Spread the love

บทความ

  • บทความทั้งหมด
  • Ang Thong
  • Bangkok
  • Bueng Kan
  • Buriram
  • Chachoengsao
  • Chaiyaphum
  • Chiang Rai
  • Chonburi
  • Chumphon
  • Kamphaeng Phet
  • Kanchanaburi
  • Khon Kaen
  • Krabi
  • Lamphun
  • Loei
  • Lopburi
  • Mukdahan
  • Nakhon Pathom
  • Nakhon Phanom
  • Nakhon Ratchasima
  • Nakhon Sawan
  • Nakhon Si Thammarat
  • Nan
  • Nong Bua Lamphu
  • Nong Khai
  • Phang Nga
  • Phetchabun
  • Phetchaburi
  • Phitsanulok
  • Phra Nakhon Si Ayutthaya
  • Phrae
  • Phuket
  • Prachuap Khiri Khan
  • Ranong
  • Ratchaburi
  • Rayong
  • Samut Songkhram
  • Sing Buri
  • Sukhothai
  • Suphan Buri
  • Surat Thani
  • Tak
  • Thailand Reopening
  • Trang
  • Udon Thani
  • Uthai Thani
  • Uttaradit
  • กระบี่
  • กรุงเทพมหานคร
  • กาญจนบุรี
  • กาฬสินธุ์
  • กำแพงเพชร
  • ขอนแก่น
  • จันทบุรี
  • ฉะเชิงเทรา
  • ชลบุรี
  • ชัยนาท
  • ชัยภูมิ
  • ชุมพร
  • ตรัง
  • ตราด
  • ตาก
  • ที่เที่ยวภาคกลาง
  • ที่เที่ยวภาคตะวันตก
  • ที่เที่ยวภาคตะวันออก
  • ที่เที่ยวภาคอิสาน
  • ที่เที่ยวภาคเหนือ
  • ที่เที่ยวภาคใต้
  • นครนายก
  • นครปฐม
  • นครพนม
  • นครราชสีมา
  • นครศรีธรรมราช
  • นครสวรรค์
  • นนทบุรี
  • นราธิวาส
  • น่าน
  • นาราธิวาส
  • บึงกาฬ
  • บุรีรัมย์
  • ปทุมธานี
  • ประจวบคีรีขันธ์
  • ปราจีนบุรี
  • ปัตตานี
  • พระนครศรีอยุธยา
  • พะเยา
  • พังงา
  • พัทลุง
  • พิจิตร
  • พิษณุโลก
  • ภูเก็ต
  • มหาสารคาม
  • มุกดาหาร
  • ยะลา
  • ยโสธร
  • ร้อยเอ็ด
  • ระนอง
  • ระยอง
  • ราชบุรี
  • ลพบุรี
  • ลำปาง
  • ลำพูน
  • ศรีสะเกษ
  • สกลนคร
  • สงขลา
  • สตูล
  • สมุทรปราการ
  • สมุทรสงคราม
  • สมุทรสาคร
  • สระบุรี
  • สระแก้ว
  • สิงห์บุรี
  • สุพรรณบุรี
  • สุราษฎร์ธานี
  • สุรินทร์
  • สุโขทัย
  • หนองคาย
  • หนองบัวลําภู
  • อ่างทอง
  • อุดรธานี
  • อุตรดิตถ์
  • อุทัยธานี
  • อุบลราชธานี
  • อํานาจเจริญ
  • เชียงราย
  • เชียงใหม่
  • เพชรบุรี
  • เพชรบูรณ์
  • เลย
  • แก้ไขปัญหาการท่องเที่ยว
  • แนะนำการท่องเที่ยว
  • แพร่
  • แม่ฮ่องสอน
  • ไม่จัดหมวดหมู่
บทความทั้งหมด
  • บทความทั้งหมด
  • Ang Thong
  • Bangkok
  • Bueng Kan
  • Buriram
  • Chachoengsao
  • Chaiyaphum
  • Chiang Rai
  • Chonburi
  • Chumphon
  • Kamphaeng Phet
  • Kanchanaburi
  • Khon Kaen
  • Krabi
  • Lamphun
  • Loei
  • Lopburi
  • Mukdahan
  • Nakhon Pathom
  • Nakhon Phanom
  • Nakhon Ratchasima
  • Nakhon Sawan
  • Nakhon Si Thammarat
  • Nan
  • Nong Bua Lamphu
  • Nong Khai
  • Phang Nga
  • Phetchabun
  • Phetchaburi
  • Phitsanulok
  • Phra Nakhon Si Ayutthaya
  • Phrae
  • Phuket
  • Prachuap Khiri Khan
  • Ranong
  • Ratchaburi
  • Rayong
  • Samut Songkhram
  • Sing Buri
  • Sukhothai
  • Suphan Buri
  • Surat Thani
  • Tak
  • Thailand Reopening
  • Trang
  • Udon Thani
  • Uthai Thani
  • Uttaradit
  • กระบี่
  • กรุงเทพมหานคร
  • กาญจนบุรี
  • กาฬสินธุ์
  • กำแพงเพชร
  • ขอนแก่น
  • จันทบุรี
  • ฉะเชิงเทรา
  • ชลบุรี
  • ชัยนาท
  • ชัยภูมิ
  • ชุมพร
  • ตรัง
  • ตราด
  • ตาก
  • ที่เที่ยวภาคกลาง
  • ที่เที่ยวภาคตะวันตก
  • ที่เที่ยวภาคตะวันออก
  • ที่เที่ยวภาคอิสาน
  • ที่เที่ยวภาคเหนือ
  • ที่เที่ยวภาคใต้
  • นครนายก
  • นครปฐม
  • นครพนม
  • นครราชสีมา
  • นครศรีธรรมราช
  • นครสวรรค์
  • นนทบุรี
  • นราธิวาส
  • น่าน
  • นาราธิวาส
  • บึงกาฬ
  • บุรีรัมย์
  • ปทุมธานี
  • ประจวบคีรีขันธ์
  • ปราจีนบุรี
  • ปัตตานี
  • พระนครศรีอยุธยา
  • พะเยา
  • พังงา
  • พัทลุง
  • พิจิตร
  • พิษณุโลก
  • ภูเก็ต
  • มหาสารคาม
  • มุกดาหาร
  • ยะลา
  • ยโสธร
  • ร้อยเอ็ด
  • ระนอง
  • ระยอง
  • ราชบุรี
  • ลพบุรี
  • ลำปาง
  • ลำพูน
  • ศรีสะเกษ
  • สกลนคร
  • สงขลา
  • สตูล
  • สมุทรปราการ
  • สมุทรสงคราม
  • สมุทรสาคร
  • สระบุรี
  • สระแก้ว
  • สิงห์บุรี
  • สุพรรณบุรี
  • สุราษฎร์ธานี
  • สุรินทร์
  • สุโขทัย
  • หนองคาย
  • หนองบัวลําภู
  • อ่างทอง
  • อุดรธานี
  • อุตรดิตถ์
  • อุทัยธานี
  • อุบลราชธานี
  • อํานาจเจริญ
  • เชียงราย
  • เชียงใหม่
  • เพชรบุรี
  • เพชรบูรณ์
  • เลย
  • แก้ไขปัญหาการท่องเที่ยว
  • แนะนำการท่องเที่ยว
  • แพร่
  • แม่ฮ่องสอน
  • ไม่จัดหมวดหมู่

✨เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืด ✨

ในอดีต ดวงดาวมีความสำคัญมาก เพราะใช้เพื่อการหาทิศทาง บอกฤดูกาล บอกเวลา หรือแม้แต่มองหาความงดงามในยามค่ำคืน แต่จากวิวัฒนาการของโลกปัจจุบันที่ทำให้มีแสงสว่างในยามค่ำคืนมากขึ้น จนทำให้มองเห็นดาวยากขึ้นกว่าในอดีต จนหลายคนลืมเลือนความสำคัญของดวงดาวและท้องฟ้ายามค่ำคืน วันนี้แอดเลยอยากจะมาแนะนำ “เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืด” สถานที่ท่องเที่ยวที่รณรงค์ให้สังคมตระหนักถึงผลกระทบจากการใช้แสงสว่าง และเป็นที่เรียนรู้ด้านดาราศาสตร์ มาให้เพื่อน ๆ ได้รู้จัก ใครเป็นสายดูดาวลองตามมาอ่านกัน โครงการ Amazing Dark Sky In Thailand เกิดจากการร่วมมือของ ททท. และสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ที่ต้องการเสนอแหล่งท่องเที่ยวที่สามารถให้ประสบการณ์การเรียนรู้ทางด้านดาราศาสตร์ (Dark Sky Tourism) ซึ่งสถานที่ที่ได้รับการขึ้นทะเบียน จะต้องมีการบริหารจัดการแสงสว่างที่ดี มีความมืดของท้องฟ้าที่เหมาะสม มีพื้นที่เปิดโล่งมองเห็นวัตถุท้องฟ้าเด่น ๆ ได้ด้วยตาเปล่า มีบุคลากรในพื้นที่ที่สามารถให้ความรู้ทางดาราศาสตร์เบื้องต้น และมีสิ่งอำนวยความสะดวกตั้งแต่เส้นทางคมนาคม ห้องน้ำ ที่พัก ไปจนถึงร้านอาหาร ให้ผู้มาใช้บริการด้วย เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในประเทศไทย แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1. อุทยานท้องฟ้ามืด Dark Sky Park เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ที่จะจำกัดการใช้แสงสว่างยามค่ำคืนเพื่อรักษาความมืดบนท้องฟ้าให้มีความเหมาะสมต่อการชมท้องฟ้า มีการรักษาสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตและระบบนิเวศในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ โดยปัจจุบันมีสถานที่ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนดังนี้ 1.อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง จ.เชียงใหม่ 2.อุทยานแห่งชาติผาแต้ม จ.อุบลราชบุรี 3.เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว-ทุ่งกระมัง จ.ชัยภูมิ 4.อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม จ.ชัยภูมิ 5.อุทยานแห่งชาติภูแลนคา จ.ชัยภูมิ *สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : https://darksky.narit.or.th/darkskyreserve/dsp/ 2. ชุมชนอนุรักษ์ท้องฟ้ามืด Dark Sky Communities เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืด ในพื้นที่ชุมชน ที่ได้รับการร่วมมือและสนับสนุนจากประชาชนในพื้นที่ในการรักษาและสงวนท้องฟ้าในเวลากลางคืนให้มีความมืดที่เหมาะสม ปัจจุบันมี 1 ชุมชนคือ ชุมชนออนใต้ อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ *สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : https://darksky.narit.or.th/darkskyreserve/communities/ 3. เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดส่วนบุคคล Dark Sky Properties เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในพื้นที่ส่วนบุคคล เช่น รีสอร์ท ฟาร์ม หรือ ศูนย์การเรียนรู้ต่าง ๆ ที่นอกจากจะมีการอนุรักษ์ท้องฟ้าให้มืดจากการใช้แสงสว่างตอนค่ำอย่างระมัดระวังแล้ว สถานที่ต้องมีความปลอดภัย เดินทางสะดวก ...
อ่านเพิ่มเติม

วงเวียนใหญ่ ตลาดพลู…ชื่อนี้มีแต่ของอร่อย✨

ใครสายกิน…มาทางนี้กันเลย วันนี้แอดชวนไปกันที่ย่านวงเวียนใหญ่ ตลาดพลู แค่ได้ยินชื่อของอร่อยก็เห็นภาพของอร่อยเต็มไปหมด แถมอิ่มแบบจุก ๆ อย่างแน่นอน ย่านนี้ขึ้นชื่อว่ามีแต่ของอร่อย ไม่แพ้ร้านดังที่อื่น ๆ รวมถึงการเดินทางก็สะดวกสบาย ง่ายต่อการตะลุยกิน จริง ๆ แล้วยังมีร้านเด็ดอีกเยอะเลยค่ะ วันนี้แอดนำมาฝากเป็นน้ำจิ้ม ใครมีโอกาสผ่านไปแถววงเวียนใหญ่ ตลาดพลู ก็ตามไปชิมกันเยอะ ๆ นะคะ วงเวียนใหญ่ ตลาดพลู…ชื่อนี้มีแต่ของอร่อย 1. อนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช 2. ขาหมูคาเฟ่ (สูตรฮ่องเต้) 3. ผัดไท นรกแตก 4. สมศักดิ์ปูอบ 5. ขนมหวานตลาดพลู เจ้าเก่า 6. นิอ่าง น้ำแข็งใส ไอติมไข่แข็ง อนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช แอดเดินทางด้วยรถไฟฟ้า BTS มาลงที่สถานีวงเวียนใหญ่ จากรถไฟฟ้าใช้เวลาเดินประมาณ 10 นาที ก็จะถึงร้านต่าง ๆ ในย่านนี้ ซึ่งแต่ละร้านก็ไม่ได้ไกลกันมากนัก แน่นอนว่า เราจะพบกับอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ตั้งตระหง่านอยู่ใจกลางวงเวียน เพื่อน ๆ แวะไปสักการะเพื่อเป็นสิริมงคลกับชีวิต https://goo.gl/maps/zTjUpXozRDYFnx1C9 ขาหมูคาเฟ่ (สูตรฮ่องเต้) เริ่มที่ร้านขาหมู สูตรฮ่องเต้ ร้านนี้ไม่ได้มีแค่ข้าวขาหมูแบบดั้งเดิมนะ แต่ยังมีเมนูน่าลองอีกหลายอย่างไม่ว่าจะเป็น บะหมี่ก๋วยจั๊บน้ำข้น บะหมี่ขาหมู กะเพราขาหมูพริกแห้ง ฯลฯ บอกเลยว่ารสเด็ด หอมเข้มข้นขาหมูเลย ต้องมาลองค่ะ  440 ตรงข้ามซอยเจริญรัถ 3 ถนนเจริญรัถ แขวงคลองต้นไทร เขตคลองสาน กรุงเทพฯ  เปิดทุกวัน เวลา 10.00-19.00 น. (ปิดวันเสาร์-อาทิตย์)  โทร. 09 3254 6263 https://goo.gl/maps/qd9pzzVtZ2HRXUiTA  ผัดไท นรกแตก ผัดไทยสูตรโบราณ อร่อยจนคนต่อคิวแน่นตั้งแต่ร้านเปิด จนเป็นที่มาของชื่อร้าน “นรกแตก” นั่นเอง กุ้งสดตัวโต เครื่องจัดเต็มอีกด้วย  ถนนลาดหญ้า (ใกล้สหกรณ์กรุงเทพ สาขาลาดหญ้า) ...
อ่านเพิ่มเติม

ชมวัดงามวิจิตร ณ วัดเด่นสะหลีศรีเมืองแกน (วัดบ้านเด่น)

#เชียงใหม่ นับเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีวัดมากมาย ทั้งยังงดงามและมีเอกลักษณ์ วันนี้แอดมีวัดสวยเด่นสมชื่อมาแนะนำ นั่นคือ #วัดเด่นสะหลีศรีเมืองแกน หรือที่ชาวบ้านเรียกกันโดยทั่วไปว่า #วัดบ้านเด่น วัดบ้านเด่น เดิมชื่อวัดหรีบุญเรือง อายุเก่าแก่มากกว่า 120 ปี ได้รับการบูรณะขึ้นใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2531 โดยพระครูบาเจ้าเทือง เกจิชื่อดังของภาคเหนือที่จำพรรษาอยู่ ณ วัดแห่งนี้ โดยมีแนวคิดที่ต้องการให้วัดเป็นสถานที่พักผ่อนทางจิตใจที่แฝงคติธรรม รวมถึงลูกศิษย์ที่เลื่อมใสต่อพระครูบาเจ้าเทืองได้บริจาคทำบุญให้กับวัดจำนวนมาก ในการบูรณะครั้งนี้ ทำให้วัดบ้านเด่นกลายเป็นวัดที่งดงามมาก ภายในวัด ประกอบด้วยอาคารหลายหลังล้วนงดงามตามแบบศิลปกรรมล้านนาประยุกต์ ทั้งวิหาร อุโบสถ หอพระธรรม วิหารหลวง พระสถูปเจดีย์ ทั้งยังมีรูปปั้นสัตว์หิมพานต์สีสันสวยตระการตาอยู่ทั่ววัด และพระธาตุประจำปีเกิด 12 ราศีแบบจำลองที่นับว่าเป็นไฮไลต์ของวัด เพราะมีสีดำสลับกับสีขาวและสีทองตัดกันอย่างโดดเด่น หากเพื่อน ๆ มีโอกาสไปเที่ยวเชียงใหม่ หรือชอบสถาปัตยกรรมแบบล้านนา #วัดบ้านเด่น ก็นับเป็นอีกหนึ่งสถานที่ที่ควรไปเยี่ยมชมด้วยตาตัวเอง ตำบลอินทขิล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เปิดทุกวันเวลา 08.00-18.00 น. 063 241 1987 https://goo.gl/maps/hQ2P38KyBiomiXB1A
อ่านเพิ่มเติม

📸 ถ้ำมรกต มหัศจรรย์ทะเลตรัง 🌴

ออกไปเที่ยวดำน้ำผจญภัยลอดใต้โพรง อุโมงค์หลุมยุบ “ถ้ำมรกต” มหัศจรรย์ทะเลตรัง หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ถ้ำน้ำ” ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของ #เกาะมุก#อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม มีความยาวทั้งหมด 80 เมตร ไฮไลท์ของที่นี่คือการได้ลอดเข้าไปด้านในผ่านความมืด เมื่อมายังอีกฝั่งจะตะลึงกับความสวยงามตรงหน้า น้ำสีฟ้าใส เมื่อถูกแดดส่องมาจากด้านบน ทำให้น้ำข้างในกลายเป็นสีเขียวมรกตสมชื่อ พร้อมหาดทรายสีขาวสะอาด ล้อมรอบด้วยหน้าผาสูงชัน สวยจริง ๆ ถือเป็นอีกหนึ่งสถานที่ที่สายท่องเที่ยวต้องไปเห็นให้ได้ด้วยตาตัวเองสักครั้ง! การเดินทาง : สามารถเช่าเรือเหมาลำจากท่าเรือปากเมง อำเภอสิเภา หรือแพ็กเกจนำเที่ยวจากผู้ประกอบการนำเที่ยวบริเวณท่าเรือหรือในอำเภอเมืองตรังก็ได้ จะใช้เวลาเดินทางจากท่าเรือปากเมงมายังถ้ำมรกตประมาณ 40 นาที เตรียมแพลนไว้นะทุกคน หมดเดือนนี้เมื่อไหร่ปักหมุดไปกันได้เลย ปิดการท่องเที่ยวเพื่อฟื้นฟูธรรมชาติถ้ำมรกต : วันที่ 1 – 30 กันยายน ของทุกปี ปิดการท่องเที่ยวเพื่อฟื้นฟูธรรมชาติบริเวณเกาะมุก เกาะเชือก เกาะแหวน : วันที่ 1 มิถุนายน – 30 กันยายน ของทุกปี ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว โทร. 08 0572 2583 / 0 7582 9967 Facebook : อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม – Hat Chao Mai National Park ที่ตั้ง : ถ้ำมรกต เกาะมุก ตำบลเกาะลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง 92110 พิกัด : https://goo.gl/maps/NvFMQef5dKL1Y48x5
อ่านเพิ่มเติม

✨ Box Office Bar Prince Theatre @ Prince Theatre Heritage Stay ✨

หากพูดถึงย่านที่ขึ้นชื่อเรื่องอาหารการกิน บางรักน่าจะเป็นชื่อต้น ๆ ที่หลายคนนึกถึง ย่านนี้มีความโดดเด่นทั้งในเรื่องร้านอาหารเก่าแก่ขึ้นชื่อมากมาย และอาคารเก่าสวย ๆ ที่ถือเป็นเสน่ห์ของย่านนี้ วันนี้แอดจะมาแนะนำคาเฟ่ในโรงหนังเก่า Prince Rama ซึ่งปัจจุบันได้ปรับปรุงให้เป็นที่พัก Prince Theatre Heritage Stay เหมาะมากสำหรับผู้มองหาการพักค้างในบรรยากาศวินเทจ ซึมซับบรรยากาศของประวัติศาสตร์ชุมชน หรือเข้ามานั่งพักเหนื่อยระหว่างเดินชมย่านนี้ ที่นี่เดินทางสะดวก อยู่ใกล้ BTS สถานีสะพานตากสิน (ทางออกที่ 3) เดินได้ไม่ไกล มีทางเข้า 2 ทาง โดยทางแรกจะเป็นซอยเล็ก ๆ อยู่ตรงข้ามโรบินสันบางรัก อีกทางเข้าอยู่เส้นถนนศรีเวียง เดินจากแยกมา 70 เมตร จะเห็นป้ายร้าน Prince Theatre Heritage Stay อยู่ทางขวามือ เมื่อสืบความย้อนหลัง พบว่าที่นี่อยู่คู่กับย่านบางรักมายาวนาน โดยแรกเริ่มเปิดเป็นโรงบ่อนหลวง จากนั้นก็เปลี่ยนเป็นโรงหนัง Stand Alone แห่งแรก ๆ ของไทย ก่อนจะเสื่อมความนิยมและกลายเป็นโรงหนังวาบหวิว ในที่สุดก็ถูกทิ้งร้าง จนเมื่อปี พ.ศ. 2560 ที่นี่ก็กลับมามีชีวิตอีกครั้ง บริษัท เฮอริเทจ สเตย์ จำกัด ชนะการประมูล ได้สิทธิบริหารพื้นที่จากกรมธนารักษ์ ที่ต้องการให้ภาคเอกชนเข้ามาพัฒนาพื้นที่ท้องถิ่น เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ จึงเกิด Prince Theatre Heritage Stay ขึ้นในปัจจุบัน Prince Theatre Heritage Stay ยังรักษากลิ่นอายของโรงหนังเก่าเอาไว้ เห็นได้ชัดเจนจากการตกแต่งต่าง ๆ ในตัวตึก มีความวินเทจ มีการเก็บกระจกสีในสไตล์ Art Deco ตามความนิยมในสมัยก่อนเอาไว้ สิ่งที่โดดเด่นที่สุดจะเป็นเวทีและจอหนังขนาดใหญ่ พร้อมที่นั่งกว้างขวางให้แขกของคาเฟ่เลือกนั่งได้ตามใจ (จริง ๆ ที่นี่จะมีการฉายหนังเก่าให้ดูฟรีด้วย แต่เนื่องจากสถานการณ์โควิดทำให้มีการงดฉายไป จะฉายเมื่อไหร่รอติดตามชมได้ที่เพจของทางร้าน) Box Office Bar จะอยู่ในพื้นที่เดียวกัน มีเมนูเครื่องดื่มหลากหลาย ทั้งชา กาแฟ น้ำหวาน ค็อกเทล ...
อ่านเพิ่มเติม

เช็คอินระยอง….เขาจุกฟาร์มสามหนุ่ม

หน้าฝนนี้เพื่อน ๆ มีแพลนไปเที่ยวที่ไหนกันบ้าง 😊 แน่นอนว่าบรรยากาศช่วงนี้ มองไปทางไหนก็ดูเขียวชอุ่มไปหมด วันนี้แอดจะชวนไปเปลี่ยนที่นอน…เปลี่ยนบรรยากาศจากเมืองกรุงฯ ไปเป็นสายแคมป์ชมธรรมชาติที่เขาจุกฟาร์มสามหนุ่ม จังหวัดระยองกันค่ะ สายแคมป์ต้องห้ามพลาด เขาจุกฟาร์มสามหนุ่มนี้นับเป็นจุดกางเต็นท์น้องใหม่ที่เพิ่งเปิดให้บริการได้ไม่นาน เกิดจากการรวมตัวของสามพี่น้องที่ตั้งใจจะทำลานกางเต็นท์สำหรับนักท่องเที่ยวที่ชอบตั้งแคมป์พักผ่อน  ที่นี่ตั้งอยู่ติดกับอ่างเก็บน้ำคลองละโอกหรือที่หลายคนเรียกกันว่า อ่างเก็บน้ำเขาจุก ที่มองเห็นวิวภูเขาสลับซับซ้อนเป็นฉากหลังก็คือ อุทยานแห่งชาติเขาชะเมา นั่นเองค่ะ เพื่อน ๆ ที่มาเปลี่ยนบรรยากาศนอนชมวิวที่นี่ นอกจากจะได้ผ่อนคลายแล้วก็ยังมีกิจกรรมสนุก ๆ ให้ทำอีกด้วย มีทั้งพายซับบอร์ด (200 บาท/ชั่วโมง) พายคายัค (200 บาท/ชั่วโมง) ปั่นจักรยานรอบ ๆ ฟาร์ม หรือใครที่ชอบตกปลา ก็เตรียมอุปกรณ์มากันเองได้เลย : ) รวมถึงคนที่มีสัตว์เลี้ยงก็สามารถพาเข้ามาได้ด้วยค่ะ  💵ค่าบริการ ค่าบริการเข้าพัก คนละ 200 บาท/คืน เต็นท์เช่า ราคาเริ่มต้น 300-600 บาท พักได้ 2-3 คน นำเต็นท์มาเอง คนละ 200 บาท/คืน บ้านน็อคดาวน์ หลังเล็ก 1,500 บาท (พักได้ 2 คน) หลังใหญ่ 2,500 บาท (พักได้ 4 คน)
อ่านเพิ่มเติม

✨ ทองผาภูมิ…กรุ่นกลิ่นกาแฟ ล่องแพ ชมธรรมชาติ ✨

#กาญจนบุรี เป็นจังหวัดที่มีสถานที่ท่องเที่ยวมากมายหลายประเภท วันนี้แอดจะชวนมาปักหมุดเส้นทางเที่ยว #ทองผาภูมิ ในหน้าฝนที่เต็มไปด้วยความชุ่มฉ่ำ ให้เพื่อน ๆ ได้ไปซึมซับกับธรรมชาติ กลิ่นอายสายฝน สายหมอก แถมยังเอาใจคอกาแฟอีกด้วย จะไปไหนกันบ้าง ไปดูกัน เส้นทางท่องเที่ยวในอำเภอทองผาภูมิ เพื่อน ๆ สามารถเที่ยวได้ทั้งแบบ 2 วัน 1 คืน หรือหากมีเวลามากหน่อย ก็สามารถเที่ยวแบบชิล ๆ 3 วัน 2 คืนได้  1 ชม “บ้านสวนลุงยี” แหล่งปลูกกาแฟอาราบิก้าภาคกลาง (Ko-Yee Organic Farm)  2 ล่องแพ ชมวิว ที่ “เขื่อนวชิราลงกรณ”  3 ชมธรรมชาติ เที่ยวน้ำตก ที่ “อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ”  4 สัมผัสเมืองหมอก ณ “หมู่บ้านอีต่อง-ปิล็อก”  5 ชมวิวสุดเขตแดนสยาม บน “เนินเสาธง”  6 ชมวิวแบบ 360 องศา ที่ “เนินช้างศึก”  การเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปยังอำเภอทองผาภูมิ แนะนำให้เดินทางโดยรถส่วนตัวจะสะดวกที่สุด ใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง หรือสามารถนั่งรถโดยสารสาธารณะได้ดังนี้  รถโดยสารปรับอากาศจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (สายใต้ใหม่) – กาญจนบุรี (อำเภอเมือง) สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ท่ากรุงเทพฯ 065 552 5145 ท่ากาญจนบุรี 034 514 572, 089 836 6463  รถตู้ รถมินิบัสขึ้นรถได้ที่สถานีขนส่งหมอชิต และขนส่งสายใต้ใหม่ สายกรุงเทพฯ – กาญจนบุรี (อำเภอเมือง) สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ หมอชิต โทร. 098 739 8034 สายใต้ใหม่ โทร. 086 311 ...
อ่านเพิ่มเติม

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี✨

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี เดิมเป็นอู่เรือหรือเรียกว่าโรงเก็บเรือพระราชพิธี อยู่ในความควบคุมดูแลของสำนักพระราชวังและกองทัพเรือ ในปี พ.ศ. 2490 อู่และเรือพระราชพิธีบางส่วนถูกระเบิดจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้รับความเสียหาย ทางสำนักพระราชวังและกองทัพเรือจึงมอบให้กรมศิลปากรทำการซ่อมแซม ดูแลรักษาเรือพระราชพิธี และเนื่องด้วยกรมศิลปากรเล็งเห็นว่าเรือพระราชพิธีมีประวัติและความสำคัญมายาวนานและยังนำมาใช้ในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน จึงได้ขึ้นทะเบียนเรือพระที่นั่งต่าง ๆ ไว้เป็นมรดกของชาติ พร้อมทั้งยกฐานะของอู่เก็บเรือขึ้นเป็น “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี” ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 เป็นต้นมา เรือพระราชพิธี เป็นเรือที่ใช้ในพระราชพิธีชลมารคหรือที่เรียกว่า กระบวนพยุหยาตราชลมารค ถือเป็นพระราชประเพณีดั้งเดิมสืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา กระบวนพยุหยาตราก็คือการเสด็จพระราชดำเนินทางน้ำของพระมหากษัตริย์ มักจัดขึ้นในโอกาสที่ต้องเสด็จในการทำสงคราม และในโอกาสพระราชพิธี ในปัจจุบันไม่ได้มีการทำสงครามแล้ว แต่ยังคงมีกระบวนพยุหยาตราให้ได้ชมอยู่บ้างในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร เป็นต้น ปัจจุบันเรือพระราชพิธีทั้ง 52 ลำ ถูกเก็บรักษาไว้ ณ สถานที่ 3 แห่ง 1.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี จัดแสดงเรือพระที่นั่ง 4 ลำ ประกอบด้วย เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช และเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ พร้อมทั้งเรือที่มีโขนเรือ 4 ลำ ประกอบด้วย เรือเอกชัยเหินหาว เรือครุฑเหินเห็จ เรือกระบี่ปราบเมืองมาร และเรืออสุรวายุภักษ์ 2.อู่เรือหลวงที่ท่าวาสุกรี ข้างหอสมุดแห่งชาติ มีเรือ 6 ลำ ประกอบด้วย เรือเอกชัยหลาวทอง เรือครุฑเตร็จไตรจักร เรือพาลีรั้งทวีป เรือสุครีพครองเมือง เรือกระบี่ราญรอนราพณ์ และเรืออสุรปักษี 3.แผนกเรือราชพิธี กองเรือเล็ก เป็นอู่เรือของกองทัพเรือ มีเรือเสือทะยานชล เรือเสือคำรณสินธุ์ เรือทองขวานฟ้า เรือทองบ้าบิ่น เรือดั้ง เรือแซง เรือแตงโม เรืออีเหลือง ทุกลำถูกเก็บรักษาไว้ที่นี่ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ลำปัจจุบัน สร้างขึ้นใหม่ในปลายรัชสมัยรัชกาลที่ 5 แล้วเสร็จในสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อ ...
อ่านเพิ่มเติม

สัมผัสหมอก โอบกอดภูเขา บน “ห้วยกุ๊บกั๊บ”

ว่ากันว่า การเดินทางท่องเที่ยวแต่ละครั้งสามารถสร้างประสบการณ์และความทรงจำดี ๆ ได้เสมอ บางคนชอบความสนุกสนาน ออกไปเช็คอิน ถ่ายรูป บางคนขอแค่ออกไปพักผ่อนหย่อนใจในที่เงียบสงบ ก็ถือว่าสุขใจแล้ว #เชียงใหม่ มีสถานที่พักผ่อนพักใจมากมาย ในช่วง Green Season แบบนี้ ขอแนะนำ #ห้วยกุ๊บกั๊บ หนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวของเชียงใหม่ที่เราควรหาโอกาสไปสักครั้ง ว่ากันว่า การเดินทางท่องเที่ยวแต่ละครั้งสามารถสร้างประสบการณ์และความทรงจำดี ๆ ได้เสมอ บางคนชอบความสนุกสนาน ออกไปเช็คอิน ถ่ายรูป บางคนขอแค่ออกไปพักผ่อนหย่อนใจในที่เงียบสงบ ก็ถือว่าสุขใจแล้ว #เชียงใหม่ มีสถานที่พักผ่อนพักใจมากมาย ในช่วง Green Season แบบนี้ ขอแนะนำ #ห้วยกุ๊บกั๊บ หนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวของเชียงใหม่ที่เราควรหาโอกาสไปสักครั้ง ปัจจุบัน ห้วยกุ๊บกั๊บเปิดให้บริการโฮมสเตย์หลายแห่ง หลายราคา ทั้งแบบห้องพัก และกางเต็นท์ แนะนำให้จองล่วงหน้าเท่านั้น เนื่องจากส่วนใหญ่เปิดรับท่องเที่ยวได้ค่อนข้างจำกัด ที่พักส่วนใหญ่ทำจากไม้ไผ่ และไม่ได้มีพื้นที่ส่วนตัวมากนัก มาที่นี่เราจะได้ทำความรู้จักกับเพื่อนใหม่ ๆ พูดคุยแลกเปลี่ยนกับนักท่องเที่ยวที่มาเข้าพัก และผู้คนในชุมชน   นั่งจิบชาร้อน ๆ ชมหุบเขาที่ปกคลุมไปด้วยหมอก บอกเลยว่าบรรยากาศดีมาก ๆ ที่ห้วยกุ๊บกั๊บ นักท่องเที่ยวสามารถไปเที่ยวได้ตลอดทั้งปีอากาศเย็นตลอดเวลา หากอยากมาชมทะเลหมอก แนะนำให้มาช่วงปลายฝนไปจนถึงฤดูหนาว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศในแต่ละปีด้วย หากมาในช่วงฤดูฝน ถนนอาจจะลื่น แนะนำให้ระมัดระวังเรื่องการเดินทางและเตรียมชุดกันฝนมาด้วยนะ  นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวยังสามารถไปเที่ยวจุดอื่นนอกหมู่บ้านได้อีก เช่น ไปถ่ายรูปชมวิวที่จุดชมวิวบ้านห้วยกุ๊บกั๊บ และหากมีเวลามากหน่อย สามารถไปเดินป่าเที่ยวที่ “ดอยผาสามเหลี่ยม” ไม่ไกลจากบ้านห้วยกุ๊บกั๊บ ใช้เวลาเดินป่าโดยรวม 4-6 ชั่วโมง แนะนำให้ติดต่อไกด์สำหรับนำทางไว้ล่วงหน้าจากที่พักที่บ้านห้วยกุ๊บกั๊บได้ ในช่วงกลางคืน ที่นี่จะเห็นดาวชัดมาก ๆ เพื่อน ๆ สามารถออกมานั่งเล่นที่ระเบียง พร้อมผิงไฟให้อบอุ่น แค่คิดก็ฟินแล้ว การเดินทางไปห้วยกุ๊บกั๊บ  เพื่อน ๆ ที่ใช้รถยนต์ส่วนตัว สามารถนำรถไปจอดที่จุดทางขึ้นดอย มีจุดรับฝากรถหลายจุด (บางแห่งมีค่าบริการ) จากนั้นขึ้นรถของที่พักที่จองไว้ได้เลย ที่พักแต่ละแห่งจะมีรถรับ-ส่งของตนเองให้บริการ หากเดินทางโดยรถประจำทาง  สามารถนั่งรถจากตัวเมืองเชียงใหม่ โดยขึ้นรถที่สถานีขนส่งช้างเผือก (อาเขต 1) มาลงที่อำเภอแม่แตง จากนั้นให้ทางโฮมสเตย์มารับที่จุดลงรถได้ ราคาขึ้นอยู่กับการตกลงกัน สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมกับทางที่พักได้โดยตรง เนื่องจากห้วยกุ๊บกั๊บ ...
อ่านเพิ่มเติม

✨ตะลุยตราด✨

ตราด เป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่มักถูกเลือกให้เป็นจุดหมายปลายทางของเหล่านักเดินทาง เพราะที่นี่ไม่ได้มีดีแค่ทะเล แต่ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวอื่น ๆ กิจกรรมดี ๆ รวมทั้งร้านอาหารอร่อย ๆ ทริปนี้แอดจะพาเพื่อน ๆ ไปรู้จักตราดให้มากขึ้น วันที่ 1 ทดลองทำผ้ามัดย้อม 3 ป่า Eco-print สปาทรายแดง แช่เท้าในน้ำสมุนไพร ที่บ้านธรรมชาติล่าง ชมพระอาทิตย์ตกดินที่สุดแผ่นดินตะวันออกแหลมงอบ วันที่ 2 นั่งเรือไปชมลานตะบูน Unseen จังหวัดตราด ชิมบะหมี่เกี๊ยวหนองบัวที่เปิดกิจการมากว่า 50 ปี เรียนรู้ประวัติศาสตร์ตราดผ่านพิพิธภัณฑสถานเมืองตราด วันที่ 1 เริ่มกันที่บ้านธรรมชาติล่าง ชุมชนติดทะเลอ่าวไทย เพื่อน ๆ อาจจะเคยได้ยินชื่อมาบ้าง เพราะที่นี่มีท่าเรือเฟอรี่อ่าวธรรมชาติเพื่อข้ามไปเกาะช้าง ชาวบ้านเห็นพ้องกันว่าไม่อยากให้ชุมชนเป็นเพียงทางผ่านไปยังเกาะช้างเท่านั้น จึงร่วมใจกันก่อตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนบ้านธรรมชาติล่าง กิจกรรมของชุมชนที่แอดได้ไปลองทำมาคือ ผ้ามัดย้อม 3 ป่า คือการนำทรัพยากรจากป่า 3 ป่า ได้แก่ ป่าชุมชน ป่าชายเลน และป่าสมุนไพร มาสกัดเป็นสีย้อมผ้า และใช้น้ำทะเลล้างผ้ามัดย้อมแทนน้ำเกลือ นอกจากผ้ามัดย้อม 3 ป่าแล้ว ที่นี่ยังมี Eco-print ผ้าพิมพ์ลายธรรมชาติ เพื่อน ๆ สามารถออกแบบลายผ้าของตัวเองได้เช่นเดียวกับผ้ามัดย้อม ลวดลายก็จะแตกต่างกันไปตามใบไม้ ดอกไม้ ที่เราเลือกเอง หลังทำผ้ามัดย้อมแล้ว ไปผ่อนคลายกันสักหน่อยด้วยการทำสปาทรายแดง หรือหมกทรายแดงนั่นเองค่ะ วิธีการคือขุดทรายให้เป็นร่องพอให้ลงไปนอนได้ จากนั้นนำทรายกลบตัวเราจนเหลือแต่ศีรษะ ใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที การหมกทรายแดงนี้จะช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อย ช่วยเรื่องมือชา เท้าชา ได้อีกด้วย ถ้าเพื่อน ๆ ไม่อยากทำสปาทรายแดงก็สามารถทำสปาเท้าสมุนไพรได้ ใช้เวลาประมาณ 20 นาที โดยแช่เท้าในน้ำที่ผสมผสานสมุนไพรหลายขนาน เช่น ไพล บรรเทาการปวดเมื่อย ใบมะขาม ลดอาการคัน ดับกลิ่นเท้า ใบบัวบก ลดอาการบวม โดยมีเกลือ ช่วยให้สมุนไพรเข้าสู่ร่างกาย เป็นต้น วิสาหกิจชุมชนบ้านธรรมชาติล่าง ตำบลคลองใหญ่ อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด ...
อ่านเพิ่มเติม
Scroll to Top