 7 การตะไบบาตร 8 การระบมบาตรหรือการสุม เพื่อไม่ให้บาตรเป็นสนิม ซึ่งแต่ละขั้นตอนก็ต้องอาศัยช่างผู้ชำนาญ เรียกว่ามากันหมดหมู่บ้านละค่ะ ทั้งช่างตีขอบ ช่างต่อบาตร ช่างเชื่อม ฯลฯ แอดบอกเลยว่ากว่าจะได้บาตรสักใบต้องใช้ความอดทน หัวใจ ความเชื่อและความศรัทธามาก ๆ และปัจจุบันนี้ นับได้ว่ามีที่นี่ที่เดียวที่ยังคงทำบาตรแฮนด์เมด ซึ่งเมื่อเทียบกับบาตรปั๊ม บาตรตีด้วยมือนั้นทนทานมากกว่า ใช้ได้นานหลายสิบปี และที่น่าประทับใจอีกอย่างคือ ตอนเคาะจะมีเสียงกังวานใสกิ๊งเหมือนเสียงระฆังเลยค่ะ คุณลุงคุณป้าบอกแอดว่าที่นี่ยังมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ มาทั้งทีไปไหว้ขอพรกันสักหน่อย “ศาลพ่อปู่” เป็นที่เคารพและที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวบ้านบาตร .การเดินทาง– MRT ลงสถานีสามยอด จากนั้นเดินต่อไปยังถนนบริพัตร ประมาณ 800 เมตรก็จะถึงชุมชนบ้านบาตร– เรือ โดยสารเรือคลองแสนแสบลงที่ท่าเรือผ่านฟ้าลีลาศ จากนั้นเดินต่อไปยังถนนบริพัตร ประมาณ ...
อ่านเพิ่มเติม

สุขทุกวัน..จันทบุรี

สงกรานต์นี้ถ้ายังไม่มีโปรแกรมจะไปไหน แนะนำให้ลองมาสัมผัสเมืองเล็กๆ ที่มีเสน่ห์แห่งภาคตะวันออก มาเล่นกับน้องโลมาแสนรู้สุดน่ารัก มาลองประสบการณ์พาย SUP Board ริมน้ำจันทบูร มาเที่ยวชมและชิมผลไม้แสนอร่อยจากสวน ปิดท้ายด้วยลองอาหารขึ้นชื่ออย่างก๋วยเตี๋ยวกั้งเนื้อแน่นๆ เดินทางก็ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ จะนั่งรถโดยสารสาธารณะหรือขับรถชิลๆ มาเที่ยวก็สะดวกมากๆ ถ้าอยากรู้ว่าฟินขนาดไหน ลองมาสุขทุกวันที่จันทบุรีเลยค่า OASIS SEA WORLD.โอเอซีส ซีเวิลด์ สถานที่เพาะพันธุ์โลมา ห่างจากตัวเมืองประมาณ 30 กิโลเมตร ที่นี่มีน้องโลมา 2 สายพันธุ์ คือ โลมาปากขวดหรือโลมาสีชมพู และโลมาหัวบาตรหรือโลมาอิระวดี มีการจัดแสดงโชว์โลมา และกิจกรรมที่ห้ามพลาดสุดประทับใจ นั่นคือการได้ลงเล่นน้ำกับน้องโลมาแสนรู้ที่รับรองว่าต้องร้องว้าวววววววว ช่วงนี้มีโปรโมชั่น เพียง 999.- จากปกติ 2,500.- กิจกรรมพาย SUP Board ล่องแม่น้ำ ชมชุมชนริมน้ำจันทบูร สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา.พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำขนาดเล็ก เปิดให้เข้าชมกันอย่างฟรีๆ โดยไม่เสียค่าเข้าชม ภายในมีปลาท้องถิ่น ปลาหายาก สัตว์น้ำ ทั้งหมด 36 ตู้ เดินลอดอุโมงค์ปลากันแบบเพลินๆ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนอ่าวคุ้งกระเบน.สะพานเดินศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนอ่าวคุ้งกระเบน บนเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ระยะทาง 1,600 เมตร ทอดผ่านป่าชายเลนที่มีพันธุ์ไม้หลายชนิด ปลายทางอยู่ที่ศาลาชมวิวซึ่งยื่นล้ำออกไปกลางอ่าว เป็นจุดที่มองเห็นทัศนียภาพของป่าชายเลนขนานไปกับท้องทะเลที่สวยงาม ผลไม้ จันทบุรี.จันทบุรีเมืองแห่งราชาผลไม้ (มังคุด) และราชินีผลไม้ (ทุเรียน) นอกจากนี้ยังมีเงาะ ลองกอง สละ สายพันธุ์ดีให้นักท่องเที่ยวชิมและติดไม้ติดมือเป็นของฝาก ช่วงที่น่าสนใจในคือเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคมของทุกปี สวนผลไม้จะเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมสวนพร้อมทานผลไม้แบบบุฟเฟต์ในราคาที่ไม่แพงเลย คุ้มยิ่งกว่าคุ้ม!!! ก๋วยเตี๋ยวกั้ง.หนึ่งเมนูที่ต้องห้ามพลาดเมื่อมาถึงจันทบุรี กั้งสดๆ เนื้อแน่นๆ น้ำซุปเด็ดๆ โอยยยยย หิวเลยทีเดียว
อ่านเพิ่มเติม

Woodland เมืองไม้ นครปฐม

ก่อนจะถึงวันหยุดนี้ แอดมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจมาแนะนำเพื่อน ๆ ให้ชมกันค่ะ . ที่ Woodland เมืองไม้ เป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงงานประติมากรรมไม้แกะสลักตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่มากกว่า 2,000 ชิ้น ซึ่งเป็นงานสะสมของอาจารย์ณรงค์ ทิวไผ่งาม ที่เริ่มสะสมมาตั้งแต่บรรพบุรุษ สืบสานต่อกันมาจนถึงปัจจุบันรวม 150 ปีเลยทีเดียว ก่อนเราจะไปชมกัน แอดขอเล่าความเป็นมาของที่นี่ก่อนว่า ครอบครัวทิวไผ่งามนั้นชื่นชอบในงานไม้เป็นอย่างมาก ซึ่งมีการสะสมงานไม้ต่าง ๆ จากรุ่นสู่รุ่นรวมถึง 4 รุ่น รวมแล้วราว ๆ 150 ปี!!.การสะสมในรุ่นแรก ๆ จะเป็นเสาไม้เก่า งานแกะสลักชิ้นเล็ก ๆ และด้วยความคิดที่ว่า “ถ้าไม่เก็บไว้ ต่อไปจะหาไม่ได้อีก” จึงทำให้เริ่มสะสมงานไม้แกะสลักอย่างจริงจัง น้อยคนนักที่จะได้เห็นของสะสมเหล่านี้ ต่อมาปี 2536 ก็ได้รับคำแนะนำว่าควรจะเปิดให้คนทั่วไปได้เห็นงานศิลปะอันงดงามเหล่านี้ อาจารย์ณรงค์และคุณอุษา (ภรรยา) จึงได้ริเริ่มโครงการ Woodland ขึ้นมา.จนมาถึงปี 2551 ดร.ณัฐกฤษฎ์ (บุตรชายของอาจารย์ณรงค์และคุณอุษา) ได้เข้ามาสานต่อโครงการนี้ให้สำเร็จ โดยจัดรูปแบบโครงการให้เข้าถึงผู้เข้าชมได้ทุกกลุ่ม ที่เมืองไม้แห่งนี้ถูกจัดออกเป็น 3 โซนหลัก ๆ ด้วยกัน มีการจัดและคัดหมวดหมู่งานสะสมออกมาถึง 10 หมวด ผูกเป็นเรื่องราวผจญภัยได้อย่างน่าสนใจ ว่าแล้วก็ไปชมกันเลยดีกว่าจ้าาา โซนแรกไปชมที่ “นิทานเมืองไม้”.อาคารจัดแสดงหลักที่โชว์งานไม้สะสมมากกว่า 2,000 ชิ้น มาจัดแสดงโดยการนำงานไม้แกะสลักแต่ละชนิดมาผูกเป็นเรื่องราวได้น่าสนใจ ประกอบกับแสงสีเสียงตระการตาระหว่างรับชม โดยแต่ละห้องจะเล่าเป็นเรื่องราวความเป็นมาของโลกและสวรรค์ ประกอบไปด้วยงานไม้แกะสลักสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ความเชื่อเกี่ยวกับเทพและสัตว์ในตำนาน ศาสนาต่าง ๆ.บอกเลยว่างานไม้แกะสลักแต่ละชิ้น นอกจากจะหาดูได้ยากแล้ว บางชิ้นยังเป็นของที่มีชิ้นเดียวในโลกอีกด้วย ครัวเมืองไม้ .โซนถัดมาคือร้านอาหารและคาเฟ่ที่ตั้งอยู่ติดริมน้ำ บรรยากาศดีมาก ถึงช่วงกลางวันแดดจะร้อนมาก ๆ แต่แอดมานั่งพักผ่อนจิบน้ำเย็น ๆ ที่นี่ก็คลายร้อนได้ดีเลยล่ะ ครัวเมืองไม้ให้บริหารอาหารจานหลัก อาหารทานเล่นและของหวานแบบไทยประยุกต์.สำหรับเพื่อน ๆ คนไหนที่มารับประทานอาหารที่ครัวเมืองไม้แห่งนี้ ได้สิทธิ์เข้าชมนิทานเมืองไม้ฟรี!! .ขอบคุณรูปภาพสวย ๆ จากเพจ Woodland เมืองไม้ บ้านคุณณรงค์ เครื่องดื่มก็มีหลายเมนูเลยนะ ครัวเมืองไม้ เปิดทุกวัน เวลา 09.00-21.00 น. เมืองไม้รีสอร์ต .โซนที่สาม เป็นพื้นที่ที่ให้บริการห้องพักสุดหรูสไตล์บูติกรีสอร์ต ...
อ่านเพิ่มเติม

1 Day trip นั่งรถไฟไปเที่ยวนครปฐม

1 Day trip นั่งรถไฟไปเที่ยวนครปฐม . กลับมาอีกครั้งกับการนั่งรถไฟไปเที่ยว คราวที่แล้วถ้าเพื่อน ๆ ยังพอจำกันได้ แอดพานั่งรถไฟไปเที่ยวฉะเชิงเทรา ส่วนครั้งนี้แอดจะพาไปเที่ยวจังหวัดนครปฐมกันค่ะ ไปดูกันดีกว่าว่าใน 1 วัน เราจะไปเที่ยวที่ไหนได้บ้าง 1. สถานีรถไฟนครปฐม2. สะพานเจริญศรัทธา (สะพานยักษ์)3. ตลาดบน-ตลาดล่าง4. องค์พระปฐมเจดีย์5. ครัวอภิรัตต์ ต้นสน6. Junkyard Car’fé7. พระราชวังสนามจันทร์8. ตลาดโต้รุ่งองค์พระปฐมเจดีย์ **สถานที่ท่องเที่ยวแต่ละแห่งอยู่ไม่ไกลกันมาก สามารถเดินหรือนั่งมอเตอร์ไซค์รับจ้างไปได้ค่ะ** การนั่งรถไฟไปเที่ยวจังหวัดนครปฐม สามารถนั่งรถไฟจากสถานีธนบุรีไปได้ มีรถไฟออกเวลา 07.30 น. และ 07.45 น. – ขบวนรถไฟธรรมดา 255 (ธนบุรี-หลังสวน จ.ชุมพร) ออกจากสถานีธนบุรี เวลา 07.30 น. ถึงสถานีนครปฐม เวลา 08.40 น. ค่าโดยสาร 10 บาท – ขบวนรถไฟธรรมดา 257 (ธนบุรี-น้ำตก จ.กาญจนบุรี) ออกจากสถานีธนบุรี เวลา 07.45 น. ถึงสถานีนครปฐม 08.51 น. ค่าโดยสาร 10 บาท.เรียกว่านั่งรับลมเพลิน ๆ ก็ถึงสถานีนครปฐมแล้วค่ะ อันดับแรกแอดจะพาไปวัดพระปฐมเจดีย์เพื่อกราบสักการะองค์พระปฐมเจดีย์และพระร่วงโรจนฤทธิ์ เดินจากสถานีรถไฟนครปฐมประมาณ 100 เมตร จะผ่านสะพานเจริญศรัทธา หรือที่ชาวนครปฐมเรียกกันว่า สะพานยักษ์ เป็นสะพานข้ามคลองเจดีย์บูชามีอายุกว่า 100 ปี สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เพื่อเชื่อมระหว่างสถานีรถไฟกับองค์พระปฐมเจดีย์ ข้ามสะพานยักษ์มาจะเจอกับ “ตลาดบน-ตลาดล่าง” เป็นตลาดใหญ่ประจำเมืองนครปฐม มีทั้งร้านอาหาร ร้านขนม ร้านขายของสด ของแห้ง ผลไม้ และข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ถ้ารู้สึกหิว ที่นี่มีร้านอร่อยหลายร้านให้ฝากท้องกันได้ เช่น ข้าวหมูแดงร้านตั้งฮะเส็ง ข้าวหมูแดงร้านนายฉั้ว และร้านสุกี้คุณเตือน ...
อ่านเพิ่มเติม

TRAVELLING BY TRAIN TO NAKHON PATHOM – A DAY FULL OF FUN AND FOOD

Travelling by train to Nakhon Pathom – a day full of fun and food...
อ่านเพิ่มเติม

ของดีนครปฐม

นครปฐมนับเป็นอีกหนึ่งจังหวัดท่องเที่ยวยอดนิยม เพราะมีสถานที่ท่องเที่ยวหลากหลาย อาหารอร่อย เดินทางสะดวก จะท่องเที่ยวแบบค้างคืน หรือไปเช้าเย็นกลับก็สนุกได้ไม่แพ้กัน . นอกจากได้เที่ยวสนุกแล้ว จะให้ครบสูตรก็ต้องไปช้อปปิ้งของฝากด้วย วันนี้แอดจะมาแนะนำของดีน่าช้อปของนครปฐมให้เพื่อน ๆ ได้ทราบกัน ใครชอบแบบไหน ตามไปซื้อกันได้เลยย ส้มโอ.ส้มโอขึ้นชื่อของจังหวัดนครปฐมมีอยู่ 2 สายพันธุ์ นั่นก็คือ ส้มโอพันธุ์ทองดี และพันธุ์ขาวน้ำผึ้ง ด้วยลักษณะดินและภูมิอากาศทำให้ส้มโอที่นี่มีรสชาติดี ไม่ขม สามารถหาซื้อได้ในตัวจังหวัด และตามตลาดต่าง ๆ เช่น ตลาดโต้รุ่งองค์พระปฐมเจดีย์ ตลาดท่านา ตลาดนครชัยศรี ตลาดน้ำดอนหวาย เป็นต้น ข้าวหลาม  เพื่อน ๆ สนใจอยากลองรสชาติข้าวหลามที่มีความเป็นมายาวนานกว่า 100 ปีไหม? มาที่ร้าน “ข้าวหลามแม่ลูกจันทร์” นี่เลย ข้าวหลามชื่อดังของนครปฐมเจ้านี้ยังคงใช้กรรมวิธีการทำแบบดั้งเดิม โดยเผาข้าวหลามด้วยเตาถ่านอิฐแดงเป็นรางยาวแบบโบราณ ด้วยไฟรุม ๆ ทำให้ข้าวหลามสุกทั่ว ไม่มีส่วนดิบ ปัจจุบันกลายเป็นของอร่อยขึ้นชื่อที่ใครมานครปฐมแล้วต้องมาลองชิม.บริเวณสถานีรถไฟนครปฐมมีร้านข้าวหลามอร่อย ๆ อยู่หลายร้านเลยนะ หากเพื่อน ๆ เดินผ่านร้านไหนแล้วอยากซื้อมาชิมก็จัดไป รับรองว่าอร่อยไม่แพ้กัน .เปิดทุกวัน เวลา 08.00 – 14.00 น.ที่ตั้ง หน้าร้านทองจินดา 5 ถ.ซ้ายพระ ต.พระปฐมเจดีย์ อ.เมือง จ.นครปฐมโทร. 09 6295 6591 หมูแปรรูป .นครปฐมไม่ได้ขึ้นชื่อเฉพาะข้าวหมูแดงเท่านั้น ผลิตภัณฑ์หมูแปรรูปต่าง ๆ เช่น กุนเชียง หมูหยอง หมูแผ่น ก็ได้รับความนิยม ซื้อหากลับไปเป็นของฝากเช่นกัน ร้านที่แอดจะแนะนำก็คือ “ตั้ง ฮะ เฮง” รับประกันความอร่อยด้วยรางวัลโอท็อปห้าดาว ของจังหวัด ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากหมูให้เลือกมากกว่า 10 ชนิด และยังสั่งซื้อออนไลน์ได้อีกด้วย.แต่ถ้าใครไม่สะดวกไปที่ร้าน เพื่อน ๆ ลองเดินดูที่ตลาดบน-ตลาดล่าง แหล่งช้อปของฝากสุดฟินดูได้ มีหลายร้านที่ขายผลิตภัณฑ์หมูแปรรูปเช่นกัน.เปิดทุกวัน เวลา 09.00 – 19.00 น.ที่ตั้ง ตลาดล่าง ซอย 7 ต.พระปฐมเจดีย์ ...
อ่านเพิ่มเติม

เกาะล้านแบบสับ!

เกาะล้านแบบสับ!  สวัสดีเพื่อน ๆ ทุกคน วันนี้แอดมีที่เที่ยวสุดว้าวใกล้กรุงเทพฯ มานำเสนอ นั่นก็คือ เกาะล้านนั่นเอง! เที่ยวเเบบชิล ๆ One Day Trip ขอบอกเลยว่ามันว้าวสุด ๆ น้ำทะเลใสยิ่งกว่ากระจกอีกนะ…จะบอกให้  เราเริ่มต้นทริปในครั้งนี้ด้วยการนั่งสปีดโบ๊ทส่วนตัวจากท่าเรือแหลมบาลีฮาย มุ่งหน้าไปยังหาดเทียน เกาะล้าน จังหวัดชลบุรี ใช้เวลาเพียง 20 นาทีเท่านั้น หาดเทียนเป็นหาดเล็ก ๆ คนน้อย และที่สำคัญคือน้ำใสมาก! มีบริการเรือคายัคใส SUP Board และเครื่องเล่นกิจกรรมทางน้ำต่าง ๆ สุดฟิน แถมมีมุมถ่ายรูปสวย ๆ เยอะมากกกกกก ส่วนช่วงบ่ายเราก็แวะไปดำน้ำแบบ Snorkeling เบา ๆ ที่เกาะไผ่ ดูฝูงน้องปลาว่ายน้ำ ปะการังก็สวยไปอีก  บอกเลยว่ามาเกาะล้านครั้งนี้คุ้มสุด ๆ ชวนเพื่อนมาเที่ยวกันเยอะ ๆ น้า เมื่อมาถึงที่เกาะล้าน สิ่งแรกที่เราได้พบก็คือฝูงน้องห่านที่กำลังว่ายน้ำเล่นอยู่อย่างสนุกสนาน น่ารักมาก ๆ เลยยยยย  ต้องบอกเลยว่าน้ำทะเลที่นี่ใสมากจริง ๆ เลิฟสุด ๆ แล้วที่นี่ก็มีเรือคายัคใสให้บริการด้วยนะ เก๋กู๊ดไม่เหมือนใคร หรือจะเล่น SUP Board เท่ ๆ ก็ได้ ได้เจอน้องห่านอีกเเล้ว มาแล้วก็อย่าลืมถ่ายรูปชิค ๆ กับเรือคายัคใสกลับไปอวดเพื่อน ๆ ด้วยนะ เห็นแบบนี้เเล้วอยากแช่น้ำทะเลทั้งวันเลย อีกหนึ่งจุดที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ชอบเล่นสไลเดอร์ เเละนี่ก็คือเกาะไผ่ เดี๋ยวเราจะมาดำน้ำที่เกาะนี้กัน เมื่อดำน้ำลงไปแล้ว ก็จะเจอกับน้องปลาตัวเล็ก ตัวน้อยเต็มไปหมด หมู่ปะการังก็ยังคงไว้ซึ่งความสมบูรณ์สวยงามมาก ๆ ว้าวสุด ๆ ไปเลย ส่งท้ายด้วยภาพพระอาทิตย์ตกดินยามเย็น จบ One Day Trip ลงไปด้วยความสุข
อ่านเพิ่มเติม

ลัดเลาะเที่ยวชุมชนกุฎีจีน

เวลาหนึ่งวัน เราจะปล่อยให้เป็นวันธรรมดา หรือจะเปลี่ยนให้เป็นวันที่น่าจดจำก็ได้ เพียงแค่ออกไปเดินเที่ยวสบาย ๆ วันธรรมดาก็กลายเป็นวันชิลล์ ๆ แล้ว ถ้ายังนึกไม่ออกว่าจะไปไหน ตามแอดมา แอดจะพาไปเดินเล่น ลัดเลาะตามตรอกซอกซอยของย่านชุมชนที่มีชีวิตชีวาอย่าง “ชุมชนกุฎีจีน” กัน ชุมชนกุฎีจีน.ชุมชนกุฎีจีนหรือกะดีจีน เป็นย่านชุมชนเก่าแก่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งธนบุรี มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ ศาสนาและวัฒนธรรมมากที่สุดแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ในชุมชนมีทั้งชาวไทย จีน ฝรั่ง เข้ามาตั้งรกรากตั้งแต่สมัยก่อตั้งกรุงธนบุรี ภายในชุมชนก็จะมีตรอกซอกซอยเยอะมาก ทุกมุมล้วนมีชีวิตชีวา มี Graffiti มีบ้านสวย ศาลเจ้าเก่าแก่ โบสตถ์คริสต์ พิพิธภัณฑ์ชุมชนรวมทั้งร้านอร่อย ทั้งคาวทั้งหวานน่ากินไปหมด นี่คงเป็นหนึ่งเหตุที่ทำให้มีนักท่องเที่ยวแวะเวียนไปไม่ขาดสาย วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร.สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 เป็นวัดเก่าแก่ มีความงดงามตามแบบฉบับสถาปัตยกรรมผสมผสานไทยและจีน ไฮไลท์คือมีพระพุทธรูปองค์ใหญ่ พระพุทธไตรรัตนนายก หรือ หลวงพ่อโต หรือที่รู้จักกันในหมู่ชาวจีนว่า ซำปอกง ประดิษฐานอยู่ในพระวิหาร ส่วนภายในพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธรูปปางปาลิไลยก์ นับเป็น 1 ใน 2 วัดในกรุงเทพฯเท่านั้นที่มีพระประธานปางปาลิไลยก์.ผู้คนนิยมมาสักการะบูชาเพื่อขอพรให้เดินทางปลอดภัยและขอให้มีมิตรที่ดีตามชื่อของวัดแห่งนี้.เปิดทุกวัน เวลา 06.00-17.00 น.โทร. 0 2466 4643 โบสถ์ซางตาครู้ส.คำว่า ซางตาครู้ส หมายถึง ไม้กางเขนศักดิ์สิทธิ์ ตามพิธีสักการะบูชาของศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิกโบสถ์ซางตาครู้สสร้างขึ้นในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เพื่อให้เป็นศาสนสถานของชาวโปรตุเกส ตั้งแต่ปี พ.ศ.2313 โดยโบสถ์หลังแรกเป็นโบสถ์ไม้ จนเมื่อปี พ.ศ.2376 เกิดเพลิงไหม้ชุมชนและโบสถ์ จึงต้องสร้างโบสถ์ขึ้นใหม่ จนเมื่อ พ.ศ. 2456 โบสถ์หลังดังกล่าวก็เก่าทรุดโทรมมากเกินกว่าจะซ่อมแซม จึงมีการก่อสร้างใหม่ นั่นก็คือโบสถ์หลังปัจจุบัน ซึ่งแล้วเสร็จใน พ.ศ. 2459 มีรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบเรอเนซองส์และนีโอคลาสิก พร้อมยอดโดมที่จำลองมาจากมหาวิหารฟลอเรนซ์ ในประเทศอิตาลี จึงถือว่าเป็นวัดคริสต์ที่มีความเก่าแก่มากอยู่คู่กรุงเทพฯ บ้านวินเซอร์.บ้านวินเซอร์ หรือบ้านขนมปังขิงแห่งนี้เป็นบ้านเก่าแก่อีกหลังที่ใครมาเที่ยวกุฎีจีนก็จะถ่ายรูปไว้เสมอ แต่เดิมบ้านนี้เป็นบ้านไม้ที่ซื้อมาจากที่อื่น แล้วนำมาปลูกสร้าง ลักษณะคือบ้านไม้ 2 ชั้น โดดเด่นด้วยลายขนมปังขิง ภายนอกประดับตกแต่งตามตำแหน่งหน้าจั่ว ชายคาโดยรอบ กันสาด หน้าต่างด้านข้างของตัวบ้าน.ปัจจุบันบ้านหลังนี้ ไม่มีใครอาศัยอยู่ หากมองจากริมแม่น้ำจะมองเห็นตัวบ้านทั้งหลัง ในอดีตบ้านหลังนี้จะคงสวยงามมาก ๆ เลยล่ะ ทั้งรูปแบบสถาปัตยกรรมและลวดลายฉลุ ...
อ่านเพิ่มเติม

เที่ยวย้อมใจ ไปสกลนคร : ครามรุณณี ย้อมครามด้วยใจ ตอนที่ 2

หลังจากผ่านขั้นตอนการเข็นฝ้ายไปแล้ว คุณยายจะพาไปทำอะไรต่อ ติดตามกันได้เลย ตั้งหม้อคราม สิ่งหนึ่งที่ฉันค่อยๆสัมผัสระหว่างนั่งชมแม่ๆยายๆทั้งเข็นทั้งทอฝ้ายให้ชมคือความอบอุ่นในครอบครัว ที่ทุกคนต่างมาช่วยกันในทุกๆกระบวนการ ซึ่งระหว่างที่กำลังสาธิตการเข็นฝ้าย สามีพี่รุณณีก็ง่วนอยู่กับการตัดใบมะม่วง และเตรียมส่วนผสมไว้ตั้งหม้อคราม ส่วนลูกสาวก็ช่วยตั้งไฟเตรียมต้มน้ำสำหรับย้อมร้อน ท่ามกลางเสียงหัวเราะและยิ้มแย้มกันตลอดเวลา อดรู้สึกไม่ได้ว่าผ้าครามบ้านนี้ต้องมีความรักเป็นส่วนผสมด้วยแน่ๆ พี่รุณณีอธิบายเรื่องการย้อมให้ฟังว่ามีทั้งแบบย้อมร้อน และย้อมเย็น ซึ่งการย้อมร้อนของพี่รุณณีใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติในการย้อมทั้งหมด และเน้นเฉพาะส่วนใบ ดอก ผล ที่จะไม่ไปทำลายต้นไม้หรือไปตัดโค่น ซึ่งพืชอื่นที่นำมาย้อมก็เช่น ใบมะม่วง กาบมะพร้าวน้ำหอม ผลกระบก ใบสัก ใบยูคาลิปตัส ประดู่ ผลคำแสด ใบสาบเสือ ใบขี้เหล็ก ฯลฯ เอามาต้มโดยอาจจะเติมปูนแดง หรือสารส้ม และเกลือเข้าไปเพื่อช่วยดึงสีสันและติดคงทนกับเส้นฝ้าย ส่วนการย้อมครามจัดเป็นการย้อมเย็น พี่รุณณีเล่าว่าสมัยก่อนในหนึ่งหม้อครามมี 3 รสถึงจะกลมกล่อม คือ เปรี้ยวจากมะขาม หวานจากกล้วยหรือน้ำตาล และเค็มจากน้ำขี้เถ้า ส่วนสูตรของพี่รุณณีมีส่วนผสมของเนื้อคราม ปูนแดง น้ำขี้เถ้า เอามาขยำๆผสมกัน จากนั้นย้ายลงหม้อ ตามด้วยน้ำมะขามเปียกที่ต้มมาเดือดๆ เทตามลงไป จากนั้นใช้ขัน ตักน้ำเทออกไปเรื่อยๆ หรือเรียกว่าโจกคราม แค่ 5-10 นาที ก็จะขึ้นฟอง ส่วนน้ำครามจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองสด ซึ่งช่วงนี้พี่รุณณีเอ่ยปากชมตลอดว่าสีสวยมาก จากนั้นก็ปิดฝา ทิ้งให้เย็น นี่แหละการตั้งหม้อคราม เดี๋ยวก่อนนน! มีหม้อครามแล้วไม่มีผ้าย้อมครามได้ไง หลังจากคุณยายสอนฉันทอผ้าจนอ่อนใจ เพราะกว่าจะพุ่งได้แต่ละเส้นต้องลุ้นไม่แพ้วันหวยออก พี่รุณณีเลยชวนมาพับผ้ามัดย้อมกันระหว่างรอหม้อย้อมเย็นและย้อมร้อนได้ที่ ซึ่งก็ไม่ต้องเน้นทฤษฎี เราเน้นตามใจชอบ แต่พี่รุณณีก็จะคอยไกด์ว่าอยากได้ลายยังไง แกก็จะบอกให้ลองมัดแบบนั้นแบบนี้ จากนั้นก็นำไปจุ่มน้ำและเอาไม้ตีให้น้ำเข้าเส้นใย เสร็จแล้วเอาลงไปขยำๆ อยากได้เข้มๆก็แช่ไว้ โดยเฉพาะย้อมร้อนด้วยใบมะม่วงที่พี่รุณณีสาธิตด้วยใจฝ้าย พอยกขึ้นมาได้สีเหลืองอมเขียว สวยมากๆ จากนั้นก็นำไปผึ่งให้แห้ง รอชื่นชมผลงาน  ถนนผ้าคราม หลายคนเรียกที่นี่ว่า ถนนผ้าคราม เป็นกิจกรรมถนนคนเดินที่จัดทุกเย็นวันเสาร์-อาทิตย์ แต่ถึงจะมาในวันธรรมดา ถนนสายนี้ก็มีร้านจำหน่ายผ้าย้อมครามสกลนคร เรียงรายอยู่หลายร้าน เพียงแต่ถ้าเป็นวันหยุดจะมีร้านรวงอื่นๆ และกิจกรรมพิเศษให้ชม ซึ่งหลังจากที่เราทำกิจกรรมย้อมครามกันมาทั้งวัน พี่รุณณีก็ใจดีขับรถพาฉันเข้าเมืองมาเดินเล่นผ่อนคลายซักหน่อย ถนนผ้าครามสายนี้อยู่ด้านหน้าวัดพระธาตุเชิงชุม เราจึงแวะสักการะพระธาตุเชิงชุมเพื่อความเป็นสิริมงคลก่อน จากนั้นพวกเราก็เดินเล่นชมบรรยากาศกันไปเรื่อยๆ ซึ่งตามตรอกซอกซอยก็ยังมีหลายบ้านที่ตั้งหม้อย้อมครามกันแบบเล็กๆ น่ารัก เป็นสังคมคนทำผ้าย้อมครามที่อบอุ่น พี่รุณณีเดินไปทางไหนก็ทักทายทุกคนทุกร้าน ส่วนฉันเอง ก็อดไม่ได้ที่จะแวะดูเสื้อผ้าย้อมคราม รวมทั้งกระเป๋า และพวกเครื่องประดับต่างๆ เรียกว่าได้แต่งตัวผู้ไทมาโพสต์ท่าสวยๆ ...
อ่านเพิ่มเติม

เที่ยวย้อมใจ ไปสกลนคร: ครามรุณณี ย้อมครามด้วยใจ ตอนที่ 1

มีคนบอกว่าเที่ยวอีสานให้ลองมาหน้าฝน จะได้ชุ่มฉ่ำกับสายฝน ทุ่งนา กลิ่นดิน และสายหมอก จะว่าไปฉันก็กำลังอยากเปลี่ยนที่หย่อนตัว นอนเล่นซักคืนสองคืนพอดี แต่จะไปที่ไหนดีน้าาา… ตัดสินใจได้ เช้าตรู่วันนั้น ฉันเลยเช็คอินขึ้นเครื่อง มุ่งหน้าสู่ จังหวัดสกลนคร ถึงจะเคยมาเยือนถิ่นผ้าย้อมครามหลายครั้ง แต่คราวนี้ตั้งใจจะมากินนอนข้างหม้อย้อมให้ฟินแบบลึกซึ้ง กันไปเลย หม้อครามในตำนาน ฉันแบกเป้ลงจากเครื่องมาไม่นาน พี่รุณณี เจ้าของแบรนด์ “ครามรุณณี” ก็ยิ้มกว้าง โบกมือให้กระโดดขึ้นรถไปด้วยกัน แรกๆ เราก็ทักทายกันเขินๆ แต่ด้วยอัธยาศัยที่เป็นกันเองสุดๆของพี่รุณณี ทำให้ฉันรู้สึกสบายใจมากๆ พร้อมกับความตื่นเต้นที่จะได้ค้นพบพื้นที่เรียนรู้แห่งใหม่รออยู่ไม่ไกลที่บ้านหนองไผ่ อ.พรรณานิคม ระหว่างทาง พี่รุณณีพาเลี้ยวเข้าหมู่บ้านเล็กๆ ชื่อ บ้านตอเรือ เพื่อพาไปทำความรู้จักกับคุณยายวารี หนึ่งในตำนานหม้อครามยุคแรกๆ ของจ.สกลนคร ซึ่งป้าวารีก็เล่าให้ฟังว่าแกเริ่มตั้งหม้อครามมาตั้งแต่อายุ 15 ถึงวันนี้อายุ 75 ปี ก็ต้องเรียกว่าเกินครึ่งศตวรรษเข้าไปแล้วที่ป้าวารียังคงย้อมครามและทอผ้าจำหน่ายเป็นอาชีพในชื่อแบรนด์ โฮมครามวารี ป้าเล่าให้ฟังว่าสมัยก่อนชาวบ้านนิยมใส่ผ้าย้อมครามออกไปทำไร่ทำนา เพราะนอกจากสีเข้มเกือบดำที่ดูไม่เลอะเทอะง่ายแล้ว ยังช่วยกันแดด ใส่แล้วไม่ร้อน ส่วนต้นครามและฝ้ายก็ปลูกกันอยู่หัวไร่ปลายนา เรียกว่าย้อมแจกกันมากกว่าขาย ยุคแรกที่เริ่มย้อมขายก็ไม่ได้มีมูลค่าสูงเหมือนในปัจจุบัน คุณยายวารียังพาไปชมห้องทำงานที่เรียงรายไปด้วยหม้อคราม ราวตากเส้นฝ้ายที่ย้อมครามเอาไว้ และกี่ทอผ้าที่คุณยายนั่งลงพุ่งเส้นฝ้าย สาธิตทอผ้าให้ชมอย่างชำนาญพร้อมบอกว่า “ยายออกแบบลายเอง ผืนนี้เอาไปตัดกางเกงสวยเลยนะ” ส่วนฉันแอบมองมือคุณยายที่ทุกนิ้วเคลือบด้วยสีครามจางๆ นี่สินะมือหม้อครามในตำนาน สู่บ้านคราม ฝนยังปรอยปรายลงมาไม่หยุดเมื่อเรามาถึงบ้านพี่รุณณี ไม่ต้องมีพิธีรีตรอง พี่รุณณีจัดการปูเสื่อกับพื้นบ้านพร้อมจัดสำรับกับข้าวง่ายๆ มีปลาทอด ไข่เจียว และน้ำจิ้มแจ่วปลาร้า ขาดไม่ได้คือกระติ๊บข้าวเหนียวใบใหญ่ อัดแน่นด้วยข้าวเหนียวหอมๆ คนกำลังหิวเลยได้ปั้นข้าวเหนียวกินเพลินเลย หลังกินมื้อเช้าแล้วพี่รุณณีเลยปล่อยให้ฉันพักซักครู่ในบ้านพักโฮมสเตย์ที่สร้างแยกออกมาจากบ้านของครอบครัวเพื่อความเป็นส่วนตัว ซึ่งพี่รุณณีมีบ้านพักให้บริการอยู่ 3 หลัง รวม 4 ห้องพัก บ้านแต่ละหลังสร้างด้วยไม้ไผ่ หลังคามุงจาก หลังเล็กๆ น่ารักมาก ด้านในมีเตียงปูผ้าย้อมครามเข้าบรรยากาศ และถึงแม้จะเป็นห้องพัดลม แต่อากาศที่นี่ก็เย็นสบายจนไม่ต้องพึ่งเครื่องปรับอากาศใดๆ ส่วนห้องน้ำมีเครื่องทำน้ำอุ่นพร้อม เท่านี้ก็เกินพอแล้วกับความต้องการเรียบง่ายของฉัน ฝ้ายเข็นมือ “คุณยายมาแล้ว” พี่รุณณีบอกฉันเมื่อจักรยานคุณยายทั้งสองท่านเข้ามาจอดข้างโรงย้อมคราม วันนี้พี่รุณณีชวนคุณยายผู้เชี่ยวชาญเรื่องการเข็นฝ้ายและทอผ้ามาสาธิตให้ฉันชมแบบละเอียดยิบกันเลยทีเดียว และหนึ่งในนั้นคือคุณแม่ของพี่รุณณีนั่นเอง ในพื้นที่หมู่บ้านพี่รุณณีเหลือแต่เพียงผู้เฒ่าผู้แก่ที่ยังคงทอผ้ากันอยู่ ส่วนพี่รุณณีเองถือว่าเป็นรุ่นปัจจุบันที่นำเอาวิถีย้อมครามเข้ามาผสานกับเส้นฝ้ายเข็นมือของคนรุ่นก่อน จนกลายเป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์ “ครามรุณณี” คือใช้ฝ้ายเข็นมือและย้อมสีธรรมชาติมาทอมือทั้งเส้นตั้งและยืน และตัดเย็บเป็นเสื้อ ผ้าคลุมไหล่ ผ้าซิ่น ฯลฯ เนื้อผ้าจึงมีความหนานุ่ม เส้นฝ้ายมีเนื้อสัมผัสไม่เรียบ ...
อ่านเพิ่มเติม
Scroll to Top