เพื่อนร่วมทาง

✨ บ้านสามช่องเหนือ…สัมผัสวิถีชุมชนริมอ่าวพังงา จังหวัดพังงา ✨

ถ้าสถานการณ์โควิด 19 ดีขึ้น เพื่อน ๆ จะไปเที่ยวที่ไหนกัน สำหรับแอด จังหวัดพังงาเป็นอีกจังหวัดที่อยู่ในลิสต์ เพราะเป็นจังหวัดที่มีสถานที่ท่องเที่ยวหลากหลายสไตล์ ไม่ว่าทะเล ภูเขา เมืองเก่า ร้านอร่อย หรือคาเฟ่สุดเก๋ รวมไปถึงชุมชนท่องเที่ยวที่กำลังได้รับความนิยม วันนี้แอดจะพาไปชมแหล่งท่องเที่ยวให้หายคิดถึง กับชุมชนบ้านสามช่องเหนือ เป็นชุมชนมุสลิม อยู่ติดทะเล สวยงามและเงียบสงบ เพื่อน ๆ จะได้สัมผัสวิถีชีวิตแบบชาวเลที่เรียบง่าย และเต็มไปด้วยอัธยาศัยไมตรี ที่นี่มีกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่สนุกสนานและน่าสนใจให้เที่ยวให้ทำเยอะเลย ตามมาดูกันค่ะ ช่วงนี้ ใครยังไม่สะดวกเดินทางสามารถเก็บแหล่งท่องเที่ยวนี้ไว้ในลิสต์ก่อนได้ แต่ถ้าใครต้องการเดินทาง ตรวจสอบมาตรการเดินทางเข้าพื้นที่จังหวัดพังงาได้ที่ 👉 https://www.facebook.com/pngo.moph หรืออ่าน E-Book จังหวัดพังงาเพื่อเก็บข้อมูลท่องเที่ยวได้ที่ https://www.amazingthailandebook.com/issue/195 นอกจากนี้ สามารถดาวน์โหลดในรูปแบบ Application : Amazing Thailand eBook ได้ทั้งระบบ iOS และ Android ได้ที่ https://mobile.amazingthailandebook.com/redirect ล่องเรือชมถ้ำเพชรปะการัง ถ้ำนี้อยู่บนเกาะทะลุใน ภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อยขนาดใหญ่ บางจุดมีประกายระยิบระยับเหมือนเพชร จนเป็นที่มาของชื่อถ้ำเพชรปะการัง นอกจากนี้ บนผนังถ้ำยังพบภาพเขียนสีโบราณอายุกว่า 3,000 ปี ข้อควรระวัง : การเดินชมภายในถ้ำ มีบางจุดที่ต้องปีนป่าย และบางจุดเป็นทางลาดที่ลื่น เวลาเดินต้องเกาะเชือกไว้ แนะนำให้ใส่รองเท้าที่เหมาะกับการปีนป่ายมานะคะ ที่นี่มีจุดชมวิวที่สามารถมองเห็นทะเลและเกาะน้อยใหญ่ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงได้ นอกจากนี้บางจุดของถ้ำยังมีอากาศเย็นเหมือนติดแอร์อีกด้วย  ขอบคุณรูปภาพจาก วิสาหกิจท่องเที่ยวโดยชุมชน บ้านสามช่องเหนือ สำหรับเพื่อน ๆ ที่ชอบล่องเรือชมวิว นอกจากถ้ำเพชรปะการังแล้ว ยังสามารถล่องเรือไปชมอ่าวพังงา เขาพิงกัน และเขาตะปูได้อีกด้วย แต่ถ้าอยากสนุกกับกิจกรรมที่ได้ออกแรงมากกว่านี้ แอดแนะนำให้ลองมาพายเรือแคนูชมวิวป่าโกงกางดูค่ะ เส้นทางการพายจะอยู่บริเวณป่าโกงกางของบ้านสามช่องเหนือ  ขอบคุณรูปภาพจาก วิสาหกิจท่องเที่ยวโดยชุมชน บ้านสามช่องเหนือ กะปิเคย สามช่องเหนือ กะปิของบ้านสามช่องเหนือทำจากกุ้งเคยสด ๆ จากอ่าวพังงา เป็นกะปิตำมือรสชาติเข้มข้น ปลอดสารเคมี นำไปทำอาหารหรือจิ้มกับมะม่วงเปรี้ยวก็อร่อยจังฮู้ ใครอยากมาช่วยจ๊ะ (พี่สาวในภาษาใต้) ตำกะปิก็มาช่วยตำได้นะ ถือเป็นการออกกำลังต้นแขนไปในตัว  ทำผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติจากป่าชายเลน ผ้ามัดย้อมที่นี่ไม่ได้ใช้สีเคมีนะคะ แต่ใช้สีย้อมจากต้นตะบูนและต้นโปรงแดง ที่ขึ้นอยู่ในป่าชายเลนของหมู่บ้านนี่เอง วิธีการทำผ้ามัดย้อมคือ นำเปลือกไม้มาต้ม จากนั้นนำผ้าที่มัดเป็นลวดลายแล้วลงไปต้มประมาณ 20 นาที สีที่ได้ออกมาจะเป็นสีน้ำตาลแดง ถ้าอยากได้สีเข้ม ให้นำไปล้างในน้ำปูนขาว ถ้าอยากได้สีอ่อนให้นำไปล้างสารส้ม นอกจากกิจกรรมทำผ้ามัดย้อมแล้ว ทางกลุ่มผ้ามัดย้อมยังมีสินค้าผ้ามัดย้อมอื่น ๆ จำหน่ายอีกด้วย ลายสวยทุกผืนไม่มีซ้ำ มีทั้งเสื้อผ้า กระเป๋า ผ้าคลุมไหล่ และผ้าพันคอ  ใครสนใจสินค้าจากผ้ามัดย้อม ติดต่อได้ที่ กลุ่มทำผ้ามัดย้อม โทร. 08 6741 7949  ขอบคุณรูปภาพจาก วิสาหกิจท่องเที่ยวโดยชุมชน บ้านสามช่องเหนือ  นอกจากผ้ามัดย้อมและกะปิเคยแล้ว ชุมชนบ้านสามช่องเหนือยังมีผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งก็คือ สมุนไพรเหงือกปลาหมอ เป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณมากมาย เช่น ช่วยบำรุงผิวพรรณ รักษาโรคผิวหนังชนิดต่าง ๆ และช่วยให้เลือดลมไหลเวียนดี ทางชุมชนได้นำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น สบู่ แชมพู และชา ใครได้ไปเที่ยวก็อย่าลืมซื้อมาลองใช้กันนะคะ สนใจอยากซื้อเพิ่มเติม ทางกลุ่มก็มีบริการจัดส่งให้ด้วย ติดต่อได้ที่ กลุ่มทำสมุนไพรเหงือกปลาหมอ 09 3581 2129 Facebook: https://www.facebook.com/สมุนไพรเหงือกปลาหมอบ้านสามช่องเหนือ-2360930340661250/  ขอบคุณรูปภาพจาก วิสาหกิจท่องเที่ยวโดยชุมชน บ้านสามช่องเหนือ  สนุกกับกิจกรรมกันไปแล้วก็ถึงเวลาของความอร่อยกันบ้าง แนะนำว่าอย่าพลาดชิมอาหารที่ปรุงจากวัตถุดิบท้องถิ่นกันนะคะ ตัวอย่างเช่น แกงกะทิหอยกันยอดเป้ง ปูผัดพริกไทยดำ หอยนางรมสด หอยหลักควายลวกจิ้ม ปลาทอดทรงเครื่อง ฯลฯ น่ากินทุกเมนู ซึ่งอาหารทะเลเหล่านี้ ชาวบ้านในชุมชนเพาะเลี้ยงเองทั้งนั้น นักท่องเที่ยวสามารถเที่ยวชมชุมชนบ้านสามช่องเหนือได้ทั้งแบบไปเช้า-เย็นกลับ และแบบค้างคืน เพราะบนเกาะมีโฮมสเตย์บรรยากาศเป็นกันเองให้บริการค่ะ วิสาหกิจท่องเที่ยวโดยชุมชน บ้านสามช่องเหนือ หมู่ที่ 9 ตำบลกะไหล อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา 086 741 7949 Facebook: https://www.facebook.com/วิสาหกิจท่องเที่ยวโดยชุมชน-บ้านสามช่องเหนือ-1945305685727206

✨ บ้านสามช่องเหนือ…สัมผัสวิถีชุมชนริมอ่าวพังงา จังหวัดพังงา ✨ อ่านเพิ่มเติม

✨ ดูดาวเต็มฟ้า ดอกไม้ป่าเต็มทุ่ง @ ภูสอยดาว ✨

ถ้าช่วงนี้ เพื่อน ๆ เป็นเหมือนแอด ร่างกายรู้สึกโหยหาธรรมชาติสุด ๆ นึกถึงแต่ภาพเดินป่า ดูหมอก ส่องดาวแล้วละก็ เราอยู่สายเดียวกัน วันนี้แอดมีจุดหมายที่น่าจะถูกใจทุกคนมานำเสนอ เผื่อเป็นแรงบันดาลใจให้เพื่อน ๆ เก็บกระเป๋าออกเดินทางกัน ทริปนี้ แอดจะพาไปเที่ยว “อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว”สถานที่ ๆ มีสภาพป่าอุดมสมบูรณ์มากซึ่งสำนักงานของอุทยานฯ ตั้งอยู่ใน จ.อุตรดิตถ์ แต่มีพื้นที่ครอบคลุมจาก จ.อุตรดิตถ์ ไปถึง จ.พิษณุโลก โดยมีช่วงท่องเที่ยวที่แนะนำคือ ช่วงหน้าฝน (กรกฎาคม-ตุลาคม) : สามารถเดินขึ้นไปถึงลานสน เพื่อดูดอกหงอนนาคได้ โดยดอกหงอนนาคจะบานในช่วงหน้าฝนเท่านั้น และจะออกดอกเยอะที่สุดในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน ช่วงหน้าหนาว (พฤศจิกายน-มกราคม) : สามารถเดินขึ้นไปถึงลานสน เพื่อดูดาว ดูดอกกระดุมเงิน กล้วยไม้รองเท้านารีอินทนนท์ และใบเมเปิลที่จะเปลี่ยนเป็นสีแดง และเดินขึ้นยอดสูงสุดของภูสอยดาวซึ่งติดกับชายแดนลาวได้ การเดินทางนักท่องเที่ยวที่เดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว สามารถไปตามโลเคชั่นนี้ได้เลย : https://goo.gl/maps/9a8g1kgVDbdCvySq7 หากเดินทางด้วยขนส่งสาธารณะอื่น ๆ สามารถมาลงได้ที่1. ขนส่งน้ำปาด จ.อุตรดิตถ์ (ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1.30 ชั่วโมง)2. ขนส่ง จ.พิษณุโลก (ใช้เวลาเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมง)3. สถานีรถไฟ จ. พิษณุโลก (ใช้เวลาเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมง) แล้วหารถเหมาไปอุทยานฯ โดยตรง ราคาเหมาคันละประมาณ 800-1000 บาท (ปัจจุบันไม่มีรถประจำทางไปที่อุทยาน) อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว เปิดให้เข้ามาท่องเที่ยว 2 วิธี วิธีที่ 1 จองล่วงหน้าผ่านแอป QueQ โดยสามารถจองล่วงหน้าได้ถึง 15 วัน เมื่อมาถึงที่ภูสอยดาว ให้ลงทะเบียน ณ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ตั้งแต่เวลา 08.00-13.00 น. เพื่อยืนยันตัวตนได้เลย วิธีที่ 2 สามารถ Walk in เข้าไปได้ตามปกติ แต่แอดขอแจ้งไว้ก่อนว่า ทางภูสอยดาวจะรับนักท่องเที่ยวที่จองผ่านแอปพลิเคชัน 70% นักท่องเที่ยววอล์คอิน 30% โดยแบ่งเป็นจุดที่ 1 ที่ทำการอุทยานฯ และน้ำตกภูสอยดาว ไม่เกิน 150 คน/วัน (QueQ 105 คน/ Walk in 45 คน)จุดที่ 2 ลานสนภูสอยดาว ไม่เกิน 350 คน/วัน (QueQ 245 คน/ Walk in 105 คน) หลังจากลงทะเบียนแล้ว เพื่อน ๆ สามารถสอบถามเรื่องการเช่าเต็นท์ เครื่องนอน และอุปกรณ์ทำอาหาร หรือจ้างลูกหาบ แล้วไปรับของบนลานสนได้เลย จากนั้นเจ้าหน้าที่ก็จะพาไปขึ้นรถอีแต๋นเพื่อไปจุดเริ่มต้นเดินป่า ซึ่งแอดแนะนำให้กินอาหารและเข้าห้องน้ำให้เรียบร้อย เพราะระหว่างทางไม่มีร้านอาหาร ไม่มีห้องน้ำ และไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ ควรพกขนมและน้ำไปกินระหว่างทางด้วย (ที่สำคัญอย่าลืมเก็บขยะกลับมาด้วยห้ามทิ้งไว้ระหว่างทางนะ!) ขอบคุณภาพจาก อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว จะเปิดให้นักท่องเที่ยวขึ้นลานสนภูสอยดาวได้ ตั้งแต่เวลา 08.00-14.00 น. เท่านั้น โดยหลัง 16.00 น. จะมีเจ้าหน้าที่เดินขึ้นไปยังจุดกางเต็นท์ เพื่อเช็คจำนวนนักท่องเที่ยว ว่ามีใครตกหล่นอยู่ระหว่างทางไหม และมีจำนวนคนตรงกับที่ลงทะเบียนไหม เพื่อความปลอดภัยนั่นเอง ทั้งนี้ อุทยานแห่งชาติภูสอยดาวจะปิดรับนักท่องเที่ยว ระหว่างวันที่ 15 มกราคม-31 มิถุนายนของทุกปี เพื่อให้ธรรมชาติได้ฟื้นฟู เอาล่ะ เมื่อเตรียมพร้อมแล้ว ก็เริ่มเดินทางกันเลย!!!! ขอบคุณภาพจาก อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว หลังจากนั่งรถของเจ้าหน้าที่มาตรงจุดเริ่มต้น เพื่อน ๆ จะพบกับ “น้ำตกภูสอยดาว” เป็นเหมือนสถานที่ต้อนรับในตอนแรก โดยน้ำตก่จะมีทั้งหมด 5 ชั้น ชื่อไพเราะคล้องจองกันว่า ภูสอยดาว สกาวเดือน เหมือนฝัน กรรณิการ์ และสุภาภรณ์ มีน้ำไหลตลอดทั้งปี สภาพป่าโดยรอบน้ำตกจึงมีความชุ่มชื้นมาก มีมอสส์ขึ้นปกคลุมตามก้อนหินริมน้ำสวยงาม น้ำตกภูสอยดาว จากนี้ต้องตั้งใจเดินแล้วละนะ จุดหมายของแอดคือ “ลานสนสามใบภูสอยดาว” ซึ่งแอดขอแนะนำ ว่าควรออมแรงกันไว้หน่อยนะ เพราะกว่าจะถึงจุดหมาย ต้องเดินเท้าเป็นระยะทางประมาณ 6.5 กิโลเมตร ผ่านเนินต่าง ๆ ถึง 5 เนิน ที่มีชื่อแสนจะไม่ต้อนรับ คือ เนินส่งญาติ, เนินปราบเซียน, เนินป่าก่อ, เนินเสือโคร่ง และเนินมรณะ ลักษณะทางเดินจะมีความชันขึ้นไปเรื่อย ๆ ระหว่างทางเพื่อน ๆ จะได้สัมผัสธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ และมีดอกไม้ป่าที่สวยงามเป็นระยะ จากเนินแรก (เนินส่งญาติ) ไปลานสน จะใช้เวลาจะประมาณ 4 – 6 ชั่วโมง แล้วแต่กำลังของแต่ละคน อ้อ…อย่าไปยึดติดกับคำว่า จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว ในตอนเราเหนื่อยล่ะ ถ้าบ่าวบอกเหนื่อยก็พักก่อนได้ อาจจะนั่งเล่น จิบน้ำชมวิวเพื่อซึมซับความรู้สึกในป่าระหว่างรอกำลังกายกลับมา ก็เป็นความคิดที่ดีมากเลยนะ ระหว่างแต่ละเนินทางจะชันขึ้นเรื่อย ๆ ความยากแตกต่างกันไป ตามลักษณะภูมิประเทศ ระหว่างเดินแอดแทบไม่ได้พูดเลย ตั้งใจเดินเป็นหลัก (จริง ๆ กลัวเหนื่อยกว่าเดิมนั่นแหละ) แต่พอมองวิวข้างทางที่สวยแล้ว ก็หายเหนื่อยไปได้เยอะเลย ในที่สุดก็มาถึง “เนินมรณะ” เนินสุดท้ายก่อนถึงจุดหมาย ทางเดินค่อนข้างแคบและชัน ต้องใช้สมาธิในการเดินมาก ๆ ขณะเดิน มีลูกหาบที่เดินสวนลงมาคอยให้กำลังใจเป็นระยะ ๆ ด้วยนะ ยอมรับเลยว่าตื่นเต้นสุด ๆ

✨ ดูดาวเต็มฟ้า ดอกไม้ป่าเต็มทุ่ง @ ภูสอยดาว ✨ อ่านเพิ่มเติม

ข้อแนะนำสำหรับอากาศยานทำการบินในเที่ยวบินที่มีผู้โดยสารถ่ายลำหรือเปลี่ยนลำ (Transit/Transfer Flight)

สำหรับอากาศยานทำการบินในเที่ยวบินระหว่างประเทศที่มีผู้โดยสารถ่ายลำหรือเปลี่ยนลำ (International Transit/ Transfer Flight) และเที่ยวบินระหว่างประเทศที่มีผู้โดยสารผ่านลำหรือเปลี่ยนลำไปยังจังหวัดนำร่องด้านการท่องเที่ยว (Transit/Transfer Passenger Flight to SANDBOX) ​ ดาวน์โหลด PDF >> www.caat.or.th/th/archives/60087รวมทุกประกาศเกี่ยวกับ COVID-19 >> www.caat.or.th/corona —————————————————————————— ขอบคุณข้อมูลจาก CAAT – The Civil Aviation Authority of Thailand Link : https://web.facebook.com/caat.thailand/posts/1990647724431253

ข้อแนะนำสำหรับอากาศยานทำการบินในเที่ยวบินที่มีผู้โดยสารถ่ายลำหรือเปลี่ยนลำ (Transit/Transfer Flight) อ่านเพิ่มเติม

ถาม-ตอบ คลายข้อสงสัย Samui Plus Model (With English Translation) EP 5

English Translation สำหรับเพื่อน ๆ ที่มีข้อข้องใจนอกเหนือจากที่แอดนำเสนอในบทความนี้ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากบทความด้านล่างได้เลย ถาม-ตอบ คลายข้อสงสัย Samui Plus Model (With English Translation) ถาม-ตอบ คลายข้อสงสัย Samui Plus Model (With English Translation) EP 2 ถาม-ตอบ คลายข้อสงสัย Samui Plus Model (With English Translation) EP 3 ถาม-ตอบ คลายข้อสงสัย Samui Plus Model (With English Translation) EP 4 ถาม-ตอบ คลายข้อสงสัย Samui Plus Model (With English Translation) EP 6 ถาม-ตอบ คลายข้อสงสัย Samui Plus Model (With English Translation) EP 7

ถาม-ตอบ คลายข้อสงสัย Samui Plus Model (With English Translation) EP 5 อ่านเพิ่มเติม

CAAT ยืนยันเที่ยวบินจากภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ ได้รับข้อยกเว้นทำการบินไปยังสนามบินสุวรรณภูมิ

สืบเนื่องจากกระแสข่าวที่ปรากฏว่านักท่องเที่ยวต่างชาติในโครงการภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ต้องเดินทางโดยรถบัสจากจังหวัดภูเก็ตไปยังสนามบินสุวรรณภูมิเพื่อเดินทางกลับประเทศ สาเหตุเพราะสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT) ได้ออกคำสั่งมีผลตั้งแต่วันที่ 21 กรกฎาคม 2564 ห้ามสายการบินที่ให้บริการผู้โดยสาร (Passenger Flight) ทำการบินเที่ยวบินภายในประเทศรับส่งผู้โดยสารเข้าหรือออกพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (พื้นที่สีแดงเข้ม) ซึ่งเป็นไปตามมาตรการควบคุมโรคของ ศบค. CAAT ขอชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อความชัดเจน ดังนี้ ประกาศเรื่องแนวปฏิบัติสำหรับผู้ดำเนินการสนามบินและผู้ดำเนินการเดินอากาศในเส้นทางการบินภายในประเทศในระหว่างสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) (ฉบับที่ 3) ออกเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2564 ที่กระแสข่าวอ้างถึง นั้นยกเว้นเที่ยวบินที่เกี่ยวข้องกับโครงการพื้นที่นำร่องเปิดประเทศ (แซนด์บ็อกซ์ Sandbox) แม้ขณะนี้ไม่มีเที่ยวบินประจำตามตารางเวลา ให้บริการผู้โดยสารในเส้นทางระหว่างจังหวัดภูเก็ตและกรุงเทพมหานคร แต่ CAAT เปิดให้สายการบินขออนุญาตทำการบินในลักษณะเช่าเหมาลำ (Charter Flight) จากจังหวัดภูเก็ตมายังสุวรรณภูมิได้ แต่ด้วยข้อจำกัดในด้านของจำนวนผู้โดยสารอาจทำให้สายการบินพิจารณาไม่จัดเที่ยวบินไปจังหวัดภูเก็ตเพื่อไปรับนักท่องเที่ยวแซนด์บ็อกซ์ เนื่องจากพิจารณาแล้วอาจจะไม่คุ้มในการปฏิบัติการบิน ปัจจุบันยังมีเที่ยวบินให้บริการจากจังหวัดภูเก็ตไปยังสนามบินอู่ตะเภาฯ จังหวัดระยอง ซึ่ง CAATได้ประสานและกำชับสายการบินว่าให้อำนวยความสะดวกกับผู้โดยสาร โดยการจัดรถรับ-ส่งไปยังสนามบินสุวรรณภูมิ เพื่อบรรเทาปัญหาการเดินทางของนักท่องเที่ยวโครงการภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ ระหว่างที่ยังไม่มีสายการบินใดให้บริการเที่ยวบินเช่าเหมาลำในเส้นทางดังกล่าว —————————————————————————— CAAT News ฉบับที่ 30/2564 วันที่ 9 สิงหาคม 2564กองสื่อสารองค์กร : https://www.caat.or.th/th/archives/60059 —————————————————————————— ขอบคุณข้อมูลจาก CAAT – The Civil Aviation Authority of Thailand, ศูนย์ข้อมูลภูเก็ต Link : https://web.facebook.com/caat.thailand/posts/1989812844514741

CAAT ยืนยันเที่ยวบินจากภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ ได้รับข้อยกเว้นทำการบินไปยังสนามบินสุวรรณภูมิ อ่านเพิ่มเติม

✨ ประเพณีโล้ชิงช้าอาข่า จ.เชียงราย ✨

สวัสดีทุกคน วันนี้แอดมีเกร็ดความรู้เกี่ยวกับประเพณีโล้ชิงช้าอาข่า จ.เชียงราย มาฝาก ประเพณีโล้ชิงช้า เป็นงานเทศกาลปีใหม่ของชาวอาข่า จัดขึ้นเพื่อเป็นการรำลึกถึงพระคุณของเทพธิดา “อึ่มซาแยะ” ผู้ประทานความอุดมสมบูรณ์ ให้กับพืชพันธุ์ธัญญาหาร ให้มีความเจริญงอกงาม และถือเป็นการให้เกียรติสตรี ซึ่งหญิงสาวชาวอาข่าจะใช้เวลาทั้งปีตระเตรียมชุดเพื่อเทศกาลนี้โดยเฉพาะ ในงานประเพณีโล้ชิงช้า (แย้ขู่อ่าเผ่ว) จะประกอบด้วยการโล้ชิงช้าอันเป็นจุดเด่นในเทศกาล พิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษ การเลี้ยงฉลองและการเต้นรำ ซึ่งแต่ละชุมชนจะจัดไม่ตรงกัน ผู้นำชุมชนแต่ละชุมชนจะกำหนดวันจากความเหมาะสมของชุมชน โดยจะอยู่ในช่วงปลายเดือนสิงหาคมถึงต้นเดือนกันยายน งานจะมีทั้งหมด 4 วัน ดังนี้ วันที่ 1 ″จ่าแบ”ครอบครัวจะส่งตัวแทนซึ่งเป็นผู้หญิง แต่งกายสวยงามด้วยชุดประจำเผ่า ออกไปตักน้ำที่บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ เพื่อนำมาเซ่นไหว้บรรพบุรุษที่ล่วงลับ นอกจากนี้ แต่ละครอบครัวจะตำข้าวปุ๊ก (ห่อถ่อง) เพื่อใช้ในพิธีไหว้บรรพบุรุษ ซึ่งข้าวปุ๊กนี้จะเป็นการนำข้าวเหนียวไปนึ่ง แล้วนำมาตำกับงาดำและเกลือ วันที่ 2 วันสร้างชิงช้าคนในชุมชนจะมารวมตัวกันที่บ้านของ “โจ่วมา” ผู้นำศาสนาของชุมชน โจ่วมาจะแบ่งงานให้ทุกคนช่วยกันสร้างชิงช้าใหญ่ของชุมชน วันนี้จะไม่มีการฆ่าสัตว์หรือทำพิธีใด ๆ หลังจากสร้างชิงช้าใหญ่เสร็จแล้ว จะมีการโล้ชิงช้าเปิดพิธีโดยโจ่วมา จากนั้นทุกคนก็สามารถโล้ชิงช้าได้ หลังจากนั้นทุกคนก็จะไปสร้างชิงช้าเล็กไว้หน้าบ้านเพื่อให้ลูกหลานของตนได้เล่น วันที่ 3 “ล้อดา อ่าเผ่ว”เป็นวันพิธีใหญ่ มีการเลี้ยงฉลองกันทุกครัวเรือน มีการเชิญผู้อาวุโสหรือแขกต่างหมู่บ้านมาร่วมรับประทานอาหารในบ้านของตน มีการอวยพรให้กับเจ้าบ้านจากผู้อาวุโส วันที่ 4 “จ่าส่า”จะมีการโล้ชิงช้าจนตะวันตกดิน (ประมาณ 18.00 น.) โจ่วมา จะทำการเก็บเชือกของชิงช้า โดยการมัดเชือกสำหรับโล้ชิงช้าติดกับเสา หลังอาหารค่ำจะมีการเก็บเครื่องเซ่นไหว้ต่าง ๆ ถือเป็นการเสร็จสิ้นประเพณีโล้ชิงช้า 👉 รายชื่อหมู่บ้านอาข่า บ้านศรีวิเชียร จ.เชียงราย บ้านแม่จันใต้ อ.แม่สรวย บ้านแสนใจพัฒนา อ.แม่ฟ้าหลวง บ้านอาข่าป่ากล้วย ดอยตุง อ.แม่ฟ้าหลวง บ้านผาหมี-บ้านผาฮี้ อ.แม่สาย บ้านสามแยก อ.แม่ฟ้าหลวง สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม📞: 0 5371 7433, 0 5374 4674-5 (ททท.สำนักงานเชียงราย)📞: 0 5391 8415 (ศูนย์พัฒนาสังคม หน่วยที่ 12 จ. เชียงราย)📞: 0 5371 4250, 08 1952 2179 (สมาคมอาข่า)

✨ ประเพณีโล้ชิงช้าอาข่า จ.เชียงราย ✨ อ่านเพิ่มเติม

✨ รวมหาดสวยบนเกาะสมุย ✨

เกาะสมุย นับเป็นหนึ่งใน dream destination ของคนรักทะเล เป็นหมุดหมายที่นักท่องเที่ยวทั่วโลกนิยมเดินทางมาเที่ยว สมุยเป็นเกาะใหญ่ที่มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติหลายแห่ง มีชายหาดที่สวยงามไม่แพ้ที่ไหน ๆ เลย แอดบอกได้เลยว่าสมุยสวยทุกมุม ถ้าเพื่อน ๆ ไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหน ลองเลือกดูจากหาดต่าง ๆ ที่แอดรวบรวมมาดูได้ หาดละไม  ชายหาดสีขาวรูปพระจันทร์เสี้ยวนี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะ ทะเลใส หาดสวย มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ปลายหาดเป็นที่ตั้งของหินตาหินยาย แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นแลนด์มาร์กสำคัญของเกาะสมุย หินตาหินยายเป็นหินแกรนิตขนาดใหญ่ที่เกิดจากการกัดเซาะของน้ำทะเลจนทำให้เกิดเป็นรูปร่างแปลกตา เพื่อน ๆ สามารถขึ้นไปชมวิวหาดละไมในมุมสูงได้ มีค่าเข้าชม 10 บาท ไม่อนุญาตให้ปีนขึ้นไปบนหินตาเด็ดขาด อาจทำให้หินถล่มและเกิดอันตรายได้ ที่นี่ยังเป็นที่ตั้งชุมชนเล็ก ๆ ของชาวบ้านละไมอีกด้วย บรรยากาศของหาดนี้ค่อนข้างคึกคัก เพราะนักท่องเที่ยวนิยมมาพักผ่อนกันที่นี่นั่นเอง และในวันอาทิตย์ หาดละไมก็ยังมีถนนคนเดินด้วยนะ เวลา 17.30-21.00 น. ในช่วงสถานการณ์โควิด ถนนคนเดินอาจปิดชั่วคราว https://goo.gl/maps/ZD8KuzPJyWg26F6j7 หาดแม่น้ำ  ชายหาดอันเงียบสงบแห่งนี้อยู่บริเวณตอนเหนือของเกาะ เป็นที่ตั้งของชุมชนแม่น้ำ และท่าเรือที่จะข้ามไปเกาะพะงัน เหมาะสำหรับคนที่ชอบความสงบและความเป็นส่วนตัว ช่วงเย็นของวันพฤหัสบดี จะมีถนนคนเดินเลียบชายหาด มีร้านขายของที่ระลึกและร้านอาหารมากมายให้เลือกรับประทาน 17.00- 22.00 น. ในช่วงสถานการณ์โควิด ถนนคนเดินอาจปิดชั่วคราว https://goo.gl/maps/H3KJSD4JENAAALPQA หาดบ่อผุด  ชายหาดเงียบสงบอีกจุดที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเกาะ และยังเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านชาวประมงที่เก่าแก่ที่สุดบนเกาะสมุย ให้กลิ่นอายความเป็นเมืองเก่าริมทะเล คนไม่พลุกพล่าน สามารถมองเห็นเกาะพะงันได้จากหาดนี้ และยังเป็นจุดที่สามารถชมพระอาทิตย์ตกดินที่สวยงามมากหาดหนึ่ง มีร้านอาหารบรรยากาศริมทะเลหลายร้าน นอกจากนี้ยังมีถนนคนเดินตลาดเก่าเลียบชายหาด ทุกวันศุกร์ เวลา 17.00-23.00 น. ในช่วงสถานการณ์โควิด ถนนคนเดินอาจปิดชั่วคราว https://goo.gl/maps/JgQQfnBwfDp9tEQz8 หาดบางรัก  หาดบางรัก หรืออีกชื่อหนึ่งคือ “หาดพระใหญ่” อยู่ทางตอนเหนือของเกาะ ถัดจากหาดบ่อผุด เป็นหาดที่มีบรรยากาศคึกคักสำหรับสายกินเลยก็ว่าได้ เพราะเป็นตลาดจำหน่ายอาหารทะเลสด ๆ ราคาหลักร้อย แต่ได้วัตถุดิบเกรดพรีเมี่ยมเลยล่ะ เดินไปทางเกือบสุดหาด ทางขวามือจะมีเกาะเล็ก ๆ คือ “เกาะฟาน” มีถนนเชื่อมที่สามารถเดินถึงกันได้ เป็นที่ตั้งชุมชนเล็ก ๆ และเป็นที่ตั้งของ “วัดพระใหญ่” อีกด้วย https://goo.gl/maps/BP3T7b762bEDNeLt7  หาดเฉวง  หาดดังเกาะสมุย เป็นชายหาดที่ยาวที่สุดและได้รับความนิยมมากที่สุดบนเกาะสมุย ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออก เดินทางง่าย ใกล้สนามบิน แถมยังสามารถชมพระอาทิตย์ขึ้นจากหาดนี้ได้อย่างชัดเจน บรรยากาศที่หาดนี้คึกคักและเต็มไปด้วยนักท่องเที่ยวมากมาย ใครที่ชอบการสังสรรค์ และความสนุกสนาน ต้องไม่พลาดหาดนี้ ตามแนวโขดหินมีจุดดำน้ำหลายจุด ชมได้ทั้งปะการัง และฝูงปลา แถมยังมีจุดดำน้ำลึกให้เพื่อน ๆ ดำน้ำแบบจุใจ นอกจากนี้หาดเฉวงยังมีถนนคนเดิน ซึ่งมีสินค้าหลายประเภท ทั้งเสื้อผ้า สินค้าพื้นเมือง และอาหารหลากหลาย ถนนคนเดินเปิดทุกวัน (ยกเว้นวันศุกร์) เวลา 18.00-23.00 น. ในช่วงสถานการณ์โควิด ถนนคนเดินอาจปิดชั่วคราว https://goo.gl/maps/qEdfAcRygfMYqhkw5 หาดท้องตะเคียน  หาดเล็กแต่ไม่ลับ อยู่ใกล้กับจุดชมวิวลาดเกาะ เหมาะกับเพื่อน ๆ ที่อยากได้บรรยากาศแบบหาดเฉวงแต่คนไม่เยอะ หาดนี้น้ำใสมาก สามารถชมปะการังแบบดำน้ำตื้นได้ หรือใครอยากนอนเล่นริมทะเลก็มีร่มไม้ตลอดแนวหาดให้พักพิงด้วย https://goo.gl/maps/Dks7SDShBt1qgyep6  จุดชมวิวลาดเกาะ สุดท้ายนี้ที่แอดจะพาไปชม ไม่ใช่หาดทราย แต่เป็นจุดชมวิวที่ไม่อาจละสายตาไปได้ จุดชมวิวนี้ตั้งอยู่ระหว่างหาดละไมและหาดเฉวง ได้ชื่อว่าเป็นจุดชมวิวสวยที่สุดบนเกาะ ด้านล่างจุดชมวิวมีลักษณะเป็นผาหินขนาดใหญ่ติดริมทะเล มีทางเดินไปตามหน้าผาหินลงทะเล ให้เพื่อน ๆ ได้ลงไปเดินเล่น ถ่ายรูปกับทะเลอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ยังมีศาลาทรงปั้นหยาริมทะเลให้นั่งพักผ่อน ชมวิวไปเรื่อย ๆ https://goo.gl/maps/tGGqg62vk3rnq8hU8 

✨ รวมหาดสวยบนเกาะสมุย ✨ อ่านเพิ่มเติม

✨ 9 ที่เที่ยว จังหวัดนราธิวาส ✨

นราทัศน์…รู้จักเสน่ห์ดั้งเดิมของนราธิวาส ผ่านแหล่งวัฒนธรรมและธรรมชาติ ตั้งแต่ในเมือง ถึงผืนป่าและทะเ] นราธิวาส … ดินแดนพหุวัฒนธรรมบนคาบสมุทรมลายู ด้วยประวัติศาตร์อันยาวนาน เชื่อมวิถีชีวิตผู้คนต่างศาสนาและความเชื่อให้อยู่ร่วมกันได้อย่างกลมเกลียว และมีทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์หลากหลาย TAT Contact Center เพื่อนร่วมทาง ร่วมกับ The Cloud ขอนำเสนอคอลัมน์ Take Me Out เที่ยวบ้านเพื่อนคราวนี้ ชวนมาสัมผัสแหล่งเรียนรู้และมรดกทางวัฒนธรรมท้องถิ่น ไปกับ 9 สถานที่จากในเมือง สู่ผืนป่าและผืนน้ำ รับรองว่าอ่านจบแล้ว จะหลงเสน่ห์ดั้งเดิมของนราธิวาสเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน ตรวจสอบมาตรการการเดินทางเข้าพื้นที่ได้ที่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส : https://www.facebook.com/NaraPublicHealth นราธิวาส ตั้งอยู่ในพื้นที่ปลายแหลมบนคาบสมุทรมลายู (Malay Peninsula) หนึ่งในสามจังหวัดปลายด้ามขวาน มีพรมแดนติดประเทศมาเลเซีย นอกจากจะมีทรัพยากรธรรมชาติสวยงามหลากหลายเป็นเอกลักษณ์ ทั้งแม่น้ำ ทะเล ป่าไม้ ภูเขา สายธารทางประวัติศาสตร์ยังเชื่อมร้อยเรื่องราวจากทั่วทุกสารทิศมาบรรจบกัน ผ่านเส้นทางการค้าที่ถูกเรียกขานว่า ‘เส้นทางสายไหมทางทะเล’ จากแผ่นดินไร้พรมแดน สู่ส่วนหนึ่งของอาณาจักรลังกาสุกะ ปาตานีดารุสสลาม กระทั่งร่วมสมัยรัตนโกสินทร์ จากชนพื้นเมืองดั้งเดิมชาติพันธุ์เนกริโต (เซมัง-โอรังอัสลี) ชาวมลายู ชาวฮินดู-พราหมณ์ ชาวจีน ชาวสยาม หรือชาวยุโรป และจากความเชื่อในการนับถือผีสางนางไม้ สิ่งเร้นลับเหนือธรรมชาติ สู่ศรัทธาความเชื่อใหม่จำหลักมั่น ทั้งพุทธ ฮินดู-พราหมณ์ คริสต์ และอิสลาม บนแผ่นดินเดียวกัน โชคชะตาเดียวกัน วิถีชีวิตผู้คนจึงได้อยู่อาศัยร่วมกันมาอย่างผูกพันกลมเกลียว เที่ยวบ้านเพื่อนคราวนี้ ชวนมาสัมผัสวิถีชีวิตดั้งเดิม เรียนรู้วัฒนธรรมเก่าแก่ที่ ‘นราธิวาส’ กับ 9 สถานที่ทรงคุณค่า เรียนรู้การอยู่ร่วมกันอย่างกลมเกลียวในสังคมพหุวัฒนธรรม ตั้งแต่ชมสถาปัตยกรรมโบราณกว่า 400 ปี ชิมขนมพื้นบ้าน ดูวัฒนธรรมผ้าบาติก จนถึงนั่งรับลมชมความสวยงามของธรรมชาติ ในพื้นที่ที่มีความหมายว่า ที่อยู่ของคนดี-นราธิวาส 1 มัสยิดวาดีลฮูเซ็น หรือ มัสยิดตะโละมาเนาะ หนึ่งในสถาปัตยกรรมมัสยิดที่เก่าแก่ที่สุดในแหลมมลายู ผู้สร้างมัสยิดที่ว่ากันว่าเก่าแก่ที่สุดในแหลมมลายูแห่งนี้ตั้งแต่ พ.ศ. 2167 นับเนื่องถึงปีปัจจุบัน 2564 มีอายุรวม 397 ปี คือ วันฮูเซ็น อัส-ซานาวี ผู้อพยพมาจากบ้านสะนอยานยา จังหวัดปัตตานี แรกสร้างมีลักษณะเป็นเพียงหลังคามุงใบลานแบบเรียบง่าย ก่อนจะเปลี่ยนเป็นกระเบื้องดินเผา  หลักฐานสำคัญที่น่าสนใจคือ ครั้งหนึ่งบริเวณชุมชนข้างเคียงเคยเป็นแหล่งผลิตคัมภีร์อัลกุรอานที่เขียนด้วยมือ มีชื่อเสียงขจรกระจายไกล และสิ่งโดดเด่นประการหนึ่งที่มักถูกหยิบยกมากล่าวถึงกันเสมอของมัสยิดแห่งนี้ คือลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่แตกต่างจากมัสยิดทั่วไป ด้วยเป็นอาคาร 2 หลังติดต่อกัน สร้างด้วยไม้ตะเคียนทั้งหลัง ใช้ไม้สลักแทนตะปู รูปทรงอาคารเป็นแบบไทยพื้นเมืองประยุกต์เข้ากับศิลปะจีนและมลายู ได้รับการออกแบบอย่างลงตัว เหนือหลังคามีฐานมารองรับจั่วบนหลังคาอยู่ชั้นหนึ่ง กลายเป็นส่วนเด่นสุดของอาคาร หออาซานหรือที่ใช้สำหรับประกาศเรียกคนมาละหมาด มีลักษณะเป็นเก๋งจีนตั้งอยู่บนหลังคาส่วนหลัง ฝาเรือนใช้ไม้ทั้งแผ่นแล้วเจาะหน้าต่าง ช่องลมแกะเป็นลวดลายใบไม้ ดอกไม้ สลับลวดลายจีนอย่างกลมกลืนเป็นเอกลักษณ์  ปัจจุบัน ชาวบ้านตะโละมาเนาะ ยังคงใช้มัสยิดแห่งนี้เป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจอยู่เป็นประจำ โดยทั่วไปเข้าชมได้บริเวณภายนอกเท่านั้น หากต้องการเข้าชมภายใน ต้องได้รับอนุญาตจากอิหม่ามประจำหมู่บ้าน  บ้านตะโละมาเนาะ ตำบลลูโบะสาวอ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส https://goo.gl/maps/25hsfSAHSVW2MCbY9  เปิดทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00 – 17.00 น.  0 7352 2411  2 ขนมอาเก๊าะ – เจ้ายะกัง บาโง มรดกขนมพื้นบ้านมลายู จากบรรพบุรุษสู่ทายาทรุ่นใหม่ “ครอบครัวของเราทำขนมอาเก๊าะมาตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษ แม้จะมีกระบวนการขั้นตอนที่ยุ่งยากแต่เป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้ครอบครัว จึงตั้งใจสานต่อสืบทอดมาถึงคนรุ่นใหม่ คือรุ่นลูกหลานในปัจจุบัน” เมาะจิ สเปีย ผู้อาวุโสจากร้านอาเกาะ ฮัจญะห์ ยามีล๊ะ ยะกัง เจ้าเก่า บอกเล่าเรื่องการสืบทอดวิชาทำขนมโบราณในพื้นที่ชายแดนใต้ ขึ้นชื่อในลิสต์ลำดับต้น ๆ ของขนมช่วงเดือนรอมฎอน (เดือนถือศีลอดของชาวมุสลิม) จะขายดีเป็นเทน้ำเทท่า ลูกค้าโทรศัพท์สั่งจองกันข้ามวัน ใครไม่จองก่อน รับรองอดแน่นอน  อาเก๊าะ คือขนมโบราณชนิดหนึ่ง เป็นที่นิยมกันมากในจังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส สันนิษฐานว่าชื่อนี้อาจเพี้ยนมาจากคำภาษามลายูว่า อาเก๊ะ ที่แปลว่า ยกขึ้น ซึ่งเป็นลักษณะสะท้อนถึงกรรมวิธีการผลิตที่ต้องยกไฟที่วางอังไว้ข้างบนออกทุกครั้งเมื่อขนมสุก ด้วยการผิงไฟบนล่างด้วยเชื้อไฟจากกาบมะพร้าวให้ความร้อนทั่วถึง เห็นควันลอยโขมงอยู่รอบบริเวณ และถึงแม้เวลาจะผ่านไป บรรดาแม่ค้าที่ทำขนมอาเก๊าะก็ยังคงใช้วิธีแบบดั้งเดิม เพราะเป็นที่มาของกลิ่นหอมเย้ายวนชวนให้ลอง  อาเก๊าะที่สุกได้ที่แล้วจะมีลักษณะเหมือนคัสตาร์ดหรือขนมหม้อแกงเนื้อแน่น กลิ่นหอม รูปทรงรีและแบน แต่ละร้านมีสูตรการทำแตกต่างกันไป เพื่อทำให้ขนมอาเก๊าะมีเนื้อและรสแตกต่างกันไป กระทั่งทุกวันนี้ขนมอาเก๊าะ ยะกัง เป็นที่รู้จักและมีออเดอร์จำนวนมาก ทั้งในพื้นที่และจังหวัดใกล้เคียง รวมถึงในกรุงเทพฯ โดยเฉพาะช่วงเดือนรอมฎอน มียอดสั่งถึงวันละ 2,000 – 3,000 ลูก ถึงขั้นต้องเร่งการผลิต ผลัดเวรทำทั้งวันทั้งคืน  บ้านบาโง ชุมชนยะกัง 1 ตำบลบางนาค อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส https://bit.ly/3rELv7l  เปิดทุกวัน ประมาณ 09.00 – 17.00 น.  08 1599 2010  3 ภัตตาคารมังกรทอง ร้านอาหารเก่าแก่สะท้อนจีนวิถี แต่มีเมนูสมานฉันท์ ไทย จีน และปักษ์ใต้ ร้านอาหารไทย-จีนชื่อเสียงในระดับต้น ๆ อยู่คู่เมืองนรามายาวนานตั้งแต่ พ.ศ. 2518 จากบ้านอยู่อาศัยปรับปรุงกลายเป็นร้านอาหารชื่อดังสไตล์จีนร่วมสมัย ให้บริการแบบอบอุ่นเป็นกันเอง ที่นี่คือร้านอาหารจีนที่ได้รับการยอมรับว่ารสชาติดีที่สุดในนราธิวาส เน้นหนักอาหารประเภทปลา กุ้ง เมนูเด็ด เช่น ขนมจีนแกงไตปลาปักษ์ใต้ มีไข่ต้มทานประกอบ แกงส้มปลากะพงยอดมะพร้าว แกงไตปลา เป็ดกรอบ สลัดกุ้งทอด ปลาสำลีทอด ไก่สับเบตง ยำผักกูด ผัดสะตอกุ้งสด หรือปลากุเลาตากใบ และปลาหมอหยองแดดเดียวทอด  ป้ามะลิ หรือ คุณมะลิวัลย์ คือผู้ริเริ่มสร้างภัตตาคารมังกรทอง

✨ 9 ที่เที่ยว จังหวัดนราธิวาส ✨ อ่านเพิ่มเติม

🌿 6 ข้อการเที่ยว รักษ์ โลก 🌿

ทุกวันนี้ ใคร ๆ ก็หันมาให้ความสนใจเรื่องภาวะโลกร้อน ปัญหา Climate Change (การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ) หลายภาคส่วนมีความพยายามช่วยกันหาวิธีรับมือเพื่อโลกของเรา การท่องเที่ยวก็เช่นกัน เราเองก็สามารถมีส่วนช่วยโลกได้นะคะ ก่อนอื่น เรามาทำความรู้จักคำว่า Low carbon กับ Zero waste กันก่อนว่าเป็นอย่างไร เพื่อจะได้รู้ว่าเราจะมีส่วนช่วยได้อย่างไร 👉 Low carbon คือ การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อนนั่นเอง ในการใช้ชีวิตประจำวัน การทำธุรกิจ กิจกรรมโรงงาน กิจกรรมเกษตร การเดินทาง ฯลฯ ทุกกิจกรรมล้วนก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนทั้งนั้น ฉะนั้น ในแวดวงการท่องเที่ยวจึงเกิดแนวคิด Low carbon tourism คือ เที่ยวแบบคาร์บอนต่ำ ที่พยายามลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน และรบกวนสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด ฉะนั้น เมื่อเราออกเดินทางแต่ละครั้งเราก็สามารถเริ่มต้นได้ที่ตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางด้วยพลังงานที่น้อยที่สุด การเลือกที่พักสีเขียว การรับประทานอาหารที่ปรุงจากวัตถุดิบในท้องถิ่น การทำกิจกรรมท่องเที่ยวด้านสิ่งแวดล้อม เช่น กิจกรรมปลูกป่า ปลูกปะการัง การเก็บขยะ เป็นต้น ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้สามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้มากกว่าการท่องเที่ยวแบบทั่วไปที่เร่งรีบนั่นเอง 👉 Zero waste คือการทำให้ขยะเหลือศูนย์ ปัจจุบัน ปัญหาขยะเกิดจากการใช้ชีวิตประจำวันที่บริโภคสินค้าแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศเป็นอย่างมาก เราสามารถนำแนวทางของ zero waste มาปรับใช้กับชีวิตประจำวันของเรา เพื่อช่วยกันลดขยะได้ ก็คือ Reduce ลดการใช้สินค้าแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง Reuse การนำกลับมาใช้ซ้ำ และ Recycle การเลือกใช้สินค้าที่สามารถนำกลับไปแปรรูปมาใช้ใหม่ได้ ทุกคนสามารถเป็นนักท่องเที่ยวที่ดีและรักษ์โลกได้ในทุกที่ เริ่มต้นกันได้ง่าย ๆ ตัวอย่างเช่น 1. การเดินทาง ถ้าสถานที่ท่องเที่ยวของเราอยู่ไม่ไกลกันมาก ลองเปลี่ยนจากรถยนต์มาเป็นรถขนส่งสาธารณะ รถจักรยาน หรือสองขาของเราแทน 2. ตระหนักถึงความเป็นอยู่ของธรรมชาติอยู่เสมอ ไม่ทำร้ายหรือทำลาย 3. พกขวดน้ำดื่มส่วนตัว รวมทั้งช้อนส้อม และหลอด เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง 4. ช่วยประหยัดน้ำและไฟเมื่อออกจากที่พัก หรือไม่เปลี่ยนผ้าขนหนูโดยไม่จำเป็น 5. ใช้บริการโรงแรม ที่พัก และทัวร์ ที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม 6. พกอุปกรณ์อาบน้ำแบบรีฟีล เมื่อเข้าใช้บริการโรงแรมที่พัก เพื่อลดการเกิดขยะจากอุปกรณ์อาบน้ำใช้แล้วทิ้งของทางโรงแรมที่พัก

🌿 6 ข้อการเที่ยว รักษ์ โลก 🌿 อ่านเพิ่มเติม

มาตรการเร่งด่วนสำหรับผู้เดินทางมายังพื้นที่อำเภอเกาะสมุย (เผยแพร่ วันที่ 8 ส.ค. 2564)

🙆🏻‍♂️ ช่องทางการขอเอกสารรับรองความจำเป็น (ออกโดยศปก.อ.เกาะสมุย) สำหรับการเดินทางไปยังพื้นที่สีแดงเข้ม แสกน QR Code หรือคลิกที่นี่ได้เลย >> แบบคำขอเอกสารรับรองความจำเป็นในการเดินทางออกนอกเขตพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี (เฉพาะของอำเภอเกาะสมุย) —————————————————————————— ขอบคุณข้อมูลจาก ศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคอำเภอเกาะสมุย Link : https://web.facebook.com/covidcenterkohsamui/posts/211803764213023

มาตรการเร่งด่วนสำหรับผู้เดินทางมายังพื้นที่อำเภอเกาะสมุย (เผยแพร่ วันที่ 8 ส.ค. 2564) อ่านเพิ่มเติม

Scroll to Top