Spread the love

บทความ

  • บทความทั้งหมด
  • Ang Thong
  • Bangkok
  • Bueng Kan
  • Buriram
  • Chachoengsao
  • Chaiyaphum
  • Chiang Rai
  • Chonburi
  • Chumphon
  • Kamphaeng Phet
  • Kanchanaburi
  • Khon Kaen
  • Krabi
  • Lamphun
  • Loei
  • Lopburi
  • Mukdahan
  • Nakhon Pathom
  • Nakhon Phanom
  • Nakhon Ratchasima
  • Nakhon Sawan
  • Nakhon Si Thammarat
  • Nan
  • Nong Bua Lamphu
  • Nong Khai
  • Phang Nga
  • Phetchabun
  • Phetchaburi
  • Phitsanulok
  • Phra Nakhon Si Ayutthaya
  • Phrae
  • Phuket
  • Prachuap Khiri Khan
  • Ranong
  • Ratchaburi
  • Rayong
  • Samut Songkhram
  • Sing Buri
  • Sukhothai
  • Suphan Buri
  • Surat Thani
  • Tak
  • Thailand Reopening
  • Trang
  • Udon Thani
  • Uthai Thani
  • Uttaradit
  • กระบี่
  • กรุงเทพมหานคร
  • กาญจนบุรี
  • กาฬสินธุ์
  • กำแพงเพชร
  • ขอนแก่น
  • จันทบุรี
  • ฉะเชิงเทรา
  • ชลบุรี
  • ชัยนาท
  • ชัยภูมิ
  • ชุมพร
  • ตรัง
  • ตราด
  • ตาก
  • ที่เที่ยวภาคกลาง
  • ที่เที่ยวภาคตะวันตก
  • ที่เที่ยวภาคตะวันออก
  • ที่เที่ยวภาคอิสาน
  • ที่เที่ยวภาคเหนือ
  • ที่เที่ยวภาคใต้
  • นครนายก
  • นครปฐม
  • นครพนม
  • นครราชสีมา
  • นครศรีธรรมราช
  • นครสวรรค์
  • นนทบุรี
  • นราธิวาส
  • น่าน
  • นาราธิวาส
  • บึงกาฬ
  • บุรีรัมย์
  • ปทุมธานี
  • ประจวบคีรีขันธ์
  • ปราจีนบุรี
  • ปัตตานี
  • พระนครศรีอยุธยา
  • พะเยา
  • พังงา
  • พัทลุง
  • พิจิตร
  • พิษณุโลก
  • ภูเก็ต
  • มหาสารคาม
  • มุกดาหาร
  • ยะลา
  • ยโสธร
  • ร้อยเอ็ด
  • ระนอง
  • ระยอง
  • ราชบุรี
  • ลพบุรี
  • ลำปาง
  • ลำพูน
  • ศรีสะเกษ
  • สกลนคร
  • สงขลา
  • สตูล
  • สมุทรปราการ
  • สมุทรสงคราม
  • สมุทรสาคร
  • สระบุรี
  • สระแก้ว
  • สิงห์บุรี
  • สุพรรณบุรี
  • สุราษฎร์ธานี
  • สุรินทร์
  • สุโขทัย
  • หนองคาย
  • หนองบัวลําภู
  • อ่างทอง
  • อุดรธานี
  • อุตรดิตถ์
  • อุทัยธานี
  • อุบลราชธานี
  • อํานาจเจริญ
  • เชียงราย
  • เชียงใหม่
  • เพชรบุรี
  • เพชรบูรณ์
  • เลย
  • แก้ไขปัญหาการท่องเที่ยว
  • แนะนำการท่องเที่ยว
  • แพร่
  • แม่ฮ่องสอน
  • ไม่จัดหมวดหมู่
บทความทั้งหมด
  • บทความทั้งหมด
  • Ang Thong
  • Bangkok
  • Bueng Kan
  • Buriram
  • Chachoengsao
  • Chaiyaphum
  • Chiang Rai
  • Chonburi
  • Chumphon
  • Kamphaeng Phet
  • Kanchanaburi
  • Khon Kaen
  • Krabi
  • Lamphun
  • Loei
  • Lopburi
  • Mukdahan
  • Nakhon Pathom
  • Nakhon Phanom
  • Nakhon Ratchasima
  • Nakhon Sawan
  • Nakhon Si Thammarat
  • Nan
  • Nong Bua Lamphu
  • Nong Khai
  • Phang Nga
  • Phetchabun
  • Phetchaburi
  • Phitsanulok
  • Phra Nakhon Si Ayutthaya
  • Phrae
  • Phuket
  • Prachuap Khiri Khan
  • Ranong
  • Ratchaburi
  • Rayong
  • Samut Songkhram
  • Sing Buri
  • Sukhothai
  • Suphan Buri
  • Surat Thani
  • Tak
  • Thailand Reopening
  • Trang
  • Udon Thani
  • Uthai Thani
  • Uttaradit
  • กระบี่
  • กรุงเทพมหานคร
  • กาญจนบุรี
  • กาฬสินธุ์
  • กำแพงเพชร
  • ขอนแก่น
  • จันทบุรี
  • ฉะเชิงเทรา
  • ชลบุรี
  • ชัยนาท
  • ชัยภูมิ
  • ชุมพร
  • ตรัง
  • ตราด
  • ตาก
  • ที่เที่ยวภาคกลาง
  • ที่เที่ยวภาคตะวันตก
  • ที่เที่ยวภาคตะวันออก
  • ที่เที่ยวภาคอิสาน
  • ที่เที่ยวภาคเหนือ
  • ที่เที่ยวภาคใต้
  • นครนายก
  • นครปฐม
  • นครพนม
  • นครราชสีมา
  • นครศรีธรรมราช
  • นครสวรรค์
  • นนทบุรี
  • นราธิวาส
  • น่าน
  • นาราธิวาส
  • บึงกาฬ
  • บุรีรัมย์
  • ปทุมธานี
  • ประจวบคีรีขันธ์
  • ปราจีนบุรี
  • ปัตตานี
  • พระนครศรีอยุธยา
  • พะเยา
  • พังงา
  • พัทลุง
  • พิจิตร
  • พิษณุโลก
  • ภูเก็ต
  • มหาสารคาม
  • มุกดาหาร
  • ยะลา
  • ยโสธร
  • ร้อยเอ็ด
  • ระนอง
  • ระยอง
  • ราชบุรี
  • ลพบุรี
  • ลำปาง
  • ลำพูน
  • ศรีสะเกษ
  • สกลนคร
  • สงขลา
  • สตูล
  • สมุทรปราการ
  • สมุทรสงคราม
  • สมุทรสาคร
  • สระบุรี
  • สระแก้ว
  • สิงห์บุรี
  • สุพรรณบุรี
  • สุราษฎร์ธานี
  • สุรินทร์
  • สุโขทัย
  • หนองคาย
  • หนองบัวลําภู
  • อ่างทอง
  • อุดรธานี
  • อุตรดิตถ์
  • อุทัยธานี
  • อุบลราชธานี
  • อํานาจเจริญ
  • เชียงราย
  • เชียงใหม่
  • เพชรบุรี
  • เพชรบูรณ์
  • เลย
  • แก้ไขปัญหาการท่องเที่ยว
  • แนะนำการท่องเที่ยว
  • แพร่
  • แม่ฮ่องสอน
  • ไม่จัดหมวดหมู่

ขนมควยลิง ✨🍡 ชุมชนขนมแปลกเมืองจันทบุรี

ชุมชมขนมแปลกริมคลองหนองบัว เป็นชุมชนท่องเที่ยวที่รวบรวมขนมแปลกท้องถิ่นแต่ละที่ของจังหวัด #จันทบุรี ไว้ที่นี่ เดิมเป็นชุมชนชาวจีนเก่าแก่ ที่มีอายุนับร้อยปี เกือบทุกบ้านริมคลองหนองบัวจะทำเมนูขนมแปลก ๆ มาให้นักท่องเที่ยวได้ชิมความอร่อยและความแปลกของขนม วันนี้เพื่อน ๆ จะได้รู้จักกับ “ขนมควยลิง” อย่าเพิ่งตื่นเต้นกับชื่อที่ได้ยินกันนะคะ ถึงแม้ว่าชื่อจะแปลกแต่ความอร่อยก็ปังไม่น้อยหน้าเลยทีเดียว ขนมควยลิง มีที่มาจาก เมื่อสมัยก่อนที่ชุมชนหนองบัวมีลิงแสมเป็นจำนวนมาก เวลาชาวบ้านทำขนมเจ้าลิงพวกนี้ก็จะมานั่งเฝ้า พร้อมกับโชว์ของดีให้ดูอยู่เป็นประจำ ชาวบ้านจึงตั้งชื่อขนมที่ทำว่า “ขนมควยลิง” นั่นเอง ขนมควยลิงนั้นทำมาจากแป้งข้าวเหนียว นำมาปั้นเป็นแท่งเล็ก ๆ รี ๆ และนำไปต้มในน้ำเดือด จากนั้นคลุกกับมะพร้าวขูด ทานคู่กับน้ำตาล จะได้รสชาติหวาน ๆ มัน ๆ 🍢 หากใครอยากลองชิม ปัจจุบันสามารถหาทานได้ แต่สูตรดั้งเดิมของชุมชนที่มีการสืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่นแล้วละก็ ต้องมารับประทานได้ที่ “บ้านยายลิและป้าตุ่ม” พูดขนาดนี้แล้ว ต้องไปลองชิมกันแล้วนะ 🥰
อ่านเพิ่มเติม

🏠 คฤหาสน์อุดมเดชวัฒน์ จังหวัดสกลนคร ✨

หากเพื่อน ๆ ท่านไหนเคยไปที่บ้านท่าแร่ จังหวัดสกลนคร น่าจะเคยเห็นตึกโบราณที่สร้างตามแบบสถาปัตยกรรมฝรั่งเศส (French Colonial Architecture Style) เด่นตระหง่านสวยงามน่าชม คฤหาสน์แห่งนี้สร้างโดยช่างเวียดนามที่อพยพมาอยู่บ้านท่าแร่เมื่อปี พ.ศ. 2475 โดยเจ้าของคฤหาสน์คือ นายคำสิงห์ อุดมเดช ลักษณะจะเป็นอาคาร 2 ชั้น ในอดีต ชั้น 1 เปิดเป็นร้านค้า ชั้น 2 เป็นที่พักอาศัย สร้างโดยใช้ปูน ทราย อิฐ ผสมกันยึดติดกับเสาไม้ได้อย่างลงตัว เนื่องด้วยใช้เทคนิคโบราณในการก่อสร้างนี่เองทำให้ผนังและหลังคามีความแข็งแรง ลักษณะเด่นของคฤหาสน์แห่งนี้คือ ซุ้มวงโค้งด้านหน้าอาคาร เพราะมีการใช้เสาจริงประดับแทนเสาหลอกและมีลวดลายปูนปั้นประแจจีนแสดงถึงความเป็นสิริมงคล ปัจจุบันคฤหาสน์อุดมเดชวัฒน์ อยู่ในการดูแลของผู้รับมรดก นั่นคือ นางเทเรซารสศรี สกนธวัฒน์ เนื่องจากไม่มีผู้อยู่อาศัยจึงทำให้คฤหาสน์แห่งนี้ดูทรุดโทรมลงไปบ้าง แม้เวลาจะผ่านล่วงเลยไปแล้วกว่า 90 ปี แต่ความสวยงามของสถาปัตยกรรมยังคงแสดงให้เห็นอยู่จนถึงปัจจุบัน หากมีโอกาสไปบ้านท่าแร่ แวะเข้าไปถ่ายรูปรอบ ๆ #คฤหาสน์อุดมเดชวัฒน์ ได้นะ เข้าไปชมข้างในไม่ได้ แต่ข้างนอกก็สวยคลาสสิกสุด ๆ ไปเลยค่ะ
อ่านเพิ่มเติม

🔸ย่านเมืองเก่าสงขลา 🔸

ย่านนี้มีถนนสายสำคัญ 3 สาย คือ ถนนนครนอก ถนนนครใน และถนนนางงาม ในเขตเทศบาลนครสงขลา เป็นถนนที่เต็มไปด้วยอาคารซึ่งมีสถาปัตยกรรมงดงามและยังคงเอกลักษณ์ดั้งเดิมไว้ ทั้งตึกเก่าสไตล์ชิโน-โปรตุกีส และตึกแถวแบบจีนพาณิชย์ จุดเริ่มต้นของการเดินชมย่านเมืองเก่าสงขลา เริ่มต้นจากประตูเมืองสงขลาไปตามถนนนครนอก ซึ่งเป็นถนนเลียบริมทะเลสาบสงขลา สุดปลายถนนมีโรงสีเก่าทาสีแดงทั้งหลัง เรียกว่า “หับ โห้ หิ้น” ปัจจุบันเป็นที่จัดแสดงนิทรรศการถาวรเรื่องราวเมืองเก่าสงขลา ถัดมาคือ ถนนนครในและถนนนางงาม เป็นแหล่งรวมของร้านอาหารคาวหวานท้องถิ่นที่มีชื่อเสียงหลายสิบปี ทั้งร้านขายขนมไทยที่หารับประทานได้ยาก เช่น ขี้มอด ทองเอก ข้าวฟ่างกวน ขนมกระบอก ขนมบูตู สำปันนี อีกทั้งยังมีร้านไอศกรีม ร้านข้าวสตู และร้านกาแฟโบราณ ฯลฯ นอกจากนี้สามารถเดินชมภาพวาดสตรีทอาร์ตตามผนังบ้านเรือนบนถนนเส้นต่าง ๆ โดยแต่ละภาพสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตของคนในพื้นที่
อ่านเพิ่มเติม

✨ ลานหินสีชมพู จ.จันทบุรี ✨

สวัสดีเพื่อน ๆ วันนี้แอดจะพาทุกคนมาที่หนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวอีกแห่งของ จ.จันทบุรี ที่มีความสวยแปลกตาและไม่เหมือนใคร ยิ่งใครชอบถ่ายรูปลงโซเชียลรับรองเลยว่าต้องได้รูปสวยถูกใจแน่ ๆ ตามมาดูกัน ลานหินสีชมพู ตั้งอยู่ภายในบริเวณ เขตห้ามล่าสัตว์คุ้งกระเบน อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี เป็นหินสีชมพูอมน้ำตาลแดง อยู่ตามริมชายหาดทอดยาว แถมยังเป็นจุดชมวิวที่สามารถมองเห็นเกาะที่อยู่รอบ ๆ อย่าง เกาะสะบ้า เกาะนมสาว เขาแหลมสิงห์ ได้อีกด้วย ที่เพื่อน ๆ เห็นหินเป็นสีชมพูแบบนี้ เพราะหินที่นี่ มีส่วนผสมของธาตุเหล็กอยู่เยอะ ยิ่งช่วงไหนมีแสงแดดส่องกระทบ เพื่อน ๆ จะเห็นเลยว่ามีทั้งก้อนหินสีแดงอมชมพู สีชมพูอมม่วง ไปจนถึงสีม่วงอมน้ำตาลแดง ปกติจะพบหินแบบนี้ได้ตามบริเวณที่ราบลุ่มน้ำขึ้นถึง ที่ลุ่มชื้นแฉะ ที่ลุ่มน้ำขัง ป่าชายเลน ซึ่งหินชนิดนี้มีชื่อเรียกว่า หินทรายอาร์โคส (Arkosic Sandstone) สำหรับการเดินไป ลานหินสีชมพู เพื่อน ๆ จะต้องเดินเท้าตามเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ ระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร มี 2 เส้นทาง เส้นทางแรกเป็นการเดินขึ้นเขา แอดใช้เส้นทางนี้ (ใช้เวลาเดินประมาณ 45 นาที) ส่วนอีกเส้นทางเป็นการเดินเลียบชายหาด ใช้เวลาเดินประมาณ 1 ชั่วโมง (ในช่วงเดือนกรกฎาคม-กุมภาพันธ์ น้ำจะขึ้นตอนกลางวันไม่สามารถใช้เส้นทางนี้ได้) จุดชมวิวบ่อเตย หากมาทางขึ้นเขาจะอยู่ก่อนถึงลานหินสีชมพู มีจุดนั่งพักชมวิว รับลมเย็น ๆ ในการเดินทางไปลานหินชมพู แอดแนะนำให้ใส่รองเท้าผ้าใบ ควรมาช่วงเช้าตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นจนถึง 9 โมงเช้า หรือ ช่วง 4 โมงเย็นไปจนถึงพระอาทิตย์ตกดิน ที่สำคัญต้องช่วยกันรักษาความสะอาดด้วย ไม่ทิ้งเศษขยะหรือเศษอาหารภายในบริเวณสถานที่ท่องเที่ยวกันด้วยล่ะ
อ่านเพิ่มเติม

✨เที่ยวเมียงไม่ไกลเมือง…เชียงใหม่🌿

หากมีวันหยุดสั้น ๆ แล้วอยากไปเที่ยวพักผ่อนเปลี่ยนบรรยากาศ แถบภาคเหนือ แอดเชื่อว่า #เชียงใหม่ เป็นตัวเลือกแรก ๆ ของใครหลายคน แต่ก็มีหลายคนที่ไปบ่อยเสียจนไม่รู้จะไปเที่ยวมุมไหนอีก วันนี้แอดขอชวนเพื่อน ๆ ไปเที่ยวแบบเมียง ๆ กันค่ะ อ๊ะ… เพื่อน ๆ อย่าเพิ่งแย้งว่าแอดเขียนผิดนะ คำว่า “เมียง” ในภาษาเหนือ แปลว่า “เมือง” นั่นแหละ แต่แอดจะพาไปเที่ยวแบบเมียง ๆ หรือ เมือง ๆ ยังไง ตามไปดูกัน 🥰 วันแรก เราเริ่มกันที่ “ชุมชนบ้านลวงเหนือ ชุมชนไทลื้อ” หมู่บ้านของชาวไทลื้อที่ยังรักษาวิถีชีวิตของตัวเองไว้ได้อย่างน่าชื่นชม ชุมชนนี้อยู่ใกล้ตัวเมืองเชียงใหม่เพียงแค่ขับรถไป 30 นาทีเท่านั้นเอง เพื่อน ๆ ที่สนใจจะมาเที่ยวที่นี่ แอดแนะนำให้ซื้อแพ็คเกจล่วงหน้านะ เพื่อที่เราจะได้สัมผัสกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมไทลื้อที่ทางชุมชนจัดให้อย่างเต็มที่ ทันทีที่มาถึง ไกด์ชุมชนก็ออกมาต้อนรับและพาไปที่ “ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาไทยไตลื้อ บ้านใบบุญ” โดยจะมีแม่ ๆ ย่า ๆ มาคอยฮับต้อนย้อนวิถี ผูกข้อไม้ข้อมืออวยพร พรมน้ำขมิ้นส้มป่อย และเสิร์ฟเวลคัมดริงค์ที่เป็นสมุนไพรอย่างใบเตย กระเจี๊ยบให้พวกเรา https://goo.gl/maps/swjrX87Hab6ZrRtE6 จากนั้นจะเป็นการเล่าประวัติความเป็นมา ผ่านบทซอของชาวไทลื้อ มีการสอนให้ร้องตามพอสนุก ๆ ด้วยนะ ซึ่งภาษาเหนือสำเนียงไทลื้อ ก็จะต่างจากสำเนียงเชียงใหม่ แบบที่ฟังแล้วคนไทลื้อด้วยกันจะรู้เลยล่ะ หลังจากหัดซอขับซอกันพอสมควร ก็ไปแอ่วเฮือนเยือนผญา ที่นี่จะมีการสาธิตปั่นฝ้าย ทอผ้าแบบไทลื้อ และจัดแสดงเครื่องใช้ไม้สอย รวมทั้งเครื่องมือทำมาหากินในอดีตของชาวไทลื้อ ให้นักท่องเที่ยวได้พอเห็นภาพการใช้ชีวิตของชาวไทลื้อ แป๊บเดียวก็เที่ยงแล้ว แน่นอนว่ามื้อเที่ยงวันนี้เป็นอาหารไทลื้อ สำรับของเราประกอบไปด้วย ผัดไทไตลื้อ โสะบ่าก้วยเต้ด (ตำมะละกอใส่ขิงแบบไตลื้อ) น้ำสมุนไพร ขนมวง ข้าวจี่ ไข่ป่าม ข้าวแคบ อร่อยดีทีเดียว จากนั้น ไกด์ก็พาไปต่อที่ “บ้านสวนพอเพียงทรัพย์ทองศรี” ที่เน้นวิถีความพอเพียงของคนไตลื้อ มีกิจกรรมปลูกผักผลไม้ เลี้ยงไก่ บรรยากาศดีมาก เหมาะกับทั้งเรียนรู้และเดินเล่นเพลิน ๆ เลยล่ะ จุดต่อไปคือ “วัดศรีมุงเมือง” ซึ่งเป็นสถานที่สำคัญของชุมชน ...
อ่านเพิ่มเติม

📍ย่านเมืองเก่าภูเก็ต📍

ครอบคลุมบริเวณถนนถลาง ถนนดีบุก ถนนพังงา ถนนเยาวราช ถนนกระบี่ และซอยรมณีย์ เต็มไปด้วยเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ในอดีตจะมีผู้คนหลากหลายเชื้อชาติ ได้แก่ จีน อินเดีย ยุโรป มุสลิม เข้ามาตั้งถิ่นฐานประกอบอาชีพค้าขายและได้สร้างบ้านเป็นตึกแถวมีลักษณะทางสถาปัตยกรรมแบบ “ชิโน-โปรตุกีส” (Sino-Portuguese) ตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อครั้งกิจการเหมืองแร่ดีบุกเริ่มเจริญรุ่งเรือง ปัจจุบันบางอาคารได้รับการอนุรักษ์เป็นพิพิธภัณฑ์ บางอาคารดัดแปลงเป็นที่พัก ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ร้านจำหน่ายสินค้าที่ระลึก นอกจากนี้ยังมี “ถนนคนเดินหลาดใหญ่” จัดขึ้นในทุกวันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 16.00-22.00 น. บนถนนถลางในย่านเมืองเก่าภูเก็ต เป็นถนนคนเดินที่สามารถสัมผัสกลิ่นอายความเป็นเมืองพหุวัฒนธรรมของภูเก็ตได้เป็นอย่างดี
อ่านเพิ่มเติม

คลองสังเน่ห์ : Little AMAZON: พังงา

คลองสังเน่ห์ ตั้งอยู่ตำบลบางนายสี อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา สามารถล่องเรือพายหรือเรือยนต์ขนาดเล็กเที่ยวชมทัศนียภาพ ระหว่างทางจะพบอุโมงค์ต้นไทรอายุนับร้อยปีที่แผ่กิ่งก้านสาขาสองฝั่งคลอง บางช่วงกิ่งก้านจะห้อยระย้าลงมาเหนือลำคลองเหมือนม่านอุโมงค์ต้นไทร ทัศนียภาพโดยรวมคล้ายลุ่มน้ำอะเมซอน จึงถูกขนานนามว่า “ ลิตเติ้ลอะเมซอน (The Little Amazon) ”
อ่านเพิ่มเติม

✨ พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา จ.เชียงใหม่ ✨

พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตั้งอยู่ภายในพื้นที่ของสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 ที่นี่มีการอนุรักษ์และจัดแสดงเรือนล้านนาให้กับประชาชนทั่วไปได้ศึกษากว่า 10 หลัง แถมมียุ้งข้าวอีก 4 หลัง ซึ่งแต่ละหลังมีที่มาและประวัติของตนเอง ถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของล้านนาในอดีต ที่ผ่านการดูแลให้คงสภาพเดิมที่ยังเหลือให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากที่นี่มีเรือนล้านนาโบราณหลายหลัง แถมแต่ละหลังมีรายละเอียดเยอะมาก แอดเลยขอแนะนำเรือนล้านนาและยุ้งข้าวส่วนหนึ่งให้กับเพื่อน ๆ โดยเริ่มที่  เรือนไทลื้อ (หม่อนตุด)  เรือนหม่อนตุด สร้างขึ้นจากการผสมผสานเรือนแบบไทลื้อผสมไทยวน โดยชาวไทลื้อจากมณฑลยูนนาน ประเทศจีนที่ถูกกวาดต้อนเข้ามาอยู่ในเชียงใหม่ ที่บ้านลวงเหนือ อ.ดอยสะเก็ด เมื่อปี พ.ศ. 2460 ปลายปี 2534 อาจารย์ศิริชัย นฤมิตรเรขการ ได้ทราบเรื่องการประกาศขายเรือนหม่อนตุดจาก ทางมูลนิธิจุมภฏ-พันธุ์ทิพย์ จึงตัดสินใจซื้อและมอบให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อเก็บรักษาเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาวเชียงใหม่ โดยเป็นเรือนที่ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการอนุรักษ์เรือนโบราณล้านนาและจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์สำหรับให้คนทั่วไปได้ศึกษา และในเดือนมกราคม พ.ศ. 2537 ทางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ประกอบพิธีขึ้นเฮือนใหม่ โดยมีเจ้าหม่อมคำลือ กษัตริย์องค์สุดท้ายของชาวสิบสองปันนา เป็นผู้ทำพิธีเปิดเรือนและอุทิศส่วนกุศลไปให้หม่อนตุดเจ้าของเรือนผู้ล่วงลับ ตัวเรือนหม่อนตุดเป็นเรือนไม้ขนาดกลางมุงหลังคา “แป้นเกล็ด” ลักษณะเป็น “เรือนสองหลังหน้าเปียง” (เรือนจั่วสองหลังวางต่อกันในระนาบเดียวกัน) ประกอบด้วยเรือน 2 หลังคือ “เฮือนนอน” และ “เฮือนไฟ” ตรงกลางระหว่างชายคาของเรือนทั้งสองเชื่อมต่อกันทำเป็นรางน้ำฝน เรียกว่า “ฮ่อมริน” ล้อมรอบตัวเรือนด้วยเติ๋น  เรือนกาแล (พญาวงศ์)  เรือนพญาวงศ์ เป็นชื่อที่ได้มาจากเจ้าของเรือน กำนันแห่งบ้านสบทา จาก จ.ลำพูน สร้างโดยลูกเขยของพญาวงศ์ เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2440 แต่หลังจากพญาวงศ์เสียชีวิต ไม่มีผู้สืบทอดและอาศัยอยู่ในบ้านหลังนี้ทางเจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทตากผ้าและเจ้าคณะ จึงได้ติดต่อขอซื้อเรือนแล้วทำการรื้อย้ายมาปลูกสร้างไว้ที่วัดสุวรรณวิหาร บ้านแม่อาว ต่อมามีชาวสิงคโปร์ได้ซื้อไว้และภายหลังเสียชีวิตลง มูลนิธิ ดร.วินิจ – คุณหญิงพรรณี วินิจนัยภาค ได้มอบเรือนหลังนี้และให้การสนับสนุนการรื้อถอนและย้ายมาปลูกไว้ที่สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2541 ตัวเรือนพญาวงศ์ เป็นหลังคาทรงจั่วแฝด ยอดจั่วมี “กาแล” เป็นไม้แกะสลักวางไขว้กันอยู่ มี “เติ๋น” (ชานเรือน) อยู่ด้านหน้าของเรือนพร้อมบันไดทางขึ้น ...
อ่านเพิ่มเติม

✨ 15 พิกัดที่เที่ยวอยุธยา ✨

พระราชวังบางปะอิน ✨ พระราชวังบางปะอิน เป็นพระราชวังเก่าแก่ที่สร้างโดยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ในสมัยกรุงศรีอยุธยา แต่เมื่อคราวเสียกรุงครั้งที่ 2 พระราชวังแห่งนี้ถูกปล่อยทิ้งร้าง กระทั่งในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 จึงได้เริ่มการบูรณะฟื้นฟู ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งและสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ขึ้น ซึ่งยังคงใช้เป็นที่ประทับ ต้อนรับพระราชอาคันตุกะและพระราชทานเลี้ยงรับรองในโอกาสต่าง ๆ พระราชวังแห่งนี้มีสิ่งที่น่าสนใจหลายแห่ง ได้แก่ หอเหมมณเฑียรเทวราช พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์ พระที่นั่งวโรภาษพิมาน พระที่นั่งเวหาศจำรูญ หรือ เทียนเม่งเต้ย หอวิทูรทัศนา ตำหนักเก้าห้อง เรียกได้ว่า พระราชวังแห่งนี้มีความงดงามมาก แถมยังมีการผสมผสานสถาปัตยกรรมของตะวันตกและจีนเข้าด้วย 😍 วัดนิเวศธรรมประวัติราชวรวิหาร  อีกหนึ่งสถานที่ที่น่าสนใจในอำเภอบางปะอินคือ “วัดนิเวศธรรมประวัติราชวรวิหาร” เป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดฯ ให้สร้างเพื่อใช้เป็นที่บำเพ็ญพระราชกุศลต่าง ๆ ขณะเสด็จมาประทับที่พระราชวังบางปะอิน ความพิเศษของวัดแห่งนี้ คือ เป็นวัดไทยที่มีสถาปัตยกรรมสไตล์ตะวันตก ภายในพระอุโบสถตกแต่งอย่างงดงาม หน้าต่างประดับกระจกสีอย่างโดดเด่น เนื่องจากวัดแห่งนี้ ตั้งอยู่บนเกาะกลางแม่น้ำเจ้าพระยา การเดินทางเข้าถึงวัดนี้จริงมีเส้นทางพิเศษคือการนั่งกระเช้าไฟฟ้าข้ามแม่น้ำ กระเช้าจะออกทุก ๆ 5-10 นาที ไม่มีค่าใช้จ่าย นั่งได้ไม่เกิน 10 คน/ครั้ง วัดมหาธาตุ ✨ วัดสำคัญแห่งนี้มีพระปรางค์ที่สร้างในระยะแรกของสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งได้รับอิทธิพลจากปรางค์ขอม พงศาวดารบางฉบับกล่าวว่าวัดนี้สร้างในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 ต่อมาสมเด็จพระราเมศวรโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้ใต้ฐานพระปรางค์ประธานของวัดเมื่อ พ.ศ. 1927 ปัจจุบันภายในวัดก็ยังคงหลงเหลือโบราณสถานและพระปรางค์ประธานให้เราได้ชมกัน นอกจากพระปรางค์ประธานแล้ว ยังมีเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม ซึ่งรูปแบบและลวดลายที่ปรากฏแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลล้านนา พบเพียงองค์เดียวในอยุธยา อีกสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจภายในวัดแห่งนี้ คือ เศียรพระพุทธรูปหินทรายที่มีรากไม้ปกคลุม ดูสวยงามแปลกตา วัดราชบูรณะ  ไม่ไกลจากวัดมหาธาตุ คือ “วัดราชบูรณะ” เป็นอีกหนึ่งโบราณสถานที่สำคัญ สร้างขึ้นบริเวณที่ถวายพระเพลิงพระศพเจ้าอ้ายพระยาและเจ้ายี่พระยา เมื่อคราวเสียกรุง วัดนี้เกิดความเสียหายอย่างมาก จากซากโบราณสถานในปัจจุบัน แสดงให้เห็นว่าวิหารและส่วนต่าง ๆ ของวัดนี้มีความใหญ่โตมาก ปรางค์ประธานขนาดใหญ่ของวัดนี้ ก่อด้วยอิฐและศิลาแลง ภายในปรางค์มีกรุซึ่งเคยขุดพบสิ่งของมีค่าต่าง ๆ เช่น เครื่องราชูปโภคที่ทำด้วยทองคำ มงกุฎ ...
อ่านเพิ่มเติม

🌳”ป่าในกรุง” โครงการพัฒนาพื้นที่สีเขียวบนที่ดินของ ปตท. 🌿

ที่นี่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่เหมาะกับทุกเพศทุกวัยเลยนะ ได้พักผ่อน เรียนรู้ และยังปลูกจิตสำนึกให้ตระหนักถึงความสำคัญของป่าไม้ด้วย ไปชมภาพบรรยากาศและข้อมูลกันเลยค่ะ 😻 โครงการป่าในกรุง ก่อตั้งโดยสถาบันปลูกป่า ปตท. หรือ “PTT Green in the City” เพื่อส่งเสริมพื้นที่สีเขียวในเขตเมืองและเป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับการปลูกป่าเชิงนิเวศแบบยั่งยืนนั่นเอง มองจากมุมสูงก็จะเห็นต้นไม้เขียว ๆ อย่างหนาแน่นเลยล่ะ ภายในโครงการป่าในกรุง ได้แบ่งสัดส่วนของพื้นที่ออกเป็น พื้นที่ป่า 75% พื้นที่น้ำ 15% และพื้นที่ใช้งาน 10% โดยมีจุดที่เราสามารถเข้าไปชม ไม่ว่าจะเป็นอาคารอเนกประสงค์ ห้องนิทรรศการ ห้องฉายภาพยนตร์ขนาดเล็ก และยังมีทางเดิน sky walk เป็นสะพานไม้ศึกษาธรรมชาติ ระยะทาง 200 เมตร มีมุมถ่ายรูปกันเพลิน ๆ หอชมป่า (Observation Tower) เป็นจุดชมวิวมุมสูง มีความสูง 23 เมตร นับว่าเป็นหนึ่งในไฮไลท์ของที่นี่ เมื่อขึ้นไปแล้วเราก็จะได้เห็นบรรยากาศของกรุงเทพฯ แบบ 360 องศาเลยล่ะ  ระหว่างทางเดินมีอาคารเอนกประสงค์ มีโครงสร้างกำแพงเป็นดินบดอัด มีต้นไม้เลื้อยจากด้านบนของอาคารลงมาตามผนังให้กลมกลืนไปกับธรรมชาติอีกด้วย  โซนนิทรรศการ (Exhibition Hall) ภายในได้จัดแสดงความเป็นมาของโครงการป่าในกรุง ทฤษฎีการพัฒนาฟื้นฟูป่าไม้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ และปรากฏการณ์ธรรมชาติให้นักท่องเที่ยวได้อ่านกันเพลิน ๆ
อ่านเพิ่มเติม
Scroll to Top