Spread the love

บทความ

  • บทความทั้งหมด
  • Ang Thong
  • Bangkok
  • Bueng Kan
  • Buriram
  • Chachoengsao
  • Chaiyaphum
  • Chiang Rai
  • Chonburi
  • Chumphon
  • Kamphaeng Phet
  • Kanchanaburi
  • Khon Kaen
  • Krabi
  • Lamphun
  • Loei
  • Lopburi
  • Mukdahan
  • Nakhon Pathom
  • Nakhon Phanom
  • Nakhon Ratchasima
  • Nakhon Sawan
  • Nakhon Si Thammarat
  • Nan
  • Nong Bua Lamphu
  • Nong Khai
  • Phang Nga
  • Phetchabun
  • Phetchaburi
  • Phitsanulok
  • Phra Nakhon Si Ayutthaya
  • Phrae
  • Phuket
  • Prachuap Khiri Khan
  • Ranong
  • Ratchaburi
  • Rayong
  • Samut Songkhram
  • Sing Buri
  • Sukhothai
  • Suphan Buri
  • Surat Thani
  • Tak
  • Thailand Reopening
  • Trang
  • Udon Thani
  • Uthai Thani
  • Uttaradit
  • กระบี่
  • กรุงเทพมหานคร
  • กาญจนบุรี
  • กาฬสินธุ์
  • กำแพงเพชร
  • ขอนแก่น
  • จันทบุรี
  • ฉะเชิงเทรา
  • ชลบุรี
  • ชัยนาท
  • ชัยภูมิ
  • ชุมพร
  • ตรัง
  • ตราด
  • ตาก
  • ที่เที่ยวภาคกลาง
  • ที่เที่ยวภาคตะวันตก
  • ที่เที่ยวภาคตะวันออก
  • ที่เที่ยวภาคอิสาน
  • ที่เที่ยวภาคเหนือ
  • ที่เที่ยวภาคใต้
  • นครนายก
  • นครปฐม
  • นครพนม
  • นครราชสีมา
  • นครศรีธรรมราช
  • นครสวรรค์
  • นนทบุรี
  • นราธิวาส
  • น่าน
  • นาราธิวาส
  • บึงกาฬ
  • บุรีรัมย์
  • ปทุมธานี
  • ประจวบคีรีขันธ์
  • ปราจีนบุรี
  • ปัตตานี
  • พระนครศรีอยุธยา
  • พะเยา
  • พังงา
  • พัทลุง
  • พิจิตร
  • พิษณุโลก
  • ภูเก็ต
  • มหาสารคาม
  • มุกดาหาร
  • ยะลา
  • ยโสธร
  • ร้อยเอ็ด
  • ระนอง
  • ระยอง
  • ราชบุรี
  • ลพบุรี
  • ลำปาง
  • ลำพูน
  • ศรีสะเกษ
  • สกลนคร
  • สงขลา
  • สตูล
  • สมุทรปราการ
  • สมุทรสงคราม
  • สมุทรสาคร
  • สระบุรี
  • สระแก้ว
  • สิงห์บุรี
  • สุพรรณบุรี
  • สุราษฎร์ธานี
  • สุรินทร์
  • สุโขทัย
  • หนองคาย
  • หนองบัวลําภู
  • อ่างทอง
  • อุดรธานี
  • อุตรดิตถ์
  • อุทัยธานี
  • อุบลราชธานี
  • อํานาจเจริญ
  • เชียงราย
  • เชียงใหม่
  • เพชรบุรี
  • เพชรบูรณ์
  • เลย
  • แก้ไขปัญหาการท่องเที่ยว
  • แนะนำการท่องเที่ยว
  • แพร่
  • แม่ฮ่องสอน
  • ไม่จัดหมวดหมู่
บทความทั้งหมด
  • บทความทั้งหมด
  • Ang Thong
  • Bangkok
  • Bueng Kan
  • Buriram
  • Chachoengsao
  • Chaiyaphum
  • Chiang Rai
  • Chonburi
  • Chumphon
  • Kamphaeng Phet
  • Kanchanaburi
  • Khon Kaen
  • Krabi
  • Lamphun
  • Loei
  • Lopburi
  • Mukdahan
  • Nakhon Pathom
  • Nakhon Phanom
  • Nakhon Ratchasima
  • Nakhon Sawan
  • Nakhon Si Thammarat
  • Nan
  • Nong Bua Lamphu
  • Nong Khai
  • Phang Nga
  • Phetchabun
  • Phetchaburi
  • Phitsanulok
  • Phra Nakhon Si Ayutthaya
  • Phrae
  • Phuket
  • Prachuap Khiri Khan
  • Ranong
  • Ratchaburi
  • Rayong
  • Samut Songkhram
  • Sing Buri
  • Sukhothai
  • Suphan Buri
  • Surat Thani
  • Tak
  • Thailand Reopening
  • Trang
  • Udon Thani
  • Uthai Thani
  • Uttaradit
  • กระบี่
  • กรุงเทพมหานคร
  • กาญจนบุรี
  • กาฬสินธุ์
  • กำแพงเพชร
  • ขอนแก่น
  • จันทบุรี
  • ฉะเชิงเทรา
  • ชลบุรี
  • ชัยนาท
  • ชัยภูมิ
  • ชุมพร
  • ตรัง
  • ตราด
  • ตาก
  • ที่เที่ยวภาคกลาง
  • ที่เที่ยวภาคตะวันตก
  • ที่เที่ยวภาคตะวันออก
  • ที่เที่ยวภาคอิสาน
  • ที่เที่ยวภาคเหนือ
  • ที่เที่ยวภาคใต้
  • นครนายก
  • นครปฐม
  • นครพนม
  • นครราชสีมา
  • นครศรีธรรมราช
  • นครสวรรค์
  • นนทบุรี
  • นราธิวาส
  • น่าน
  • นาราธิวาส
  • บึงกาฬ
  • บุรีรัมย์
  • ปทุมธานี
  • ประจวบคีรีขันธ์
  • ปราจีนบุรี
  • ปัตตานี
  • พระนครศรีอยุธยา
  • พะเยา
  • พังงา
  • พัทลุง
  • พิจิตร
  • พิษณุโลก
  • ภูเก็ต
  • มหาสารคาม
  • มุกดาหาร
  • ยะลา
  • ยโสธร
  • ร้อยเอ็ด
  • ระนอง
  • ระยอง
  • ราชบุรี
  • ลพบุรี
  • ลำปาง
  • ลำพูน
  • ศรีสะเกษ
  • สกลนคร
  • สงขลา
  • สตูล
  • สมุทรปราการ
  • สมุทรสงคราม
  • สมุทรสาคร
  • สระบุรี
  • สระแก้ว
  • สิงห์บุรี
  • สุพรรณบุรี
  • สุราษฎร์ธานี
  • สุรินทร์
  • สุโขทัย
  • หนองคาย
  • หนองบัวลําภู
  • อ่างทอง
  • อุดรธานี
  • อุตรดิตถ์
  • อุทัยธานี
  • อุบลราชธานี
  • อํานาจเจริญ
  • เชียงราย
  • เชียงใหม่
  • เพชรบุรี
  • เพชรบูรณ์
  • เลย
  • แก้ไขปัญหาการท่องเที่ยว
  • แนะนำการท่องเที่ยว
  • แพร่
  • แม่ฮ่องสอน
  • ไม่จัดหมวดหมู่

หลายหลากชาติพันธุ์แห่งเมืองสามหมอก

เวลาไปเที่ยวจังหวัดแม่ฮ่องสอน จะมากจะน้อยเราเป็นต้องได้เห็นเหล่าชนเผ่าที่มีเครื่องแต่งกายอันเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งเพื่อน ๆ รู้หรือไม่ว่า ในแม่ฮ่องสอนมีกลุ่มชาติพันธุ์อยู่ถึง 12 กลุ่มด้วยกัน คือ ไทใหญ่ ปกาเกอะญอ ลาหู่แชแล ลาหู่แดง เลอเวือะ ม้ง ลูซู จีนยูนนาน โปว์ กะยัน (กระเหรี่ยงคอยาว) กะยา และปะโอ.แน่นอนว่ากลุ่มชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มมีเอกลักษณ์และแตกต่าง ถ้าไม่ศึกษาคงไม่รู้ วันนี้แอดมีเกร็ดความรู้เบื้องต้นในการทำความรู้จักกับกลุ่มชาติพันธุ์ 5 กลุ่มที่เพื่อน ๆ น่าจะพอคุ้นหูมาฝากค่ะ. 1. ชาวไทใหญ่ อาศัยอยู่ในแม่ฮ่องสอนมานานกว่า 150 ปี เราพบชาวไทใหญ่ได้ในทุกอำเภอ ยกเว้นอำเภอสบเมย จุดเด่น– ประเพณีปอยส่างลอง ปอยเหลินสิบเอ็ด บูชาจองพารา– ชาวไทใหญ่มักใส่กุ๊บไต หรือหมวกสาน– อาหารไทใหญ่แสนอร่อย เช่น น้ำพริกถั่วเน่า ข้าวส้ม ข้าวกั๊นจั๊น แกงอุ๊บ ขนมส่วยทะมิน เป็นต้น. 2. ชาวปกาเกอะญอ เป็นชนกลุ่มหนึ่งในตระกูลกะเหรี่ยง เป็นกลุ่มที่มีประชากรมากที่สุด อาศัยกระจายตัวอยู่ในทุกอำเภอของจังหวัดแม่ฮ่องสอน  จุดเด่น– ผ้าทอกะเหรี่ยง เป็นงานฝีมือที่มีชื่อเสียงของชาวปกาเกอะญอ.  3. ชาวม้ง แต่เดิมอาศัยอยู่ในประเทศจีน ต่อมาอพยพมาอยู่ทางตอนเหนือของประเทศไทย รวมถึงแม่ฮ่องสอน เราพบชาวม้งได้ที่บ้านห้วยมะเขือส้ม อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน  จุดเด่น– ผ้าปักชาวม้งที่มีลวดลายสวยงามและประดับประดาด้วยเครื่องเงิน– การละเล่นโยนลูกช่วงหรือ “จุเป๊าะ” ของหนุ่มสาวในช่วงงานปีใหม่ม้ง เป็นการละเล่นเพื่อความสนุกสนาน เพื่อมิตรภาพ และยังเป็นการหาคู่ของหนุ่มสาวอีกด้วย. 4. ชาวจีนยูนนาน โดยทั่วไปเราจะนึกถึงชาวจีนที่มาจากมณฑลยูนนานของประเทศจีน แต่ชาวจีนยูนนานในจังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นชาวจีนยูนนานที่สืบเชื้อสายมาจากครอบครัวของอดีต “กองกำลังทหารจีนคณะชาติ” ซึ่งเคยเข้ามาตั้งฐานที่มั่นอยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย จุดเด่น– ชาจีน และอาหารจีนยูนนาน เช่น ขาหมูยูนนาน ทานคู่กับหมั่นโถวร้อนๆ ผัดยอดลันเตา หมูพันปี และลาบยูนนาน เป็นต้น ใครอยากรู้ว่าอาหารจีนยูนนานจะอร่อยแค่ไหน ต้องไปเที่ยวที่หมู่บ้านสันติชล อำเภอปาย. 5. ลาหู่แชแล หรือลาหู่ดำ เป็นชนกลุ่มหนึ่งในตระกูลลาหู่ เราจะพบชาวลาหู่แชแลได้ที่บ้านจ่าโบ่ บ้านบ่อไคร้ และบ้านลุกข้าวหลาม ในอำเภอปางมะผ้า จุดเด่น– ...
อ่านเพิ่มเติม

ตักบาตรรับอรุณที่วัดตระพังทอง จังหวัดสุโขทัย

วัดตระพังทอง ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย คำว่า ตระพัง มีรากศัพท์มาจากภาษาเขมรว่า “ตรฺพำง” (อ่านว่า ตรอ-เปียง) แปลว่า บ่อหรือสระน้ำที่ขุดขึ้น และเป็นที่มาของชื่อวัดแห่งนี้ คติการสร้างวัดบนเกาะกลางน้ำ เชื่อว่าได้รับอิทธิพลมาจากการเผยแผ่พุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ ซึ่งแพร่หลายในสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด.เจดีย์ประธาน.เป็นเจดีย์ทรงลังกาหรือทรงระฆัง มีลักษณะเฉพาะหรือที่เรียกว่าเจดีย์ทรงระฆังสมัยสุโขทัย สังเกตได้จาก ฐานบัวคว่ำ-บัวหงายที่ไม่สูงมาก มีบัวถลา 3 ฐานรองรับองค์ระฆัง และมีบัลลังก์อยู่ในผังสี่เหลี่ยม ไม่มีก้านฉัตรรองรับปล้องไฉน ซึ่งเจดีย์ลักษณะนี้เป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยมและพบได้มากในบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย.ในปี พ.ศ. 2444 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ได้เสด็จเยือนวัดแห่งนี้ และในปี พ.ศ. 2450 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ขณะทรงดำรงพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร) ได้เสด็จ ฯ เยือนเมืองสุโขทัย พบซากปรักหักพังของเจดีย์รายจำนวน 8 องค์ แต่ในปัจจุบันไม่พบร่องรอยของเจดีย์รายเหล่านั้นแล้ว พระอุโบสถ.ตั้งอยู่ด้านหลังของเจดีย์ประธาน ซึ่งพระอุโบสถหลังนี้สร้างบนฐานพระอุโบสถหลังเก่าสมัยสุโขทัย สร้างขึ้นจากแรงศรัทธาและเงินบริจาคของชาวบ้าน ภายใต้การนำของ พระยารณไชยชาญยุทธ (ครุธ หงสนันทน์) อดีตจางวางกำกับราชการเมืองสุโขทัยในสมัยนั้น.ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นสีขาวปางมารวิชัย นามว่า หลวงพ่อขาว เป็นพระประธานภายในพระอุโบสถ รอยพระพุทธบาทเบื้องขวา.ประดิษฐานอยู่ภายในมณฑปจัตุรมุขด้านหน้าเจดีย์ประธาน ซึ่งรอยพระพุทธบาทนั้น สร้างขึ้นในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท ราวปี พ.ศ. 1902 จำหลักหินสีเทาดำเป็นลายมงคลหนึ่งร้อยแปด โดยจำลองแบบจากศรีลังกา.เดิมประดิษฐานอยู่ ณ ภูเขาทางทิศตะวันตกของเมืองสุโขทัย เรียกว่า เขาสุมนกูฎ ชื่อเดียวกับภูเขาที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทในลังกาทวีป ปัจจุบันเรียกเขาลูกนี้ว่า เขาพระบาทใหญ่ ต่อมาได้อัญเชิญมาประดิษฐาน ณ วัดตระพังทองแห่งนี้ อนุสรณ์ตำนานพระร่วง ขอมดำดิน.พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยเสด็จ ฯ เยือนเมืองสุโขทัย และทรงพระราชนิพนธ์เรื่อง “เที่ยวเมืองพระร่วง” ความตอนหนึ่งได้กล่าวถึงตำนานพระร่วงไว้ว่า.“…วัดมหาธาตุนี้ราษฎรนับถือกันว่าเป็นที่สำคัญนัก เพราะกล่าวว่าเป็นที่พระร่วง (นายส่วยน้ำ) ได้มาทรงผนวชอยู่ ยังมีสิ่งที่ชี้เป็นพยานกันอยู่ คือขอมดำดิน ซึ่งตามนิทานว่าดำดินมาแต่นครธม มาโผล่ขึ้นในลานวัดกลางเมืองสุโขทัยเพียงแค่อก เห็นพระร่วงซึ่งผนวชเป็นภิกษุกวาดลานวัดอยู่ ขอมไม่รู้จักจึงถามหาพระร่วง พระร่วงก็บอกว่าให้ขอมคอยอยู่ก่อน จะไปตามพระร่วงมาให้ กายขุนขอมก็เลยกลายเป็นศิลาติดอยู่ที่ลานวัดนั้นเอง…” (ที่มา : Facebook มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ ร.6 ).ในอดีต ...
อ่านเพิ่มเติม

แม่ฮ่องสอน ชื่อนี้มีที่มา

หลายคนคงจะเคยสงสัยกับชื่อจังหวัดว่า “แม่ฮ่องสอน” แต่ละคำมีความหมายว่าอะไร แม่สอนอะไร? ฮ่องคืออะไร? วันนี้แอดเลยจะมาไขข้อสงสัยให้เพื่อน ๆ ได้รู้กัน.ตำนานเมืองแม่ฮ่องสอนกล่าวไว้ว่า ในปี พ.ศ. 2374 สมัยเจ้าหลวงพุทธวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ในขณะนั้น ทราบมาว่าทางด้านตะวันตกของเมือง มีภูมิประเทศเป็นภูเขาสูง ป่าทึบ และมีช้างป่าชุกชุม จึงให้เจ้าแก้วเมืองมา นำไพร่พลช้างต่อ และควาญช้าง ออกไปจับช้างป่ามาใช้งาน เส้นทางก็คือไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองเชียงใหม่ ลัดเลาะตามลำห้วยผ่านหมู่บ้านเวียงปาย หรืออำเภอปายในปัจจุบัน จากนั้นเดินทางลงมาทางทิศใต้ตามแม่น้ำปาย จนถึงบริเวณเมืองแม่ฮ่องสอนปัจจุบัน ซึ่งในขณะนั้นมีชุมชนเล็ก ๆ อาศัยอยู่ เจ้าแก้วเมืองมาเห็นว่าบริเวณตรงนี้มีทำเลดี เป็นที่ราบ มีร่องลำธาร เหมาะแก่การตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนและฝึกสอนช้าง.หลังจากที่คล้องช้างและฝึกสอนจนสามารถใช้งานได้ เจ้าแก้วเมืองมาจึงเดินทางกลับยังเมืองเชียงใหม่ และเรียกหมู่บ้านแห่งนี้ว่า “บ้านแม่ฮ่องสอน” อันหมายถึง ร่องน้ำสำหรับฝึกช้าง หรือร่องสอนช้าง นั่นเอง.แม่ฮ่องสอน เต็มไปด้วยขุนเขาสลับซับซ้อนสุดสายตา และปกคลุมด้วยม่านหมอกตลอดปี จนได้ฉายาว่า “เมืองสามหมอก” เพราะไม่ว่าจะไปเที่ยวฤดูไหนก็จะได้เห็นหมอกที่เมืองแม่ฮ่องสอนเสมอ
อ่านเพิ่มเติม

ถนนเยาวราช ชื่อนี้มีที่มา

ถนนเยาวราช สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ด้วยเห็นว่าบริเวณนี้เป็นแหล่งค้าขายสำคัญของชาวจีนกับต่างชาติ จึงสนับสนุนให้สร้างถนนเพื่อรองรับการค้าและความเจริญที่จะเกิดขึ้น ครั้งแรกใช้ชื่อว่า ถนนยุพราช แต่ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อใหม่เป็น “ถนนเยาวราช”.ถนนเยาวราชใช้เวลาสร้างนานถึง 8 ปี ทั้งที่มีความยาวเพียง 1.5 กิโลเมตร เนื่องจากแนวถนนนั้นผ่านชุมชนที่มีผู้คนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น ทำให้การตัดถนนเป็นเรื่องยากและมีอุปสรรคมากมาย.อีกทั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์มิให้ตัดถนนถูกที่ดินของชาวบ้าน โดยให้ใช้แนวเดิมที่เป็นทางเกวียนหรือแนวทางเดินมากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ส่งผลให้ถนนเส้นนี้คดเคี้ยวคล้ายมังกร จนได้สมญานามว่า “ถนนมังกร” โดยจุดเริ่มต้นอยู่ที่ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา เปรียบเสมือนหัวมังกร บริเวณตลาดเก่าเยาวราชเป็นท้องมังกร ไปจนถึงสุดถนนบรรจบกับถนนจักรเพชรคือหางมังกร.ปัจจุบัน ถนนเยาวราช หรือ ไชน่าทาวน์เมืองไทย ถือเป็นย่านเศรษฐกิจสำคัญที่คึกคักทั้งกลางวันกลางคืน เต็มไปร้านค้าที่เต็มไปด้วยกลิ่นอายความเป็นจีน ร้านทอง ธนาคาร วัดวาอาราม แหล่งท่องเที่ยว แหล่งช้อปปิ้ง รวมทั้งสตรีทฟู้ดและร้านอาหารเลิศรสที่ดึงดูดผู้คนทั้งชาวไทยและต่างชาติให้มาท่องเที่ยวไม่ขาดสาย
อ่านเพิ่มเติม

เส้นทางท่องเที่ยวนครราชสีมา 2 วัน 1 คืน

เส้นทางท่องเที่ยวนครราชสีมา 2 วัน 1 คืน . จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ที่นี่เป็นจุดหมายในการท่องเที่ยวของใครหลาย ๆ คน เพราะมีสถานที่ท่องเที่ยวหลากหลายสไตล์ เหมาะกับนักท่องเที่ยวทุกเพศทุกวัย . ทริปนี้แอดจะพาเที่ยวเมืองโคราชแบบรวบรัด 2 วัน 1 คืน ถึงจะเป็นทริปสั้น ๆ แต่รับรองว่าเพื่อน ๆ จะต้องอิ่มอกอิ่มใจแน่นอน . ไปเที่ยวที่ไหนอย่าลืมสวมหน้ากากอนามัย และพกเจลล้างมือติดตัวไปด้วยนะ . สอบถามข้อมูลท่องเที่ยวเพิ่มเติม Call Center 1672 IG : 1672travelbuddy Twitter : tat1672 Line : @tatcontactcenter WeChat : VisitThailand …………………………………………………………………………………………………… วันที่ 1– อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี– วัดศาลาลอย– จุดชมวิวกังหันลม โรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา– วัดป่าภูหายหลง วันที่ 2– สวนกุหลาบกลางพนา– อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ………………………………………………………………………………………………….. วันที่ 1 อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2477 เพื่อเป็นอนุสรณ์ในวีรกรรมอันกล้าหาญของ “ย่าโม” อนุสาวรีย์ตั้งอยู่บนฐานสูง เหนือขึ้นไปเป็นประติมากรรมย่าโมในท่ายืน แต่งกายด้วยเครื่องยศพระราชทาน มือขวาถือดาบ ปลายจรดลงพื้น หล่อด้วยทองแดงรมดำ หันหน้าไปทางทิศตะวันตกซึ่งเป็นที่ตั้งของกรุงเทพมหานคร ท้าวสุรนารีมีนามเดิมว่า คุณหญิงโม เป็นภรรยาปลัดเมืองนครราชสีมา เมื่อ พ.ศ. 2369 เจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ยกทัพเข้ายึดเมืองโคราช และกวาดต้อนผู้คนรวมถึงคุณหญิงโมไปด้วย คุณหญิงโมได้คิดอุบายหาทางช่วยเหลือชาวบ้านโดยถ่วงเวลารอให้กำลังมาสมทบ จากนั้นจึงได้ช่วยกันต่อสู้จนกองทัพแตกพ่ายและเลิกทัพกลับเวียงจันทน์ในที่สุด พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาคุณหญิงโมเป็น “ท้าวสุรนารี” …………………………………….. ด้านหลังอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีเป็นที่ตั้งของประตูชุมพล ซึ่งเป็นประตูเมืองที่สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เพื่อป้องกันการรุกรานของข้าศึก มีลักษณะเป็นประตูทรงไทย ศิลปะอยุธยา หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผา เดิมประตูเมืองมีทั้งหมด 4 ประตู แต่ปัจจุบันเหลือประตูชุมพลเพียงแห่งเดียวที่ยังคงมีสภาพสมบูรณ์ ชาวโคราชเชื่อว่า หากลอดประตูชุมพล 1 ครั้ง ...
อ่านเพิ่มเติม

บาราย…บ่อน้ำโบราณคู่ปราสาทขอม

บาราย…บ่อน้ำโบราณคู่ปราสาทขอม.เคยสังเกตกันไหม เวลาไปเที่ยวตามปราสาทหินต่าง ๆ เรามักจะเห็นบ่อน้ำหรือสระน้ำลักษณะสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่เรียกว่า “บาราย” อยู่ด้วยเสมอ ซึ่งปราสาทหินและบารายที่เป็นศิลปะแบบขอมนี้ พบเห็นได้มากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยและประเทศกัมพูชา ผู้ที่สนใจศิลปะขอมอาจรู้คำตอบอยู่แล้วว่า บารายเหล่านี้มีบทบาทอย่างไร แต่สำหรับผู้ที่ยังสงสัยอยู่นั้น แอดมีข้อสรุปบทบาทและประโยชน์ของบารายสั้น ๆ พอเป็นเกร็ดความรู้ให้เพื่อน ๆ ได้พินิจปราสาทหินได้สนุกขึ้นมาฝาก 1.เรื่องคติความเชื่อบารายแต่ละแห่งอาจจะมีขนาดที่แตกต่างกัน แต่ทุกแห่งล้วนสัมพันธ์กับเรื่องคติความเชื่อ จากมุมมองความเชื่อในวัฒนธรรมเขมร สันนิษฐานว่า “บาราย” เป็นตัวแทนแห่งมหาสมุทร หรือทะเลสีทันดรที่ล้อมรอบแกนกลางของจักรวาล คือ เขาพระสุเมรุ 2.เรื่องการป้องกันน้ำท่วมบารายบางแห่งถูกสร้างเพื่อใช้ป้องกันน้ำท่วมในตัวเมือง และท่วมพื้นที่ทำนาในช่วงฤดูฝน โดยใช้บารายเป็นที่พักน้ำ จากนั้นค่อย ๆ ปล่อยสู่ทะเลสาบ 3.เรื่องการเพาะปลูกชุมชนโบราณส่วนใหญ่จะมีอาชีพเพาะปลูก ดังนั้นการสร้างบารายเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้เพาะปลูกจึงจำเป็นอย่างมาก พื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือบางแห่งก็ยังแสดงให้เห็นว่าบารายได้ถูกนำมาใช้จริง เนื่องจากมีการวางแปลงนาเป็นตารางเชื่อมกับบาราย ตัวอย่างเช่นบารายเมืองต่ำ จังหวัดบุรีรัมย์ 4.เรื่องการอุปโภคบริโภคสันนิษฐานว่ามีการนำน้ำในบารายไปใช้เพื่อการอุปโภคบริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูแล้ง เนื่องจากพื้นที่บางแห่งไม่มีแหล่งน้ำ บารายหลายแห่งจึงถูกนำมาใช้สำรองน้ำไว้ใช้ในยามจำเป็น. ไปเที่ยวที่ไหนอย่าลืมสวมหน้ากากอนามัย และพกเจลล้างมือติดตัวไปด้วยนะ.สอบถามข้อมูลท่องเที่ยวเพิ่มเติมCall Center 1672IG : 1672travelbuddyTwitter : tat1672Line : @tatcontactcenterWeChat : VisitThailand
อ่านเพิ่มเติม

#ภาพเก่าเล่าเรื่อง การโล้ชิงช้าของชาวอาข่า จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2505

#ภาพเก่าเล่าเรื่อง การโล้ชิงช้าของชาวอาข่า จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2505.โล้ชิงช้า เป็นประเพณีเก่าแก่ของชาวอาข่าซึ่งเป็นชาวไทยภูเขาที่อาศัยอยู่บนดอยในจังหวัดเชียงราย ที่สืบทอดมานานกว่า 2,700 ปี.ประเพณีนี้จัดขึ้นในช่วงที่ผลผลิตทางการเกษตรกำลังเติบโตงอกงาม เพื่อเป็นการฉลองความอุดมสมบูรณ์ของพืชพรรณที่พร้อมสำหรับการเก็บเกี่ยวไว้บริโภค.ในประเพณีนี้ผู้หญิงชาวอาข่าจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีสันสวยงามและสวมใส่เครื่องประดับต่างๆ ในปัจจุบันเราสามารถชมประเพณีโล้ชิงช้าได้ที่หมู่บ้านผาหมี อำเภอแม่สาย และดอยแม่สลอง อำเภอแม่ฟ้าหลวง โดยงานจะจัดขึ้นในช่วงปลายเดือนสิงหาคมถึงต้นเดือนกันยายนของทุกปี.สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม – 081 952 2179 สมาคมอาข่า– 053 717 433 ททท. สำนักงานเชียงราย
อ่านเพิ่มเติม

นั่งเรือโต้ลม ชมถ้ำ ณ เขาขนาบน้ำ

เวลานึกถึงจังหวัดกระบี่ เชื่อว่าทุกคนเป็นต้องนึกถึงภาพทะเลสวย ๆ อย่างเกาะพีพี อ่าวมาหยา อ่าวไร่เลย์ขึ้นมาแน่ ๆ แต่คราวนี้แอดไม่ได้ชวนเที่ยวทะเลหรอกนะ เพราะแอดจะขอเปลี่ยนบรรยากาศด้วยการพาไปเที่ยวถ้ำ แถมยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ถือเป็นสัญลักษณ์ของเมืองกระบี่อีกด้วย นั่นคือ “เขาขนาบน้ำ” . ใครที่ยังไม่ทราบว่า เขาขนาบน้ำคืออะไร มีอะไรน่าสนใจ มาค่ะ ตามแอดมา . ไปเที่ยวที่ไหนอย่าลืมสวมหน้ากากอนามัย และพกเจลล้างมือติดตัวไปด้วยนะ . สอบถามข้อมูลท่องเที่ยวเพิ่มเติม Call Center 1672 IG : 1672travelbuddy Twitter : tat1672 Line : @tatcontactcenter WeChat : VisitThailand ……………………………………………………………………………………………………………… เขาขนาบน้ำ คือ เขาสองลูกที่อยู่ใกล้กันมาก บริเวณระหว่างช่องเขาถูกคั่นด้วยแม่น้ำ ทำให้ดูราวกับว่าเขาทั้งสองกำลังขนาบแม่น้ำแห่งนี้อยู่ นี่จึงเป็นที่มาของชื่อ “เขาขนาบน้ำ” ………………………………………………………………………………………… การเดินทางไปชมธรรมชาติโดยรอบของเขาขนาบน้ำนั้น เราจะต้องนั่งเรือหัวโทงไป ค่าเรือลำละประมาณ 500 บาท (ราคาต่อรองกันได้) นั่งได้ 6-8 คน สามารถขึ้นได้ที่บริเวณลานปูดำ แอดแนะนำว่าให้ไปช่วงเย็นๆ นะคะ อากาศจะได้ไม่ร้อนมาก ใช้เวลาเดินทางประมาณ 15-20 นาทีเท่านั้น ระหว่างทาง นอกจากจะได้ชมธรรมชาติของป่าโกงกางที่สมบูรณ์แล้ว เรายังได้อมยิ้มกับเจ้าลิงตัวเล็กตัวน้อยที่พากันมาห้อยโหนโชว์ตัวอยู่ที่บริเวณริมตลิ่งอีกด้วย เมื่อนั่งเรือมาถึงบริเวณเขาขนาบน้ำ เรายังต้องเดินเท้าต่ออีกประมาณ 5-10 นาที เพื่อไปชมความงามภายในถ้ำ โดยปกติแล้วเราจะต้องเสียค่าเข้าชมคนละ 30 บาท แต่เนื่องจากช่วงนี้มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทางเขาขนาบน้ำจึงให้เข้าชมฟรีค่ะ (ชั่วคราว) เมื่อเดินเข้าไปชมภายในถ้ำ แอดเชื่อว่าทุกคนคงต้องสะดุดตากับโครงกระดูกมนุษย์ที่มีขนาดใหญ่นี้แน่นอน และคงสงสัยว่านี่ใช่ของจริงหรือไม่.สิ่งที่เพื่อน ๆ กำลังเห็นอยู่นี้คือ ผลงานศิลปะของศิลปินชาวไต้หวัน Tu Wei-Cheng ชื่อ Giant Ruins ที่สร้างสรรค์ขึ้นมาเพื่อแสดงในงาน Thailand Biennale กระบี่ 2018 ที่ผ่านมา โดยมีแรงบันดาลใจมาจากตำนานเมืองที่เล่าสืบกันมาว่า มีพญายักษ์กับพญานาคเปิดศึกชิงเจ้าหญิงโฉมงามจนตัวตาย และศพทั้งคู่ได้กลายเป็นเขาหิน 2 ลูกที่ตั้งหันหลังชนกัน.ศิลปินจับตำนานนี้มาสร้างงานศิลปะ จำลองโครงกระดูกมนุษย์มีเขี้ยว ...
อ่านเพิ่มเติม

รื่นรมย์บุรีรัมย์ 2 วัน 1 คืน

วันที่ 1– ศาลหลักเมืองบุรีรัมย์– เขตห้ามล่าสัตว์ป่าภูเขาไฟกระโดง– บุรีรัมย์ คาสเซิล– วัดป่าเขาน้อย.วันที่ 2– เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำห้วยจระเข้มาก– อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง– ปราสาทหินเมืองต่ำ วันที่ 1ศาลหลักเมืองบุรีรัมย์.เป็นศาลหลักเมืองที่มีความโดดเด่นมาก มองครั้งแรกก็รู้ว่าที่นี่คือบุรีรัมย์ เป็นการออกแบบจากกรมศิลปากรโดยนำปราสาทหินพนมรุ้งมาเป็นต้นแบบ เพื่อเชิดชูเอกลักษณ์ของจังหวัด ศาลหลักเมืองที่เราเห็นปัจจุบันเป็นหลังใหม่ที่สร้างขึ้นมาทดแทนหลังเดิมที่ชำรุดทรุดโทรมไป ภายในประดิษฐานเสาหลักเมืองถึง 2 เสาด้วยกัน สันนิษฐานว่า เสาหลักเมืองต้นด้านหน้า (ต้นที่เอียง) เป็นเสาหลักเมืองต้นแรก ตั้งขึ้นเมื่อครั้งสร้างเมืองแปะ ราวสมัยกรุงธนบุรี ส่วนเสาหลักเมืองต้นด้านหลัง เป็นเสาหลักเมืองที่ตั้งขึ้นเมื่อครั้งถูกยกฐานะให้เป็นจังหวัดบุรีรัมย์ ในช่วงรัชกาลที่ 5 สมัยรัตนโกสินทร์.ทุกวัน จะมีชาวบุรีรัมย์และนักท่องเที่ยวต่างเมืองแวะเวียนมาสักการะบูชาศาลหลักเมืองกันอย่างต่อเนื่อง.ศาลหลักเมืองบุรีรัมย์ ที่ตั้ง : ต.ในเมือง อ.เมือง จ.บุรีรัมย์เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่ 08.00-17.00 น.พิกัด : https://goo.gl/maps/QsDwU59xTqhHyLXh8 เขตห้ามล่าสัตว์ป่าภูเขาไฟกระโดง.จังหวัดบุรีรัมย์ มีภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว 8 ลูก หนึ่งในนั้นคือ “ภูเขาไฟกระโดง” นี่แหละ.ภูเขาไฟกระโดง สูงจากระดับน้ำทะเล 265 เมตร เป็นภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว แต่ยังปรากฏปากปล่องภูเขาไฟที่เห็นได้ชัดเจน เป็นรูปพระจันทร์ครึ่งซีก ปัจจุบันมีสภาพเป็นแอ่งน้ำ.เดิมเขาลูกนี้ชื่อว่า “พนมกระดอง” คำว่า “พนม” เป็นภาษาเขมร แปลว่า ภูเขา ส่วน “กระดอง” ก็คือ กระดองเต่า รวมแล้วก็แปลว่า ภูเขาที่คล้ายกระดองเต่า หรือ ภูเขากระดอง และเพี้ยนเป็น ภูเขากระโดง ในเวลาต่อมา บนปากปล่องภูเขาไฟ มีสะพานชื่อว่า “สะพานแขวนลาวา” สามารถไปยืนถ่ายรูปสวย ๆ ด้านบน และยังสามารถชมปากปล่องภูเขาไฟได้อีกด้วย นอกจากนี้ บนภูเขาไฟกระโดงยังมีความน่าสนใจอื่น ๆอีก อันได้แก่ พระสุภัทรบพิตร ปราสาทเขากระโดง พระพุทธบาทจำลอง ฯลฯ รวมทั้งเป็นจุดชมวิวเมืองบุรีรัมย์ในมุมสูงที่สวยงามมาก ๆ จุดหนึ่งทีเดียว.ภูเขาไฟกระโดง สามารถขึ้นได้ 2 วิธีคือ โดยการเดินขึ้นบันได ที่เรียกว่า “บันไดนาคราช” จำนวน 297 ขั้น หรืออีกหนึ่งวิธีคือนำรถขึ้นไปจอดบริเวณจุดชมวิวด้านบนได้เลย.นอกจากนี้ ...
อ่านเพิ่มเติม

ย้อนรอย…อารยธรรมขอม ปราสาทหินพิมาย

ย้อนรอย…อารยธรรมขอม อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย จ.นครราชสีมา.อารยธรรมขอมเข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่สมัยโบราณ และได้ทิ้งร่องรอยไว้หลายรูปแบบ หนึ่งในนั้นคือปราสาทหินในแถบอีสานใต้ ไม่ว่าจะเป็นที่จังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ และศรีสะเกษ .วันนี้แอดจะพาเพื่อน ๆ ไปย้อนรอยอารยธรรมขอมที่อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย จังหวัดนครราชสีมา ที่นี่เพื่อน ๆ จะได้ดื่มด่ำกับประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจและความสวยงามของปราสาทหินอย่างแน่นอนค่ะ.ไปเที่ยวที่ไหนอย่าลืมสวมหน้ากากอนามัย และพกเจลล้างมือติดตัวไปด้วยนะ.สอบถามข้อมูลท่องเที่ยวเพิ่มเติมCall Center 1672IG : 1672travelbuddyTwitter : tat1672Line : @tatcontactcenterWeChat : VisitThailand อุทยานประวัติศาสตร์พิมายที่ตั้ง : ต.ในเมือง อ.พิมาย จ.นครราชสีมาเปิดทุกวัน เวลา 07.00-18.00 น.พิกัด : https://goo.gl/maps/YFFmQd7uDTA3m7e39โทร. 044 471 568.อุทยานประวัติศาสตร์พิมายมีโบราณสถานที่งดงาม นั่นก็คือ ปราสาทหินพิมาย ซึ่งเป็นปราสาทหินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คำว่า “พิมาย” น่าจะเป็นคำเดียวกันกับคำว่า “วิมายะ” ที่ปรากฎอยู่ในจารึกภาษาเขมรบนแผ่นหินกรอบประตูโคปุระระเบียงคดด้านหน้าของปราสาทหิน.ปราสาทหินพิมายเป็นพุทธสถานในลัทธิมหายานที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 หรือประมาณพุทธศตวรรษที่ 16 เรียกได้ว่าสร้างก่อนปราสาทนครวัดเสียอีก ตัวปราสาทมีรูปแบบศิลปกรรมขอมแบบบาปวน จึงเชื่อกันว่าหลังคาของปราสาทหินพิมายเป็นต้นแบบในการก่อสร้างปราสาทนครวัดนั้นเอง เมื่อเข้าไปในบริเวณปราสาทหิน จะพบกับพลับพลาเปลื้องเครื่องอยู่ทางด้านซ้ายมือ สันนิษฐานว่าอาคารหลังนี้น่าจะใช้เป็นที่พักเตรียมพระองค์สำหรับกษัตริย์หรือเจ้านายที่เสด็จมาประกอบพิธีกรรมทางศาสนา รวมถึงเป็นที่จัดของถวายต่าง ๆ เดินถัดมา จะพบสะพานนาคราช เป็นสะพานที่ทำด้วยหินทราย ราวสะพานเป็นรูปปั้นพญานาค 7 เศียร นอกจากนี้ยังมีรูปปั้นสิงห์ 2 ตัว ทำหน้าที่เปรียบเสมือนองครักษ์ที่คอยปกปักรักษาสถานที่แห่งนี้ เมื่อผ่านสะพานนาคราชและกำแพงชั้นนอกเข้ามาแล้ว จะเป็นส่วนของ “ชาลาทางเดิน” ซึ่งเป็นทางเดินที่เชื่อมต่อไปถึงระเบียงคดและกำแพงชั้นใน มีไว้สำหรับพระมหากษัตริย์และเชื้อพระวงศ์เท่านั้น.จากการขุดค้น พบเศษกระเบื้องมุงหลังคาดินเผาจำนวนมาก จึงสันนิษฐานว่าในสมัยก่อน ทางเดินนี้มีหลังคา และหลุม 4 หลุมที่อยู่ตรงชาลาทางเดิน มีไว้สำหรับระบายน้ำจากหลังคาของทางเดินนั่นเอง โคปุระที่สลักลวดลายสวยงาม และระเบียงคดที่ล้อมรอบปราสาทประธานและปรางค์สำคัญที่อยู่ใกล้กัน เมื่อเข้ามาบริเวณลานชั้นใน เราจะได้เห็นความสวยงามและความยิ่งใหญ่ของปราสาทประธาน ซึ่งเป็นศูนย์กลางของศาสนาสถานแห่งนี้ โดยมีส่วนสำคัญ 2 ส่วนคือ มณฑปและเรือนธาตุ (องค์ปราสาท) มณฑปมีลักษณะเป็นห้องรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเชื่อมต่อกับองค์ปราสาท มีหน้าบันเป็นรูปสลักพระศิวนาฎราช องค์ปราสาทมีลักษณะเป็นอาคารสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุม สลักลวดลายประดับตามส่วนต่าง ๆ เช่น หน้าบัน ทับหลัง และซุ้มหลังคา เป็นต้น ...
อ่านเพิ่มเติม
Scroll to Top