เชียงใหม่

เชียงใหม่

🌸ชมดอกนางพญาเสือโคร่ง @ขุนช่างเคี่ยน เชียงใหม่🌸

ในช่วงนี้ดอกไม้สีชมพูอย่าง ดอกนางพญาเสือโคร่งกำลังเริ่มบานสะพรั่งออกดอกสีชมพูหลายจุดภายในอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ซึ่งสถานีวิจัยขุนช่างเคี่ยนก็เป็นหนึ่งพื้นที่ที่อยู่ในเขตอุทยาน ฯ ท่ามกลางอากาศหนาวเย็น โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 9-15 องศาเซลเซียส ใครที่กำลังวางแผนเดินทางท่องเที่ยวเพื่อชมดอกนางพญาเสือโคร่ง เตรียมแพ็กกระเป๋าออกเดินทางกันได้เลย🎒🚙🍃 หมายเหตุ : การคาดการณ์การบานของดอกนางพญาเสือโคร่ง อาจคาดเคลื่อนได้ตามสภาพอากาศ คำแนะนำในการเดินทาง: เส้นทางลาดยางตลอดเส้น แต่ค่อนข้างลาดชันและแคบมาก รถยนต์สวนกันค่อนข้างลำบาก ต้องใช้แตรตลอดทาง หากไม่ชำนาญเส้นทางควรใช้บริการรถรับจ้างที่พระตำหนักภูพิงค์ที่มีให้บริการเดินทางขึ้นไป

🌸ชมดอกนางพญาเสือโคร่ง @ขุนช่างเคี่ยน เชียงใหม่🌸 อ่านเพิ่มเติม

🌸 ชมดอกนางพญาเสือโคร่ง : ดอยอ่างขาง🌸

หากใครที่กำลังรอชมความงามของดอกนางพญาเสือโคร่งกันอยู่ ต้องบอกเลยว่าตอนนี้ดอกเบ่งบานเต็มที่แล้ว ต้องรีบเดินทางเพื่อไปถ่ายรูปเช็คอินกัน อากาศยังหนาวได้ฟีลเหมือนอยู่เมืองนอกเลย นอกจากนี้ ภายในสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ยังมีจุดเช็คอินที่น่าสนใจ เช่น สวน 80 แปลงสตรอว์เบอร์รี ไร่ชา 2000 อีกด้วย แนะนำเพื่อน ๆ เดินทางมาช่วงเช้า จะได้ทั้งหมอกและดอกนางพญาเสือโคร่ง ช่วงนี้อากาศหนาว เพื่อน ๆ อย่าลืมเตรียมเสื้อกันหนาวและทำร่างกายให้อบอุ่นพร้อมเที่ยวกันนะคะ วันนี้นำรูปสวย ๆ มาฝาก เป็นการเรียกน้ำย่อยกันค่ะ แปลงสตรอว์เบอร์รีบ้านนอแล พิกัด : https://goo.gl/maps/tyjcnQdUMqchsfEg7

🌸 ชมดอกนางพญาเสือโคร่ง : ดอยอ่างขาง🌸 อ่านเพิ่มเติม

🌸พิกัดสุดปัง ชมดอกนางพญาเสือโคร่ง🌸

พิ่งผ่านปีใหม่มาไม่นาน วันนี้ขอยกให้คอนเทนต์นี้ให้มีแต่สีชมพู…สำหรับช่วงนี้ยังมีลมหนาว พัดเย็นสบาย ๆ ทำให้ดอกไม้สีชมพูอย่าง นางพญาเสือโคร่งบานสะพรั่งท่ามกลางอากาศหนาวเย็น ใครที่รอคอยความสวยงามของดอกนางพญาเสือโคร่งเบ่งบาน เตรียมแพ็กกระเป๋าไปชมกันได้แล้วนะคะ แต่ขอบอกว่าต้องรีบไปนะ เพราะสวยเกินต้านแบบนี้ #ดอกนางพญาเสือโคร่ง มีกำหนดบานที่ไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศในพื้นที่นั้น ๆ แนะนำให้เช็กข้อมูลอีกครั้งก่อนเดินทางนะคะ จะมีที่ไหนบ้างดูกันเลย 😃👇 ข้อมูล ณ วันที่ 5 มกราคม 2565

🌸พิกัดสุดปัง ชมดอกนางพญาเสือโคร่ง🌸 อ่านเพิ่มเติม

แนะนำที่เที่ยว เดือนมกราคม

สวัสดีปีใหม่ 2566 สวัสดีเดือนใหม่ของปี เพื่อน ๆ ไปเฉลิมฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ที่ไหนกันบ้างนะ เข้าสู่ต้นปีแบบนี้มาเริ่มทริปดี ๆ เดินทางท่องเที่ยวไปด้วยกันในเดือน #มกราคม วันนี้มีแหล่งท่องเที่ยวมาฝากเป็นไอเดียให้เพื่อน ๆ ได้ไปปักหมุดกันด้วยนะคะ จะมีที่ไหนบ้างไปดูกันเลยค่ะ ⭐️อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี จังหวัดกระบี่ หากใครที่มาจังหวัดกระบี่ อุทยานฯ แห่งนี้ นับว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่อยู่อันดับต้น ๆ ที่นึกถึง อุทยานฯ มีพื้นที่ครอบคลุมในทะเลอันดามันด้านทิศตะวันตกของภาคใต้ มีสถานที่ที่น่าสนใจหลายจุด ไม่ว่าจะเป็น หาดนพรัตน์ธารา อ่าวนาง ถ้ำพระนาง อ่าวไร่เลย์ เส้นทางศึกษาธรรมชาติเขาหงอนนาคและหมู่เกาะพีพี โดยหมู่เกาะพีพี จะประกอบด้วย 2 เกาะใหญ่ ๆ คือ เกาะพีพีดอน และ เกาะพีพีเล อ่าวมาหยา รวมถึงมีเกาะเล็ก ๆ คือ เกาะยูง เกาะไม้ไผ่ เกาะทับ เกาะหม้อ และเกาะไก่ อยู่ใกล้ ๆ กันด้วย ช่วงเวลาแนะนำที่น่าเที่ยวที่สุดจะอยู่ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-เดือนเมษายน ทั้งนี้ก่อนออกเดินทางแนะนำให้ตรวจสอบสภาพอากาศอีกครั้งค่ะ กิ่วแม่ปาน อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ เส้นทางศึกษาธรรมชาติกิ่วแม่ปาน หนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวของอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ มีระยะทาง 3 กิโลเมตร เหมาะกับทุกเพศ ทุกวัย แต่ต้องเตรียมฟิตร่างกายกันไปด้วยนะคะ ตลอดเส้นทางจะเป็นป่าดิบชื้น ทำให้เห็นพืชอย่างเฟิร์น มอส จำนวนมาก ที่นี่มีจุดชมวิวทั้งหมด 21 จุด เส้นทางการเดิน สามารถเดินผ่านได้ทุกจุด ไฮไลท์ของเส้นทางนี้จะอยู่ในจุดที่ 9 จะเห็นวิวทิวทัศน์แบบ 360 องศา และชมทะเลหมอกยามเช้า อัตราค่าเข้าอุทยานฯชาวไทย ผู้ใหญ่ 60 บาท เด็ก 30 บาทชาวต่างชาติ ผู้ใหญ่ 300 บาท เด็ก 150 บาท ภูลมโล อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า ภูลมโล มีพื้นที่บนรอยต่อของสามจังหวัด คือพิษณุโลก เพชรบูรณ์ และเลย ที่นี่เป็นจุดชมนางพญาเสือโคร่งนับหมื่นต้นที่จะบานสะพรั่งเป็นแนวหุบเขาสีชมพูในช่วงปลายปีและต้นปี ดอกนางพญาเสือโคร่ง ในแต่ละปีจะบานไม่ตรงกัน ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศด้วยค่ะ https://goo.gl/maps/LDFDxdKKP8bSGUnG8 อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติสุดฮิตของเพชรบุรี สามารถท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งปี ภายในอุทยานฯ ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวหลายจุดเลยค่ะ มีไฮไลท์น่าเที่ยวก็คือ มาชมผีเสื้อมากกว่า 200 สายพันธุ์มา โบยบินอยู่ในอุทยานแห่งชาติ บริเวณบ้านกร่างแคมป์และเขาพะเนินทุ่ง อีกทั้งยังได้ชมทะเลหมอกหนา ๆ ยามเช้าที่เขาพะเนินทุ่ง อุทยานฯ มีลานกางเต็นท์สำหรับผู้ที่มาค้างแรมอีกด้วย

แนะนำที่เที่ยว เดือนมกราคม อ่านเพิ่มเติม

✨จุดชมวิวฮาดู่บิ บ้านเลาวู จ.เชียงใหม่ 🌅

เพื่อน ๆ เคยให้รางวัลชีวิตตัวเองกันบ้างไหมคะ บางคนอาจจะให้รางวัลชีวิตตัวเองเป็นการซื้อของที่อยากได้ บางคนอาจจะพาตัวเองไปที่ใหม่ ๆ เช่นครั้งนี้ ที่จะพาไปที่จังหวัดเชียงใหม่เพื่อชมวิวดอยหลวงเชียงดาว ณ จุดชมวิวฮาดู่บิ จุดชมวิวฮาดู่บิ ตั้งอยู่ที่บ้านเลาวู เป็นหมู่บ้านของชาวลีซู เป็นเหมือนประตูสู่อำเภอเวียงแหง เนื่องจากเป็นหมู่บ้านแรกของอำเภอเวียงแหง ขอบอกเลยว่าที่นี่วิวสวยจริง ๆ ตรงปกมาก ๆ ภาพที่เห็นคือดอยหลวงเชียงดาว สวย เด่น อยู่ตรงหน้า คุ้มค่าแก่การเดินทางในครั้งนี้มากเลย ส่วนใหญ่นักท่องเที่ยวมักจะมากางเต็นท์ค้างคืนเพราะนอกจากจะเป็นจุดชมวิวดอยหลวงเชียงดาวแล้ว ฮาดู่บิยังเหมาะกับการชมพระอาทิตย์ขึ้นและทะเลหมอกยามเช้าอีกด้วย หรือถ้าเพื่อน ๆ ไม่ใช่สายกางเต็นท์ ที่นี่ก็มีที่พักแบบโฮมสเตย์ไว้บริการด้วยนะ พอได้เห็นกับตาตัวเองแล้วยกให้ที่นี่เป็นที่ต้องห้ามพลาดอีกที่และถือเป็นรางวัลชีวิตชิ้นที่น่าจดจำมาก ๆ เลย 📍จุดชมวิวฮาดู่บิ ตำบลเมืองแหง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่📍https://goo.gl/maps/eGX9JBXh6HXuCu8N7

✨จุดชมวิวฮาดู่บิ บ้านเลาวู จ.เชียงใหม่ 🌅 อ่านเพิ่มเติม

✨เที่ยวเมียงไม่ไกลเมือง…เชียงใหม่🌿

หากมีวันหยุดสั้น ๆ แล้วอยากไปเที่ยวพักผ่อนเปลี่ยนบรรยากาศ แถบภาคเหนือ แอดเชื่อว่า #เชียงใหม่ เป็นตัวเลือกแรก ๆ ของใครหลายคน แต่ก็มีหลายคนที่ไปบ่อยเสียจนไม่รู้จะไปเที่ยวมุมไหนอีก วันนี้แอดขอชวนเพื่อน ๆ ไปเที่ยวแบบเมียง ๆ กันค่ะ อ๊ะ… เพื่อน ๆ อย่าเพิ่งแย้งว่าแอดเขียนผิดนะ คำว่า “เมียง” ในภาษาเหนือ แปลว่า “เมือง” นั่นแหละ แต่แอดจะพาไปเที่ยวแบบเมียง ๆ หรือ เมือง ๆ ยังไง ตามไปดูกัน 🥰 วันแรก เราเริ่มกันที่ “ชุมชนบ้านลวงเหนือ ชุมชนไทลื้อ” หมู่บ้านของชาวไทลื้อที่ยังรักษาวิถีชีวิตของตัวเองไว้ได้อย่างน่าชื่นชม ชุมชนนี้อยู่ใกล้ตัวเมืองเชียงใหม่เพียงแค่ขับรถไป 30 นาทีเท่านั้นเอง เพื่อน ๆ ที่สนใจจะมาเที่ยวที่นี่ แอดแนะนำให้ซื้อแพ็คเกจล่วงหน้านะ เพื่อที่เราจะได้สัมผัสกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมไทลื้อที่ทางชุมชนจัดให้อย่างเต็มที่ ทันทีที่มาถึง ไกด์ชุมชนก็ออกมาต้อนรับและพาไปที่ “ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาไทยไตลื้อ บ้านใบบุญ” โดยจะมีแม่ ๆ ย่า ๆ มาคอยฮับต้อนย้อนวิถี ผูกข้อไม้ข้อมืออวยพร พรมน้ำขมิ้นส้มป่อย และเสิร์ฟเวลคัมดริงค์ที่เป็นสมุนไพรอย่างใบเตย กระเจี๊ยบให้พวกเรา https://goo.gl/maps/swjrX87Hab6ZrRtE6 จากนั้นจะเป็นการเล่าประวัติความเป็นมา ผ่านบทซอของชาวไทลื้อ มีการสอนให้ร้องตามพอสนุก ๆ ด้วยนะ ซึ่งภาษาเหนือสำเนียงไทลื้อ ก็จะต่างจากสำเนียงเชียงใหม่ แบบที่ฟังแล้วคนไทลื้อด้วยกันจะรู้เลยล่ะ หลังจากหัดซอขับซอกันพอสมควร ก็ไปแอ่วเฮือนเยือนผญา ที่นี่จะมีการสาธิตปั่นฝ้าย ทอผ้าแบบไทลื้อ และจัดแสดงเครื่องใช้ไม้สอย รวมทั้งเครื่องมือทำมาหากินในอดีตของชาวไทลื้อ ให้นักท่องเที่ยวได้พอเห็นภาพการใช้ชีวิตของชาวไทลื้อ แป๊บเดียวก็เที่ยงแล้ว แน่นอนว่ามื้อเที่ยงวันนี้เป็นอาหารไทลื้อ สำรับของเราประกอบไปด้วย ผัดไทไตลื้อ โสะบ่าก้วยเต้ด (ตำมะละกอใส่ขิงแบบไตลื้อ) น้ำสมุนไพร ขนมวง ข้าวจี่ ไข่ป่าม ข้าวแคบ อร่อยดีทีเดียว จากนั้น ไกด์ก็พาไปต่อที่ “บ้านสวนพอเพียงทรัพย์ทองศรี” ที่เน้นวิถีความพอเพียงของคนไตลื้อ มีกิจกรรมปลูกผักผลไม้ เลี้ยงไก่ บรรยากาศดีมาก เหมาะกับทั้งเรียนรู้และเดินเล่นเพลิน ๆ เลยล่ะ จุดต่อไปคือ “วัดศรีมุงเมือง” ซึ่งเป็นสถานที่สำคัญของชุมชน วัดศรีมุงเมือง สร้างโดยพระเจ้าสามฝั่งแกน เมื่อ พ.ศ. 1954 เป็นวัดเก่าแก่ที่งดงาม และเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวไทลื้อ ภายในวัดมีเจดีย์เก่าแก่ และมีวิหารไทลื้อที่ได้ชื่อว่างามที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศ ในหมู่บ้านลวงเหนือ นอกจากวัดศรีมุงเมืองแล้วยังมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์อันเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวชุมชนอีกแห่ง นั่นคือหลักใจกลางหมู่บ้าน (เสื้อบ้าน) ที่จารึกวันเดือนปีที่สร้างหมู่บ้านไว้ว่าคือ วันเสาร์ที่ 3 เม.ย. พ.ศ. 1932 เป็นหลักฐานที่ยืนยันว่า มีหมู่บ้านและชุมชน ณ ที่นี้มามากกว่า 600 ปีแล้ว ต่อไปเป็นกิจกรรมสนุก ๆ ที่คนชอบงานฝีมือน่าจะชอบ ไกด์พาเราไปที่ “สวนตุ๊กตาไม้นายโถ” ซึ่งอยู่ห่างจากวัดศรีมุงเมืองประมาณ 500 เมตร มีตุ๊กตาไม้แบบไทลื้อหน้าตาน่ารักเต็มไปหมด นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาสนุกกับการระบายสีบนตุ๊กตาและนำกลับไปเป็นที่ระลึกได้ หลังจากเดินชมหมู่บ้านและแวะเวียนทำกิจกรรมมามาเกือบทั้งวัน เหมือนไกด์จะรู้ใจว่าต้องมีเหนื่อยกันบ้าง จุดหมายต่อไปจึงเป็น “เฮือนหอมยาท้องนางาม” เรือนนี้ให้บริการอบสมุนไพรและทำสปาเท้า แค่เดินเข้ามาก็รู้สึกผ่อนคลายแล้ว เราสามารถขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ได้เลยว่า ควรใช้สมุนไพรอะไรดี สำหรับแอด แอดเลือกสปาเท้าด้วยเกลือสมุนไพร ผ่อนคลายดีจริง ๆ https://goo.gl/maps/xx4f7QF1sT39UwG67 ปิดท้ายวันด้วยมื้อเย็นที่ “ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาไทยไตลื้อ บ้านใบบุญ” มื้อนี้เป็นการกินแบบ “กาดมั่วคัวลื้อ” โดยแม่ครัวแต่ละคนจะทำอาหารเมนูเด็ดของตัวเองกันมา ให้นักท่องเที่ยวได้เลือกตักรับประทานแบบบุฟเฟต์ ทั้งยำมะเขือยาวออร์แกนิกใส่กุ้ง แกงผักปลังจิ้นส้ม ข้าวเงี้ยว ข้าวจี่ ไข่ป่าม และเครื่องดื่มสมุนไพร แต่หากกลุ่มนักท่องเที่ยวมีไม่ถึง 10 คน ทางชุมชนจะจัดเป็นขันโตกมาให้แทน นอกจากจะเป็นมื้อเย็นที่เอร็ดอร่อยแล้ว ยังมีโฟล์คซองเพลงลื้อและการขับร้องฟ้อนรำขับกล่อมพวกเราไปจน 20.30 น. เลย https://goo.gl/maps/5wQiKasRVrTJut9k7 วันที่ 2 เริ่มวันใหม่ด้วยมื้อเช้าที่ “ทุ่งนาใต้ฟ้าเมืองลวง” (ทุ่งนาฟ้ากว้าง) ที่เน้นไปที่การตกปลา เก็บไข่เป็ด เก็บผัก เก็บหน่อไม้ มาทำเป็นอาหารเช้า ก่อนจะนำเศษอาหารกลับไปทำปุ๋ยอีกครั้ง เป็นวิถีธรรมชาติที่น่าประทับใจมาก เรียกว่าประทับใจจนนาทีสุดท้าย ก่อนจะบอกลาเมืองลวงเหนือกลับเข้าเมืองเชียงใหม่เลยทีเดียว https://g.page/Fakwangfield?share กิจกรรมฐานการเรียนรู้ทุ่งนาฟ้ากว้าง รายละเอียดกิจกรรม หากสนใจเที่ยวแบบแพคเกจ รวมที่พัก อาหาร และบริการต่าง ๆ ราคาเริ่มต้นที่ประมาณคนละ 1,500 บาท (แนะนำให้ติดต่อล่วงหน้าประมาณ 1 สัปดาห์) หากเข้ามาเที่ยวแบบ Walk in ก็สามารถเข้ามาได้ เพียงแต่จะไม่เห็นชาวชุมชนใส่ชุดไทลื้อ แต่นักท่องเที่ยวสามารถเลือกกิจกรรมตามความสนใจได้ โดยมีค่าบริการแต่ละกิจกรรม ดังนี้ กิจกรรมต้อนรับ แอ่วเฮือนเยือนผญา กลุ่มละ 500 บาท ค่าวิทยากรเรียนรู้ ฐานละ 400 บาท ค่าเรียนการทำอาหารเช้า คนละ 100 บาท เป็นต้น หลังจากเที่ยวแบบเมียง ๆ มาแล้ว เราไปเที่ยวแบบเมือง ๆ กันบ้างดีกว่า เชียงใหม่เป็นเมืองที่มีร้านของว่าง ร้านขนมหวาน ร้านกาแฟใหม่ ๆ เกิดขึ้นอยู่เรื่อย ๆ แวะชิมกันสนุกสนานเลยล่ะ คราวนี้แอดเองก็มีร้านมาแนะนำอยู่ 3-4 ร้าน มีทั้งร้านใหม่ที่อยากให้ลอง และร้านเด็ดที่ไม่อยากให้พลาด ลองเลือกดูตามสไตล์ใครสไตล์มันได้เลย MOOHomeMade Cafe ร้าน MOOH (อ่านว่า หมู) เป็นร้านเบเกอรีที่ขายโดนัทแบบบอมโบโลนี มีไส้ต่าง ๆ ให้เลือกหลายไส้ เป็นร้านเล็ก ๆ น่ารัก อยู่ในนิมมานเหมินทร์ ซอย

✨เที่ยวเมียงไม่ไกลเมือง…เชียงใหม่🌿 อ่านเพิ่มเติม

✨ พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา จ.เชียงใหม่ ✨

พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตั้งอยู่ภายในพื้นที่ของสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 ที่นี่มีการอนุรักษ์และจัดแสดงเรือนล้านนาให้กับประชาชนทั่วไปได้ศึกษากว่า 10 หลัง แถมมียุ้งข้าวอีก 4 หลัง ซึ่งแต่ละหลังมีที่มาและประวัติของตนเอง ถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของล้านนาในอดีต ที่ผ่านการดูแลให้คงสภาพเดิมที่ยังเหลือให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากที่นี่มีเรือนล้านนาโบราณหลายหลัง แถมแต่ละหลังมีรายละเอียดเยอะมาก แอดเลยขอแนะนำเรือนล้านนาและยุ้งข้าวส่วนหนึ่งให้กับเพื่อน ๆ โดยเริ่มที่  เรือนไทลื้อ (หม่อนตุด)  เรือนหม่อนตุด สร้างขึ้นจากการผสมผสานเรือนแบบไทลื้อผสมไทยวน โดยชาวไทลื้อจากมณฑลยูนนาน ประเทศจีนที่ถูกกวาดต้อนเข้ามาอยู่ในเชียงใหม่ ที่บ้านลวงเหนือ อ.ดอยสะเก็ด เมื่อปี พ.ศ. 2460 ปลายปี 2534 อาจารย์ศิริชัย นฤมิตรเรขการ ได้ทราบเรื่องการประกาศขายเรือนหม่อนตุดจาก ทางมูลนิธิจุมภฏ-พันธุ์ทิพย์ จึงตัดสินใจซื้อและมอบให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อเก็บรักษาเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาวเชียงใหม่ โดยเป็นเรือนที่ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการอนุรักษ์เรือนโบราณล้านนาและจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์สำหรับให้คนทั่วไปได้ศึกษา และในเดือนมกราคม พ.ศ. 2537 ทางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ประกอบพิธีขึ้นเฮือนใหม่ โดยมีเจ้าหม่อมคำลือ กษัตริย์องค์สุดท้ายของชาวสิบสองปันนา เป็นผู้ทำพิธีเปิดเรือนและอุทิศส่วนกุศลไปให้หม่อนตุดเจ้าของเรือนผู้ล่วงลับ ตัวเรือนหม่อนตุดเป็นเรือนไม้ขนาดกลางมุงหลังคา “แป้นเกล็ด” ลักษณะเป็น “เรือนสองหลังหน้าเปียง” (เรือนจั่วสองหลังวางต่อกันในระนาบเดียวกัน) ประกอบด้วยเรือน 2 หลังคือ “เฮือนนอน” และ “เฮือนไฟ” ตรงกลางระหว่างชายคาของเรือนทั้งสองเชื่อมต่อกันทำเป็นรางน้ำฝน เรียกว่า “ฮ่อมริน” ล้อมรอบตัวเรือนด้วยเติ๋น  เรือนกาแล (พญาวงศ์)  เรือนพญาวงศ์ เป็นชื่อที่ได้มาจากเจ้าของเรือน กำนันแห่งบ้านสบทา จาก จ.ลำพูน สร้างโดยลูกเขยของพญาวงศ์ เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2440 แต่หลังจากพญาวงศ์เสียชีวิต ไม่มีผู้สืบทอดและอาศัยอยู่ในบ้านหลังนี้ทางเจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทตากผ้าและเจ้าคณะ จึงได้ติดต่อขอซื้อเรือนแล้วทำการรื้อย้ายมาปลูกสร้างไว้ที่วัดสุวรรณวิหาร บ้านแม่อาว ต่อมามีชาวสิงคโปร์ได้ซื้อไว้และภายหลังเสียชีวิตลง มูลนิธิ ดร.วินิจ – คุณหญิงพรรณี วินิจนัยภาค ได้มอบเรือนหลังนี้และให้การสนับสนุนการรื้อถอนและย้ายมาปลูกไว้ที่สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2541 ตัวเรือนพญาวงศ์ เป็นหลังคาทรงจั่วแฝด ยอดจั่วมี “กาแล” เป็นไม้แกะสลักวางไขว้กันอยู่ มี “เติ๋น” (ชานเรือน) อยู่ด้านหน้าของเรือนพร้อมบันไดทางขึ้น ไม่มีหลังคาคลุม มี “เฮือนนอน” 2 หลังคู่กัน  เรือนกาแล(อุ๊ยผัด)  เรือนอุ๊ยผัด เป็นของ อุ๊ยผัด โพธิทา จาก อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ สันนิษฐานว่าตัวเรือนสร้างในปี พ.ศ. 2456 โดยทาง มูลนิธิจุมภฏ-พันธุ์ทิพย์ (มูลนิธิที่สนับสนุนสถาบันการหาความรู้ทางโบราณคดี เกษตรกรรม วัฒนธรรมและศิลปกรรมไทย) และ อาจารย์ศิริชัย นฤมิตรเรขการ เห็นถึงความสำคัญของการอนุรักษ์เรือนนี้ จึงนำเรือนนี้มาปลูกไว้ในบริเวณที่ตั้งของสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2537 ตัวเรือนขนาดกระทัดรัดทำจากไม้ทั้งหลังยกพื้นสูง หลังคามุงด้วย “แป้นเกล็ด” (กระเบื้องทำจากไม้เนื้อแข็ง) นอกจากเรือนอุ๊ยผัดจะมี “เฮือนนอน” และ “เฮือนไฟ” แล้ว ยังมี “ชานฮ่อม” ที่เป็นเหมือนชั้นไม้สำหรับวางหม้อน้ำอยู่ทางเข้าตัวเรือน ไว้บริการแขกผู้มาเยือนและคนในเรือนอีกด้วย มาต่อกันที่ยุ้งข้าวกันบ้าง ซึ่งภาคเหนือจะเรียกกันว่า “หลองข้าว” ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญที่อยู่คู่กับเรือนของชาวล้านนา ใช้สำหรับเก็บข้าวเปลือกไว้กินตลอดทั้งปี อีกทั้งหลองข้าวยังถือเป็นหน้าตาของเจ้าบ้าน ว่ากันว่า หลองข้าวบ้านใครใหญ่ เจ้าของบ้านจะมีฐานะ โดยวันนี้แอดจะพาเพื่อน ๆ มาเริ่มดูกันที่  ยุ้งข้าวป่าซาง(นันทขว้าง)  หลองข้าวขนาดใหญ่ของตระกูลนันทขว้าง เดิมอยู่ในเขต อ.ป่าซาง จ.ลำพูน โดยมีคุณโสภา เมืองกระจ่าง (นันทขว้าง) เป็นเจ้าของ ต่อมามีการบริจาคให้อยู่ในความดูแลของพิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2559 หลองข้าวป่าซาง(นันทขว้าง) สันนิษฐานจากสถาปัตยกรรมว่า สร้างมาแล้วประมาณอายุได้ 150-170 ปี บริเวณเสาช่วงกลางหลองข้าวมีร่องรอยบากไม้ เพื่อนำแผ่นไม้มาใส่กั้นเป็นห้องเก็บข้าว มีการแกะสลักรูปนกยูงหน้าจั่วทั้งสองด้านและดัดแปลงทางขึ้นเพิ่ม โดยการต่อเติมบันไดถาวรขึ้นลงทางด้านหน้า (หลองข้าวดั้งเดิมไม่มีทางขึ้นถาวร ต้องใช้บันไดไม้พาดเพื่อขึ้นลง)  ยุ้งข้าวเปลือย  สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2552 โดยใช้เสาหลองข้าวเก่าและไม้ที่เหลือจากการซ่อมแซมเรือนในพิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มาสร้างตามต้นแบบหลองข้าวทรงแม่ไก่ในบ้าน อาจารย์วิถี พานิชพันธ์ เป็นหลองข้าวขนาดเล็ก มี 6 เสา ต่างจากหลองข้าวทั่วไปที่จะมีอย่างน้อย 8 เสา ใช้เก็บข้าวโดยใส่ข้าวเปลือกไว้ในเสวียน (เครื่องสานขนาดใหญ่ มักทำเป็นทรงกลมไม่มีฝา สานด้วยซีกไม้ไผ่) ที่พอกทับด้วยมูลวัวผสมยางไม้   ยุ้งข้าวสารภี  สร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2450 โดยพ่อโต (เศรษฐี) ต่อมาในปี พ.ศ. 2551 Professor Dr Hans-Jurgen Langholz และภรรยา Dr. Agnes Langholz ได้ให้การสนับสนุนในการย้ายหลองข้าวหลังนี้มาไว้ที่สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หลองข้าวสารภีเป็นอาคารไม้ขนาดกลาง ยกใต้ถุนสูงเพื่อเก็บอุปกรณทางการเกษตร ตัวเรือนตีไม้ปิดทึบเป็นห้องเอาไว้เก็บข้าว ล้อมรอบด้วยระเบียงชั้นนอก มีเสาไม้กลมจำนวน 8 ต้น  หากสนใจเข้าชม สามารถติดต่อได้ที่อาคารสำนักงานของพิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ทางด้านหน้าได้เลย รับรองการเยี่ยมชมเรือนโบราณล้านนา จะมอบประสบการณ์และความรู้ใหม่ ๆ ให้เพื่อน ๆ ได้ซึมซับแบบจุใจมากแน่ ๆ

✨ พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา จ.เชียงใหม่ ✨ อ่านเพิ่มเติม

✨ แนะนำที่เที่ยวเดือนพฤศจิกายน ✨

สวัสดีทุกคน สิ้นเดือนแบบนี้ แอดจะมาแนะนำสถานที่เที่ยวในเดือนพฤศจิกายนนิด ๆ หน่อย ๆ ให้กับเพื่อน ๆ เผื่อใครอยากเที่ยว แต่ยังไม่มีแพลนว่าจะไปเที่ยวที่ไหนดี ลองมาอ่านสถานที่ที่แอดนำมาเสนอประกอบการตัดสินใจกันได้เลย แต่ไปเที่ยวแล้วอย่าลืมรักษ์ธรรมชาติกันด้วยล่ะ สถานที่ท่องเที่ยวจะได้สวยงามไปนาน ๆ ให้เรากลับไปเที่ยวได้บ่อย ๆ #responsibletourism  อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จ.เชียงใหม่  เริ่มต้นกันที่ภาคเหนือ อากาศเริ่มหนาวลงแล้ว แอดแนะนำ อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ สถานที่ท่องเที่ยวยอดฮิต ภูเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทย ครอบคลุม อ.จอมทอง อ.แม่แจ่ม อ.แม่วาง อ.ดอยหล่อ ที่นี่มีที่ให้เที่ยวเยอะมาก เช่น นาขั้นบันไดป่าบงเปียง น้ำตกผาดอกเสี้ยว น้ำตกวชิรธาร เส้นทางศึกษาธรรมชาติอ่างกา เส้นทางศึกษาธรรมชาติกิ่วแม่ปาน ซึ่งตลอดเส้นทางจะเห็นทิวทัศน์สวย ๆ ของทิวเขาสลับซับซ้อนมากมาย แต่เดิมดอยอินทนนท์มีชื่อว่า ดอยหลวง หรือ ดอยอ่างกา ซึ่งคำว่า “หลวง” ในภาษาเหนือ แปลว่า ใหญ่ และคำว่า “อ่างกา” ในภาษาปกาเกอะญอ ก็แปลว่า ใหญ่ ซึ่งทั้งสองชื่อหมายถึงดอยที่มีขนาดใหญ่เหมือนกัน ในเวลาต่อมาดอยแห่งนี้ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ดอยอินทนนท์” ตามพระนามของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 7 พระบิดาของเจ้าดารารัศมี พระราชชายาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั่นเอง เส้นทางศึกษาธรรมชาติกิ่วแม่ปาน จะมีไกด์ท้องถิ่นพาเดินและแนะนำจุดน่าสนใจต่าง ๆ ระหว่างทาง จุดชมวิวเส้นทางศึกษาธรรมชาติกิ่วแม่ปาน เส้นทางศึกษาธรรมชาติอ่างกา น้ำตกผาดอกเสี้ยว หนึ่งในสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง “รักจัง” น้ำตกวชิรธาร นาขั้นบันไดป่าบงเปียง หากมาหน้าฝนจะเจอภูเขาสีเขียวชุ่มฉ่ำ หากมาช่วงเริ่มหนาวจะเจอต้นข้าวสีเหลืองทองสวยงาม  ทะเลหมอกอัยเยอร์เวง จ.ยะลา  สถานที่ต่อมา อยู่ใต้สุดของประเทศไทย นั่นก็คือทะเลหมอกอัยเยอร์เวง อ.เบตง จ.ยะลา ที่นี่มี Sky walk ที่สามารถชมวิวทะเลหมอกมุมสูงและเดินไปตามระเบียงทางเดินที่ยื่นออกไปจากฐาน ส่วนปลายคือระเบียงที่มีลักษณะเป็นพื้นกระจกใส ที่ Sky walk จะมีการจำกัดจำนวนคนในการเข้าชม ประมาณรอบละ 70 คน (รอบละ 15 นาที) เมื่อหมดเวลาจะมีเสียงกระดิ่ง เพื่อน ๆ ก็เดินลงบันไดที่อยู่บริเวณกลางสะพานลงมาได้เลย หากใครต้องการชมหมอกสวย ๆ พร้อมกับวิวพระอาทิตย์ขึ้น แอดแนะนำให้มาแต่เช้า รับรองวิวที่เห็นคุ้มกับการตื่นเช้าแน่นอน Skywalk อัยเยอร์เวง Skywalk อัยเยอร์เวง  อุทยานแห่งชาติผาแต้ม จ.อุบลราชธานี  ที่ต่อมาอยู่ภาคอีสาน เป็นอุทยานแห่งชาติที่มีแม่น้ำโขงเป็นเส้นกั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยและสปป.ลาว ช่วงปลายฝนต้นหนาวจะมีดอกไม้ป่าอย่างดอกสร้อยสุวรรณา ดุสิตา สรัสจันทร ทิพเกสรและมณีเทวา ออกดอกบานสะพรั่งบริเวณลานเสาเฉลียงคู่ นอกจากนี้ภายในอุทยานฯ ยังมีสถานที่ทางประวัติศาสตร์ที่สะท้อนถึงอารยธรรมมนุษย์โบราณและประติมากรรมธรรมชาติที่มีรูปทรงแปลกตา ทั้งภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ น้ำตกสร้อยสวรรค์ น้ำตกแสงจันทร์ ผาโสก รวมถึง “ผาชะนะได” จุดชมตะวันขึ้นที่แรกของประเทศไทย และเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางที่ไม่ควรพลาดเมื่อเดินทางมาเยือน จุดชมตะวันขึ้นที่แรกของประเทศไทย “ผาชะนะได” ผาโสก น้ำตกแสงจันทร์ น้ำตกสุดสวยของอุทยานแห่งชาติผาแต้ม น้ำตกห้วยพอก  ทุ่งปอเทืองไร่ธรรมชัย จ.นครสวรรค์  ทุ่งดอกไม้สวยของ จ.นครสวรรค์ ที่เต็มไปด้วยปอเทืองสีเหลืองเต็มทุ่งตัดกับแนวภูเขาสีเขียว ที่จะบานในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม มีจุดถ่ายรูปที่ห้ามพลาดคือบันไดลอยฟ้า ซุ้มถ่ายภาพ ระเบียงชมวิวบริเวณกลางทุ่ง เนื่องจากทุ่งปอเทืองที่มีพื้นที่กว้างขวางมาก แอดแนะนำให้เตรียมร่มและหมวกมาด้วย เพราะแดดค่อนข้างแรง ดอกปอเทือง ไร่ธรรมชัย กลางไร่มีจุดถ่ายรูป บันไดลอยฟ้า ใครอยากได้รูปสวย ๆ อย่าพลาดล่ะ  เกาะช้าง จ.ตราด  ปิดท้ายกันที่เที่ยวทะเลบ้าง สำหรับสภาพภูมิอากาศของเกาะช้างระหว่างเดือนพฤศจิกายน – กุมภาพันธ์ จะมีอากาศเย็นสดชื่น ท้องฟ้าโปร่งใส มาเที่ยวได้ สนุกแน่นอน เกาะช้างเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดเป็นอับดับสองของประเทศไทยรองจากภูเก็ต มีความอุดมสมบูรณ์ โอบล้อมไปด้วยภูเขาและป่าฝนเมืองร้อน มีที่เที่ยว ที่พักและจุดน่าเช็กอิน เกาะช้างแบ่งออกเป็นฝั่งซ้ายและฝั่งขวา ให้ความรู้สึกแตกต่างกัน ใครชอบเที่ยวหาดทรายสวย ๆ ขาว ๆ เล่นน้ำได้ มีร้านอาหารริมทะเล มีที่พัก ติดชายหาดต้องมาฝั่งขวา ส่วนทางซ้ายจะเป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติ และชุมชนของชาวบ้านที่นี่ ป่าชายเลนชุมชนบ้านสลักเพชร อยู่ฝั่งซ้ายของเกาะ เป็นเส้นทางเดินสบาย มีมุมสวย ๆ ให้ถ่ายรูป น้ำตกคลองพลู ใครสนใจเดินศึกษาเส้นทางธรรมชาติ แอดแนะนำที่นี่เลย ปางช้างคลองพลู ชุมชนบ้านสลักคอก สถานที่ล่องเรือยอดฮิตอีกแห่งของเกาะช้าง หากชอบพายคายัคหรือดำน้ำ แอดแนะนำฝั่งขวาของเกาะ จุดชมวิวหาดทรายขาว หาดเพนนินซูลา

✨ แนะนำที่เที่ยวเดือนพฤศจิกายน ✨ อ่านเพิ่มเติม

✨ถ้ำหลวงแม่สาบ จ.เชียงใหม่ ✨

ในจังหวัดเชียงใหม่มีอุทยานแห่งชาติที่เป็นที่รู้จักมากมายไม่ว่าจะเป็น อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์, อุทยานแห่งชาติแม่วาง หรือ อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ที่แอดยกตัวอย่างมานี้เพื่อน ๆ อาจจะเคยได้ยินหรือบางท่านก็เคยไปมาแล้ว แต่วันนี้ที่แอดจะแนะนำเป็นอีกสถานที่ท่องเที่ยวสุด unseen นั่นคือ อุทยานแห่งชาติขุนขาน อำเภอสะเมิง อุทยานแห่งชาติขุนขาน ตั้งอยู่ ตำบลแม่สาบ อำเภอสะเมิง สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจภายในอุทยานฯ คือถ้ำหลวงแม่สาบเป็นถ้ำไม่ใหญ่มากนักมีความลึกประมาณ 150 เมตร มี 2 ชั้น ชั้นบนมีลักษณะเป็นโพรงคล้ายปล่องภูเขาไฟสามารถมองเห็นท้องฟ้าได้ชั้นล่างมีลักษณะเป็นโพรงทอดยาวเข้าไป มีอากาศถ่ายเทหายใจสะดวก ภายในโถงถ้ำเพื่อน ๆ จะพบว่ามีความแปลกกว่าถ้ำอื่น ๆ คือ มีกุมภลักษณ์กลับหัว (กุมภลักษณ์ คือ หลุมที่เกิดบริเวณพื้นน้ำ เช่น บริเวณน้ำตก หรือพื้นที่ที่เป็นทางน้ำไหล เป็นปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ) ซึ่งโดยปกติแล้วกุมภลักษณ์จะเกิดขึ้นบนพื้นด้านล่างแต่ที่นี่เป็นหลุมซ้อนทับกันเข้าไปตามผนังและเพดานถ้ำทำให้ดูสวยแปลกตาไปอีกแบบ นอกจากมีกุมภลักษณ์กลับหัวแล้ว สีที่ผนังถ้ำมีลวดลายเป็นชั้นสีซ้อนกันคล้ายกับรุ้งจึงถูกเรียกอีกชื่อว่า “ถ้ำสีรุ้ง” เพื่อน ๆ ที่ไปเที่ยวเชียงใหม่หากมีโอกาสอย่าลืมแวะไปชมความงามของ #ถ้ำหลวงแม่สาบ กันนะ

✨ถ้ำหลวงแม่สาบ จ.เชียงใหม่ ✨ อ่านเพิ่มเติม

✨เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืด ✨

ในอดีต ดวงดาวมีความสำคัญมาก เพราะใช้เพื่อการหาทิศทาง บอกฤดูกาล บอกเวลา หรือแม้แต่มองหาความงดงามในยามค่ำคืน แต่จากวิวัฒนาการของโลกปัจจุบันที่ทำให้มีแสงสว่างในยามค่ำคืนมากขึ้น จนทำให้มองเห็นดาวยากขึ้นกว่าในอดีต จนหลายคนลืมเลือนความสำคัญของดวงดาวและท้องฟ้ายามค่ำคืน วันนี้แอดเลยอยากจะมาแนะนำ “เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืด” สถานที่ท่องเที่ยวที่รณรงค์ให้สังคมตระหนักถึงผลกระทบจากการใช้แสงสว่าง และเป็นที่เรียนรู้ด้านดาราศาสตร์ มาให้เพื่อน ๆ ได้รู้จัก ใครเป็นสายดูดาวลองตามมาอ่านกัน โครงการ Amazing Dark Sky In Thailand เกิดจากการร่วมมือของ ททท. และสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ที่ต้องการเสนอแหล่งท่องเที่ยวที่สามารถให้ประสบการณ์การเรียนรู้ทางด้านดาราศาสตร์ (Dark Sky Tourism) ซึ่งสถานที่ที่ได้รับการขึ้นทะเบียน จะต้องมีการบริหารจัดการแสงสว่างที่ดี มีความมืดของท้องฟ้าที่เหมาะสม มีพื้นที่เปิดโล่งมองเห็นวัตถุท้องฟ้าเด่น ๆ ได้ด้วยตาเปล่า มีบุคลากรในพื้นที่ที่สามารถให้ความรู้ทางดาราศาสตร์เบื้องต้น และมีสิ่งอำนวยความสะดวกตั้งแต่เส้นทางคมนาคม ห้องน้ำ ที่พัก ไปจนถึงร้านอาหาร ให้ผู้มาใช้บริการด้วย เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในประเทศไทย แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1. อุทยานท้องฟ้ามืด Dark Sky Park เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ที่จะจำกัดการใช้แสงสว่างยามค่ำคืนเพื่อรักษาความมืดบนท้องฟ้าให้มีความเหมาะสมต่อการชมท้องฟ้า มีการรักษาสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตและระบบนิเวศในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ โดยปัจจุบันมีสถานที่ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนดังนี้ 1.อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง จ.เชียงใหม่ 2.อุทยานแห่งชาติผาแต้ม จ.อุบลราชบุรี 3.เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว-ทุ่งกระมัง จ.ชัยภูมิ 4.อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม จ.ชัยภูมิ 5.อุทยานแห่งชาติภูแลนคา จ.ชัยภูมิ *สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : https://darksky.narit.or.th/darkskyreserve/dsp/ 2. ชุมชนอนุรักษ์ท้องฟ้ามืด Dark Sky Communities เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืด ในพื้นที่ชุมชน ที่ได้รับการร่วมมือและสนับสนุนจากประชาชนในพื้นที่ในการรักษาและสงวนท้องฟ้าในเวลากลางคืนให้มีความมืดที่เหมาะสม ปัจจุบันมี 1 ชุมชนคือ ชุมชนออนใต้ อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ *สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : https://darksky.narit.or.th/darkskyreserve/communities/ 3. เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดส่วนบุคคล Dark Sky Properties เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในพื้นที่ส่วนบุคคล เช่น รีสอร์ท ฟาร์ม หรือ ศูนย์การเรียนรู้ต่าง ๆ ที่นอกจากจะมีการอนุรักษ์ท้องฟ้าให้มืดจากการใช้แสงสว่างตอนค่ำอย่างระมัดระวังแล้ว สถานที่ต้องมีความปลอดภัย เดินทางสะดวก มีสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ผู้ที่สนใจ มีกิจกรรมที่สร้างความตระหนักถึงผลกระทบของมลภาวะทางแสงและมองเห็นดวงดาวในท้องฟ้ายามค่ำคืนได้ด้วยตาเปล่า ปัจจุบันมีสถานที่ที่ได้รับการขึ้นทะเบียน คือ 1.ไร่องุ่นไวน์ อัลซิตินี่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา 2.โรงแรมเรนทรี เรซิเดนซ์ เขาใหญ่ จ.นครราชสีมา 3.สนามมวกเหล็ก เอทีวี อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา 4.บ้านไร่ยายพลู อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี 5.เดอะเปียโน รีสอร์ท อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา 6.ไร่องุ่นไวน์กราน-มอนเต้ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา *สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : https://darksky.narit.or.th/darkskyreserve/private 4. เขตอนุรักษ์ท้องฟ้าในพื้นที่ชานเมือง Dark Sky Suburbs เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืด ในพื้นที่ชานเมือง มีลักษณะเป็นลานโล่ง สามารถจัดกิจกรรมการสังเกตการณ์ท้องฟ้าได้โดยรอบ มีการใช้แสงสว่างอย่างเหมาะสมต่อการใช้งาน มีความปลอดภัยและสิ่งอำนวย ความสะดวกแก่ผู้ที่มาใช้บริการ ปัจจุบันมีพื้นที่ในเขตชานเมืองที่ได้รับการขึ้นทะเบียนคือ 1.อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร จ.เชียงใหม่ 2.หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติฯ จ.นครราชสีมา 3.หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติฯ จ.ฉะเชิงเทรา 4.หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติฯ จ.สงขลา *สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : https://darksky.narit.or.th/darkskyreserve/suburbs นอกจากนี้ แอดอยากแนะนำคู่มือท่องเที่ยว “ชวนเธอ ไปชมดาว” ที่มีการอ้างอิงข้อมูลเชิงดาราศาสตร์มากำหนดเส้นทางท่องเที่ยว ให้เพื่อน ๆ ที่สนใจเรื่องการดูดาวได้ศึกษาและใช้เป็นข้อมูล โดยสามารถดาวน์โหลดหนังสือคู่มือการท่องเที่ยวดูดาวในรูปแบบ e-book ได้ที่ : https://www.madamscreator.com/ebook/Amazing-Dark-Sky/ สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.NARIT.or.th หรือ โทร. 08 1885 4353

✨เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืด ✨ อ่านเพิ่มเติม

Scroll to Top