ปัตตานี

ปัตตานี

15 สิ่งต้องห้ามพลาด…ปัตตานี

“เมืองงามสามวัฒนธรรม ศูนย์ฮาลาลเลิศล้ำ ชนน้อมนำศรัทธา ถิ่นธรรมชาติงามตา ปัตตานีสันติสุขแดนใต้” ในอดีตปัตตานีเคยเป็นอาณาจักรที่เก่าแก่และเจริญรุ่งเรืองอย่างมาก เคยเป็นที่แวะจอดเรือเพื่อแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างพ่อค้าชาวอินเดียกับชาวจีนมาก่อน แต่เดิมชาวเมืองปัตตานีนับถือศาสนาพุทธและพราหมณ์ และตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา ได้เปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม เมืองชายแดนใต้แห่งนี้นับว่ามีเสน่ห์น่าสนใจ ทั้งวิถีชีวิตของผู้คนในพื้นที่ ภาษา และอาหาร จึงได้ชื่อว่าเป็นเมืองพหุวัฒนธรรม อีกทั้งยังมีร่องรอยทางประวัติศาสตร์หลงเหลือให้ได้ศึกษาเรียนรู้ รวมถึงความสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ โดยมีพื้นที่เป็นป่าเขาและพื้นที่ติดชายฝั่งทะเลเป็นระยะทางยาวกว่า 170 กิโลเมตร จึงมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจมากมาย ตามมาทำความรู้จัก 15 จุดเช็กอิน ที่ต้องห้ามพลาดของจังหวัดนี้กันในรีวิวค่ะ 1. มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี สร้างในปี พ.ศ. 2497 เพื่อให้เป็นศูนย์กลางในการประกอบศาสนกิจของชาวไทยมุสลิมในภาคใต้ จากทางเข้าด้านหน้าเป็นทางเดินทอดยาวสู่อาคารมัสยิด สองข้างทางเดินมีการปลูกต้นปาล์มเพิ่มความร่มรื่น ตรงกลางด้านหน้ามัสยิดมีสระน้ำพุขนาดใหญ่ช่วยเสริมภูมิทัศน์ภายนอกของมัสยิดให้งดงามยิ่งขึ้น อาคารมัสยิดมีรูปทรงคล้ายกับทัชมาฮาลของประเทศอินเดีย ตรงกลางอาคารมียอดโดมขนาดใหญ่และมีโดมบริวารล้อมรอบทั้ง 4 ด้าน ถัดออกไปด้านข้างอาคารมีหออะซานอยู่ทั้งสองข้าง (หออะซาน คือ หอคอยที่ใช้สำหรับแจ้งเตือนเมื่อถึงเวลาละหมาด) ภายในมัสยิดสร้างเป็นห้องโถง มีระเบียงสองข้าง ด้านในห้องโถงมีมิมบัรทรงสูงและแคบตั้งอยู่ (มิมบัร คือ สถานที่สูงในมัสยิดลักษณะเป็นบันไดหลาย ๆ ขั้นให้เดินขึ้นสู่บัลลังก์สำหรับให้ผู้นำอ่านพระคัมภีร์) มัสยิดแห่งนี้ยังได้ชื่อว่าเป็นมัสยิดที่สวยงามที่สุดในประเทศไทยอีกด้วย (การเที่ยวชมมัสยิด ควรสำรวมและแต่งกายสุภาพ) ถนนยะรัง ตำบลอาเนาะรู อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานีhttps://goo.gl/maps/if5sZpkjQ7MVWReB9 2. ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว (ศาลเจ้าเล่งจูเกียง) ที่นี่เป็นศาลเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองปัตตานี มีต้นตระกูลคณานุรักษ์เป็นผู้สร้างและดูแล ลักษณะเป็นอาคารชั้นเดียวแบบจีน แบ่งเป็นโถงกลาง ปีกซ้ายและปีกขวา ภายในศาลเจ้าประดิษฐานรูปแกะสลักของ “เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว” จากกิ่งต้นมะม่วงหิมพานต์ และ “โจวซือกง” ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งการรักษาคนเจ็บไข้ได้ป่วย และเป็นองค์เทพประธานประจำศาลเจ้าแห่งนี้ นอกจากนี้ยังมีเทพเจ้าจีนอีกหลายองค์อยู่ภายในศาลด้วย ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี จะมีการจัดงานประเพณีแห่เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวไปตามถนนสายต่าง ๆ ภายในตัวเมืองปัตตานี มีพิธีลุยไฟบริเวณหน้าศาลเจ้า และว่ายน้ำข้ามแม่น้ำปัตตานีบริเวณสะพานเดชานุชิต ซึ่งในแต่ละปีจะมีผู้ที่เคารพศรัทธามาร่วมงานเป็นจำนวนมาก เปิดทุกวัน เวลา 06.00-17.00 น. อยู่ถนนอาเนาะรู ตำบลอาเนาะรู อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานีhttps://goo.gl/maps/oQQ8GH8mFhQeWYo87 3. มัสยิดกรือเซะ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ชุมชนกรือเซะเคยเป็นที่ตั้งของเมืองปัตตานี และเป็นเมืองท่าที่สำคัญในการค้าขาย สำหรับมัสยิดกรือเซะ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาเช่นกัน มีอายุเก่าแก่มากกว่า 200 ปี กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อปี พ.ศ. 2478 และมีการบูรณะซ่อมแซมอยู่เรื่อยมา เพื่อให้มัสยิดกรือเซะคงสภาพเป็นโบราณสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของเมืองปัตตานี ลักษณะอาคารมัสยิดสร้างด้วยอิฐ เสาทรงกลม ประตูรูปโค้งแหลม ก่ออิฐถือปูนแบบศิลปะทางตะวันออกกลาง ผู้ออกแบบสร้างมัสยิด คือ ซัยคซอฟียุดดีน อัลอิสมอิมาส อูละมะอะ แห่งปอเนาะ มัสยิดกรือเซะยังคงเปิดใช้งานในการปฏิบัติศาสนกิจจนถึงปัจจุบัน (การเที่ยวชมมัสยิด ควรสำรวมและแต่งกายสุภาพ) ริมทางหลวงหมายเลข 42 (ถนนสายปัตตานี-นราธิวาส) บ้านกรือเซะ ตำบลตันหยงลูโละ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี ห่างจากตัวเมืองประมาณ 5 กิโลเมตรhttps://maps.app.goo.gl/KigzHfJT26ECBFJKA 4. ชุมชนท่องเที่ยวบางปู ชุมชนท่องเที่ยวเชิงนิเวศ พื้นที่ส่วนใหญ่ของชุมชนเป็นป่าชายเลนบริเวณปากอ่าวปัตตานี และมีลำคลองที่ไหลออกสู่อ่าวปัตตานี ได้แก่ คลองกอและ คลองกือเงาะ และคลองบางปู เต็มไปด้วยพันธุ์ไม้หลากหลายชนิด เช่น โกงกาง แสมดำ ลำภูทะเล และโพธิ์ทะเล เป็นต้น กิจกรรมท่องเที่ยวของชุมชน ได้แก่ การล่องเรือชมป่าชายเลนและป่าโกงกาง ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง สามารถเดินทางมาท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งปี บางช่วงของเส้นทางล่องเรือจะพบต้นโกงกางจากสองฝั่งคลองทอดตัวโค้งเข้าหากันเป็นอุโมงค์โกงกาง มีความยาวประมาณ 700 เมตร ซึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และยังมีนกน้ำนานาชนิดให้ได้พบเจอตลอดเส้นทาง รวมทั้งทัศนียภาพที่สวยงามของอ่าวปัตตานี สอบถามข้อมูล โทร. 08 1805 8761, 08 6491 2556 การเดินทาง : จากตัวเมืองปัตตานี ใช้ทางหลวงหมายเลข 42 (ปัตตานี-นราธิวาส) ประมาณ 8 กิโลเมตร และเลี้ยวเข้าซอยทางซ้ายมือก่อนถึงโรงเรียนบ้านบือเจาะ ตรงไปจนพบทางแยก ให้เลี้ยวขวาและตรงไปจนถึงโรงเรียนบ้านบางปู จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าซอยแรกถัดจากหน้าโรงเรียน ตรงไปจนสุดทางจะพบท่าเรือของชุมชนท่องเที่ยวบางปู ระยะทางรวมจากตัวเมืองปัตตานีประมาณ 11 กิโลเมตร ตำบลบางปู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานีhttps://goo.gl/maps/s1HNFrxkDsRwwFEm6 5. แหลมตาชีและหาดตะโละกาโปร์ “แหลมตาซี” ลักษณะเป็นชายหาดที่มีปลายแหลมโค้งคล้ายรูปตัว C เกิดจากการก่อตัวของสันทรายที่ยื่นออกไปในทะเลในลักษณะสันดอนจะงอย โดยปลายแหลมจะงอกเพิ่มขึ้นทุกปี เป็นแหลมกั้นอ่าวปัตตานี (ทะเลใน) และอ่าวไทย (ทะเลนอก) บริเวณด้านในของแหลมฝั่งที่หันหน้าเข้าหาแผ่นดินใหญ่ เป็นที่ตั้งของชุมชนมากมาย เช่น บ้านดาโต๊ะ บ้านตะโละสะมิแล บ้านบูดี ซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมงเป็นหลัก และมีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เช่น ปลากะพง หอยแครง หอยแมลงภู่ เป็นต้น และบริเวณด้านนอกของแหลมฝั่งที่หันหน้าออกทะเลกว้าง มีที่พักเอกชนให้บริการหลายแห่ง ปลายสุดของแหลมตาซีสามารถชมทัศนียภาพของพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตกได้ในจุดเดียวกัน “หาดตะโละกาโปร์” อยู่ทางใต้ของแหลมตาซี ลักษณะชายหาดทอดยาว มีต้นสนทะเลและต้นมะพร้าวขึ้นขนานไปตามแนวชายหาดและถนน มีเรือกอและของชาวบ้านในพื้นที่จอดเรียงราย ทั้งยังมีที่พักและร้านอาหารตั้งกระจายอยู่ตลอดแนวหาด เหมาะแก่การเดินเล่น ปั่นจักรยาน พักผ่อนชมธรรมชาติ การเดินทางไปแหลมตาชีไปได้ 2 ทาง คือ ทางน้ำ : นั่งเรือจากปากแม่น้ำปัตตานีตรงไปยังแหลมตาชี หรือใช้บริการเรือจากชุมชนท่องเที่ยวต่าง ๆ ในอ่าวปัตตานี เช่น ชุมชนท่องเที่ยวบางปู ชุมชนท่องเที่ยวบูนาดารา ไปยังแหลมตาชี ใช้เวลาประมาณ 30 นาที ทางบก : จากตัวเมืองปัตตานี ใช้ทางหลวงหมายเลข 42 (ปัตตานี-นราธิวาส) ประมาณ 12 กิโลเมตร จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงชนบท ปน.2062 […]

15 สิ่งต้องห้ามพลาด…ปัตตานี อ่านเพิ่มเติม

✨ ปัตตานี เมืองงาม สามวัฒนธรรม ✨

ภาพจำของคนส่วนใหญ่เมื่อพูดถึงจังหวัดปัตตานี หนึ่งใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ก็จะนึกถึงการแต่งกาย วิถีชีวิตและกิจวัตรประจำวันของชาวมุสลิม แต่แท้จริงแล้ว ปัตตานีเป็นจังหวัดที่ผสมผสานวัฒนธรรมของชาวไทยพุทธ มุสลิม และชาวไทยเชื้อสายจีน เข้าด้วยกัน ซึ่งสะท้อนผ่านศาสนสถาน และวิถีชีวิตของคนในแต่ละเชื้อสาย กลายเป็นเมืองแห่งพหุวัฒนธรรม ที่อยู่ร่วมกันได้เป็นอย่างดี วันนี้เราจะมาบอกเล่าความเป็นปัตตานี ที่รับรองว่าเมื่ออ่านจบแล้ว เพื่อน ๆ จะอยากเก็บกระเป๋า สวมรองเท้า แล้วออกไปเยือนปัตตานี  ศาลเจ้าแม่ลิ้มก่อเหนี่ยว  เริ่มต้นการเดินทางด้วยการพาไปสัมผัสวัฒนธรรมของชาวไทยเชื้อสายจีนที่ศาลเจ้าแม่ลิ้มก่อเหนี่ยว ศาลเจ้าเก่าแก่ที่อยู่คู่ปัตตานีมาอย่างยาวนาน ผู้คนที่มาเยือนปัตตานี นิยมมาไหว้ขอพรเรื่องการค้าขาย โชคลาภ ขอให้หายจากอาการเจ็บป่วย และยังเป็นสถานที่แก้ปีชงตามความเชื้อของชาวไทยเชื้อสายจีน บริเวณที่ตั้งของศาลเจ้า เรียกว่า กือดาจีนอ เป็นภาษามลายู ซึ่ง “กือดา”แปลว่า ตลาด ส่วนคำว่า “จีนอ” แปลว่า จีน รวมกันเป็นตลาดของชาวจีน ที่ได้อพยพมาอาศัยอยู่ในจังหวัดปัตตานี ที่นี่เป็นย่านเมืองเก่าที่มีความเจริญรุ่งเรืองทางด้านการค้าในอดีต และยังคงทิ้งร่องรอยสถาปัตยกรรมแบบผสมผสานไทยและจีนให้ชมผ่านอาคารบ้านเรือนหลายหลัง  ศาลเจ้าแม่ลิ้มก่อเหนี่ยว  เปิดทุกวัน ตั้งแต่เวลา 06.00-17.00 น.https://goo.gl/maps/xqEKUTgADYVqxCQW7  วัดทรายขาว  เดินทางไปต่อที่อำเภอโคกโพธิ์ ที่ตั้งของชุมชนทรายขาว ที่นี่มีวัดทรายขาว วัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2300 ภายในวัดประดิษฐานรูปแกะสลักหินอ่อนของพระอาจารย์นอง หรือพระครูธรรมกิจโกศล อดีตเจ้าอาวาสวัดทรายขาว ผู้เป็นสหธรรมิกกับพระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ และมีส่วนร่วมในการจัดสร้างและปลุกเสกพระเครื่องหลวงปู่ทวดมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2497 เป็นพระอาจารย์ที่เป็นที่เคารพศรัทธาของคนในชุมชนและละแวกใกล้เคียง  วัดทรายขาว https://goo.gl/maps/J9JhzNmbpBbyCJX46  มัสยิดนัจมุดีน (มัสยิดบ้านควนลังงา)  ไม่ไกลจากวัดทรายขาว มีมัสยิดเก่าแก่อายุกว่า 300 ปี ที่ผสมผสานสถาปัตยกรรมระหว่างไทยและมุสลิม เป็นมัสยิดไม้ที่สร้างขึ้นโดยไม่ใช้ตะปู ใช้เพียงไม้เป็นสลักในการยึดแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน ออกมาเป็นรูปแบบศาลาการเปรียญ ไม่มีโดม แตกต่างจากมัสยิดที่พบเห็นกันทั่วไป ซึ่งมัสยิดแห่งนี้เป็นการออกแบบร่วมกันระหว่างพระครูศรีรัตนากร หรือพ่อท่านศรีแก้ว เจ้าอาวาสวัดทรายขาวในสมัยนั้น กับโต๊ะอิหม่าม เป็นการยืนยันถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างชาวบ้านทั้งสองศาสนาในชุมชน ซึ่งสะท้อนผ่านวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันมาอย่างยาวนาน ปัจจุบันมีการสร้างมัสยิดหลังใหม่ติดกับมัสยิดหลังเดิม เนื่องจากต้องการพื้นที่ใช้ทำกิจกรรมทางศาสนาเพิ่มมากขึ้น  มัสยิดนัจมุดีน (มัสยิดบ้านควนลังงา) https://goo.gl/maps/JyR23gBuNFnVQq7z5

✨ ปัตตานี เมืองงาม สามวัฒนธรรม ✨ อ่านเพิ่มเติม

✨ แนะนำมัสยิดสวยแดนใต้ ✨

มัสยิดในแดนใต้หลายแห่งขึ้นชื่อว่ามีสถาปัตยกรรมที่สวยงามอลังการมาก ๆ เท่าที่แอดได้เห็นก็ประทับใจไปหมดทุกที่ หากใครมีโอกาสแวะมาเที่ยวทางใต้ แอดก็อยากให้ลองมาตามรอยเพื่อชมของจริงด้วยตาตัวเองกัน  มัสยิดกลางสงขลา (มัสยิดกลางดิย์นุลอิสลาม) จ.สงขลา  เป็นมัสยิดที่มีลักษณะสถาปัตยกรรมคล้ายกับทัชมาฮาลที่ประเทศอินเดีย ด้านหน้ามีสระน้ำยาวกว่า 200 เมตร ภายในตกแต่งสวยงาม ประณีตอ่อนช้อย พื้นปูด้วยหินอ่อน มีความโอ่โถง เหมาะกับการทำพีธีกรรมทางศาสนาและทำจิตใจให้สงบ ในช่วงพระอาทิตย์ตก ที่นี่จะสวยเป็นพิเศษ จึงมีเหล่าช่างภาพที่ชอบถ่ายภาพสถาปัตยกรรมสวย ๆ นิยมเดินทางมาเก็บภาพกัน หากเพื่อน ๆ อยากชม “ทัชมาฮาล” แต่ยังไม่มีโอกาสได้ไปประเทศอินเดีย สามารถลองมาที่นี่ก่อนได้นะ : 352 ถนนลพบุรีราเมศวร์ ตำบลคลองแห อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110 : 08.30-15.30 น. (ปิดวันศุกร์) : 0 7430 5300 : https://goo.gl/maps/AFcrko6qhkZ3XAM7A  มัสยิดกรือเซะ (มัสยิดสุลต่านมูซัฟฟาร์ชาห์) จ.ปัตตานี  เป็นมัสยิดเก่าแก่อายุกว่า 200 ปี คาดว่าน่าจะสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 22 มัสยิดกรือเซะมีอีกชื่อว่า “มัสยิดปิตูกรือบัน” ซึ่งมาจากรูปทรงของประตูมัสยิด ที่มีลักษณะเป็นวงโค้งแหลมแบบโกธิค โดยคำว่า ปิตู แปลว่า ประตู ส่วนคำว่า กรือบัน แปลว่า ช่องประตูที่มีรูปโค้ง ส่วนที่มัสยิดสร้างไม่เสร็จนั้น จากการสำรวจของกรมศิลปากร พบว่าโครงสร้างโดมนั้นมีลักษณะไม่แข็งแรง ขาดความสมดุล จึงทำให้พังทลาย ประกอบกับช่วงนั้นผู้ปกครองเมืองได้ย้ายศูนย์กลางเมืองไปยังบานาและจะบังติกอ มัสยิดกรือเซะจึงถูกทิ้งให้ร้างไป  ในปี พ.ศ. 2478 กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานและทำการบูรณะซ่อมแซม เพื่อให้มัสยิดกรือเซะ ยังคงสภาพเป็นโบราณสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของเมืองปัตตานี และสามารถใช้เป็นที่ปฏิบัติศาสนกิจได้ต่อไป ใครสนใจอยากชมมัสยิดที่มีความสวยงามแบบดิบ ๆ หน่อย แอดแนะนำที่นี่เลย : ตลาดเก่าเทศบาลนคร ถนนสิโรรส อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา 95000 : ทุกวัน 24 ชั่วโมง : https://goo.gl/maps/PahKvFQBTbfEL4mc7  มัสยิดกลางปัตตานี จ.ปัตตานี  นอกจากจะเป็นศูนย์รวมจิตใจ และแลนด์มาร์คสำคัญของเมืองปัตตานีแล้ว ที่นี่ยังถือว่าเป็นมัสยิดที่สวยที่สุดแห่งหนึ่งในเมืองไทยอีกด้วย มัสยิดกลางปัตตานีเป็นอีกแห่งที่มีต้นแบบมาจากทัชมาฮาล ประเทศอินเดีย โดยผสมผสานกับลักษณะวิหารแบบตะวันตก ตรงกลางอาคารมียอดโดมขนาดใหญ่ มีทางเดินแยก 2 ด้านซ้ายขวา มีโดมบริวาร 4 ทิศ และมีหอคอยสูงอยู่สองข้าง บริเวณด้านหน้ามัสยิดมีสระน้ำสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ มัสยิดแห่งนี้ออกแบบโดยสถาปนิกกรมศาสนา เพื่อให้เป็นศูนย์กลางในการประกอบศาสนกิจของชาวไทยมุสลิมในภาคใต้ : ตำบลอาเนาะรู อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี 94000 : ทุกวัน 09.30-15.30 น. (ปิดวันศุกร์) : 08 9654 9496 : https://goo.gl/maps/BZRfPje7HaH9wHDv9  มัสยิดวาดีลฮูเซ็น จ.นราธิวาส  มีอีกชื่อหนึ่งว่า มัสยิดตะโละมาเนาะ (มัสยิด 300 ปี) สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2167 โดยผู้อพยพมาจากจังหวัดปัตตานี มัสยิดนี้ จะมีความต่างจากมัสยิดทั่วไปตรงที่ตัวอาคารสร้างด้วยไม้ตะเคียนทั้งหลัง รูปทรงอาคารเป็นแบบไทยพื้นเมืองผสมผสานด้วยศิลปะจีนและมลายู ก่อสร้างตามแบบภูมิปัญญาโบราณ คือใช้ไม้สลักแทนตะปู หลังคาเป็นกระเบื้องดินเผา ตัวผนังจะใช้ไม้ทั้งแผ่นแล้วเจาะหน้าต่าง มีช่องลมแกะเป็นลวดลาย ใบไม้ ดอกไม้สลับลายจีน ปัจจุบันมัสยิดแห่งนี้ยังใช้เป็นสถานประกอบศาสนกิจ หากต้องการเข้าชมภายในต้องได้รับอนุญาตจากโต๊ะอิหม่ามประจำหมู่บ้านก่อน โดยทั่วไปจะสามารถเข้าชมได้บริเวณภายนอกเท่านั้น : ตำบลลุโบะสาวอ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส 96170 : ทุกวัน 08.00-18.00 น. : 0 7352 2411 : https://goo.gl/maps/WQwjwFwWg1FbShBs6  ข้อควรรู้เรื่องการแต่งกายก่อนเข้าชมมัสยิด  เนื่องจากมัสยิดเป็นศาสนาสถานที่สำคัญของศาสนาอิสลาม หลายที่เปิดให้เข้าชมได้แม้จะนับถือต่างศาสนา ดังนั้นควรแต่งกายให้เกียรติสถานที่ โดยแต่งกายให้สุภาพ ไม่ใส่กางเกงหรือกระโปรงสั้น เสื้อสายเดี่ยว และเสื้อรัดรูป ปัจจุบัน หลาย ๆ แห่งจะมีผ้าคลุมให้นักท่องเที่ยวใช้คลุมเพื่อเข้าชมภายใน 

✨ แนะนำมัสยิดสวยแดนใต้ ✨ อ่านเพิ่มเติม

✨ วัดราษฎร์บูรณาราม (วัดช้างให้) จ.ปัตตานี ✨

วันนี้แอดจะพาเพื่อน ๆ ลงใต้ไปไหว้หลวงปู่ทวด ที่ จ.ปัตตานี วัดนี้เป็นวัดเก่าแก่อายุกว่า 300 ปี เป็นศูนย์รวมจิตใจชาวพุทธในท้องที่ รวมทั้งผู้มีศรัทธาต่างถิ่นให้เข้ามากราบสักการะ วัดราษฎร์บูรณาราม เดิมชื่อ วัดช้างให้  ตามตำนานเล่าว่า พระยาแก้มดำ เจ้าเมืองไทรบุรี ต้องการสร้างเมืองใหม่ให้น้องสาว จึงได้อธิษฐานแล้วปล่อยช้างให้เดินไปในป่า ในที่สุด ช้างก็หยุดเดิน แล้วร้องขึ้นสามครั้ง พระยาแก้มดำจึงถือเป็นนิมิตที่ดี จะสร้างเมืองในบริเวณนี้ แต่น้องสาวไม่ชอบ จึงสร้างเป็นวัดแทน พร้อมตั้งชื่อว่า “วัดช้างให้” แล้วนิมนต์สมเด็จพะโคะ หรือหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด มาเป็นเจ้าอาวาสองค์แรก ตรงบริเวณด้านหน้าวัดก่อนจะเข้าวัด เป็นที่ตั้งของสถูปหรือมณฑปบรรจุอัฐิหลวงปู่ทวด ซึ่งมีผู้มีศรัทธาเข้ามากราบสักการะกันอย่างไม่ขาดสายเลยทีเดียว ส่วนด้านข้างจะเป็นรูปปั้นพระพิฆเนศ หากใครอยากจุดประทัดแก้บน ก็สามารถมาจุดตรงนี้ได้ เมื่อเข้ามาภายในบริเวณวัด จะพบกับวิหารหลวงปู่ทวด เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนทรงไทยสวยงาม เป็นที่ประดิษฐานรูปเหมือนที่มีขนาดเท่าองค์จริง ภายในมีจุดเสี่ยงเซียมซีและอ่างน้ำมนต์ให้ผู้มีศรัทธาเข้ามาประพรมน้ำมนต์และเสี่ยงทายเพื่อสร้างกำลังใจให้ตัวเอง ติดกันคือพระอุโบสถ ลักษณะเป็นอาคารทรงไทย หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้องลดชั้น 3 ชั้น สถานที่กำเนิดพระเครื่องหลวงปู่ทวดรุ่นแรก เพื่อแจกจ่ายให้กับประชาชนและผู้มีศรัทธาที่ร่วมสร้างพระอุโบสถ จนแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2501 ส่วนอาคารที่มีพระเจดีย์นี้คือ วิหารพระครูวิสัยโสภณ หรือวิหารยอด ฐานบนของวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระเจดีย์ทรงลังกาขนาดใหญ่ โดยด้านล่างเป็นห้องโถง มีระเบียงเป็นวิหารคต รอบองค์พระเจดีย์ วัดช้างให้ อยู่ใกล้กับสถานีรถไฟช้างให้ ในเดือนเมษายนของทุกปี ทางวัดจะมีงานประจำปี คือ พิธีสรงน้ำอัฐิหลวงปู่ทวด ซึ่งจะมีเหล่าสานุศิษย์และผู้ศรัทธาหลวงปู่ทวดจากต่างที่ต่างถิ่นพร้อมใจกันมาร่วมงานนี้อย่างคับคั่ง  : ตำบลควนโนรี อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี 94180  : เปิดให้เข้าชมทุกวันเวลา 08.00-16.00 น.  : 09 3363 9198  : https://goo.gl/maps/LYgjfZjP1iS33pRWA

✨ วัดราษฎร์บูรณาราม (วัดช้างให้) จ.ปัตตานี ✨ อ่านเพิ่มเติม

ดำน้ำเกาะยือลาปี Unseen ปัตตานี

เกาะยือลาปี หรือในชื่อภาษาไทยว่า เกาะเล่าปี่ เป็น 1 ใน 25 Unseen New Series ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เกาะยือลาปีเป็นเกาะหินเล็ก ๆ ตั้งอยู่กลางทะเลปัตตานี บริเวณพื้นที่รอยต่อระหว่างอำเภอสายบุรีกับอำเภอไม้แก่น ที่นี่เป็นแหล่งดำน้ำชมปะการังที่สวยงามและสมบูรณ์มาก นอกจากจะได้พบกับหมู่ปะการังที่หลากหลาย ดอกไม้ทะเล รวมทั้งไฮไลต์ที่หาชมยากอย่างกัลปังหาสีชมพู (Sea fan) แล้ว ยังเป็นแหล่งชุมนุมของปลานานาชนิดอีกด้วย รู้แบบนี้แล้ว หากใครมีโอกาสไปเที่ยว อย่าลืมช่วยกันอนุรักษ์และรักษาสิ่งแวดล้อมใต้ทะเลให้คงอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์กันนะ ช่วงเวลาที่แนะนำ : เดือนกรกฏาคมถึงเดือนกันยายน เพราะน้ำที่นี่จะใส แต่ก็ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศด้วยเช่นกัน การเดินทาง : ขึ้นเรือที่ พลับพลารวมใจประชา โดยจะมีเรือกอและซึ่งเป็นเรือพื้นบ้านเอกลักษณ์ของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ไปส่งยังเกาะยือลาปี ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง. หากสนใจอยากไปเที่ยวชมและดำน้ำ ** นักท่องเที่ยวต้องมีใบรับรองการดำน้ำด้วยเพื่อความปลอดภัย ** บริการอุปกรณ์ดำน้ำ สามารถติดต่อได้ที่ คุณฮาฟิต สถาบัน Muscle Diver โทร. 08 8200 0288 คุณดนัย บ.พีพี ซีฟร๊อก จำกัด โทร. 08 6292 9007 บ้านละเวง หมู่ที่ 3 ตำบลดอนทราย อำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี ททท. สำนักงานนราธิวาส (รับผิดชอบพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ปัตตานี ยะลา) โทร. 0 7354 2345-6

ดำน้ำเกาะยือลาปี Unseen ปัตตานี อ่านเพิ่มเติม

ธรรม(ดา) พาทัวร์ ตอน เข้าวัดทำบุญ หนุนนำโชคลาภ

บ่อยครั้งที่เราเห็นผู้คนทำบุญด้วยความมุ่งหวังพร้อมกับการกราบไหว้บูชา เพื่อให้สมความปราถนา หรือพบกับโชคลาภ ความเจริญรุ่งเรือง และความสำเร็จในทุกๆประการ อันเป็นการเติมเต็มให้ชีวิตกลับมามีความหวัง มีกำลังใจ พร้อมที่จะก้าวต่อไปข้างหน้าอย่างมั่นคงอีกครั้ง วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร อ.เมือง จ.พิษณุโลก.ความเชื่อ ประชาชนทั่วทุกสารทิศเดินทางมาสักการะหลวงพ่อใหญ่หรือองค์พระพุทธชินราชด้วยความศรัทธา โดยนับถือกันในด้านความศักดิ์สิทธิ์ และถือกันว่าเป็นมงคลสูงสุดหากได้มากราบชมความงามของหลวงพ่อใหญ่สักครั้งในชีวิต นอกจากนี้ยังนิยมพากันไปไหว้พระเหลือในวิหารเล็ก ด้วยเกร็ดความเชื่อที่มีกันอย่างแพร่หลายว่าจะช่วยส่งเสริมด้านโชคลาภ จะได้มีทรัพย์สินเงินทอง เหลือกินเหลือใช้.วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร หรือชื่อที่เรียกกันทั่วไปว่า “วัดใหญ่” เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธชินราช พระพุทธรูปซึ่งได้รับการยกย่องว่าสวยงามที่สุดในประเทศไทย เป็นวัดที่มีประวัติยาวนานคู่บ้านคู่เมืองพิษณุโลกมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย นับเป็นศาสนสถานที่สำคัญยิ่ง ทั้งของจังหวัดพิษณุโลกและประเทศไทย .นอกจากนี้ยังมีวิหารพระเหลือ ซึ่งเป็นที่ประดิษฐาน “พระเหลือ” ซึ่งตามประวัตินั้นกล่าวว่าพระยาลิไททรงรับสั่งให้ช่างนำเศษทองสัมฤทธิ์ที่เหลือจากการสร้างพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์และพระศรีศาสดา มารวมกันแล้วหล่อไว้เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดเล็กและพระสาวกอีก 2 องค์ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) กรุงเทพมหานคร.ความเชื่อ เชื่อในหมู่พ่อค้า คหบดี และประชาชนว่า หากมาสักการะพระแก้วมรกตด้วยดอกบัวคู่และธูปเทียนแล้ว ชีวิตจะมีแต่ความรุ่งเรืองมั่งคั่งด้วยทรัพย์สมบัติ เงินทองไหลมาเทมา.วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) เป็นพระอารามประจำพระบรมหาราชวังที่สร้างขึ้นตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นวัดหลวงที่ไม่มีพระจำพรรษา และยังเป็นศาสนสถานที่สำคัญที่พระมหากษัตรย์และพระบรมวงศานุวงศ์ทรงเสด็จมาประกอบพระราชพิธีสำคัญ และบำเพ็ญพระราชกุศลตามพระราชประเพณีนับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน.ภายในพระอุโบสถประดิษฐาน พระพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรหรือพระแก้วมรกต พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของไทย นอกจากพระแก้วมรกตแล้ว ภายในวัดยังมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์อีกมากมายที่ทรงคุณค่าความงดงามทั้งทางสถาปัตยกรรม ศิลปกรรม และภาพจิตรกรรมฝาผนัง ให้เราได้เข้าไปสักการะบูชา และชื่นชมในฝีมือของครูแห่งช่างโบราณที่อุทิศผลงานไว้เพื่อเป็นพุทธบูชาสืบทอดกันมาเป็นมรดกแห่งแผ่นดิน.วันและเวลาเปิด-ปิดเปิดให้สักการะทุกวัน ตั้งแต่ 8.00 – 16.00 น. ผู้ที่จะเข้าไปยังวัด ผู้ชายต้องแต่งกายสุภาพห้ามใส่เสื้อไม่มีแขนและงดใส่กางเกงขาสั้นเหนือเข่า ผู้หญิง ให้ใส่กางเกงหรือกระโปรงทรงสุภาพ กระโปรงต้องยาวคลุมเข่า งดเสื้อแขนกุด วัดลาดขาม (หลวงพ่อแสนเหรีญ) ต.พนมทวน อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี.ความเชื่อ กล่าวกันว่า เมื่อได้มากราบไว้อธิษฐานหลวงพ่อแสนเหรียญซึ่งสร้างจากเงินเหรียญที่เป็นมงคล เหมือนกับได้อธิษฐานขอพรแห่งโชคลาภ ความมั่งคั่ง ร่ำรวยสืบไปพระพุทธเบญจนวมงคลกาญจน์แห่งวัดลาดขามนั้น เป็นพระพุทธรูปที่เลื่องลือในด้านของความศักดิ์สิทธิ์และความแปลกมหัศจรรย์ เนื่องจากองค์พระปฏิมากรนี้ได้ถูกรังสรรค์ขึ้นมาจากเหรียญเงินตราต่างๆ จำนวนนับแสนเหรีญ ชาวบ้านจึงพากันเรียกท่านว่า “หลวงพ่อแสนเหรียญ” ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์คู่กับ อ.พนมทวน และเป็นที่นับถือศรัทธาของพุทธศาสนิกชนทั่วไปอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน.วัดลาดขาม เป็นวัดที่ก่อสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีอายุนับร้อยปี หลังจากกรุงศรีอยุธยาแตก วัดลาดขามก็กลายเป็นวัดร้างยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนวัด ต่อมาพระครูปลัดเพลิน เตชธมโม ได้จัดตั้งเป็นสำนักสงฆ์ และลงมือบูรณะปฏิสังขรณ์วัดแห่งนี้ขึ้นมาด้วยแรงสนับสนุนจากผู้มีศรัทธาและชาวบ้านจนกลับมาเป็นศูนย์รวมแห่งพุทธศาสนิกชนใน อ.พนมทวนอีกครั้ง พระราหู วัดศีรษะทอง ต.ห้วยตะโก อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม.ความเชื่อ เชื่อว่าการกราบไหว้ขอพรพระราหูนั้น เป็นการขอพรให้พ้นเคราะห์ต่างๆ และยังดลบันกาลให้เกิดโชคลาภ ช่วยให้การงานเจริญก้าวหน้า และเชื่อว่าพระราหูยังเป็นเทพบูชาประจำตัวเพื่อเสริมบารมีของคนที่เกิดวันพุธกลางคืนอีกด้วย สามารถไหว้พระราหูได้ทุกวัน ยกเว้นวันพระ.นับว่าเป็นวัดเก่าแก่แห่งหนึ่งในอำเภอนครชัยศรี และวัดแห่งนี้ถือเป็นศูนย์รวมของชาวลาวเวียงจันทน์และชุมชนใกล้เคียง เดิมเป็นป่ารกร้าง ต่อมาได้มีชาวลาวจากเวียงจันทร์อพยพมาตั้งถิ่นฐาน แล้วจึงสร้างวัด และได้พบเศียรพระพุทธรูปทองจมดินอยู่ จึงตั้งชื่อว่า “วัดหัวทอง” ภายหลังมีการขุดคลองเจดีย์บูชา ไปยังองค์พระปฐมเจดีย์ ชาวบ้านจึงย้ายมาอยู่ริมคลองเจดีย์บูชา ในการนี้ได้ย้ายวัดมาด้วยเพื่อสะดวกต่อการสัญจร และเปลี่ยนชื่อเป็น “วัดศีรษะทอง” จนถึงปัจจุบัน .วัดศีรษะทองได้พัฒนาและมีความรุ่งเรืองขึ้นเป็นอย่างมากในสมัยของหลวงพ่อน้อย นาวารัตน์ อดีตเจ้าอาวาส ท่านเป็นที่รู้จักเพราะเป็นต้นตำรับของการสร้างพระราหูอมจันทร์จากกะลาตาเดียว เครื่องลางที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง และได้สร้างชื่อเสียงให้วัดศรีษะทองจนถึงทุกวันนี้.ปัจจุบันวัดศีรษะทองได้จัดสร้างพระราหูขนาดใหญ่ไว้ให้ประชาชนได้มาสักการะบูชาตามความเชื่อและความศรัทธาส่วนบุคคล ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ต.อาเนาะรู อ.เมือง จ.ปัตตานี.ความเชื่อ เชื่อกันว่าเจ้าแม่นั้นมีอิทธิฤทธิ์และความศักดิ์สิทธิ์เป็นที่พึ่งของคนทั้งหลาย ดวงวิญญาณของเจ้าแม่จะช่วยดลบันดาลให้การค้าขายนั้น มีอต่ความร่ำรวยละเจริญรุ่งเรือง มีโชคมีลาภ ทำให้มีบรรดาพ่อค้า นักธุรกิจและประชาชนทั่วไปนิยมมาบวงสรวงเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว.เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว หรือที่เรียกว่าศาลเจ้าเล่งจูเกียง ในตัวเมืองปัตตานี เป็นที่ประดิษฐานรูปแกะสลักของเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ซึ่งเป็นที่สักการะไม่แต่ชาวปัตตานี รวมถึงชาวจังหวัดใกล้เคียง เช่น สงขลา-ยะลา-นราธิวาส ก็มีความศรัทธาในองค์เจ้าแม่อย่างมาก เนื่องจากมีผู้มาขอพรให้มีโชคลาภก็ได้ผลหรือแม้แต่เรื่องการค้าขายที่ซบเซาหรือขาดทุนก็กลับรุ่งเรืองขึ้น จนทำให้เกิดความนับถือศรัทธาอย่างมาก 

ธรรม(ดา) พาทัวร์ ตอน เข้าวัดทำบุญ หนุนนำโชคลาภ อ่านเพิ่มเติม

ผ้าจวนตานี ผ้าทอพื้นเมืองโบราณ

ผ้าจวนตานี ผ้าทอพื้นเมืองโบราณ.การทอผ้าพื้นเมืองในจังหวัดปัตตานีมีประวัติมายาวนานตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยในสมัยนั้นปัตตานีเป็นเมืองท่าค้าขายผ้าที่ใหญ่โตและคึกคัก มีการติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติไม่ว่าจะเป็นชาวอาหรับ เปอร์เซีย อินเดีย จีน และยุโรป ทำให้เกิดการผสมผสานทางวัฒนธรรมในด้านต่างๆ รวมทั้งวัฒนธรรมการทอผ้าด้วย ซึ่งผ้าที่มีชื่อเสียงและเป็นที่นิยมอย่างมากชนิดหนึ่ง ได้แก่ ผ้าจวนตานี ผ้าจวนตานี หรือผ้าลีมา เป็นผ้าโบราณที่มีชื่อเสียงของจังหวัดปัตตานี นิยมใช้กันมากในกลุ่มชนชั้นสูงและผู้มีฐานะเนื่องจากมีราคาแพง ผ้าทอด้วยเส้นไหมชั้นดีเส้นเล็กละเอียด มีลวดลายและสีสันสวยงามเด่นสะดุดตา  จุดเด่นของผ้าอยู่ที่เชิงผ้าสีแดงเข้ม ซึ่งเกิดจากการทอโดยใช้เทคนิคพิเศษ และมีลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นที่เรียกว่า “ล่องจวน” คือ มีแถบริ้วลวดลายวางเป็นแนวแทรกอยู่ระหว่างผืนผ้า และชายผ้าทั้งสองด้าน ผ้าจวนตานีเคยสูญหายไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง แต่จากพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เมื่อ พ.ศ.2542 ที่ทรงเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ผ้าโบราณ ทำให้ผ้าจวนตานีได้รับการฟื้นคืนชีวิตขึ้นมาอีกครั้ง โดยการส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มสตรีในท้องถิ่นเพื่อทอผ้าจวนตานีขึ้นสำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน ใช้ในงานพิธีต่างๆ และเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จักทั่วไป นอกจากนี้ทางกลุ่มฯ ยังได้สนับสนุนให้เยาวชนเข้ามาเรียนรู้กระบวนการทอผ้าเพื่อสืบสานภูมิปัญญาการทอผ้าไม่ให้สูญหายไปจากชุมชนอีกด้วย ปัจจุบันผ้าจวนตานี ได้รับเครื่องหมายรับรองผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทย “นกยูงพระราชทาน” ได้แก่ นกยูงสีทอง (Royal Thai Silk) นกยูงสีเงิน (Clasisc Thai Silk) และนกยูงสีน้ำเงิน (Thai Silk) ซึ่งถือเป็นความภาคภูมิใจของสมาชิกกลุ่มฯ ทุกคน นักท่องเที่ยวที่สนใจสามารถติดต่อเข้าเยี่ยมชมการทอผ้าได้ทุกวัน กลุ่มทอผ้าตำบลทรายขาว ที่ตั้ง : 94 หมู่ 3 ตำบลทรายขาว อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี อยู่ห่างจากอำเภอประมาณ 6 กิโลเมตรโทร. 089 298 8495

ผ้าจวนตานี ผ้าทอพื้นเมืองโบราณ อ่านเพิ่มเติม

เพื่อนร่วมทาง พา Go Local : เรือกอและ…ราชินีแห่งน่านน้ำแหลมมลายู

เพื่อนร่วมทาง พา Go Local : เรือกอและ…ราชินีแห่งน่านน้ำแหลมมลายู คำว่า “กอและ” มาจากคำว่า “ฆอและ” เป็นภาษามลายู หมายถึงโคลงเคลง หรือล่องลอย ในอดีตเรือกอและมุ่งออกทะเลโดยอาศัยการกางใบ ใช้กระแสลมเป็นตัวช่วยในการล่องเรือ แต่ปัจจุบัน ชาวประมงก็เปลี่ยนมาใช้เรือกอและติดเครื่องยนต์แทนเพื่อความสะดวก รวดเร็ว คล่องตัว ปัจจุบันเหลือชุมชนที่ต่อเรือกอและอยู่แค่ในจังหวัดปัตตานีกับนราธิวาสเท่านั้น  แหล่งต่อเรือกอและในจังหวัดปัตตานี– ตำบลปะเสยาวอ อำเภอสายบุรี– บ้านบางเก่า อำเภอสายบุรี– หมู่บ้านน้ำบ่อ หมู่บ้านท่าน้ำ อำเภอปานะเระ– หมู่บ้านบูดี ตำบลตะโล๊ะกาโปร์ อำเภอยะหริ่ง แหล่งต่อเรือกอและในจังหวัดนราธิวาส– หมู่บ้านทอน ตำบลโคกเคียน อำเภอเมือง อำเภอตากใบ ลวดลายและจิตรกรรมบนเรือกอและ เป็นเสน่ห์ที่สร้างความแตกต่างระหว่างเรือกอและกับเรือประมงทั่วไป ลวดลายของเรือกอและจะเป็นการผสมผสานลายจาก 3 วัฒนธรรมเข้าด้วยกัน ทั้งไทย จีน และมลายู ลวดลายที่นิยมใช้เขียนจะแบ่งเป็นส่วนลายที่หัวเรือ นิยมเขียนเป็นรูปสัตว์ในตำนานหรือสัตว์ในจินตนาการเช่นพญานาค นก หนุมาน ราหูอมจันทร์ เมขลาล่อแก้ว รามสูรขว้างขวาน เป็นต้น ส่วนลายที่ท้ายเรือก็มักจะเป็นลายส่วนท่อนหางของสัตว์นั้นๆ นอกจากนี้ก็ยังมีลายอื่นๆที่ประกอบไปตามหัวเรือ ท้ายเรือ ลำเรือ อาทิ ลายไทย ลายเครือเถา ลายดอกไม้ ลายพื้นบ้าน ลายแบบจีน ลายแบบมุสลิม ลายอาหรับรูปทรงเราขาคณิต มรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่า ที่สืบทอดต่อกันมาถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน “เรือกอและจำลอง” ของที่ระลึกที่เป็นเหมือนสัญลักษณ์ของพี่น้องชาวปัตตานีและนราธิวาส ยิ่งย่อส่วนของเรือให้เล็กลง ความยากในการต่อและเขียนลวดลายก็ยากตามไปด้วย เรือกอและมีหัวและท้ายเรือที่เชิดสูงกว่าเรือประมงทั่วๆไป  ชาวบ้านเล่าให้ฟังว่ารูปทรงของเรือกอและถูกออกแบบให้คล้ายคลึงกับท่าทางในการรำของมโนราห์ ศิลปะการแสดงพื้นบ้านของพี่น้องชาวใต้ พ.ศ. 2518 จังหวัดนราธิวาสได้ฟื้นฟูประเพณีการแข่งเรือกอและขึ้นใหม่อีกครั้ง หลังจากที่เคยมีการจัดแข่งกันเรื่อยมาตั้งแต่สมัยโบราณ และช่างผู้ต่อเรือกอและได้พัฒนาขนาดเรือกอและให้เล็กลงและเรียวขึ้นกว่าเดิม เพื่อใช้สำหรับการแข่งประลองความเร็ว ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ที่ได้เสด็จพระราชดำเนินยังจังหวัดนราธิวาส เพื่อทรงประกอบพระราชกรณียกิจทั่วจังหวัดภาคใต้ทุกปี  ชาวบ้านจึงได้จัดประเพณีแข่งเรือกอและหน้าพระที่นั่ง ณ บริเวณปากแม่น้ำบางนรา อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส จนถึงปัจจุบัน  โดยปีที่แล้วมีกำหนดจัดการแข่งขันระหว่างวันที่ 23-25 กันยายน 2560 ส่วนกำหนดการปีนี้ยังไม่กำหนดวันที่ที่แน่นอน ยังไงเพื่อนๆสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานนราธิวาส โทร. 073 542 345, 073 522 411-2

เพื่อนร่วมทาง พา Go Local : เรือกอและ…ราชินีแห่งน่านน้ำแหลมมลายู อ่านเพิ่มเติม

เกาะโลซิน ท่องโลกใต้ทะเล จุดดำน้ำใต้สุดของอ่าวไทย

เกาะโลซินถือเป็นเกาะที่เล็กที่สุดในประเทศไทย เพราะมีเพียงกองหินโผล่พ้นน้ำทะเลลึกขึ้นมาไม่เกิน 100 ตารางเมตร และมีเพียงประภาคารเล็กๆ ตั้งอยู่เท่านั้น…

เกาะโลซิน ท่องโลกใต้ทะเล จุดดำน้ำใต้สุดของอ่าวไทย อ่านเพิ่มเติม

เสน่ห์ว่าว เมืองปักษ์ใต้ (ว่าวเบอร์อามัสและว่าวหัวควาย)

ที่อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ศิลปะการทำว่าวแบบมลายูถูกถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น…

เสน่ห์ว่าว เมืองปักษ์ใต้ (ว่าวเบอร์อามัสและว่าวหัวควาย) อ่านเพิ่มเติม

Scroll to Top